โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาไหลไฟฟ้าและวงศ์ปลาดุกไฟฟ้า

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปลาไหลไฟฟ้าและวงศ์ปลาดุกไฟฟ้า

ปลาไหลไฟฟ้า vs. วงศ์ปลาดุกไฟฟ้า

ปลาไหลไฟฟ้า (Electric eel) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Electrophorus electricus จัดอยู่ในวงศ์ Electrophoridae จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์นี้. วงศ์ปลาดุกไฟฟ้า (Electric catfish) วงศ์ปลาหนังน้ำจืดจำพวกหนึ่ง พบเฉพาะในทวีปแอฟริกาตอนเหนือและตะวันออกบริเวณแม่น้ำไนล์ มีทั้งหมด 2 สกุล พบทั้งหมด 25 ชนิด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Malapteruridae ซึ่งมาจากภาษากรีกคำว่า "Mala" หมายถึง "นุ่มนิ่ม", "pteron" หมายถึง "ครีบ" และ "oura" หมายถึง "หาง" มีลำตัวมีรูปร่างกลมป้อม หัวหนา ตามีขนาดเล็ก มีครีบ 7 ครีบ แต่ไม่มีครีบหลัง มีเพียงครีบไขมัน ขนาดใหญ่ อยู่ด้านหลังใกล้โคนหาง ครีบอก 1 คู่ ไม่มีเงี่ยง ครีบท้อง 1 คู่มีขนาดเล็ก ครีบก้นอยู่ตรงข้ามกับครีบไขมัน หางมีขนาดใหญ่เป็นรูปพัด มีหนวด 3 คู่ รอบริมฝีปากมีหนังหนา มีอวัยวะสร้างไฟฟ้า 1 คู่โดยฝังอยู่ใต้ ผิวหนังที่หนาบริเวณลำตัวข้างละอันการปล่อยกระแสไฟฟ้าอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาท โดยปกติจะปล่อยกระแสไฟฟ้าเวลาหาอาหารหรือป้องกันตัวเท่านั้น ปลาที่มีขนาดใหญ่สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าขนาด 1 แอมแปร์ และแรงคลื่นกว่า 100 โวลท์ได้ ซึ่งกระแสไฟฟ้าขนาดนี้ในน้ำสามารถ ทำอันตรายต่อศัตรู หรือแม้กระทั่งมนุษย์ได้ แต่แม้กระนั้นกระแสไฟฟ้าของปลาดุกไฟฟ้าเมื่อเทียบกับ ปลาไหลไฟฟ้า (Electrophorus electricus) ก็ยังจัดว่ามีกำลังอ่อนกว่ามาก เพราะปลาไหลไฟฟ้าขนาดใหญ่บางตัวสามารถสร้างไฟฟ้าที่มีแรงคลื่นสูงถึง 600 โวลท์ ซึ่ง เป็นอันตรายร้ายแรงต่อสัตว์ทุกชนิด สีตัวของปลาดุกไฟฟฟ้า ด้านหลังเป็นสีน้ำตาลลอมเทา ส่วนด้านท้องมีสีจางกว่า ตามตัว มีปละสีดำกระจายทั่วตัวจะมากหรือน้อยไม่แน่นอน ตามครีบมีสีอ่อน โคนครีบหางมีสีดำจางพาดลงมา โดยเฉพาะในตัวที่มีขนาดเล็ก ปลาดุกไฟฟ้าเป็นปลาที่รู้จักของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณไม่ต่ำกว่า 6,000 ปี ทั้งนี้โดยมีหลักฐานจากภาพแกะสลักบนแผ่นดินที่พบในปิรามิดของอียิปต์ นิยมใช้เนื้อบริโภคในท้องถิ่น เป็นปลากินเนื้อ มักซุกซ่อนตัวอยู่นิ่ง ๆ ตามวัสดุใต้น้ำ เช่น โพรงไม้, สาหร่าย หาเหยื่อในเวลากลางคืนด้วยการสร้างกระแสไฟฟ้าเพื่อสลบเหยื่อ การขยายพันธุ์เชื่อกันว่าเป็นปลาที่ฟักไข่ในปาก ปลาดุกไฟฟ้า ชนิดที่ใหญ่ที่สุดโตเต็มได้ราว 1.22 เมตร คือ ชนิด ''Malapterurus microstoma'' ปัจจุบันนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งต้องเลี้ยงเดี่ยว ๆ เพียงตัวเดียวเนื่องจากเป็นปลาที่ก้าวร้าว ซ้ำยังสามารถปล่อยไฟฟ้าใส่ปลาชนิดอื่นได้อีก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปลาไหลไฟฟ้าและวงศ์ปลาดุกไฟฟ้า

ปลาไหลไฟฟ้าและวงศ์ปลาดุกไฟฟ้า มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์ปลาสวยงามปลาดุกไฟฟ้าปลาไฟฟ้าโวลต์

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ปลาไหลไฟฟ้าและสัตว์ · วงศ์ปลาดุกไฟฟ้าและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ปลาไหลไฟฟ้าและสัตว์มีแกนสันหลัง · วงศ์ปลาดุกไฟฟ้าและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ปลาไหลไฟฟ้าและสปีชีส์ · วงศ์ปลาดุกไฟฟ้าและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวยงาม

ตู้ ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่าง ๆ จากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล.

ปลาสวยงามและปลาไหลไฟฟ้า · ปลาสวยงามและวงศ์ปลาดุกไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดุกไฟฟ้า

ปลาดุกไฟฟ้า (Electric catfish) เป็นสกุลปลาหนังน้ำจืดในวงศ์ปลาดุกไฟฟ้า (Malapteruridae) ใช้ชื่อสกุลว่า Malapterurus (/มา-แลป-เทอ-รู-รัส/) โดยมาจากภาษากรีกคำว่า μαλακός (malakos) หมายถึง "อ่อนนุ่ม", πτερων (pteron) หมายถึง "ครีบ" และ ουρά (oura) หมายถึง "หาง" โดยมีความหมายถึง ครีบไขมันที่แลดูโดดเด่น เนื่องจากปลาในสกุลนี้ไม่มีครีบหลัง โดยรวมมีรูปร่างกลมยาวอวบอ้วนทรงกระบอกคล้ายไส้กรอก ตามีขนาดเล็ก ริมปากหนาและรูจมูกกลมและมีความห่างจากกันพอสมควร ช่องเหงือกแคบและบีบตัว มีหนวดสามคู่ ไม่มีครีบหลัง มีครีบไขมันขนาดใหญ่อยู่ค่อนไปทางส่วนท้ายของลำตัวติดกับครีบหาง ครีบทุกครีบปลายครีบมนกลม ถุงลมแบ่งเป็นสองห้องยาว มีลำตัวทั่วไปสีน้ำตาลหรือเทา และมีลายจุดหรือกระสีคล้ำกระจายอยู่บนหลังและด้านข้างลำตัว ใต้ท้องเป็นสีขาวไม่มีลาย คอดหางมีลายแถบสีคล้ำสลับขาว และครีบหางมีลายสีขาวคล้ายรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวอยู่กลางครีบ เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ เช่น แม่น้ำไนล์, แม่น้ำคองโก, แม่น้ำแซมเบซี, แม่น้ำไนเจอร์ และแม่น้ำหลายสาย ในทวีปแอฟริกา รวมถึงทะเลสาบต่าง ๆ เช่น ทะเลสาบแทนกันยีกา หรือทะเลสาบชาด มีอวัยวะที่ปล่อยกระแสไฟฟ้าจากกล้ามเนื้อด้านข้างลำตัว ซึ่งสามารถปล่อยได้มากถึง 350 โวลต์ ในขนาดลำตัว 50 เซนติเมตร (19 นิ้ว) โดยชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ยาวได้ถึง 122 เซนติเมตร (48 นิ้ว) และน้ำหนัก 20 กิโลกรัม (44 ปอนด์) อาศัยอยู่ในน้ำขุ่นและมีวัสดุต่าง ๆ เช่น ตอไม้หรือโพรงหินสำหรับหลบซ่อนตัว โดยใช้ไฟฟ้าในการป้องกันตัวและช็อตเหยื่อสำหรับเป็นอาหาร เป็นปลาที่เคลื่อนไหวได้เชื่องช้า เมื่อช็อตเหยื่อจนสลบแล้วจึงค่อยกลืนกิน มีการจับคู่ผสมพันธุ์ด้วยการขุดโพรงยาวถึง 3 เมตร (10 ฟุต) ที่ริมตลิ่งในระดับความลึกประมาณ 1-3 เมตร (3.3-9.8 ฟุต) เป็นปลาที่มนุษย์ใช้รับประทานเป็นอาหารมาตั้งแต่อดีต ตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณ และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ปลาดุกไฟฟ้าและปลาไหลไฟฟ้า · ปลาดุกไฟฟ้าและวงศ์ปลาดุกไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไฟฟ้า

ปลาไฟฟ้า หมายถึงปลาจำพวกหนึ่งที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เองในตัว เพื่อใช้ในการล่าเหยื่อและป้องกันตัว โดยมีอวัยวะบางอย่างที่ช่วยในการสร้าง ซึ่งกระแสไฟฟ้าที่ปล่อยออกมานั้นจะมีความแรงแตกต่างกันไปตามชนิดวงศ์ (Family) และสายพันธุ์ (Species) และขนาดของลำตัว ปลาที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากที่สุดคือ ปลาไหลไฟฟ้า (Electrophorus electricus) เป็นปลาน้ำจืด พบในอเมริกาใต้ เป็นปลาขนาดใหญ่ เมื่อเต็มที่ยาวได้ถึง 2 เมตร สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้สูงถึง 600 โวลต์ รุนแรงพอที่จะทำให้หัวใจมนุษย์วายตายได้ ชนิดอื่น ๆ ที่พบในน้ำจืด ก็ได้แก่ ปลาดุกไฟฟ้า (Malapterurus electricus) พบในแอฟริกา สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้ถึง 350 โวลต์ และปลาอบา อบา (Gymnarchus niloticus) ขนาดโตเต็มที่ได้ 2 เมตร เช่นกัน และปลาในวงศ์ Gymnotidae พบในอเมริกาใต้ สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อนเพื่อการล่าเหยื่อ โดยมากปลาไฟฟ้าที่พบน้ำจืดจะนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ส่วนที่พบในทะเลก็ได้แก่ กระเบนไฟฟ้า อันเป็นปลากระเบนในวงศ์ Narcinidae และ Torpedinidae หมวดหมู่:ปลาแบ่งตามชื่อสามัญ หมวดหมู่:ปลาน้ำจืด หมวดหมู่:ปลาน้ำเค็ม หมวดหมู่:ปลาตู้ หมวดหมู่:ปลาไฟฟ้า.

ปลาไฟฟ้าและปลาไหลไฟฟ้า · ปลาไฟฟ้าและวงศ์ปลาดุกไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

โวลต์

วลต์ (สัญลักษณ์: V) คือหน่วยอนุพันธ์ในระบบเอสไอของความต่างศักย์ไฟฟ้า ปริมาณที่กำกับด้วยหน่วยโวลต์นั้นคือผลการวัดความเข้มของแหล่งจ่ายไฟฟ้าในแง่ที่ว่าจะสร้างพลังงานได้เท่าใดที่ระดับกระแสค่าหนึ่ง ๆ โวลต์ซึ่งเป็นชื่อของหน่วยนี้ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติให้แก่ อาเลสซันโดร วอลตา (พ.ศ. 2288 - 2370) ผู้คิดค้นแบตเตอรี่เคมีชนิดแรกที่เรียกว่าเซลล์โวลตาอิก (Voltaic Pile) โวลท์ (volt หรือ V) คือ หน่วยที่ใช้เรียกเพื่อบอกขนาดของแรงดันไฟฟ้าในบ้าน เช่น 220 V หมายถึง ขนาดของแรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 220 โวลท์ (ประเทศไทยใช้ไฟระบบนี้) 1 โวลต์ (V).

ปลาไหลไฟฟ้าและโวลต์ · วงศ์ปลาดุกไฟฟ้าและโวลต์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปลาไหลไฟฟ้าและวงศ์ปลาดุกไฟฟ้า

ปลาไหลไฟฟ้า มี 35 ความสัมพันธ์ขณะที่ วงศ์ปลาดุกไฟฟ้า มี 26 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 11.48% = 7 / (35 + 26)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปลาไหลไฟฟ้าและวงศ์ปลาดุกไฟฟ้า หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »