โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปาล์มน้ำมันและป่าชายเลน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปาล์มน้ำมันและป่าชายเลน

ปาล์มน้ำมัน vs. ป่าชายเลน

ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชตระกูลปาล์มลักษณะลำต้นเดี่ยว ขนาดลำต้นประมาณ 12 -20 นิ้ว เมื่ออายุประมาณ 1-3 ปี ลำต้นจะถูกหุ้มด้วยโคนกาบใบ แต่เมื่ออายุมากขึ้นโคนกาบใบจะหลุดร่วงเห็นลำต้นชัดเจน ผิวของลำต้นคล้ายๆ ต้นตาล ลักษณะใบเป็นรูปก้างปลา โคนกาบใบจะมีลักษณะเป็นซี่ คล้ายหนามแต่ไม่คมมาก เมื่อไปถึงกลางใบหนามดังกล่าวจะพัฒนาเป็นใบ การออกดอกเป็นพืชที่แยกเพศ คือต้นที่เป็นเพศผู้ก็จะให้เกสรตัวผู้อย่างเดียว ต้นที่ให้เกสรตัวเมียจึงจะติดผล ลักษณะผลเป็นทะลายผลจะเกาะติดกันแน่นจนไม่สามารถสอดนิ้วมือเข้าไปที่ก้านผลได้ เวลาเก็บผลปาล์มจึงต้องใช้มีดงอเกี่ยวที่โคนทะลายแล้วดึงให้ขาด ก่อนที่จะตัดทะลายปาล์มต้องตัดทางปาล์มก่อนเพราะผลปาล์มจะตั้งอยู่บนทางปาล์ม กระบวนการตัดทาง(ใบ)ปาล์มและตัดเอาทะลายปาล์มลง เรียกรวมๆ ว่า แทงปาล์ม ปาล์มน้ำมันจัดเป็น พืชเศรษฐกิจ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา เป็นพืชที่ให้ผลผลิต น้ำมันต่อหน่วยพื้นที่สูงกว่าพืชน้ำมันทุกชนิด สามารถนำมาแปรรูปทำเป็นทั้งในรูปแบบของน้ำมันพืชที่ใช้ในการประกอบอาหาร และใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ เช่น ขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมข้นหวาน ครีมและเนยเทียม เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานทดแทน ไบโอดีเซลรวมถึงเป็นส่วนผสมในเพื่อช่วยลดการใช้น้ำมันดีเซล เพิ่มความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศ อีกทั้งยังจะช่วยลดปัญหาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย และยังสามารถแปรรูปเป็น สบู่ ผงซักฟอก เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ต่างๆ และอาหารสัตว์ ด้วย ใบมาบดเป็นอาหารสัตว์ กะลาปาล์มเป็นวัตถุดิบเชื้อเพลิง ทะลายปาล์มใช้เพาะเห็ด และกระทั่งการปลูกลงดินไปแล้วก็ช่วยในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในการช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีก ในประเทศไทยมีการปลูกทั้งทางภาคใต้และภาคตะวันออก พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก เป็นปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอรา โดยเฉพาะที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ช่วงปี 2547 - 2550 มีการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่นาร้าง โดยกรมพัฒนาที่ดิน มีการขุดร่องให้ฟรี ให้พันธุ์และปุ๋ย โดยให้เหตุผลในการส่งเสริมการปลูกเนื่องจากเป็นปาล์มที่ให้นำมันใช้ได้ทั้งการบริโภคและใช้เป็นไบโอดีเซลได้โดยประเทศที่ปลูกปาล์มนำมันได้แก่ อินโดนีเซีย 50ล้านไร่ มาเลเซีย 35ล้านไร่ ส่วนไทย 5.5ล้านไร่ปัจจุบันภาครัฐของไทยมีเป้าหมายจะปลูกปาล์มให้ได้ทั้งสิ้น 10ล้านไร่ภายในปี 2572 จากพื้นที่มีศักยภาพ ทั้งสิ้น 20ล้านไร่ ปัจจุบัน ประเทศที่ผลิตและส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดในโลกคือประเทศมาเลเซีย ผลิตเป็นสัดส่วนมากถึงร้อยละ 47 ของการผลิดของโลก ปาล์มน้ำมันแต่ละต้นจะกำหนดปริมาณการให้ช่อดอกตัวผู้ และช่อดอกตัวเมีย ล่วงหน้า 33 เดือน โดยขึ้น กับปริมาณน้ำ ที่ต้นปาล์มน้ำมันนั้น ๆ ได้รับ เช่น หากต้นปาล์มได้รับน้ำ ในปริมาณที่เหมาะสมในวันนี้ต้นปาล์มก็จะกำหนดให้ลำต้นออกช่อดอกตัวเมียมากกว่าช่อดอกตัวผู้ ในทางกลับกัน หากต้นปาล์มนั้น ๆได้รับน้ำ ในปริมาณที่ไม่เพียงพอในวันนี้ต้นปาล์มก็จะกำหนดให้ลำต้นออกช่อดอกตัวผู้มากกว่าช่อดอกตัวเมีย ซึ่งช่อดอกทั้ง ตัวผู้และตัวเมียที่ถูกกำหนดล่วงหน้านี้จะไปผลิออกเป็นช่อดอกในอีก 33 เดือนข้างหน้า ดังนั้น ปาล์มที่ปลูกโดยอาศัยน้ำ ฝนจากธรรมชาติเพียงอย่างเดียว จะให้ผลผลิตตามปริมาณน้ำ ฝนที่ได้รับ ยิ่งถ้าพื้นที่ที่ปลูกปาล์มน้ำมันมีช่วงฝนแล้ง หรือขาดน้ำ หลายเดือน ปาล์มนั้น ๆ ก็จะให้ช่อดอกตัวผู้ในปริมาณมาก หรือแทบไม่ให้ช่อดอกตัวเมียเลย ต้นปาล์มจะมีลักษณะสูงเร็ว เพราะไม่ต้องสูญเสียธาตุอาหารในการออกลูกออกผลปาล์มน้ำมันที่ขาดน้ำ เป็นระยะเวลาหลายเดือน จะให้แต่ช่อดอกตัวผู้ หรือแทบจะไม่ให้ช่อดอกตัวเมียเลย แม้ว่าเราจะให้น้ำ ให้ปุ๋ยอย่างเต็มที่กับต้นปาล์มในเวลาต่อมา ก็ไม่สามารถแก้ไขให้ต้นปาล์มออกช่อดอกตัวเมียมากขึ้น ได้ เพราะปริมาณการออกช่อดอกตัวเมียได้ถูกกำหนดไว้แล้วเมื่อ 33 เดือนที่แล้วตามปริมาณน้ำ ที่ต้นปาล์มน้ำมันต้นดังกล่าวได้รับ แต่การให้น้ำ ให้ปุ๋ยอย่างเต็มที่กับต้นปาล์มในเวลาต่อมา จะไปมีผลให้ต้นปาล์มออกช่อดอกตัวเมียมากขึ้น ในอีก 33 เดือนข้างหน้าอย่างไรก็ตามหากช่อดอกตัวเมียที่ออกมา กระทบกับช่วงฤดูแล้ง หรือภาวะต้นปาล์มขาดน้ำ ช่อดอกตัวเมียดังกล่าวก็อาจจะฝ่อไม่ให้ผล เพื่อลดการสูญเสียน้ำ อายุปลูกลงดิน 1 ½ - 3 ½ ปี: ต้นปาล์มจะเริ่มออกดอก ให้ผลผลิต มีผลปาล์มออกดกรอบต้น เนื่องจากต้นปาล์มได้น้ำ จากแปลงเพาะต้นกล้า ในช่วงอายุปลูกประมาณ 2 ½ ขึ้น ไป การกำหนดปริมาณช่อดอกตัวผู้-ตัวเมีย จะขึ้น อยู่กับปริมาณน้ำ ที่ต้นปาล์มได้รับบนแปลงปลูกนั้น ๆ(น้ำ จากฝน และการรดน้ำ) อายุปลูกลงดินประมาณ 3 ½ ปี เป็นช่วงปาล์มขาดคอ ต้นปาล์มจะให้ช่อดอกตัวผู้ในปริมาณมากเป็นระยะเวลาประมาณ 3-6 เดือน ขึ้น อยู่กับสภาพภูมิอากาศและการได้รับน้ำ ในแปลงปลูกนั้น ๆ อายุปลูกลงดิน 4 – 7 ปี ปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีจะเริ่มให้ผลผลิตมากขึ้น ๆเรื่อย ถ้าเกษตรกรมีการให้ทั้ง ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอกอย่างถูกต้อง รวมทั้ง ถ้ามีการให้น้ำ ได้ตลอดทั้ง ปี ปริมาณน้ำ หนักทะลายปาล์มเป็นตันต่อไร่ต่อปีที่รับประกันเอาไว้โดยผู้ผลิตแต่ละแหล่ง สามารถที่ จะรับประกันได้ที่อายุต้นปาล์ม 8 ปี อายุปลูก8 ปีขึ้น ไป ปาล์มน้ำมันจะให้ผลผลิตสม่ำเสมอ ถ้าเกษตรกรมีการให้ทั้ง ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยคอกอย่างถูกต้อง และถ้ามีการให้น้ำ ได้ตลอดทั้ง ปี ปริมาณน้ำ หนักทะลายปาล์มเป็นตันต่อไร่ต่อปี ต้องได้ตามปริมาณที่แต่ละแหล่งผลิตรับประกันด้วย อย่างไรก็ตามเนื่องจากวิธีการเก็บเกี่ยวผลปาล์มที่ต้นสูงมาก ไม่สามารถใช้เสียมแทงปาล์มได้ต้องใช้เคียวตัดทางใบล่างออกก่อนแล้วจึงจะสามารถใช้เคียวตัดทะลายปาล์มลงมาได้ด้วยวิธีดังกล่าว จะทำให้ต้นปาล์มมีทางใบน้อยลง เสมือนมีขนาดโรงครัวปรุงอาหารเล็กลง ทำให้ปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตน้อยลงตามไปด้วย การให้นํ้ากับต้นปาล์มนํ้ามันในปริมาณที่เหมาะสม จากการศึกษาทางวิชาการ เสนอไว้ว่า ปาล์มน้ำมันแต่ละต้นต้องการน้ำ วันละ200 ลิตรซึ่งเป็นเรื่องยากสำหรับเกษตรกรที่จะต้องจัดหาน้ำ ปริมาณดังกล่าว เพื่อใช้รดให้กับต้นปาล์มน้ำมันอูติพันธุ์พืชเสนอให้ใช้วิธีสังเกตยอดต้นปาล์มที่มียอดแหลม ไม่คลี่ออก คล้ายหอก หากปรากฏว่าปาล์มน้ำมันต้นใดมียอดแหลม ไม่คลี่ คล้ายหอก สูงในระดับใกล้เคียงกัน มากกว่า 2 ยอดหอกแสดงว่าปาล์มน้ำมันต้นดังกล่าวขาดน้ำ แล้ว ต้องให้น้ำ แก่ต้นปาล์มนั้น ๆมากขึ้นลักษณะการให้น้ำ ด้วยท่อพีอี พันรอบลำต้นปาล์มและใส่หัวฉีดขนาดเล็กจำนวน 3 หัว พ่นน้ำ หันออกจากลำต้นทำให้ไม่เกะกะและเสียหายจากการเก็บเกี่ยวผลปาล์มน้ำมันลักษณะของยอดปาล์มที่แหลม ไม่คลี่ใบออก คล้ายหอกหากมียอดหอกดังกล่าว ที่มีความสูงระดับใกล้เคียงกันมากกว่า 2 ยอด แสดงว่าปาล์มอยู่ในภาวะขาดน้ำ หรือได้รับน้ำ ไม่เพียงพอ ต้องเพิ่มการให้น้ำ. ป่าชายเลน ป่าชายเลน คือเป็นกลุ่มสังคมพืชซึ่งขึ้นอยู่ในเขตน้ำลงต่ำสุดและน้ำขึ้นสูงสุด บริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำหรืออ่าว อีกความหมายหนึ่ง หมายถึง สังคมพืชที่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิดหลายตระกูล และเป็นพวกที่มีใบเขียวตลอดปี (evergreen species) ซึ่งมีลักษณะทางสรีรวิทยาและความต้องการสิ่งแวดล้อมที่คล้ายกัน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้สกุลโกงกาง (Rhizophora spp.) เป็นไม้สำคัญและมีไม้ตระกูลอื่นบ้าง ได้มีการค้นพบป่าประเภทนี้มาตั้งแต่เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เดินทางมาบริเวณชายฝั่งตะวันตกของเกาะคิวบา ต่อมา เซอร์ วอลเตอร์ เรลห์ ได้พบป่าชนิดเดียวกันนี้อยู่บริเวณปากแม่น้ำในตรินิแดดและเกียนา คำว่า "mangrove" เป็นคำจากภาษาโปรตุเกสคำว่า "mangue" ซึ่งหมายถึงกลุ่มสังคมพืชที่ขึ้นอยู่ตามชายฝั่งทะเลดินเลน และใช้กันแพร่หลายในประเทศแถบลาตินอเมริกา ส่วนประเทศอื่น ๆ ก็ใช้เรียกตามภาษาของตัวเอง เช่น ประเทศมาเลเซียใช้คำว่า "manggi-manggi" ประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเรียกป่าชายเลนว่า "mangrove" ส่วนภาษาไทยเรียกป่าชนิดนี้ว่า "ป่าชายเลน" หรือ "ป่าโกงกาง" บริเวณที่พบป่าชายเลนโดยทั่วไป คือตามชายฝั่ง ทะเล บริเวณปากน้ำ อ่าว ทะเลสาบ และเกาะ ซึ่งเป็นบริเวณที่น้ำทะเลท่วมถึงของประเทศ ในแถบภูมิภาคเขตร้อน ส่วนเขตเหนือหรือใต้เขตร้อน จะพบป่าชายเลนอยู่บ้างแต่ไม่มาก โดยพื้นที่ที่พบป่าชายเลนเช่น ในกลุ่มประเทศของภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า และ ไทย เป็นต้น สำหรับพื้นที่ป่าชายเลนของโลกทั้งหมดมีประมาณ 113,428,089 ไร่ อยู่ใน เขตร้อน 3 เขตใหญ่ คือ เขตร้อนแถบเอเชียพื้นที่ประมาณ 52,559,339 ไร่ หรือร้อยละ 46.4 ของป่าชายเลนทั้งหมด โดยประเทศอินโดนีเซียมีป่าชายเลนมากที่สุด ถึง 26,568,818 ไร่ สำหรับในเขตร้อนอเมริกามีพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมดประมาณ 39,606,250 ไร่ หรือร้อยละ 34.9 ของพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด ในเขตร้อนอเมริกาประเทศที่มีพื้นที่ โดยประเทศบราซิล มีพื้นที่ป่าชายเลนประมาณ 15,625,000 ไร่ รองจากอินโดนีเซีย ส่วนเขตร้อนอัฟริกามีพื้นที่ ป่าชายเลนน้อยที่สุดประมาณ 21,262,500 ไร่ หรือร้อยละ 18.7 ของพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด โดยประเทศไนจีเรีย มีพื้นที่ป่าชายเลน 6,062,500 ไร่ มากที่สุดในโซนนี้ โดยป่าชายเลนที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ ซันดาร์บานส์ ซึ่งเป็นปากแม่น้ำคงคาระหว่างประเทศอินเดียกับบังกลาเทศ ซึ่งมีเนื้อที่ 10,000 ตารางกิโลเมตร (3,900 ตารางไมล์) ซึ่งถูกประกาศให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติโดยองค์การยูเนสโก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปาล์มน้ำมันและป่าชายเลน

ปาล์มน้ำมันและป่าชายเลน มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ประเทศมาเลเซีย

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

ประเทศมาเลเซียและปาล์มน้ำมัน · ประเทศมาเลเซียและป่าชายเลน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปาล์มน้ำมันและป่าชายเลน

ปาล์มน้ำมัน มี 8 ความสัมพันธ์ขณะที่ ป่าชายเลน มี 20 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 3.57% = 1 / (8 + 20)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปาล์มน้ำมันและป่าชายเลน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »