โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปักกิ่งและมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และเภสัชศาสตร์แผนจีนแห่งนครปักกิ่ง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปักกิ่งและมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และเภสัชศาสตร์แผนจีนแห่งนครปักกิ่ง

ปักกิ่ง vs. มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และเภสัชศาสตร์แผนจีนแห่งนครปักกิ่ง

ปักกิ่ง หรือ เป่ย์จิง (จีน:, พินอิน: Běijīng) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อย่อว่า จิง ตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ที่ราบหวาเป่ย์ ชื่อเดิมคือ จี่ (冀) สมัยวสันตสารท (春秋)และสมัยรณรัฐ (战国)เป็นเมืองหลวงของแคว้นเยียน สมัยราชวงศ์เหลียว เป็นเมืองหลวงรอง ชื่อ เยียนจิง เป็นเมืองหลวงของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิน หยวน หมิง ชิงจนถึง สาธารณรัฐจีน เคยใช้ชื่อจงตู ต้าตู เป่ย์ผิงและเป่ย์จิง โดยมีชื่อเรียกทั้งหมดกว่า 60 ชื่อ เริ่มตั้งเป็นเมืองตั้งแต่ปี 1928 ปัจจุบัน แบ่งเป็น 16 เขตและ 2 อำเภอ เป็นนครที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง พื้นที่ทั่วกรุงปักกิ่งมีถึง 16,800 ตารางกิโลเมตร ถึงสิ้นปี.. มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และเภสัชศาสตร์แผนจีนแห่งนครปักกิ่ง (Beijing University of Chinese Medicine; อักษรจีนตัวย่อ: 北京中医药大学; อักษรจีนตัวเต็ม: 北京中醫藥大學; พินอิน: Běijīng Zhōngyīyào Dàxué) หรือชื่อย่อในภาษาอังกฤษคือ BUCM เป็นสถาบันระดับอุดมศึกษาที่มุ่งเน้นผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาการแพทย์แผนจีนโบราณ และบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการ แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน มหาวิทยาลัยแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในปี 1956 ในนาม วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านจีนแห่งนครปักกิ่ง ตามนโยบายในการปฏิรูประบบการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน คือให้มีการสถาปนาสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเพื่อการศึกษาค้นคว้าและวิจัยจำนวน 211 แห่งทั่วประเทศ โครงการเริ่มขึ้นในปี 1996 โดยใช้ชื่อโครงการว่า 211工程 และ วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านจีนแห่งนครปักกิ่ง คือหนึ่งในสถาบันที่ถูกเลือกให้ร่วมโครงการนี้ ในปี 1993 วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านจีนแห่งนครปักกิ่ง ถูกยกฐานะจาก วิทยาลัย เป็น มหาวิทยาลัย และใช้นามใหม่ว่า มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และเภสัชศาสตร์แผนจีนแห่งนครปักกิ่ง จนมาถึงปี 2000 'วิทยาลัยเวชกรรมฝังเข็มและออโธปิดิกส์แห่งนครปักกิ่ง ได้รวมกิจการเข้ากับ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และเภสัชศาสตร์แผนจีนแห่งนครปักกิ่ง และยังคงใช้นามสถาบันว่า มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และเภสัชศาสตร์แผนจีนแห่งนครปักกิ่ง มาจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และเภสัชศาสตร์แผนจีนแห่งนครปักกิ่ง เป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดการเรียนการสอนวิชาแพทยศาสตร์แผนจีนเต็มระบบที่มีชื่อเสียงในระดับแนวหน้า และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดที่เปิดการเรียนการสอนทางด้านสาขาวิชาการแพทย์แผนจีน และเภสัชศาสตร์แผนจีน ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่โดดเด่นด้วยคุณภาพของการเรียนการสอน การศึกษา ค้นคว้า วิจัย และมีผลงานวิจัยออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และเภสัชศาสตร์แผนจีนแห่งนครปักกิ่ง ได้รับการยอมรับในวงการแพทย์ระดับสากลทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการค้นคว้าวิจัย การแลกเปลี่ยนนักศึกษา อาจารย์ ตลอดจนการร่วมทำสนธิสัญญาความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยต่างชาติทั่วโลก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปักกิ่งและมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และเภสัชศาสตร์แผนจีนแห่งนครปักกิ่ง

ปักกิ่งและมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และเภสัชศาสตร์แผนจีนแห่งนครปักกิ่ง มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พินอินอักษรจีนตัวย่อ

พินอิน

นอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์) พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese) สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน.

ปักกิ่งและพินอิน · พินอินและมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และเภสัชศาสตร์แผนจีนแห่งนครปักกิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีนตัวย่อ

Hànzì ฮั่นจื้อ แปลว่า ภาษาฮั่น หรือ ภาษาจีนกลาง เขียนด้วยอักษรจีนตัวย่อ แผนภาพออยเลอร์แสดงกลุ่มของการเปลี่ยนแปลงอักษรจีนตัวเต็มไปเป็นอักษรจีนตัวย่อ อักษรจีนตัวย่อ (เจี่ยนถี่จื้อ/เจี่ยนฮั่วจื้อ) เป็นหนึ่งในสองรูปแบบอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน อักษรจีนตัวย่อประดิษฐ์และเริ่มใช้โดยรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ใน พ.ศ. 2492 เหตุที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวย่อ หรือ Simplified Chinese character ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนมาตรฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ในปัจจุบัน นั่นคือ อักษรจีนตัวเต็ม หรือ Traditional Chinese Character (อักษรจีนดั้งเดิม) อักษรจีนตัวเต็มได้ใช้ใน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนก่อนการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย ส่วนอักษรจีนตัวย่อ ใช้กันใน สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนหลังการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากยังคงใช้อักษรจีนตัวเต็มเป็นหลัก แต่สำหรับการสอนภาษาจีนตามสถานศึกษาในประเทศไทยส่วนมากจะใช้อักษรจีนตัวย่อ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับสาธารณรัฐประชาชนจีน.

ปักกิ่งและอักษรจีนตัวย่อ · มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และเภสัชศาสตร์แผนจีนแห่งนครปักกิ่งและอักษรจีนตัวย่อ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปักกิ่งและมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และเภสัชศาสตร์แผนจีนแห่งนครปักกิ่ง

ปักกิ่ง มี 49 ความสัมพันธ์ขณะที่ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และเภสัชศาสตร์แผนจีนแห่งนครปักกิ่ง มี 3 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 3.85% = 2 / (49 + 3)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปักกิ่งและมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และเภสัชศาสตร์แผนจีนแห่งนครปักกิ่ง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »