โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปอดบวมน้ำและภาวะหัวใจวาย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปอดบวมน้ำและภาวะหัวใจวาย

ปอดบวมน้ำ vs. ภาวะหัวใจวาย

ปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) เป็นภาวะซึ่งมีการคั่งของสารน้ำในถุงลมของเนื้อปอด ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซได้ตามปกติ เกิดเป็นภาวะการหายใจล้มเหลว สาเหตุอาจมาจากหัวใจซีกซ้ายล้มเหลว ทำให้ไม่สามารถบีบไล่เลือดออกจากระบบไหลเวียนในปอดได้ทัน (ปอดบวมน้ำเหตุหัวใจ, cardiogenic pulmonary edema) หรือเกิดการบาดเจ็บต่อเนื้อปอดหรือระบบหลอดเลือดของปอด (ปอดบวมน้ำเหตุอื่นซึ่งไม่ใช่หัวใจ, noncardiogenic pulmonary edema) แม้สาเหตุจะมีหลายอย่างแต่วิธีรักษานั้นมีอยู่ไม่กี่วิธี และวิธีที่ได้ผลดีส่วนใหญ่ก็เป็นที่ใช้กันแพร่หลายไม่ว่าสาเหตุของการเกิดปอดบวมน้ำในผู้ป่วยรายนั้น ๆ จะเป็นอะไร การรักษาทั่วไปเน้น 3 ด้าน ได้แก่ แก้ไขภาวะหายใจล้มเหลว รักษาภาวะซึ่งเป็นสาเหตุ และป้องกันไม่ให้ปอดเสียหายมากขึ้น ภาวะปอดบวมน้ำนี้โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นขึ้นเฉียบพลันอาจนำไปสู่ภาวะการหายใจล้มเหลว ออกซิเจนในเลือดต่ำ จนหัวใจหยุด และเสียชีวิตได้ หมวดหมู่:Respiratory diseases principally affecting the interstitium หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์. วะหัวใจวาย หรือภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure (HF)) มักใช้หมายถึงภาวะหัวใจวายเรื้อรัง (chronic heart failure (CHF)) เกิดเมื่อหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดเพียงพอเพื่อคงการไหลของเลือดเพื่อสนองความต้องการของร่างกาย คำว่า โรคหัวใจเลือดคั่ง (Congestive heart failure (CHF) หรือ congestive cardiac failure (CCF)) มักใช้แทนคำว่า หัวใจวายเรื้อรัง ได้ อาการและอาการแสดงโดยทั่วไปมีหายใจกระชั้น เหนี่อยเกิน และขาบวม การหายใจกระชั้นมักเลวลงเมื่อออกกำลังกาย เมื่อนอนราบและเมื่อกลางคืนขณะหลับ มักมีข้อจำกัดปริมาณการออกกำลังกายที่ผู้ป่วยทำได้ แม้รักษาอย่างดีแล้ว สาเหตุทั่วไปของภาวะหัวใจวาย ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจซึ่งรวมกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (อาการหัวใจล้ม) ก่อนหน้านี้, ความดันโลหิตสูง, หัวใจห้องบนเต้นแผ่วระรัว (atrial fibrillation), โรคลิ้นหัวใจ (valvular heart disease), และโรคกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiomyopathy) สาเหตุเหล่านี้ทำให้เกิดอาการหัวใจล้มโดยเปลี่ยนโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ของหัวใจ มีอาการหัวใจล้มสองประเภทหลัก คือ อาการหัวใจล้มจากการทำหน้าที่ผิดปรกติของหัวใจห้องล่างซ้ายและอาการหัวใจล้มโดยมีเศษส่วนการสูบฉีดปกติแล้วแต่ว่าหัวใจห้องล่างซ้ายมีความสามารถหดตัวหรือไม่ หรือความสามารถคลายตัวของหัวใจ ปกติจัดลำดับความรุนแรงของโรคจากความสามารถการออกกำลังกายที่ลดลง ภาวะหัวใจวายมิใช่อย่างเดียวกับกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดหรือหัวใจหยุด (ซึ่งเลือดหยุดไหลทั้งหมด) ฦโรคอื่นซึ่งอาจมีอาการคล้ายกับภาวะหัวใจวาย เช่น โรคอ้วน ปัญหาไต ปัญหาตับ โลหิตจาง และโรคไทรอยด์ เป็นต้น การวินิจฉัยภาวะนี้อาศัยประวัติของอาการและการตรวจร่างกาย ยืนยันด้วยการบันทึกภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (echocardiography) การตรวจเลือด การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการฉายรังสีทรวงอกอาจมีประโยชน์เพื่อตัดสินสาเหตุเบื้องหลัง การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงและสาเหตุของโร.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปอดบวมน้ำและภาวะหัวใจวาย

ปอดบวมน้ำและภาวะหัวใจวาย มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): หัวใจหยุดเต้น

หัวใจหยุดเต้น

หัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest) คือภาวะซึ่งหัวใจไม่มีการบีบตัว ทำงานผิดปกติ หรือทำงานช้าลง ทำให้ไม่มีการไหลเวียนเลือด ทำให้ไม่มีการลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายส่วนต่างๆ เกิดอาการของการทำงานผิดปกติที่อวัยวะต่างๆ ที่เห็นได้อย่างหนึ่งคือการทำงานของสมอง ซึ่งเมื่อไม่มีเลือดเลี้ยงทำให้หมดสติ หากหัวใจหยุดเต้นนานกว่า 5 นาที มีโอกาสเกิดความเสียหายต่อเนื้อสมองได้มาก การช่วยเหลือในทันทีจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตและมีการฟื้นตัวของสมองที่ดี หัวใจหยุดเต้นเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ บางครั้งหากได้รับการรักษาทันท่วงทีอาจทำให้หัวใจกลับมาเต้นใหม่ได้ หากมีหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันโดยไม่คาดฝันจนเสียชีวิตใช้ศัพท์ว่า sudden cardiac death วิธีสำคัญในการรักษาภาวะหัวใจหยุดเต้นคือการช่วยกู้ชีพ (CPR) เพื่อสร้างการไหลเวียนของเลือดให้มีเลือดไปเลี้ยงร่างกาย พิจารณาสัญญาณไฟฟ้าหัวใจว่าเป็นชนิดที่สามารถช็อกไฟฟ้าเพื่อช่วยเหลือได้หรือไม่และให้การรักษาตามความเหมาะสม.

ปอดบวมน้ำและหัวใจหยุดเต้น · ภาวะหัวใจวายและหัวใจหยุดเต้น · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปอดบวมน้ำและภาวะหัวใจวาย

ปอดบวมน้ำ มี 5 ความสัมพันธ์ขณะที่ ภาวะหัวใจวาย มี 14 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 5.26% = 1 / (5 + 14)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปอดบวมน้ำและภาวะหัวใจวาย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »