โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาไหลนา (สกุล)และอันดับปลาไหลนา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปลาไหลนา (สกุล)และอันดับปลาไหลนา

ปลาไหลนา (สกุล) vs. อันดับปลาไหลนา

ปลาไหลนา หรือ ปลาไหลบึง เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาไหลนา (Synbranchidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Monopterus (/โม-น็อพ-เทอ-รัส/) มีรูปร่างยาวคล้ายงู ลำตัวลื่นมาก มีเมือกอยู่ตลอดทั้งตัว มีเกล็ดขนาดเล็กฝังอยู่ใต้ผิวหนัง มีลักษณะสำคัญ คือ ฟันมีขนาดเล็ก ขากรรไกรล่างและที่กระดูกเพดานปากชิ้นข้างติดกันเป็นแผ่น ๆ ช่องเหงือกอยู่ใต้หัว หนังริมกระดูกแก้มทั้งสองข้างติดต่อรวมกัน และตรงกลางเป็นเอ็นที่ยึดติดกับเอ็นคาง ไม่มีครีบอกและครีบท้อง ตามีขนาดเล็ก เป็นปลากินเนื้อและซากสัตว์ต่าง ๆ เป็นอาหาร ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 30–60 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปทั้งในทวีปอเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้, แอฟริกา และเอเชีย โดยมีชนิดที่รู้จักเป็นอย่างดี คือ ปลาไหลนา (M. albus). อันดับปลาไหลนา (Swamp eel) เป็นอันดับของปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยกระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Synbranchiformes มีรูปร่างโดยรวมเรียวยาวคล้ายปลาในอันดับปลาไหล (Anguilliformes) หรือปลาไหลแท้ ที่มีขนาดใหญ่กว่าและพบได้ในทะเลด้วย แต่ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย เกล็ดมีขนาดเล็ก แบบบางเรียบ หรือบางชนิดไม่มีเกล็ด ขอบปากของขากรรไกรบนเจริญมาจากกระดูกพรีแม็กซิลลา และกระดูกแม็กซิลลา คู่ขนานกันกับกระดูกฮูเมอรัล อาร์คไม่สามารถยืดหดได้ มีฟันบนขากรรไกร และเพดานปาก ไม่มีครีบท้อง ช่องเปิดเหงือกมีขนาดเล็กอยู่ทางด้านล่างของส่วนหัว หรือบริเวณคอหอย มีกระดูกแกนเหงือก 3-4 อัน อาจมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ ครีบเดี่ยวอาจเสื่อมไป หรือมีหนังคลุม อาจมีหรือไม่มีครีบคู่ ไม่มีกระเพาะลม เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์ แผ่นหนังหุ้มกระดูกกระพุ้งแก้มเชื่อมต่อกับคอคอด ตามีขนาดเล็ก พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปแอฟริกาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และที่เกาะบอร์เนียว โดยแบ่งออกได้เป็น 3 วงศ์ คือ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปลาไหลนา (สกุล)และอันดับปลาไหลนา

ปลาไหลนา (สกุล)และอันดับปลาไหลนา มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): วงศ์ปลาไหลนาสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังอันดับปลาไหลนาปลาที่มีก้านครีบปลาน้ำกร่อยปลาน้ำจืดปลาไหลนา

วงศ์ปลาไหลนา

วงศ์ปลาไหลนา (Swamp eel, Amphibious fish; কুঁচেমাছ) เป็นวงศ์ปลากินเนื้อ พบในน้ำจืดและน้ำกร่อยของทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา โดยกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในเขตอบอุ่น พบตั้งแต่พื้นที่ชุ่มน้ำและถ้ำในทวีปแอฟริกา, ตะวันออกกลาง, เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ ไปจนถึงโซนโอเชียเนีย ใช้ชื่อวงศ์ว่า Synbranchidae (/ซิน-แบรน-ชิ-ดี้/) โดยพบอยู่ทั้งหมด 18 ชนิด มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายงู ตามีขนาดเล็ก มีอวัยวะช่วยหายใจเป็นเส้นเลือดฝอยในคอหอย ไม่มีครีบหรืออวัยวะใด ๆ ที่ช่วยในการว่ายน้ำ เว้นแต่บริเวณปลายหางจะแผนแบนคล้ายใบพาย ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิด มีลำตัวลื่นมาก เพราะมีเมือกเยอะ เกล็ดมีขนาดเล็กฝังในลำตัว เมื่อยังเล็กจะมีครีบอก เมื่อโตขึ้นจะหายไป เป็นปลาที่สามารถ เปลี่ยนเพศได้ (Hermphrodite) โดยช่วงแรกจะเป็นเพศเมีย และจะกลายเป็นเพศผู้เมื่อโตขึ้น ด้านน้ำหนักเพศเมียจะมีน้ำหนักตั้งแต่ 100-300 กรัม เพศผู้มีน้ำหนักมากกว่า 400 กรัม ออกหากินในเวลากลางคืน กินเนื้อเป็นอาหาร โดยสามารถกินอาหารได้หลากหลาย แม้กระทั่งซากสัตว์หรือซากพืชที่เน่าเปื่อย มีพฤติกรรมขุดรูอยู่ในพื้นโคลนตม หรือตามตลิ่งน้ำ ชอบรวมตัวกันอาหาร เป็นปลาที่สามารถปรับสภาพให้อาศัยอยู่ได้ในทุกสิ่งแวดล้อม ในฤดูร้อน สามารถขุดรูลึกลงไป 1-1.2 เมตร เพื่อจำศีลได้ สำหรับในประเทศไทยพบทั้งหมด 3 ชนิด คือ.

ปลาไหลนา (สกุล)และวงศ์ปลาไหลนา · วงศ์ปลาไหลนาและอันดับปลาไหลนา · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ปลาไหลนา (สกุล)และสัตว์ · สัตว์และอันดับปลาไหลนา · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ปลาไหลนา (สกุล)และสัตว์มีแกนสันหลัง · สัตว์มีแกนสันหลังและอันดับปลาไหลนา · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาไหลนา

อันดับปลาไหลนา (Swamp eel) เป็นอันดับของปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยกระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Synbranchiformes มีรูปร่างโดยรวมเรียวยาวคล้ายปลาในอันดับปลาไหล (Anguilliformes) หรือปลาไหลแท้ ที่มีขนาดใหญ่กว่าและพบได้ในทะเลด้วย แต่ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย เกล็ดมีขนาดเล็ก แบบบางเรียบ หรือบางชนิดไม่มีเกล็ด ขอบปากของขากรรไกรบนเจริญมาจากกระดูกพรีแม็กซิลลา และกระดูกแม็กซิลลา คู่ขนานกันกับกระดูกฮูเมอรัล อาร์คไม่สามารถยืดหดได้ มีฟันบนขากรรไกร และเพดานปาก ไม่มีครีบท้อง ช่องเปิดเหงือกมีขนาดเล็กอยู่ทางด้านล่างของส่วนหัว หรือบริเวณคอหอย มีกระดูกแกนเหงือก 3-4 อัน อาจมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ ครีบเดี่ยวอาจเสื่อมไป หรือมีหนังคลุม อาจมีหรือไม่มีครีบคู่ ไม่มีกระเพาะลม เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์ แผ่นหนังหุ้มกระดูกกระพุ้งแก้มเชื่อมต่อกับคอคอด ตามีขนาดเล็ก พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปแอฟริกาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และที่เกาะบอร์เนียว โดยแบ่งออกได้เป็น 3 วงศ์ คือ.

ปลาไหลนา (สกุล)และอันดับปลาไหลนา · อันดับปลาไหลนาและอันดับปลาไหลนา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ปลาที่มีก้านครีบและปลาไหลนา (สกุล) · ปลาที่มีก้านครีบและอันดับปลาไหลนา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำกร่อย

ปลาชะลิน(''Chanos chanos'') ปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ปลาน้ำกร่อย หรือ ปลาสองน้ำ (Amphidromous fish) คือ ปลาที่สามารถปรับสภาพให้อาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำเค็มหรือในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืดตามแม่น้ำลำคลอง ปลาน้ำกร่อย อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ.

ปลาน้ำกร่อยและปลาไหลนา (สกุล) · ปลาน้ำกร่อยและอันดับปลาไหลนา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำจืด

วงศ์นี้ล้วนแต่เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ปลาน้ำจืด (Freshwater fish) หมายถึง ปลาที่อาศัยอยู่ได้ในเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืด คือ น้ำที่มีปริมาณเกลือหรือความเค็มละลายน้อยกว่าร้อยละ 00.5 เท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ, คลอง พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ที่เป็นน้ำจืด เช่น ทะเลสาบน้ำจืด, บึง หนอง หรือลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบ โดยโครงสร้างของปลาน้ำจืดนั้น จะมีแรงดันออสโมซิสในเลือดอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำที่อาศัยอยู่มาก จึงทำให้มีการไหลของน้ำเข้าสู่ร่างกายและเกลือแร่แพร่ออกสู่น้ำภายนอกได้ง่าย โดยไม่ให้น้ำซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายและออกจากร่างกายได้ แต่ทว่ากระบวนการดังกล่าวก็ยังไม่ดีพอ เพราะเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ปลาใช้หายใจมีน้ำไหลผ่าน เมื่อมีเหงือก น้ำก็มีโอกาสไหลผ่านเข้าสู่ภายในร่างกายได้ จึงกำจัดน้ำส่วนที่เกินที่ถูกดูดเข้าสู่ร่างกายออกสู่นอกร่างกายได้วิธีการขับถ่ายนำเอาปัสสาวะซึ่งมีความดันออสโมซิสต่ำกว่าเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย ร่างกายส่วนใหญ่ของปลาน้ำจืดจะปกคลุมด้วยผิวหนังและเกล็ดซึ่งไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านนอกจากบริเวณที่เป็นเหงือกแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจเท่านั้นที่น้ำผ่านได้ และโดยธรรมชาติปลาน้ำจืดไม่ดื่มน้ำเลย ซึ่งแตกต่างจากปลาทะเล เพราะการดื่มน้ำจะทำให้ร่างกายมีน้ำมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะมีน้ำบางส่วนไหลผ่านบริเวณปากและเหงือกเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจก็จะมีโอกาสซึมเข้าไปในร่างกายได้บ้าง และเกลือแร่จากเลือดก็จะแพร่ออกมาทางเหงือกได้มากพอดู ปลาน้ำจืดจึงมีไตขับน้ำส่วนเกินออกไปเป็นปัสสาวะ และมีกลุ่มเซลล์พิเศษอยู่บริเวณเหงือกคอยดูดเอาเกลือแร่ต่าง ๆ ที่จำเป็นกลับสู่ร่างก.

ปลาน้ำจืดและปลาไหลนา (สกุล) · ปลาน้ำจืดและอันดับปลาไหลนา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไหลนา

ปลาไหลนา หรือ ปลาไหลบึง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Monopterus albus อยู่ในวงศ์ปลาไหลนา (Synbranchidae) มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายงู ตามีขนาดเล็ก คอป่องออก มีอวัยวะช่วยหายใจอยู่ในคอหอยเป็นเส้นเลือดฝอย ซึ่งช่วยให้หายใจได้โดยไม่ต้องผ่านซี่กรองเหงือกเหมือนปลาทั่วไป และยังสามารถขุดรูในดินเพื่อจำศีลในช่วงฤดูร้อนได้ด้วย ไม่มีครีบใด ๆ ยกเว้นบริเวณปลายหางแบนยาวคล้ายใบพาย เมื่อยังเล็กมีครีบอก แต่โตขึ้นจะหายไป กระดูกเหงือกมีทั้งหมด 3 คู่ ลำตัวลื่นมาก สีลำตัวปกติเป็นสีเหลืองทอง ใต้ท้องสีขาว ในบางตัวอาจมีจุดกระสีน้ำตาล แต่ก็มีพบมากที่สีจะกลายไป เป็นสีเผือก สีทองทั้งตัว หรือสีด่าง มีความยาวประมาณ 60 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1.01 เมตร ปลาไหลนา จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาไหลนาที่พบมากที่สุดในประเทศไทยและเป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดด้วย โดยพบได้ทุกภาค ทุกแหล่งน้ำ พบชุกชุมทั่วไป สำหรับในต่างประเทศพบกว้างขวางมาก ตั้งแต่อเมริกากลาง, ทวีปอเมริกาใต้, ทวีปแอฟริกา, ประเทศอื่น ๆ ในทวีปเอเชีย ไปจนถึงโอเชียเนีย เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร โดยกินได้แม้กระทั่งซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย มีพฤติกรรมชอบรวมตัวกันหาอาหาร เมื่อยังเล็กจะเป็นตัวเมีย และจะกลายเป็นตัวผู้เมื่อโตขึ้น ผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน และมีความสมบูรณ์สูงสุดในการวางไข่ คือ เดือนสิงหาคม โดยไข่จะมีเพียง 1 ฝัก เป็นลักษณะไข่จมไม่สัมผัสกับวัสสุใด ๆ ใต้น้ำ เมื่อสัมผัส จะมีความยืดหยุ่นมาก มีลักษณะสีเหลืองสดใส ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.3 เซนติเมตร ไข่ที่ได้รับการผสมมีลักษณะกลม สีเหลืองทอง ส่วนไข่ที่ไม่ได้รับการผสมจะมีสีขาวใส ไข่จะใช้เวลาในการฟักประมาณ 3 วัน ลูกปลาเมื่อฟักออกใหม่ ๆ มีความยาว 2.5 เซนติเมตร มีถุงไข่แดง 2 ใน 3 ส่วน และมีครีบอกเมื่ออายุได้ 5 - 6 วัน ถุงไข่แดงยุบพร้อมครีบอกหายไป และเริ่มกินอาหารได้ เป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะนิยมบริโภคกันมาแต่โบราณ อีกทั้งยังมีความเชื่ออีกว่า หากปล่อยปลาไหลนาแล้วจะช่วยให้ทุกข์โศกไหลไปตามชื่อ ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงกันในเชิงพาณิชย์ โดยนิยมเลี้ยงในบ่อปูน ในปลาที่มีสีกลายออกไป นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ปลาไหลนาและปลาไหลนา (สกุล) · ปลาไหลนาและอันดับปลาไหลนา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปลาไหลนา (สกุล)และอันดับปลาไหลนา

ปลาไหลนา (สกุล) มี 19 ความสัมพันธ์ขณะที่ อันดับปลาไหลนา มี 17 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 22.22% = 8 / (19 + 17)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปลาไหลนา (สกุล)และอันดับปลาไหลนา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »