โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปัจจัยกระทบ

ดัชนี ปัจจัยกระทบ

ปัจจัยกระทบ (impact factor) ปกติใช้คำย่อว่า IF หมายถึงการวัดการได้รับการอ้างอิงของวารสารวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อใช้เป็นตัวแทนที่บ่งชี้ความสำคัญและความน่าเชื่อถือของวารสารในสาขาวิชาการนั้น.

26 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2519พ.ศ. 2549พฤติกรรมศาสตร์พิชญพิจารณ์การวิจัยการประชุมทางวิชาการกูเกิลมนุษยศาสตร์ยีสต์วรรณคดีวารสารวิชาการวิศวกรรมเครื่องกลวิทยาศาสตร์สมุทรศาสตร์สังคมศาสตร์อณูชีววิทยาจิตเวชศาสตร์จุลชีววิทยาขั้นตอนวิธีปริญญาเอกนักวิทยาศาสตร์นิเวศวิทยาเพจแรงก์เศรษฐศาสตร์เสิร์ชเอนจินเคมีอินทรีย์

พ.ศ. 2519

ทธศักราช 2519 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1976 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปัจจัยกระทบและพ.ศ. 2519 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2549

ทธศักราช 2549 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2006 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ปัจจัยกระทบและพ.ศ. 2549 · ดูเพิ่มเติม »

พฤติกรรมศาสตร์

ลิงก์ไปภาษาอื่นพฤติกรรมศาสตร์lang-en|Behavioural sciences หรือ Behavioral scienceหมายถึงคำศัพท์ทั่วไปที่ใช้ในสาขาวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในโลกธรรมชาติ พฤติกรรมศาสตร์เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและการสืบค้นหาพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ผ่านการควบคุมและการสังเกตการณ์เชิงทดลองแบบธรรมชาติและการวางกฎเกณฑ์อันเข้มงวด อย่างไรก็ดี เมื่อเร็วๆ นี้ภาควิชาในสาขาจิตวิทยาหลายแห่งได้ยอมรับคำศัพท์เฉพาะนี้เพื่อใช้ในการกล่าวถึงกลุ่มบุคคลที่ทำการศึกษาคำถามเชิงพฤติกรรมอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างอย่างเด่นชัดไปจากการศึกษาเรื่องทั่วไปทางจิตวิท.

ใหม่!!: ปัจจัยกระทบและพฤติกรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

พิชญพิจารณ์

ผู้ประเมินที่สถาบันสุขภาพแห่งชาติอเมริกันกำลังพิจารณาคำร้องขอทุนงานวิจัย พิชญพิจารณ์, การทบทวนระดับเดียวกัน หรือ การทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน (peer review) เป็นการประเมินงานโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีความชำนาญคล้ายกับผู้ผลิตผลงานนั้น เป็นระบบควบคุมกันเองโดยสมาชิกวิชาชีพที่มีคุณสมบัติความสามารถในสาขาที่เข้าประเด็นกัน เป็นวิธีที่ใช้เพื่อรักษามาตรฐานทางคุณภาพ เพื่อเพิ่มคุณภาพ และเพื่อให้เกิดความเชื่อถือในงานภายในกลุ่มนักวิชาการ เป็นวิธีการกำหนดว่า งานวิชาการนั้นสมควรจะตีพิมพ์หรือไม่ เป็นเรื่องที่จัดหมวดหมู่ได้ตามชนิดของงานหรือตามอาชีพ เช่น พิชญพิจารณ์ทางการแพทย์ (medical peer review).

ใหม่!!: ปัจจัยกระทบและพิชญพิจารณ์ · ดูเพิ่มเติม »

การวิจัย

อลิน เลวี วอร์เนอร์ (Olin Levi Warner) การวิจัยชูคบเพลิงแห่งความรู้ (พ.ศ. 2439) ห้องสมุดรัฐสภาสหรัฐฯ อาคารโทมัส เจฟเฟอร์สัน, วอชิงตัน ดีซี การวิจัย (research) หมายถึงการกระทำของมนุษย์เพื่อค้นหาความจริงในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่กระทำด้วยพื้นฐานของปัญญา ความมุ่งหมายหลักในการทำวิจัยได้แก่การค้นพบ (discovering), การแปลความหมาย, และ การพัฒนากรรมวิธีและระบบ สู่ความก้าวหน้าในความรู้ด้านต่าง ๆ ในเชิงวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายในโลกและจักรวาล การวิจัยอาจต้องใช้หรือไม่ต้องใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ก็ได้ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ อาศัยการประยุกต์ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่ได้แรงผลักดันจากความอยากรู้อยากเห็น การวิจัยเป็นตัวสร้างข้อมูลข่าวสารเชิงวิทยาศาสตร์และทฤษฎีที่มนุษย์นำมาใช้ในการอธิบายธรรมชาติและคุณสมบัติของสรรพสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรา การวิจัยช่วยให้การประยุกต์ทฤษฎีต่าง ๆ มีความเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้รับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ องค์การการกุศล กลุ่มเอกชนซึ่งรวมถึงบริษัทต่าง ๆ งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์จำแนกได้เป็นประเภทตามสาขาวิทยาการและวิชาเฉพาะทาง คำว่าการวิจัยยังใช้หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับวิชาการบางสาขาอีกด้ว.

ใหม่!!: ปัจจัยกระทบและการวิจัย · ดูเพิ่มเติม »

การประชุมทางวิชาการ

การประชุมทางวิชาการ (academic conference) หรือ ประชุมเอกสารัตถ์ (symposium) หมายถึงการชุมนุมในด้านวิชาการหรือวิชาชีพ ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การแก้ประเด็นปัญหาสำคัญ ความห่วงใยหรือ เพื่อความก้าวหน้าร่วมกัน หรือเพื่อทำความตกลงเกี่ยวกับการพิจารณาเลือกกฎระเบียบหรือประเพณีปฏิบัติ (shared rule or custom) ในสาขาวิชาการหรือวิชาชีพที่ไม่ได้กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีทางเลือกอย่างน้อย 2-3 ทางเลือก เพื่อหวังนำผลการตกลงไปปฏิบัติร่วมกัน ปกติจะต้องมีตัวแทนหรือผู้แทนขององค์กร ภูมิภาค หรือประเทศ เช่น.

ใหม่!!: ปัจจัยกระทบและการประชุมทางวิชาการ · ดูเพิ่มเติม »

กูเกิล

กูเกิล (Google Inc.) (และ) เป็นบริษัทมหาชนอเมริกัน มีรายได้หลักจากการโฆษณาออนไลน์ที่ปรากฏในเสิร์ชเอนจินของกูเกิล อีเมล แผนที่ออนไลน์ ซอฟต์แวร์จัดการด้านสำนักงาน เครือข่ายออนไลน์ และวิดีโอออนไลน์ รวมถึงการขายอุปกรณ์ช่วยในการค้นหา กูเกิลสำนักงานใหญ่ที่รู้จักในชื่อกูเกิลเพล็กซ์ตั้งอยู่ที่เมืองเมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีพนักงาน 16,805 คน (31 ธันวาคม 2550) โดยกูเกิลเป็นบริษัทอเมริกันที่ใหญ่ที่สุดที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของดัชนีดาวโจนส์ (ข้อมูล 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550) กูเกิลก่อตั้งโดย แลร์รี เพจ และ เซอร์เกย์ บริน ขณะที่ทั้งคู่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งภายหลังทั้งคู่ได้ก่อตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2541 ในโรงจอดรถของเพื่อนที่ เมืองเมนโลพาร์ก ในรัฐแคลิฟอร์เนีย และมีการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก เมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เพิ่มมูลค่าของบริษัท 1.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และหลังจากนั้นทางกูเกิลได้มีการขยายตัวตลอดเวลาจากการพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่และการซื้อกิจการอื่นรวมเข้ามา เช่น กูเกิล ดีปไมด์ รวมถึงก่อตั้งบริษัทลูกอย่างกูเกิล เอกซ์กูเกิลได้ถูกจัดอันดับให้เป็นบริษัทที่น่าทำงานมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาโดยนิตยสารฟอร์จูน"." นิตยสารฟอร์จูน 22 มกราคม พ.ศ. 2550 เรียกข้อมูลวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งมีคติพจน์ประจำบริษัทคือ Don't be evil อย่างไรก็ตามทางบริษัทได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในด้านการละเมิดข้อมูลส่วนตัว การละเมิดลิขสิทธิ์ และการเซ็นเซอร์ในหลายส่วน วันที่ 10 สิงหาคม..

ใหม่!!: ปัจจัยกระทบและกูเกิล · ดูเพิ่มเติม »

มนุษยศาสตร์

นักปรัชญาเพลโต มนุษยศาสตร์ (humanities) เป็นกลุ่มของสาขาวิชาที่เกี่ยวกับการศึกษาสภาวะแห่งมนุษย์โดยส่วนใหญ่ใช้กรรมวิธีเชิงวิเคราะห์, วิจารณญาณ หรือการคาดการณ์ซึ่งแตกต่างจากการเข้าสู่ปัญหาด้วยกรรมวิธีเชิงประจักษ์ด้วยธรรมชาติ, สังคมศาสตร์ โดยธรรมเนียมทั่วไปมนุษยศาสตร์รวมถึงสาขาวิชาภาษาศาสตร์โบราณและภาษาศาสตร์สมัยใหม่, วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา ทัศนศิลป์ ศิลปะการแสดง และดนตรี บางครั้งมีการรวมเอาสาขาวิชาอื่นเพิ่มเข้าไปด้วย ได้แก่ มานุษยวิทยา ภูมิภาคศึกษา การสื่อสารและวัฒนธรรมศึกษา แม้ว่าสาขาวิชาเหล่านี้มักถูกจัดไว้ในสาขาสังคมศาสตร์ นักวิชาการที่อยู่ในสายของสาขาวิชานี้ บางครั้งอาจเรียกตนเองว่าเป็น "นักมนุษยนิยม" อย่างไรก็ตามคำดังกล่าวก็ได้ใช้เรียกนักปรัชญาสาขามนุษยนิยมแต่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรั.

ใหม่!!: ปัจจัยกระทบและมนุษยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยีสต์

ีสต์ หรือ ส่าเหล้า (yeast) คือ รากลุ่มหนึ่งที่ส่วนใหญ่เป็นเซลล์เดี่ยว มีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปร่างกลม รี สามเหลี่ยม รูปร่างแบบมะนาว ฝรั่ง เป็นต้น ส่วนใหญ่มีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยวิธีการแตกหน่อ พบทั่วไปในธรรมชาติในดิน ในน้ำ ในส่วนต่างๆ ของพืช ยีสต์บางชนิดพบอยู่กับแมลง และในกระเพาะของสัตว์บางชนิด แต่แหล่งที่พบยีสต์อยู่บ่อยๆ คือแหล่งที่มีน้ำตาลความเข้มข้นสูง เช่น น้ำผลไม้ที่มีรสหวาน ยีสต์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ มักจะปนลงไปในอาหาร เป็นเหตุให้อาหารเน่าเสียได้ ยีสต์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมาก มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส (eukaryotic micro-organisms) จัดอยู่ในกลุ่มจำพวกเห็ด รา (Fungi) มีทั้งที่เป็นประโยชน์และโทษต่ออาหาร มีการนำยีสต์มาใช้ประโยชน์นานมาแล้ว โดยเฉพาะการผลิตอาหารที่มีแอลกอฮอล์ จากคุณสมบัติที่มีขนาดเล็กมาก สามารถเพาะเลี้ยงให้เกิดได้ในเวลาอันรวดเร็ว และวิธีการไม่ยุ่งยาก ทำให้ยีสต์เริ่มมีบทบาทที่สำคัญในวงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยสามารถนำมาใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงอาหารธรรมชาติที่สำคัญอีกทีหนึ่ง เช่น ไรแดง โรติเฟอร์ และอาร์ทีเมี.

ใหม่!!: ปัจจัยกระทบและยีสต์ · ดูเพิ่มเติม »

วรรณคดี

วรรณคดี หมายถึง วรรณกรรมหรืองานเขียนที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ การใช้คำว่าวรรณคดีเพื่อประเมินค่าของวรรณกรรมเกิดขึ้นในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ 6 (พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว) วรรณคดีเป็นวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเขียนดี มีคุณค่า สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ มีความคิดเป็นแบบแผน ใช้ภาษาที่ไพเราะ เหมาะแก่การให้ประชาชนได้รับรู้ เพราะสามารถยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร.

ใหม่!!: ปัจจัยกระทบและวรรณคดี · ดูเพิ่มเติม »

วารสารวิชาการ

วารสารวิชาการทางวิทยาศาสตร์นับเป็นวาสารวิชาการสาขาหนึ่ง วารสารวิชาการ (academic / scientific / scholarly journal) หมายถึงวารสารที่ตีพิมพ์เป็นระยะอย่างสม่ำเสมอและจะต้องผ่านการตรวจคุณภาพบทความโดยผู้รู้ในสาขาวิชานั้นๆ หรือที่เรียกวารสารประเภทนี้เป็นการเฉพาะว่าวารสารผ่านการทบทวน (peer-reviewed periodical) วารสารวิชาการเป็นเวทีสำหรับการแนะนำและนำเสนอผลงานค้นคว้าวิจัยใหม่หรือความเห็นทางวิชาการใหม่ๆ เพื่อรับการตรวจสอบและการวิพากษ์วิจารณ์ในหมู่ผู้รู้ด้วยกัน ปกติเนื้อหาสาระในวารสารจะอยู่ในรูปของบทความเสนอ งานวิจัยที่มีความเริ่มแรก บทปริทัศน์ และการวิจารณ์หนังสือ งานตีพิมพ์ทางวิชาการและวิชาชีพที่ไม่มีการตรวจรับคุณภาพเรียกโดยทั่วไปว่า นิตยสารวิชาชีพ (professional magazine) คำ วารสารวิชาการ ใช้กับสิ่งตีพิมพ์วิชาการทุกสาขา วารสารเหล่านี้อภิปรายถึงแง่มุมต่างๆ ในเชิงวิชาการของสาขานั้น.

ใหม่!!: ปัจจัยกระทบและวารสารวิชาการ · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกรรมเครื่องกล

วิศวกรรมเครื่องกลออกแบบและสร้างเครื่องจักร งานวิศวกรรมเครื่องกลรวมไปถึงยานพาหนะในทุกขนาด ระบบปรับอากาศเองก็เป็นหนึ่งในงานทางวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical engineering) เป็นวิชาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์และกฎทางฟิสิกส์เพื่อการประดิษฐ์ การผลิต และการดูแลรักษาระบบเชิงกล วิศวกรรมเครื่องกลเป็นหนึ่งในสาขาทางวิศวกรรมที่เก่าแก่ที่สุดและมีขอบข่ายกว้างขวางที่สุด การศึกษาวิศวกรรมเครื่องกลนั้นจำเป็นต้องมีความเข้าใจในหลักการพื้นฐานของหลักกลศาสตร์ พลศาสตร์ อุณหพลศาสตร์ กลศาสตร์ของไหลและพลังงานเป็นอย่างดี วิศวกรเครื่องกลนั้นสามารถใช้หลักการณ์พื้นฐานได้ดีพอกับความรู้อื่น ๆ ในงานภาคสนามเพื่อการออกแบบและวิเคราะห์ยานยนต์ อากาศยาน ระบบทำความร้อนและความเย็น เรือ ระบบการผลิต จักรกลและอุปกรณ์อุตสาหกรรม หุ่นยนต์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น.

ใหม่!!: ปัจจัยกระทบและวิศวกรรมเครื่องกล · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ คำว่า "วิทยาศาสตร์" มักถูกใช้เพื่อแทนคำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษ แต่ถ้าจะกล่าวให้ตรงความหมายแล้ว เราใช้คำว่า "วิทยาศาสตร์" เพื่อหมายถึง "Exact science" ซึ่งไม่รวมสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์เอาไว้ แม้ว่าสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์จะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน การแบ่งแยกดังกล่าวมีขึ้นเนื่องจากความแตกต่างในด้านเนื้อหาและธรรมชาติของการศึกษา มิใช่เรื่องของความจริงหรือความถูกต้องแต่อย่างใด คำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษจะมีความหมายเทียบเท่ากับคำว่า "ศาสตร์" หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป.

ใหม่!!: ปัจจัยกระทบและวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สมุทรศาสตร์

Thermohaline circulation สมุทรศาสตร์ หรือ สมุทรวิทยา (oceanography, oceanology, หรือ marine science) คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับทะเลและมหาสมุทร สมุทรศาสตร์เกี่ยวพันกับศาสตร์แขนงอื่น ๆ อีกหลายสาขา เช่น ธรณีวิทยา ภูมิศาสตร์ ธรณีฟิสิกส์ ฟิสิกส์ เคมี ธรณีเคมี คณิตศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา พฤกษศาสตร์และสัตวศาสตร์ เราอาจแบ่งสมุทรศาสตร์ออกได้เป็น 5 สาขา ดังนี้.

ใหม่!!: ปัจจัยกระทบและสมุทรศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สังคมศาสตร์

กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ (social science) คือ สาขาวิชาที่ใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาโลกในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ หน่วยสังคมต่าง ๆ ของมนุษย์ รวมทั้งพฤติกรรมของมนุษย์ในแง่มุมต่าง ๆ วิชาในสังคมศาสตร์แตกต่างจากวิชาในกลุ่มมนุษยศาสตร์ เนื่องจากหลาย ๆ สาขาวิชาในสังคมศาสตร์เน้นการหาความรู้และความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินพฤติกรรมของมนุษย์และปรากฏการณ์ทางสังคมด้วยกระบวนการแบบปฏิฐานและประจักษ์นิยม ทั้งเชิงปริมาณ (quantitative method) และเชิงคุณภาพ (qualitative method) อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม บางสาขาก็อาจจะนำระเบียบวิธีเชิงคุณภาพแบบการตีความ การคาดการณ์ วิเคราห์ตามหลักปรัชญาและตรรกะ หรือความเชื่อส่วนบุคคล และการวิจารณ์มาใช้ในการอธิบายพฤติกรรมในบางกรณีที่เหมาะสมหากจำเป็น อย่างไรก็ตาม ระเบียบวิธีการศึกษาทางสังคมศาสตร์แบบใหม่ได้รับอิทธิพลจากสังคมศาสตร์แบบอเมริกันอย่างมาก ทำให้การศึกษาแบบปฏิฐานนิยมได้รับความนิยมและการยอมรับมากกว่าระเบียบวิธีแบบเก่าที่คล้ายคลึงกับสาขามนุษยศาสตร์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (2529: 129) ทรงกล่าวถึงความหมายของสังคมศาสตร์และขอบเขตของการศึกษาวิชานี้ไว้ว่า สังคมศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ตามความเป็นจริง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ.

ใหม่!!: ปัจจัยกระทบและสังคมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อณูชีววิทยา

อณูชีววิทยา หรือ ชีววิทยาระดับโมเลกุล (molecular biology) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง และการทำงานของหน่วยพันธุกรรม ในระดับโมเลกุล เป็นสาขาที่คาบเกี่ยวกันระหว่างชีววิทยาและเคมี โดยเฉพาะสาขาพันธุศาสตร์และชีวเคมี อณูชีววิทยามุ่งเน้นศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างระบบต่างๆภายในเซลล์ ซึ่งรวมถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างการสังเคราะห์ ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอ และ โปรตีน และรวมถึงว่าขบวนการเหล่านี้ถูกควบคุมอย่างไร.

ใหม่!!: ปัจจัยกระทบและอณูชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

จิตเวชศาสตร์

ตเวชศาสตร์ มาจากคำว่า จิต ที่แปลว่าจิตใจ รวมกับ เวชศาสตร์ ที่แปลว่า ศาสตร์ด้านการแพทย์ เมื่อรวมกันจึงหมายถึง การศึกษาทางด้านการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับอาการบกพร่องทางจิต ต่างกับ คำว่า จิตวิทยา ตรงที่ว่า จิต ที่แปลว่าจิตใจ รวมกับคำว่า วิทยา ที่มาจากวิทยาศาสตร์แทน ดังนั้น จิตวิทยาจึงเน้นเกี่ยวกับทฤษฎีทางจิตใจที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทางด้านการแพทย์ อาการบกพร่องทางจิต มีความหมายตามแนวความคิดที่มีอยู่ในขณะนี้ว่า เป็นอาการที่เกิดจากความบกพร่องจากการทำงานของระบบประสาทของสมองมนุษย์ โดยมีสาเหตุมาจากกระบวนการพัฒนาสมองที่ถูกกำหนดจากยึน และสภาพแวดล้อม.

ใหม่!!: ปัจจัยกระทบและจิตเวชศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

จุลชีววิทยา

นอาหารวุ้นซึ่งมีเชื้อจุลินทรีย์เห็นเป็นริ้วลายเส้น จุลชีววิทยา (Microbiology) คือการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งเรียกว่าจุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย โปรโตซัว ไวรัส เชื้อรา และ สาหร.

ใหม่!!: ปัจจัยกระทบและจุลชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ขั้นตอนวิธี

ั้นตอนวิธี หรือ อัลกอริทึม (algorithm) หมายถึงกระบวนการแก้ปัญหาที่สามารถเข้าใจได้ มีลำดับหรือวิธีการในการแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่งอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและชัดเจน เมื่อนำเข้าอะไร แล้วจะต้องได้ผลลัพธ์เช่นไร ซึ่งแตกต่างจากการแก้ปัญหาแบบสามัญสำนึก หรือฮิวริสติก (heuristic) โดยทั่วไป ขั้นตอนวิธี จะประกอบด้วย วิธีการเป็นขั้นๆ และมีส่วนที่ต้องทำแบบวนซ้ำ (iterate) หรือ เวียนเกิด (recursive) โดยใช้ตรรกะ (logic) และ/หรือ ในการเปรียบเทียบ (comparison) ในขั้นตอนต่างๆ จนกระทั่งเสร็จสิ้นการทำงาน ในการทำงานอย่างเดียวกัน เราอาจจะเลือกขั้นตอนวิธีที่ต่างกันเพื่อแก้ปัญหาได้ โดยที่ผลลัพธ์ที่ได้ในขั้นสุดท้ายจะออกมาเหมือนกันหรือไม่ก็ได้ และจะมีความแตกต่าง ที่จำนวนและชุดคำสั่งที่ใช้ต่างกันซึ่งส่งผลให้ เวลา (time), และขนาดหน่วยความจำ (space) ที่ต้องการต่างกัน หรือเรียกได้อีกอย่างว่ามีความซับซ้อน (complexity) ต่างกัน การนำขั้นตอนวิธีไปใช้ ไม่จำกัดเฉพาะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถใช้กับปัญหาอื่น ๆ ได้เช่น การออกแบบวงจรไฟฟ้า, การทำงานเครื่องจักรกล, หรือแม้กระทั่งปัญหาในธรรมชาติ เช่น วิธีของสมองมนุษย์ในการคิดเลข หรือวิธีการขนอาหารของแมลง หนึ่งในขั้นตอนวิธีอย่างง่าย คือ ขั้นตอนวิธีที่ใช้หาจำนวนที่มีค่ามากที่สุดในรายการ (ซึ่งไม่ได้เรียงลำดับไว้) ในการแก้ปัญหานี้ เราจะต้องดูจำนวนทุกจำนวนในรายการ ซึ่งมีขั้นตอนวิธีดังนี้.

ใหม่!!: ปัจจัยกระทบและขั้นตอนวิธี · ดูเพิ่มเติม »

ปริญญาเอก

ปริญญาเอก (doctorate) เป็นปริญญาวิชาการหรือวิชาชีพซึ่งในประเทศส่วนใหญ่ให้ผู้ถือมีคุณสมบัติสอนในระดับมหาวิทยาลัยในสาขาเฉพาะของปริญญานั้น หรือทำงานในวิชาชีพเฉพาะ ในบางประเทศ ปริญญาสูงสุดในสาขาหนึ่ง ๆ เรียก ปริญญาสูงสุด (terminal degree) คำว่า "doctorate" มาจากภาษาละติน docere หมายถึง "สอน".

ใหม่!!: ปัจจัยกระทบและปริญญาเอก · ดูเพิ่มเติม »

นักวิทยาศาสตร์

นีล ดะแกรส ไทซัน นักวิทยาศาสตร์ คือบุคคลผู้มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์อย่างน้อยหนึ่งสาขา และใช้หลักวิธีทางวิทยาศาสตร์ในการค้นคว้าวิจัย คำนี้บัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2376 โดย วิลเลียม วีเวลล์ โดยก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ถูกเรียกว่า "นักปรัชญาธรรมชาติ" หรือ "บุคคลแห่งวิทยาศาสตร์".

ใหม่!!: ปัจจัยกระทบและนักวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

นิเวศวิทยา

นิเวศวิทยา (ecology) (มาจากภาษากรีก: οἶκος "บ้าน"; -λογία, "การศึกษาของ") คือ การวิเคราะห์และการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีต่อกันและกัน และปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีกับสิ่งแวดล้อมแบบ'อชีวนะ' (abiotic) ของสิ่งมีชีวิตนั้น หัวข้อนักนิเวศวิทยามักสนใจจะรวมถึงความหลากหลายทางนิเวศวิทยา การกระจาย ปริมาณ (ชีวมวล) จำนวน (ประชากร) ของสิ่งมีชีวิต เช่นเดียวกับการแข่งขันระหว่างพวกมันภายในและระหว่างระบบนิเวศ ปฏิสัมพันธ์ที่เป็นองค์ประกอบของระบบนิเวศมีลักษณะเป็นไดนามิค ซึ่งประกอบไปด้วย สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศ ชุมชนของสิ่งมีชีวิตที่พวกมันสร้างขึ้น และองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตของสภาพแวดล้อมของสิ่งมีชีวิต กระบวนการในระบบนิเวศ (ecosystem process) เช่น การผลิตโดยผู้ผลิต (เช่น พืช สาหร่าย) การเกิดขึ้นของดิน (pedogenesis) วัฏจักรสารอาหาร และกิจกรรมการสร้างสภาวะที่เหมาะสม (niche construction) จะเป็นตัวกำหนดการไหลของพลังงานและสสารจากสถานะหนึ่งไปยังอีกสถานะหนึ่งในระบบนิเวศ กระบวนการเหล่านี้จะทำงานอย่างเป็นปกติโดยสิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทที่เฉพาะเจาะจงและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศนั้น โดยความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) ที่หมายถึงความหลากหลายของสายพันธุ์ ของยีน และของระบบนิเวศ จะช่วยเพิ่มการบริการในระบบนิเวศ (ecosystem services) นิเวศวิทยาเป็นสาขาการศึกษาแบบสหวิทยาการที่รวมชีววิทยาและวิทยาศาสตร์โลก โดยคำว่า "ระบบนิเวศ" ("Ökologie") เกิดขึ้นในปี 1866 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน แอรนส์ แฮกเกล (Ernst Haeckel) (1834-1919) ความคิดเกี่ยวกับนิเวศวิทยาเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากความคิดในเชิงปรัชญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจริยธรรมและการเมือง นักปรัชญากรีกโบราณเช่น Hippocrates และ อริสโตเติล ได้วางรากฐานของนิเวศวิทยาในการศึกษาเรื่อง 'ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ' (natural history) ของพวกเขา นิเวศวิทยาสมัยใหม่ถูกแปลงให้เป็น 'วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ' ที่เข้มงวดมากขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 แนวคิดวิวัฒนาการในการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตและ 'การคัดเลือกโดยธรรมชาติ' กลายเป็นเสาหลักของ 'ทฤษฎีทางนิเวศวิทยาสมัยใหม่' คำว่านิเวศวิทยาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับ 'ชีววิทยาวิวัฒนาการ' พันธุศาสตร์ และ พฤฒิกรรมของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ (ethology) ความเข้าใจถึงกระบวนการที่ความหลากหลายทางชีวภาพจะสามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบนิเวศเป็นหัวข้อที่สำคัญในการศึกษาระบบนิเวศ โดยนักนิเวศวิทยาพยายามที่จะอธิบายดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: ปัจจัยกระทบและนิเวศวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

เพจแรงก์

ตัวอย่างเพจแรงก์สำหรับเครือข่ายอย่างง่าย (ค่าจาก 100) แสดงถึง หน้า B มีค่าเพจแรงก์สูงสุด เพราะมีจำนวนหน้าที่ลิงก์เข้าหามากสุด แต่ทว่า หน้า C มีเพจแรงก์สูงกว่าหน้า E แม้ว่าจะมีหน้าที่ลิงก์มาหน้าน้อยกว่า แต่หน้าที่มีน้ำหนักลิงก์เข้าหาหน้า C เพจแรงก์ (PageRank) คือขั้นตอนวิธีที่ใช้การวิเคราะห์เว็บลิงก์ตามทฤษฎีเครือข่ายที่ใช้เป็นพื้นฐานในตัวเสิร์ชเอนจินของกูเกิล โดยเพจแรงก์จะแสดงเป็นค่าตัวเลขบ่งบอกถึงความความสำคัญของข้อมูลในกลุ่มของชุดข้อมูล ตัวเลขของเพจแรงก์ของกูเกิลในปัจจุบันจะมีค่าระหว่าง 0 ถึง 10 (ถูกคำนวณค่าในลักษณะลอการิทึม) แสดงถึงความสำคัญของหน้านั้นบนตัวค้นหาของกูเกิล หน้าที่มีเพจแรงก์สูงจะปรากฏขึ้นมาก่อนหน้าที่มีเพจแรงก์ต่ำ ค่าของเพจแรงก์ถูกคำนวณจากจำนวนการอ้างถึงจากหน้าอื่น และน้ำหนักของหน้าที่ลิงก์เข้ามาห.

ใหม่!!: ปัจจัยกระทบและเพจแรงก์ · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐศาสตร์

รษฐศาสตร์ (economics) เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการผลิต การกระจาย การบริโภคสินค้าและการให้บริการ ตามคำจำกัดความของนักเศรษฐศาสตร์และนักการเมือง เรย์มอนด์ บารร์ แล้ว "เศรษฐศาสตร์คือศาสตร์แห่งการจัดการทรัพยากรอันมีจำกัด เศรษฐศาสตร์พิจารณาถึงรูปแบบที่พฤติกรรมมนุษย์ได้เลือกในการบริหารทรัพยากรเหล่านี้ อีกทั้งวิเคราะห์และอธิบายวิถีที่บุคคลหรือบริษัททำการจัดสรรทรัพยากรอันจำกัดเพื่อตอบสนองความต้องการมากมายและไม่จำกัด" คำว่า เศรษฐศาสตร์ มาจากคำภาษากรีก oikonomia ่ซึ่งแปลว่าการจัดการครัวเรือน (oikos แปลว่าบ้านและ nomos แปลว่า จารีตประเพณีหรือกฎหมาย ซึ่งรวมกันหมายความว่ากฎเกณฑ์ของครัวเรือน) แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันแยกออกมาจากขอบเขตที่กว้างของวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ถูกประยุกต์ใช้ครอบคลุมทั้งสังคมในด้าน ธุรกิจ, การเงิน และรัฐบาล แม้แต่ทั้งด้านอาชญากรรม, การศึกษา, ครอบครัว, สุขภาพ, กฎหมาย, การเมือง, ศาสนา, สถาบันสังคม, สงคราม และวิทยาศาสตร์ ภาพแสดงผู้ซื้อและผู้ขายกำลังต่อรองราคาอยู่หน้าตลาดชิชิคาสเทนานโก ในประเทศกัวเตมาลา วิชาเศรษฐศาสตร์จัดเป็นวิชาเชิงปทัสฐาน (เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น) เมื่อเศรษฐศาสตร์ได้ถูกใช้เพื่อเลือกทางเลือกอันหนึ่งอันใด หรือเมื่อมีการตัดสินคุณค่าบางสิ่งบางอย่างแบบอัตวิสัย ในทางตรงข้ามเราจะเรียกเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นวิชาเชิงบรรทัดฐาน (เศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง) เมื่อเศรษฐศาสตร์นั้นได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายและอธิบายถึงผลลัพธ์ที่ตามมาเมื่อมีการเลือกเกิดขึ้น โดยพิจารณาจากสมมติฐาน และชุดของข้อมูลสังเกตการณ์ ทางเลือกใดก็ตามที่เกิดจากการใช้สมมติฐานสร้างเป็นแบบจำลอง หรือเกิดจากชุดข้อมูลสังเกตการณ์ที่สัมพันธ์กันนั้น ก็เป็นข้อมูลเชิงบรรทัดฐานด้วยเช่นเดียวกัน เศรษฐศาสตร์จะให้ความสนใจกับตัวแปรที่สามารถวัดค่าได้เท่านั้น โดยสาขาของวิชาเศรษฐศาสตร์จะถูกจำแนกออกตามเนื้อหาเป็นสองสาขาใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: ปัจจัยกระทบและเศรษฐศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เสิร์ชเอนจิน

ร์ชเอนจิน (search engine) หรือ โปรแกรมค้นหา คือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละร.

ใหม่!!: ปัจจัยกระทบและเสิร์ชเอนจิน · ดูเพิ่มเติม »

เคมีอินทรีย์

มีอินทรีย์ (Organic chemistry) เป็นสาขาย่อยในวิชาเคมี ที่ว่าด้วยการศึกษาโครงสร้าง คุณสมบัติ องค์ประกอบ ปฏิกิริยา และการเตรียม (ด้วยการสังเคราะห์หรือด้วยวิธีการอื่น) สารประกอบที่มีธาตุคาร์บอนเป็นหลัก ไฮโดรคาร์บอนและอนุพันธ์ของพวกมันอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ สารประกอบเหล่านี้อาจมีธาตุอื่นอีกจำนวนหนึ่งด้วยก็ได้ เช่น ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ออกซิเจน แฮโลเจน เช่นเดียวกับฟอสฟอรัส ซิลิกอนและซัลเฟอร์ สารประกอบอินทรีย์เป็นพื้นฐานกระบวนการของสิ่งมีชีวิตบนโลกแทบทั้งสิ้น (โดยมีข้อยกเว้นเล็กน้อยมาก) สารประกอบเหล่านี้มีโครงสร้างหลากหลายมาก ลักษณะการนำไปใช้ของสารประกอบอินทรีย์ก็มีมากมาย โดยเป็นได้ทั้งพื้นฐานของ หรือเป็นองค์ประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น พลาสติก ยา สารที่ได้จากน้ำมันปิโตรเคมี อาหาร วัตถุระเบิด และสี.

ใหม่!!: ปัจจัยกระทบและเคมีอินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Impact factorค่าอิทธิพลปัจจัยอิทธิพลปัจจัยผลกระทบ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »