โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน

ดัชนี ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน

รษฐกิจเกาหลีใต้เติบโตไม่หยุดจากระดับใกล้ศูนย์เป็นกว่าล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐในเวลาไม่ถึงครึ่งศตวรรษ ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน (한강의 기적, ฮันจา:漢江의 奇蹟, Hangangui Gijeok; Miracle on the Han River) เป็นการอ้างถึงการเจิญเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจเกาหลีใต้ที่มีปัจจัยจากการส่งออก ซึ่งประกอบด้วยการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยี การตื่นตัวทางด้านการศึกษา คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง การขยายตัวอย่างรวดเร็วของชุมชนเมือง การขยายตัวของตึกระฟ้า ความทันสมัย ความประสบความสำเร็จในการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 1988 และเจ้าภาพร่วมฟุตบอลโลก 2002 การกลายเป็นประชาธิปไตยและโลกาภิวัตน์ ซึ่งเปลี่ยนแปลงประเทศเกาหลีใต้จากเถ้าถ่านในช่วงสงครามเกาหลีจนกลายเป็นประเทศที่ร่ำรวยและประเทศพัฒนาแล้วในปัจจุบัน ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจระดับล้านล้านดอลลาร์สหรัฐและมีบรรษัทข้ามชาติ ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกอย่าง ซัมซุง แอลจี และกลุ่มบริษัทฮุนได นอกจากนี้ คำว่า "ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน" ยังหมายถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโซล ซึ่งเป็นสถานที่ที่แม่น้ำฮันไหลผ่าน และยังหมายถึงช่วงระยะเวลาระหว่าง..

34 ความสัมพันธ์: บริษัทข้ามชาติฟุตบอลโลก 2002พ.ศ. 2505พ.ศ. 2512พ.ศ. 2513พ.ศ. 2514พัก ช็อง-ฮีการผูกขาดรายการประเทศเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (ราคาตลาด)รายได้ประชาชาติสหรัฐสงครามโลกครั้งที่สองสงครามเกาหลีสงครามเวียดนามอักษรฮันจาทวีปยุโรปทุนนิยมตึกระฟ้าซัมซุงประชาธิปไตยประเทศพัฒนาแล้วประเทศกำลังพัฒนาประเทศญี่ปุ่นประเทศเกาหลีใต้ประเทศเยอรมนีตะวันตกนักการเมืองแผนมาร์แชลล์โลกาภิวัตน์โอลิมปิกฤดูร้อน 1988โครงสร้างพื้นฐานโซลเกษตรกรรมเศรษฐกิจเทคโนโลยี

บริษัทข้ามชาติ

ริษัทข้ามชาติ หรือ บรรษัทข้ามชาติ (multinational corporation หรือ multinational company).

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและบริษัทข้ามชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ฟุตบอลโลก 2002

ฟุตบอลโลก 2002 (2002 FIFA World Cup Korea/Japan) จัดขึ้นในเกาหลีใต้และญี่ปุ่น ในวันที่ 14 มิถุนายน - 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 เป็นการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ 17 และเป็นครั้งแรกที่มีเจ้าภาพ 2 ประเทศ ซึ่งทำให้ทีมชาติเกาหลีใต้และทีมชาติญี่ปุ่นเข้าไปเล่นในฟุตบอลโลกโดยอัตโนมัติเช่นเดียวกับทีมชาติฝรั่งเศสที่ชนะเลิศฟุตบอลโลก 1998 และนับเป็นการแข่งขันครั้งแรกที่จัดขึ้นในทวีปเอเชีย ในการแข่งขันนี้ทีมชาติบราซิลชนะเยอรมนี 2-0 ในนัดชิงชนะเล.

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและฟุตบอลโลก 2002 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2505

ทธศักราช 2505 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1962 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและพ.ศ. 2505 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2512

ทธศักราช 2512 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1969 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและพ.ศ. 2512 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2513

ทธศักราช 2513 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1970 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและพ.ศ. 2513 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2514

ทธศักราช 2514 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1971 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและพ.ศ. 2514 · ดูเพิ่มเติม »

พัก ช็อง-ฮี

ัก ช็อง-ฮี (박정희, Bak Jeonghui; 30 กันยายน ค.ศ. 1917 - 26 ตุลาคม ค.ศ. 1979) เป็นประธานาธิบดีของเกาหลีใต้ ระหว่างปี..

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและพัก ช็อง-ฮี · ดูเพิ่มเติม »

การผูกขาด

การผูกขาด (monopoly) เกิดเมื่อบุคคลหรือวิสาหกิจหนึ่งเป็นผู้ผลิตรายเดียวของโภคภัณฑ์อย่างหนึ่ง (ต่างจากการผูกขาดการซื้อ (monopsony) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการควบคุมตลาดเพื่อซื้อสินค้าและบริการของบุคคลหรือวิสาหกิจหนึ่ง และการผูกขาดโดยผู้ขายเพียงน้อยราย (oligopoly) ซึ่งประกอบด้วยบุคคลหรือวิสาหกิจไม่กี่รายครอบงำอุตสาหกรรมหนึ่ง) ฉะนั้น การผูกขาดจึงมีลักษณะขาดการแข่งขันทางเศรษฐกิจเพื่อผลิตสินค้าหรือบริการ ขาดสินค้าทดแทนที่อยู่รอดได้ และการมีราคาผูกขาดสูงเกินต้นทุนเพิ่มต่อหน่วย (marginal cost) ของสถานธุรกิจมาก ซึ่งนำสู่กำไรผูกขาดสูง กริยา "ผูกขาด" หมายถึง กระบวนการซึ่งบริษัทได้มาซึ่งความสามารถเพิ่มราคาหรือตัดคู่แข่ง ในทางเศรษฐศาสตร์ การผูกขาดเป็นผู้ขายรายเดียว ในวิชากฎหมาย การผูกขาด คือ สถานธุรกิจซึ่งมีอำนาจทางตลาดอย่างสำคัญ นั่นคือ อำนาจตั้งราคาสูงเกิน แม้การผูกขาดอาจเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ แต่ขนาดมิใช่ลักษณะของการผูกขาด ธุรกิจขนาดเล็กยังอาจมีอำนาจเพิ่มราคาในอุตสาหกรรม (หรือตลาด) ขนาดเล็กได้ หมวดหมู่:โครงสร้างตลาดและการกำหนดราคา หมวดหมู่:ปัญหาเศรษฐกิจ.

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและการผูกขาด · ดูเพิ่มเติม »

รายการประเทศเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (ราคาตลาด)

ทความนี้เป็นการจัดอันดับประเทศตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (gross domestic product หรือ GDP) ซึ่งเป็นมูลค่าตลาดของสินค้า หรือบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตภายในประเทศในแต่ละปี โดยค่า GDP ที่ได้นำเสนอนี้ได้ประเมินโดยใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ณ อัตราแลกเปลี่ยนตามตลาด หรือที่รัฐบาลได้ประกาศไว้.

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและรายการประเทศเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (ราคาตลาด) · ดูเพิ่มเติม »

รายได้ประชาชาติ

รายได้ประชาชาติ หมายถึง มูลค่าเป็นตัวเงินของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ตามราคาตลาดที่ผลิตขึ้นด้วยทรัพยากรของประเทศ ในระยะเวลา 1 ปี รายได้ประชาชาติ คำนวณได้ 3 วิธี คือ 1.

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและรายได้ประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเกาหลี

งครามเกาหลี (25 มิถุนายน 1950 – 27 กรกฎาคม 1953) เป็นสงครามระหว่างสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) โดยได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติฝ่ายหนึ่ง กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดยได้รับการสนับสนุนจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นหลัก อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามเกาหลีเป็นผลจากเขตทางการเมืองของเกาหลีโดยความตกลงที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะกระทำเมื่อสงครามแปซิฟิกยุติ คาบสมุทรเกาหลีถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นปกครองตั้งแต่ปี 1910 กระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด หลังการยอมจำนนของจักรวรรดิญี่ปุ่นในเดือนกันยายน 1945 นักปกครองชาวอเมริกันได้แบ่งคาบสมุทรตามเส้นขนานที่ 38 โดยกองกำลังทหารสหรัฐยึดครองส่วนใต้ และกองกำลังทหารโซเวียตยึดครองส่วนเหนือ ความล้มเหลวในการจัดการเลือกตั้งเสรีทั่วคาบสมุทรเกาหลีในปี 1948 ยิ่งตอกลึกการแบ่งแยกระหว่างสองฝ่าย เกาหลีเหนือจึงสถาปนารัฐบาลคอมมิวนิสต์ ขณะที่เกาหลีใต้สถาปนารัฐบาลประชาธิปไตยในนาม เส้นขนานที่ 38 กลายเป็นพรมแดนทางการเมืองเพิ่มขึ้นระหว่างสองรัฐเกาหลี แม้การเจรจาเพื่อรวมประเทศยังคงดำเนินต่อมาหลายเดือนก่อนเกิดสงคราม แต่ความตึงเครียดยิ่งทวีขึ้น เกิดการรบปะทะและการตีโฉบฉวยข้ามพรมแดนเส้นขนานที่ 38 อยู่เนือง ๆ สถานการณ์บานปลายเป็นการสงครามเปิดเผยเมื่อกองกำลังเกาหลีเหนือบุกครองเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 1950 ปีเดียวกัน สหภาพโซเวียตคว่ำบาตรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพื่อเป็นการประท้วงที่รัฐบาลก๊กมินตั๋ง/สาธารณรัฐจีนเป็นผู้แทนของจีน ซึ่งลี้ภัยไปยังเกาะไต้หวันหลังปราชัยสงครามกลางเมืองจีน เมื่อขาดเสียงไม่เห็นพ้องจากสหภาพโซเวียต ซึ่งมีอำนาจยับยั้งข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงฯ สหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นจึงผ่านข้อมติที่อนุญาตให้แทรกแซงทางทหารในเกาหลี สหรัฐอเมริกาจัดหาทหารคิดเป็น 88% ของทหารนานาชาติ 341,000 นาย ที่ถูกส่งไปช่วยเหลือกองกำลังเกาหลีใต้ขับการบุกครอง โดยมีรัฐสมาชิกสหประชาชาติอื่นอีก 20 ประเทศเสนอความช่วยเหลือ หลังประสบความสูญเสียอย่างหนักในช่วงสองเดือนแรก ฝ่ายตั้งรับถูกผลักดันกลับไปยังพื้นที่เล็ก ๆ ทางใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งมีชื่อว่า วงรอบปูซาน จากนั้น การรุกโต้ตอบอย่างรวดเร็วของสหประชาชาติได้ขับทหารเกาหลีเหนือผ่านเส้นขนานที่ 38 ขึ้นไปเกือบถึงแม่น้ำยาลู เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าสู่สงครามโดยอยู่ฝ่ายเดียวกับเกาหลีเหนือ การเข้าแทรกแซงของจีนบีบให้กองกำลังเกาหลีใต้และพันธมิตรถอยกลับไปใต้เส้นขนานที่ 38 อีกครั้ง แม้สหภาพโซเวียตจะมิได้ส่งทหารเข้าร่วมในความขัดแย้งโดยตรง แต่ก็ให้ความช่วยเหลือด้านยุทธปัจจัยแก่ทั้งกองทัพเกาหลีเหนือและจีน การสู้รบยุติลงเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 1953 เมื่อมีการลงนามในความตกลงการสงบศึก ความตกลงดังกล่าวฟื้นฟูพรมแดนระหว่างประเทศใกล้กับเส้นขนานที่ 38 และสถาปนาเขตปลอดทหารเกาหลี แนวกันชนที่มีการป้องกันกว้าง 4.0 กิโลเมตร ระหว่างสองชาติเกาหลี อุบัติการณ์ขนาดย่อมยังคงดำเนินต่อมาตราบจนปัจจุบัน ปัจจัยที่ทำให้สงครามเกาหลียุติเพราะ สตาลินเสียชีวิต และรัฐบาลใหม่โซเวียต ให้บอกให้จีนและเกาหลีเหนือยุติสงครามเกาหลี จากมุมมองวิทยาศาสตร์การทหาร สงครามเกาหลีเป็นการรวมยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สองเข้าด้วยกัน โดยเริ่มต้นจากการสงครามเคลื่อนที่ด้วยการเข้าตีของทหารราบอย่างรวดเร็ว ตามด้วยการตีโฉบฉวยทิ้งระเบิดทางอากาศ แต่กลายเป็นสงครามสนามเพลาะที่อยู่นิ่งเมื่อถึงเดือนกรกฎาคม 1951.

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและสงครามเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเวียดนาม

งครามเวียดนาม หรือ สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อ สงครามอเมริกา เป็นสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2498 กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งมีเวียดนามเหนือสั่งการ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ เมื่อสงครามดำเนินไป ส่วนการต่อสู้ของเวียดกงลดลงขณะที่บทบาทของกองทัพประชาชนเวียดนามเพิ่มขึ้น กำลังสหรัฐและเวียดนามใต้อาศัยความเป็นเจ้าเวหาและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ตลอดห้วงสงคราม สหรัฐดำเนินการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ต่อเวียดนามเหนือ และต่อมาน่านฟ้าเวียดนามเหนือกลายเป็นน่านฟ้าที่มีการป้องกันหนาแน่นที่สุดในโลก รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามใต้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคนHeuveline, Patrick (2001).

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและสงครามเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

อักษรฮันจา

ำว่า ฮันจา ในภาษาเกาหลี ตัวสีแดงเขียนด้วยตัวอักษรฮันจา และตัวสีน้ำเงินเขียนด้วยฮันกึล ฮันจา (ฮันจา: 漢字, ฮันกึล: 한자) หรือ ฮันมุน บางครั้งเรียกว่า อักษรจีน-เกาหลี หมายถึงอักษรจีนที่ยืมมาใช้ในภาษาเกาหลี และออกเสียงเป็นภาษาจีนแต่ในสำเนียงของภาษาเกาหลี ตัวอักษรฮันจาไม่เหมือนตัวอักษรคันจิ ในภาษาญี่ปุ่นที่ถูกปรับปรุงและย่อแบบญี่ปุ่นไปหลายตัว ในขณะที่อักษรฮันจาใช้ตัวอักษรจีนตัวเต็ม มีเพียงส่วนน้อยที่ย่อและใช้เหมือนตัวอักษรคัน.

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและอักษรฮันจา · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ทุนนิยม

"พีระมิดระบบทุนนิยม" ถูกตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ในปี..

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและทุนนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ตึกระฟ้า

ูร์จคาลิฟา ตึกระฟ้าที่สูงที่สุดของโลก ตั้งอยู่ที่ดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตึกระฟ้า (skyscraper) ในยุโรปจะหมายถึงตึกที่มีความสูง 152.4 เมตรขึ้นไป (แต่กับทวีปอื่นๆ จะใช้มาตรฐานที่แตกต่างกันไป) โดยตึกระฟ้าส่วนใหญ่จะเป็นสำนักงาน โรงแรม หรือที่อยู่อาศัย ในช่วงเวลาคริสต์ศตวรรษที่ 19 นั้น ยังไม่มีตึกที่สูงเกินกว่า 6 ชั้น เนื่องจากผู้คนไม่ต้องการเดินขึ้นบันไดสูง และไม่สามารถปั๊มน้ำให้สูงเกินกว่า 15 เมตรได้ ตึกระฟ้าเริ่มเป็นไปได้หลังจากความสำเร็จในการพัฒนาเหล็ก คอนกรีตเสริมเหล็ก และปั๊มน้ำ รวมถึงการสร้างลิฟต์ ในปัจจุบันสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกคือ ตึกบูร์จคาลิฟา ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีความสูงทั้งสิ้น 828 เมตร (2,717 ฟุต) มีจำนวน 163 ชั้น โดยมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553.

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและตึกระฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ซัมซุง

ซัมซุง (อังกฤษ: Samsung; เกาหลี: 삼성, ฮันจา: 三星, MC: Samseong, MR: Samsŏng, ภาษาเกาหลีอ่านว่า ซัม-ซอง) เป็นชื่อกลุ่มบริษัทแห่งหนึ่งจากประเทศเกาหลีใต้ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่โซล, ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งประกอบด้วยบริษัทย่อยจำนวนมาก และธุรกิจที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่อยู่ภายใต้แบรนด์ซัมซุง และเป็นกลุ่มธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้ ซัมซุงได้ก่อตั้งโดย ลี เบียงชอล ในปีพ.ศ. 2493 ในช่วงแรกของการทำธุรกิจนั้นได้เน้น ไปที่การส่งออกสินค้า, แปรรูปอาหาร, สิ่งทอ ซัมซุงเริ่มเข้ามาในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในปลายปี พ.ศ. 2503 หลังจากการจากไปของประธานผู้ก่อตั้ง ลี เบียงชอล ทำให้ซัมซุงได้แยกกลุ่มธุรกิจออกเป็น 4 กลุ่ม คือ Samsung Group, Shinsegae Group, CJ Group และ Hansol Group และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 มา ซัมซุงได้เป็นที่รู้จักเป็นสากลมากขึ้นจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญของบริษัทในปัจจุบัน ปัจจุบันธุรกิจของซัมซุง แบ่งออกเป็น 4 หน่วยใหญ่ ๆ คือ เครื่องใช้ในบ้าน เครื่องใช้สำนักงาน โทรศัพท์มือถือ และส่วนประกอบหลัก ๆ ที่ใช้ในการผลิตอุปกรณ์ดิจิตอลที่เป็นนวัตกรรมล่าสุดของโลกในศตวรรษ 21 มีฐานการผลิต 25 แห่ง,บริษัทสาขาตลาด 36 แห่ง, สำนักงานย่อย 23 แห่ง ที่ประจำอยู่ใน 46 ประเทศทั่วโลก และกระจายอยู่ทั้ง 7 ทวีป คือ อเมริกาเหนือ ยุโรป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียกลาง จีน CIS และละตินอเมริก.

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและซัมซุง · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตย

รัฐที่มิได้มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ นครรัฐวาติกัน ประเทศซาอุดิอาระเบีย UAE กาตาร์ โอมาน ฟิจิและบรูไน ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์หลังการก่อการกำเริบเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาล ประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนในรัฐสภา จากนั้น สมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยจะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีการระบุว่าความเสมอภาคและอิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับแต่โบราณกาลR.

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศพัฒนาแล้ว

แผนที่โลกแสดงประเทศแบ่งตาม GDP per capita (2008) ประเทศพัฒนาแล้ว หมายถึงประเทศที่มีการพัฒนาในระดับที่สูงเมื่อวัดตามมาตรฐานบางประการ แต่การยึดเอามาตรฐานใดเป็นหลัก หรือการจัดกลุ่มให้ประเทศใดอยู่ในกลุ่มพัฒนาแล้วนั้นยังคงเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ โดยทั่วไปมาตรวัดทางเศรษฐกิจมักเป็นที่ยอมรับ เช่นการใช้รายได้ต่อหัวเป็นหลัก และให้ประเทศที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวสูงอยู่ในกลุ่มพัฒนาแล้ว ในระยะหลังมีการใช้ดัชนีการพัฒนามนุษย์ ซึ่งเป็นการรวมเอามาตรวัดทางเศรษฐกิจรวมกับมาตรวัดอื่น ๆ เช่นดัชนีอายุขัย และการศึกษา เพื่อเป็นตัววัดการพัฒนาของประเทศต่าง ๆ มากขึ้น จึงมีการจัดกลุ่มประเทศที่มีค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว.

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและประเทศพัฒนาแล้ว · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกำลังพัฒนา

ประเทศสีเหลือง/ส้ม มีการพัฒนามนุษย์ในระดับกลาง และประเทศสีแดง มีการพัฒนามนุษย์ในระดับต่ำ ประเทศกำลังพัฒนา หรือ ประเทศพัฒนาน้อยกว่า หรือ ประเทศด้อยพัฒนา เป็นคำที่ใช้เรียกประเทศที่มีมาตรฐานการดำรงชีวิตปานกลาง-ต่ำ พื้นฐานอุตสาหกรรมยังไม่พัฒนา และมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index) อยู่ในระดับปานกลาง-ต่ำ คำนี้มีแนวโน้มที่จะถูกแทนใช้ที่คำอื่น ๆ ที่เคยใช้ก่อนหน้า ซึ่งรวมถึงคำว่า "โลกที่สาม" ซึ่งเกิดขึ้นในยุคสงครามเย็น เนื่องจากไม่มีคำจำกัดความใดๆมากำหนด คำว่าประเทศพัฒนานาแล้ว อาจเป็นไปได้ว่า ระดับของคำว่า พัฒนาแล้ว จะมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดมากกว่า คำว่า กำลังพัฒนาด้วย สำหรับบางประเทศที่ถูกเรียกว่า เป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังพบว่ามีค่าเฉลี่ยของมาตรฐานการดำรงชีวิตอยู่ในระดับสูงเช่นกัน ส่วนประเทศที่มีสภาพเศรษฐกิจที่จัดอยู่ในระดับก้าวหน้ามากกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา แต่ยังไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ ประเทศพัฒนาแล้ว จะถูกจัดให้อยู่กลุ่มที่ใช้คำจำกัดความว่า ประเทศอุตสาหกรรมใหม.

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและประเทศกำลังพัฒนา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเกาหลีใต้

รณรัฐเกาหลี (Republic of Korea; 대한민국 (ฮันกึล); 大韓民國 (ฮันจา)) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า เกาหลีใต้ (South Korea) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออก มีพื้นที่ครอบคลุมส่วนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี พรมแดนทางเหนือติดกับประเทศเกาหลีเหนือ มีประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้โดยมีทะเลญี่ปุ่นและช่องแคบเกาหลีกั้นไว้ ในภาษาเกาหลีอ่านชื่อประเทศว่า แทฮันมินกุก (대한민국; 大韓民國) โดยเรียกสั้น ๆ ว่า ฮันกุก (한국) ที่หมายถึงเกาหลี และบางครั้งจะใช้ชื่อว่า นัมฮัน (남한) ที่หมายถึง เกาหลีทางใต้ ส่วนชาวเกาหลีเหนือจะเรียกเกาหลีใต้ว่า นัมโชซ็อน (남조선) ที่หมายถึง โชซ็อนใต้.

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและประเทศเกาหลีใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนีตะวันตก

ประเทศเยอรมนีตะวันตก (West Germany) เป็นคำเรียกอย่างไม่เป็นทางการของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในช่วงปี..

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและประเทศเยอรมนีตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

นักการเมือง

นักการเมือง, ผู้นำทางการเมืองหรือบุคคลทางการเมือง (อังกฤษ: politician มาจากภาษากรีกโบราณ polis ที่แปลว่า "เมือง") เป็นบุคคลผู้เกี่ยวข้องกับการมีอิทธิพลต่อนโยบายสาธารณะและการวินิจฉัยสั่งการ ซึ่งรวมผู้ดำรงตำแหน่งวินิจฉัยสั่งการในรัฐบาล และผู้ที่มุ่งดำรงตำแหน่งเหล่านั้น ไม่ว่าด้วยวิธีการเลือกตั้ง การสืบทอด รัฐประหาร การแต่งตั้ง การพิชิต หรือวิธีอื่น การเมืองไม่ใช่จำกัดอยู่เพียงวิธีการปกครองผ่านตำแหน่งสาธารณะเท่านั้น ตำแหน่งทางการเมืองอาจถืออยู่ในบรรษัทก็ได้.

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและนักการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

แผนมาร์แชลล์

แผนมาร์แชลล์ (Marshall Plan) หรือชื่อทางการคือ แผนงานฟื้นฟูยุโรป (European Recovery Programme: ERP) เกิดขึ้นเมื่อ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1947 ของนายพล จอร์จ แคตเลตต์ มาร์แชลล์ (George Catlett Marshall) เป็นโครงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาแก่ยุโรปตะวันตก เพื่อป้องกันการพังทลายทางเศรษฐกิจ และเพื่อฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมรัฐชาติของยุโรปตะวันตกขึ้นมาใหม่ โดยในแผนมาร์แชลล์นี้ยุโรปได้รับมากกว่า 12 พันล้านดอลลาร์ทั้งในรูปเงินกู้และเงินช่วยเหลือตลอดระยะเวลาระหว่างปี ค.ศ. 1948-1951 แผนมาร์แชลล์อย่างเป็นทางการโปรแกรมกู้ยุโรปที่เรียกว่าช่วยมาร์แชลล์เป็นโปรแกรมช่วยสหรัฐมุ่งเป้าไปที่ยุโรปซึ่งเปิดตัวในปี 1947 หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองโดยสหรัฐอเมริกาเลขานุการของรัฐโปรแกรมจอร์จมาร์แชลล์ได้ริเริ่มขึ้นหลังจากที่มาร์แชลล์ได้รับเมื่อสัปดาห์ที่หก การเดินทางไปทั่วยุโรปซึ่งเขาก็เชื่อว่าทวีปสงครามฉีกขาดไม่สามารถอยู่รอดได้โดยปราศจากความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาและสั่งขนาดใหญ่โปรแกรมการช่วยเหลือสหรัฐ แผนเปิดตัวโดยมาร์แชลล์ในการพูดที่ Harvard University 5 มิถุนายน 1947 แต่ทว่าทางสหภาพโซเวียตได้มองแผนมาร์แชลล์ว่า เป็นแผนอุบายอันแยบยลของสหรัฐอเมริกาที่จะดึงประเทศอันเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกเพื่อเปลี่ยนการปกครองเป็นประชาธิปไตยแทน จึงได้บังคับเหล่าประเทศบริวารในยุโรปตะวันออกไม่ให้ยอมรับแผนมาร์แชลและเริ่มดำเนินแผนโมโลตอฟคือการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจตามแบบคอมมิวนิสต์แทน อันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามเย็น.

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและแผนมาร์แชลล์ · ดูเพิ่มเติม »

โลกาภิวัตน์

ลกาภิวัตน์ (มักเขียนผิดเป็น โลกาภิวัฒน์) หรือ โลกานุวัตร (globalization) คือ ผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลก โลกาภิวัตน์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง "การแพร่กระจายไปทั่วโลก การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้ สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นต้น" โลกาภิวัตน์ เป็นคำศัพท์เฉพาะที่บัญญัติขึ้นเพื่อตอบสนองปรากฏการณ์ของสังคมโลกที่เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในส่วนหนึ่งของโลก ส่งผลกระทบอันรวดเร็วและสำคัญต่อส่วนอื่นๆของโลก โลกาภิวัตน์ หมายถึงกระบวนการที่ประชากรของโลกถูกหลอมรวมกลายเป็นสังคมเดี่ยว กระบวนการนี้เกิดจากแรงของอิทธิพลร่วมทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยีและสังคม-วัฒนธรรมและการเมือง.

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและโลกาภิวัตน์ · ดูเพิ่มเติม »

โอลิมปิกฤดูร้อน 1988

มหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 21 ประจำปี..

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและโอลิมปิกฤดูร้อน 1988 · ดูเพิ่มเติม »

โครงสร้างพื้นฐาน

นนบางนา-บางปะกง ถนนเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักของประเทศ โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) เป็นโครงสร้างทางกายภาพและโครงสร้างหลักของหน่วยงานสำหรับใช้งานภายในชุมชน หรือใช้บริการตามความจำเป็นเพื่อรูปแบบทางเศรษฐศาสตร.

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและโครงสร้างพื้นฐาน · ดูเพิ่มเติม »

โซล

ซล (ซออุล) ชื่ออย่างเป็นทางการ นครพิเศษโซล เป็นเมืองหลวงและมหานครที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเกาหลีใต้ มีประชากรประมาณ 10 ล้านคน เป็นปริมณฑลที่ใหญ่ มีประชากรประมาณ 25 ล้านคนซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยซึ่งประกอบด้วยบริเวณมหานครอินช็อนและจังหวัดคย็องกี เกือบหนึ่งในสี่ของประชากรชาวเกาหลีใต้อาศัยอยู่ในโซลและชาวต่างชาติอีกประมาณ 275, 000 คน นครโซลได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ระดับหลายเหตุการณ์ โดยการใช้ความพยายามอย่างมากที่จะเพิ่มอิทธิพลในฐานะประเทศที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติมากเป็นอันดับที่ 5 ในปี 2553 โซลได้รับการโหวตให้เป็นเป้าหมายยอดนิยมในการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวชาวจีน, ญี่ปุ่นและไทย 3 ปีต่อเนื่องกันในปี 2554 สถานีรถไฟโซลเป็นสถานีปลายทางหลักของรถไฟความเร็วสูงเคทีเอ๊กซ์และสถานีรถไฟใต้ดินโซลยังเป็นสถานีที่มีผู้ใช้งานมากเป็นอับดับที่สองของโลกโดยมีลักษณะเป็นสายวงรอบที่ยาวที่สุดและและมีเส้นทางรถไฟไต้ดินจนสุดสายที่ยาวเป็นอับดับที่สองของโลก โซลนั้นได้รวมระบบขนส่งมวลชนเข้ากับเมืองอินช็อนและจังหวัดคย็องกี โดยสามารถให้ผู้โดยสารสามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางหรือรถไฟไต้ดินได้อย่างอิสระโดยใช้บัตรที-มันนี่และเชื่อมต่อโดยทางเอเร็กซ์เพื่อไปยังท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน ซึ่งถูกจัดเป็นสนามบินยอดเยี่ยมตั้งแต่ปี 2548 โดยสภาการท่าอากาศยานนานาชาติ โซลเคยเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ 1986, โอลิมปิกฤดูร้อน 1988, ฟุตบอลโลก 2002 และการประชุมสุดยอด จี-20 2010 โซลได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งการออกแบบในปี 2553 โดยสมาคมออกแบบอุตสาหกรรมนานาชาต.

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและโซล · ดูเพิ่มเติม »

เกษตรกรรม

กษตรกรรม (agriculture) เป็นการเพาะปลูกพืช เห็ดรา เลี้ยงสัตว์ และรูปแบบของชีวิตแบบอื่น ๆ เพื่อเป็นอาหาร เส้นใย เชื้อเพลิงชีวภาพ ยารักษาโรคและผลิตภัณฑ์อื่นเพื่อความยั่งยืนและเพิ่มสมรรถนะชีวิตมนุษย์ เกษตรกรรมเป็นพัฒนาการที่สำคัญในความเจริญของอารยธรรมมนุษย์ที่ไม่ย้ายที่อยู่ซึ่งการเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ในสปีชีส์ที่ถูกทำให้เชื่องได้ผลิตอาหารส่วนเกิน ซึ่งช่วยหล่อเลี้ยงพัฒนาการของอารยธรรม การศึกษาด้านเกษตรกรรมถูกเรียกว่า เกษตรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ของเกษตรกรรมย้อนกลับไปหลายพันปี และการพัฒนาของมันได้ถูกขับเคลื่อนโดยความแตกต่างอย่างมากของภูมิอากาศ วัฒนธรรมและเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม เกษตรกรรมทั้งหมดโดยทั่วไปพึ่งพาเทคนิคต่างๆเพื่อการขยายและบำรุงที่ดินที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงสปีชีส์ที่ถูกทำให้เชื่อง สำหรับพืช เทคนิคนี้มักอาศัยการชลประทานบางรูปแบบ แม้จะมีหลายวิธีการของเกษตรกรรมในพื้นที่แห้งแล้งอยู่ก็ตาม ปศุสัตว์จะถูกเลี้ยงในระบบทุ่งหญ้าผสมกับระบบที่ไม่เป็นเจ้าของที่ดิน ในอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมพื้นที่เกือบหนึ่งในสามของพื้นที่ที่ปราศจากน้ำแข็งและปราศจากน้ำของโลก ในโลกพัฒนาแล้วเกษตรอุตสาหกรรมที่ยึดการปลูกพืชเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่ได้กลายเป็นระบบเกษตรกรรมสมัยใหม่ที่โดดเด่น แม้ว่าจะมีแรงสนับสนุนที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับเกษตรกรรมแบบยั่งยืน รวมถึงเกษตรถาวรและเกษตรกรรมอินทรีย์ จนกระทั่งมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ของประชากรมนุษย์ทำงานในภาคการเกษตร การเกษตรแบบก่อน-อุตสาหกรรมโดยทั่วไปเป็นการเกษตรเพื่อการดำรงชีวิต/การพึ่งตัวเองในที่ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกพืชเพื่อการบริโภคของตัวเองแทน'พืชเงินสด'เพื่อการค้า การปรับเปลี่ยนที่โดดเด่นในการปฏิบัติทางการเกษตรได้เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาในการตอบสนองต่อเทคโนโลยีใหม่ๆและการพัฒนาของตลาดโลก มันยังได้นำไปสู่การปรับปรุงด้านเทคโนโลยีในเทคนิคการเกษตร เช่นวิธีของ 'ฮาเบอร์-Bosch' สำหรับการสังเคราะห์แอมโมเนียมไนเตรตซึ่งทำให้การปฏิบัติแบบดั้งเดิมของสารอาหารที่รีไซเคิลด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนและมูลสัตว์มีความสำคัญน้อยลง เศรษฐศาสตร์การเกษตร การปรับปรุงพันธุ์พืช เกษตรเคมีเช่นยาฆ่าแมลงและปุ๋ยและการปรับปรุงเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้เพิ่มอัตราผลตอบแทนอย่างรวดเร็วจากการเพาะปลูก แต่ในเวลาเดียวกันได้ทำให้เกิดความเสียหายของระบบนิเวศอย่างกว้างขวางและผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ในเชิงลบ การคัดเลือกพันธุ์และการปฏิบัติที่ทันสมัยในการเลี้ยงสัตว์ได้เพิ่มขึ้นในทำนองเดียวกันของการส่งออกของเนื้อ แต่ได้เพิ่มความกังวลเกี่ยวกับสวัสดิภาพของสัตว์และผลกระทบต่อสุขภาพของยาปฏิชีวนะ ฮอร์โมนที่สร้างการเจริญเติบโต และสารเคมีอื่นๆที่ใช้ทั่วไปในอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์ สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมเป็นองค์ประกอบที่เพิ่มขึ้นของการเกษตร แม้ว่าพวกมันจะเป็นสิ่งต้องห้ามในหลายประเทศ การผลิตอาหารการเกษตรและการจัดการน้ำจะได้กลายเป็นเป็นปัญหาระดับโลกเพิ่มขึ้นที่ได้รับการสนับสนุนให้เกิดการอภิปรายเกี่ยวกับจำนวนของ fronts การเสื่อมสลายอย่างมีนัยสำคัญของทรัพยากรดินและน้ำ รวมถึงการหายไปของชั้นหินอุ้มน้ำ ได้รับการตั้งข้อสังเกตในทศวรรษที่ผ่านมา และผลกระทบของภาวะโลกร้อนกับการเกษตรและผลของการเกษตรต่อภาวะโลกร้อนยังคงไม่เป็นที่เข้าใจอย่างเต็มที่ สินค้าเกษตรที่สำคัญสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มกว้างๆได้แก่อาหาร เส้นใย เชื้อเพลิง และวัตถุดิบ อาหารที่เฉพาะได้แก่(เมล็ด)ธัญพืช ผัก ผลไม้ น้ำมันปรุงอาหาร เนื้อสัตว์และเครื่องเทศ เส้นใยรวมถึงผ้าฝ้าย ผ้าขนสัตว์ ป่าน ผ้าไหมและผ้าลินิน วัตถุดิบได้แก่ ไม้และไม้ไผ่ วัสดุที่มีประโยชน์อื่นๆมีการผลิตจากพืช เช่นเรซิน สีธรรมชาติ ยา น้ำหอม เชื้อเพลิงชีวภาพและผลิตภัณฑ์ใช้ประดับเช่นไม้ตัดดอกและพืชเรือนเพาะชำ กว่าหนึ่งในสามของคนงานในโลกมีการจ้างงานในภาคเกษตร เป็นที่สองรองจากภาคบริการเท่านั้น แม้ว่าร้อยละของแรงงานเกษตรในประเทศที่พัฒนาแล้วได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านม.

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและเกษตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจ

รษฐกิจ (economy) นั้น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า "งานอันเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชน." รวมถึงด้านการใช้บริการและการท่องเที่ยวที่มีปัจจัยกระตุ้นต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ เศรษฐกิจยังอาจอธิบายได้ว่าเป็นเครือข่ายจำกัดโดยพื้นที่และเครือข่ายสังคมที่ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการตามอุปสงค์และอุปทานระหว่างผู้มีส่วนโดยการแลกเปลี่ยนหรือสื่อกลางการแลกเปลี่ยนด้วยมูลค่าเครดิตหรือเดบิตที่ยอมรับกันภายในเครือข่าย เศรษฐกิจหนึ่ง ๆ เป็นผลมาจากกระบวนการซึ่งเกี่ยวข้องทั้งวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี ประวัติศาสตร์และสถาบันสังคม เช่นเดียวกับภูมิศาสตร์ การมีทรัพยากรธรรมชาติ และนิเวศวิทยา เป็นปัจจัยหลัก ปัจจัยเหล่านี้ให้บริบท สาร ตลอดจนจัดสภาพและตัวแปรซึ่งเศรษฐกิจทำงานอยู่ หมวดหมู่:ระบบเศรษฐกิจ หมวดหมู่:เศรษฐศาสตร์.

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและเศรษฐกิจ · ดูเพิ่มเติม »

เทคโนโลยี

นาโนเทคโนโลยีเป็นที่สนใจในศตวรรษปัจจุบัน เทคโนโลยี หรือ เทคนิควิทยา มีความหมายค่อนข้างกว้าง โดยทั่วไปหมายถึงธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิร.

ใหม่!!: ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันและเทคโนโลยี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

มหัศจรรย์แห่งแม่น้ำฮัน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »