โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาแปบและวงศ์ย่อยปลาซิว

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปลาแปบและวงศ์ย่อยปลาซิว

ปลาแปบ vs. วงศ์ย่อยปลาซิว

ปลาแปบขาวหางดำ (''Oxygaster anomalura'') เป็นปลาแปบชนิดหนึ่งในสกุล ''Oxygaster'' ปลาแปบ หรือ ปลาท้องพลุ (Abramine, Sword minnow) เป็นชื่อสามัญของปลาน้ำจืดขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ในวงศ์ย่อย CultrinaeBànàrescu, P.M. 1971: Further studies on the systematics of Cultrinae with reidentification of 44 type specimens (Pisces, Cyprinidae). วงศ์ย่อยปลาซิว (Danionin) เป็นวงศ์ย่อยของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ซึ่งถือเป็นวงศ์ใหญ่ มีสมาชิกต่าง ๆ ในวงศ์นี้ทั่วโลกมากกว่า 2,000 ชนิด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Danioninae ปลาในวงศ์ย่อยนี้ มักมีขนาดเล็ก โดยเรียกในชื่อสามัญว่า ปลาซิว หรือ ปลาแปบ มีลักษณะโดยทั่วไป คือ ส่วนใหญ่ลำตัวมีสีเงิน สันท้องกลมไม่เป็นสัน หรือบางชนิดสันท้องคม ส่วนหัวมักอยู่ในแนวเฉียงกับลำตัว ส่วนใหญ่มีปมที่ปลายของขากรรไกรล่าง หรือบางชนิดไม่มี ปากเฉียงขึ้นหรืออยู่ในตำแหน่งตรง มีฟันในหลอดคอ 1-3 แถว ก้านครีบเดี่ยวของครีบหลังไม่แข็ง ปกติมีจำนวนก้านครีบที่แตกปลาย 7 ก้าน มักอยู่ในตำแหน่งทางด้านท้ายของลำตัวหรือหลังจุดเริ่มต้นของครีบท้อง บางชนิดไม่มีหนวด บางชนิดมีหนวด มีซอกเกล็ดเฉพาะที่ฐานของครีบท้อง เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์โค้งลงทางด้านล่างและสิ้นสุดต่ำกว่ากึ่งกลางคอดหาง ตามข้อมูลของมหาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดให้ปลาที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้มีทั้งหมด 30 สกุล (ดูในตาราง) แต่ตามข้อมูลของผู้ช่วยศาสตราจารย์ อภินันท์ สุวรรณรักษ์ แห่งคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดให้มีสกุลเพิ่มเติมขึ้นมาอีก ซึ่งเป็นปลาที่สามารถพบได้ในประเทศไทย ได้แก่ Aaptosyax, Aspidoparia, Boraras, Brachydanio, Leptobarbus, Macrochirichthys, Opsariichthys, Oxygaster และThryssocypris ทั้งนี้เนื่องจากจำนวนวงศ์ย่อยของปลาในวงศ์ปลาตะเพียนนี้ ยังไม่มีข้อยุติแน่นอน โดยนักมีนวิทยาและนักอนุกรมวิธานในแต่ละท่าน ก็จะจัดแตกต่างกันออกไป เช่น วอลเตอร์ เรนโบธ ได้แบ่งวงศ์ย่อยออกเป็นทั้งสิ้น 4 วงศ์ย่อย เมื่อปี ค.ศ. 1996 ได้แก่ Alburninnae, Danioninae, Leuciscinae และCyprininae เป็นต้น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปลาแปบและวงศ์ย่อยปลาซิว

ปลาแปบและวงศ์ย่อยปลาซิว มี 15 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พ.ศ. 2539มหาวิทยาลัยแม่โจ้วอลเตอร์ เรนโบธวงศ์ปลาตะเพียนสกุล (ชีววิทยา)อนุกรมวิธานปลาฝักพร้าปลาข้าวเม่า (ปลาซิว)ปลาซิวปลาซิวหัวตะกั่วปลานางอ้าวปลาน้ำจืดปลาแปบยาวปลาแปบขาวปลาแปบใส

พ.ศ. 2539

ทธศักราช 2539 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1996 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ปลาแปบและพ.ศ. 2539 · พ.ศ. 2539และวงศ์ย่อยปลาซิว · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยแม่โจ้

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ตั้งอยู่ที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2477 โดยมีรากฐานจาก "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือ" จนได้รับการเปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยแม่โจ้เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐลำดับที่ 20 ในประเทศไท.

ปลาแปบและมหาวิทยาลัยแม่โจ้ · มหาวิทยาลัยแม่โจ้และวงศ์ย่อยปลาซิว · ดูเพิ่มเติม »

วอลเตอร์ เรนโบธ

ร.วอลเตอร์ เรนโบธ (Walter Rainboth) หรือ วอลเตอร.

ปลาแปบและวอลเตอร์ เรนโบธ · วงศ์ย่อยปลาซิวและวอลเตอร์ เรนโบธ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาตะเพียน

วงศ์ปลาตะเพียน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyprinidae, barb, carp, minnow, goldfish) โดยคำว่า Cyprinidae มาจากคำว่า kyprînos ในภาษากรีกโบราณ (κυπρῖνος แปลว่า "ปลาทอง") ประกอบด้วยปลาจำพวกปลาไน, ปลาตะเพียน, ปลาทอง และปลาซิว ถือเป็นวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดในปลาน้ำจืด ประกอบไปด้วยชนิด มากกว่า 2,000 ชนิดใน 200 สกุล แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์ย่อย โดยจัดอยู่ในอันดับ Cypriniformes เป็นวงศ์ที่มีชนิดและจำนวนปลามากที่สุดในปลาน้ำจืดของไทย และมีความหลากหลายเป็นอันดับสามของโลก ปัจจุบันพบแล้วอย่างน้อย 204 ชน.

ปลาแปบและวงศ์ปลาตะเพียน · วงศ์ปลาตะเพียนและวงศ์ย่อยปลาซิว · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ปลาแปบและสกุล (ชีววิทยา) · วงศ์ย่อยปลาซิวและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

อนุกรมวิธาน

อนุกรมวิธานวิทยา (อังกฤษ: Taxonomy) เป็นการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ตามสายวิวัฒนาการ อนุกรมวิธานเป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ ในการศึกษาอนุกรมวิธานจะมีศัพท์ที่ใช้เรียกแตกต่างกันออกไป ถ้าหากการศึกษาเป็นไปในทางรวบรวมตัวอย่าง (specimen) บิดาแห่งอนุกรมวิธานวิทยา คือ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน.

ปลาแปบและอนุกรมวิธาน · วงศ์ย่อยปลาซิวและอนุกรมวิธาน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฝักพร้า

วามหมายอื่น: สำหรับปลาชนิดอื่นที่เป็นปลาน้ำเค็ม ดูได้ที่ ปลาดาบลาว ปลาฝักพร้า (Freshwater wolf herring, Sword minnow, Long pectoral-fin minnow; カショーロバルブ) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะลำตัวยาวและแบนข้างคล้ายมีดดาบ ท้องเป็นสันแคบ ตาโต ปากกว้างเฉียงขึ้นด้านบน ปลายปากล่างโค้งเข้าเล็กน้อยคล้ายตะขอ ลำตัวสีเงินวาว ครีบใส ครีบอกใหญ่และยาวแหลม ครีบท้องและครีบหลังเล็ก แต่ครีบก้นมีฐานครีบยาว ครีบหางเว้าลึกและปลายมน โคนครีบหางมีแต้มสีคล้ำ ขนาดประมาณ 20-60 เซนติเมตร จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Macrochirichthys เป็นปลาล่าเหยื่อ มักหากินบริเวณใกล้ผิวน้ำ เป็นปลาที่ว่ายน้ำเร็วมาก อาหารได้แก่ ปลาขนาดเล็กจำพวกปลาซิวและแมลง พบในแหล่งน้ำหลากและแม่น้ำขนาดใหญ่ในภาคกลาง, ภาคอีสาน เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำโขง ในภาคใต้พบเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกเท่านั้น และพบได้จนถึงประเทศอินโดนีเซีย เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำสะอาด ปัจจุบันอยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ เพราะสภาพแวดล้อมที่อยู่ถูกทำลายไปประกอบกับปริมาณปลาที่พบในธรรมชาติมีน้อยมาก จึงไม่ทำให้เป็นที่นิยมในการประมง ปลาฝักพร้า ยังมีชื่อเรียกอื่นที่เรียกต่างออกไป เช่น "ปลาท้องพลุ", "ปลาดาบลาว", "ปลาดาบญวน", "ปลาโกร๋ม" เป็นต้น.

ปลาฝักพร้าและปลาแปบ · ปลาฝักพร้าและวงศ์ย่อยปลาซิว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาข้าวเม่า (ปลาซิว)

ำหรับปลาข้าวเม่าที่มีลำตัวใส ดูที่: ปลาข้าวเม่า ปลาข้าวเม่า เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กที่อยู่ในสกุล Chela (/เคล-อา/) ในวงศ์ปลาตะเพียน จัดเป็นปลาซิวหรือปลาแปบจำพวกหนึ่ง มีลำตัวยาวไม่เกิน 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในลำธารและบ่อน้ำขนาดเล็ก ๆ ลำตัวแบนข้างมาก ส่วนท้องที่อยู่ระหว่างคางจนถึงครีบท้องแบนเป็นสัน ปากเล็กและเฉียงขึ้นบน เส้นข้างลำตัวอยู่ต่ำและโค้งขนานไปกับแนวท้อง ปลายเส้นข้างลำตัวไปสิ้นสุดลงที่ครึ่งล่างของโคนหาง ครีบก้นมีฐานครีบยาวกว่าฐานของครีบหลัง ครีบอกใหญ่ ยาวและปลายครีบแหลม ครีบท้องมีก้านครีบยื่นออกเป็นเส้นเดี่ยวและครีบหางมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ปลายแยกเป็นแฉกลึก เดิมทีปลาในสกุลนี้เคยมีประชากรมากกว่านี้ แต่ปัจจุบันได้แยกออกไปเป็นสกุลต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะในสกุล Laubuka หรือปลาซิวหัวตะกั่ว จึงเหลือเพียง 2 ชนิดเท่านั้น.

ปลาข้าวเม่า (ปลาซิว)และปลาแปบ · ปลาข้าวเม่า (ปลาซิว)และวงศ์ย่อยปลาซิว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิว

ปลาซิวข้างขวานเล็ก (''Trigonostigma espei'') ปลาซิว (Minnow; ในไอร์แลนด์เรียก Pinkeens) เป็นชื่อสามัญในภาษาไทยที่เรียกปลาน้ำจืดขนาดเล็กหลายชนิด ในหลายสกุล ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) อันดับปลากินพืช เช่น สกุล Rasbora ที่มีลำตัวยาว ตัวใส, สกุล Danio, สกุล Esomus ที่มีหนวดยาวเห็นชัดเจน, สกุล Laubuca ที่มีรูปร่างอ้วนป้อม โดยมากแล้วเป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ ขนาดลำตัวไม่เกิน 5 เซนติเมตร หากินบริเวณผิวน้ำ แต่ก็ยังมีหลายสกุล หลายชนิดที่กินเนื้อหรือกินลูกปลาเล็กเป็นอาหาร และมีขนาดลำตัวใหญ่กว่านั้น เช่น ปลาซิวอ้าว (Luciosoma bleekeri) หรือ ปลาสะนาก (Raiamas guttatus) เป็นต้น โดยปลาจำพวกปลาซิวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ปลาบ้า (Leptobarbus hoevenii) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดได้ถึง 80 เซนติเมตร นอกจากนี้แล้ว ปลาซิว ยังอาจจะเรียกรวมถึงปลาในวงศ์อื่นหรืออันดับอื่นได้อีกด้วยที่มีรูปร่าง ลักษณะคล้ายเคียงกัน เช่น ปลาซิวแก้ว (Clupeichthys aesarnensis) ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) อันดับปลาหลังเขียว หรือ ปลานีออน (Paracheirodon innesi) ในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) อันดับปลาคาราซิน เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว คำว่า ปลาซิวในนัยทางภาษาไทยใช้เปรียบเทียบกับคนขี้ขลาดหรือใจไม่สู้ ว่า "ใจปลาซิว" เพราะปลาซิวโดยมากเป็นปลาที่ตายง่ายมากเมื่อพ้นจากน้ำ นอกจากนี้แล้วยังมักถูกหยิบยกมาเปรียบเทียบคู่กับปลาสร้อยว่า "ปลาซิว ปลาสร้อย" หมายถึง สิ่งที่เล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่มีความสำคัญนัก เพราะปลาทั้งสองจำพวกนี้เป็นปลาขนาดเล็ก พบได้ทั่วไป ซึ่งสอดคล้องกับสำนวนในภาษาอังกฤษด้วย โดยคำว่า "Minnow" นั้นก็มีความหมายว่า สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่สำคัญ หรือสิ่งหรือบุคคลที่ถูกมองข้าม เป็นต้น.

ปลาซิวและปลาแปบ · ปลาซิวและวงศ์ย่อยปลาซิว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวหัวตะกั่ว

ำหรับปลาในวงศ์อื่น ดูที่: ปลาหัวตะกั่ว ปลาซิวหัวตะกั่ว หรือ ปลาท้องพลุ เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกปลาท้องพลุหรือปลาซิว ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Laubuka (/ลอ-บู-คา/) จัดเป็นปลาซิวขนาดกลาง มีลักษณะทั่วไปคือ ลำตัวแบนข้าง สีลำตัวทั่วไปเป็นสีเงินขาว มีลักษณะเด่น คือ มีส่วนท้องที่ลึกและกว้างเหมือนอ้วนหรือท้องป่อง เมื่อจับขึ้นมาแล้ว ส่วนท้องจะแตกได้ง่าย อีกทั้งมีจุดสีเงินเข้มที่ส่วนหัว แลดูคล้ายปลาหัวตะกั่ว จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญ มีเส้นข้างลำตัวที่สมบูรณ์ มีก้านครีบท้องยื่นยาวลงมาเป็นเส้นเดี่ยว เดิมทีปลาในสกุลนี้ถูกจัดให้อยู่ในสกุล Chela มีพฤติกรรมรวมฝูงเป็นฝูงเล็ก ๆ กินแมลงที่ตกลงน้ำเป็นอาหารหลัก โดยมีปากที่เชิดขึ้นด้านบน นอกจากนี้แล้วเมื่อตกใจจะสามารถกระโดดขึ้นขนานไปกับผิวน้ำได้เหมือนปลาขวานบิน ซึ่งเป็นปลาในกลุ่มปลาคาราซิน พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียจนถึงเอเชียอาคเนย์จนถึงแหลมมลายูและหมู่เกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซียซึ่งพบได้ในทวีปอเมริกาใต้ในประเทศไทยจะพบได้ 2 ชน.

ปลาซิวหัวตะกั่วและปลาแปบ · ปลาซิวหัวตะกั่วและวงศ์ย่อยปลาซิว · ดูเพิ่มเติม »

ปลานางอ้าว

ปลานางอ้าว หรือ ปลาน้ำหมึก เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Opsarius (/ออพ-ซา-เรียส/) จัดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เดิมทีปลาในสกุลนี้ ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ ได้รวมให้อยู่ในสกุล Barilius และได้ทำการอนุกรมวิธานไว้ด้วยกัน 2 ชนิด แต่ต่อมา ไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์ ได้ทำการปรับปรุงใหม่โดยให้กลับมาใช้สกุลเช่นในปัจจุบัน ในปี ค.ศ. 1989 โดยลักษณะสำคัญของปลาในสกุลนี้ คือ บนลำตัวมีแถบสีดำขวางเรียงกันเป็นแถว เส้นข้างลำตัวโค้งใกล้กับแนวท้อง และไปสิ้นสุดที่โคนหางส่วนล่าง หนวดมีขนาดเล็กมาก และบางชนิดไม่มีหนวด เป็นปลาขนาดเล็ก ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 10 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง มีความปราดเปรียวว่องไวมาก อาศัยอยู่ตามลำธารน้ำตกในป่าดิบชื้น กินแมลงน้ำและสัตว์น้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร ไข่มีเส้นผ่าศูนย์กลางราว 2.8-2.9 เซนติเมตร มีสีเหลืองหรือเขียวอมเทา มีทั้งแบบลอยและแบบจมและกึ่งจมกึ่งลอย ปัจจุบัน พบแล้ว 3 ชนิด มีอยู่ 2 ชนิดที่พบบ่อยและนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ได้แก่ O. koratensis และ O. pulchellusสมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์, หน้า 117 สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑ (พ.ศ. 2547) ISBN 974-00-8701-9.

ปลานางอ้าวและปลาแปบ · ปลานางอ้าวและวงศ์ย่อยปลาซิว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำจืด

วงศ์นี้ล้วนแต่เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ปลาน้ำจืด (Freshwater fish) หมายถึง ปลาที่อาศัยอยู่ได้ในเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืด คือ น้ำที่มีปริมาณเกลือหรือความเค็มละลายน้อยกว่าร้อยละ 00.5 เท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ, คลอง พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ที่เป็นน้ำจืด เช่น ทะเลสาบน้ำจืด, บึง หนอง หรือลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบ โดยโครงสร้างของปลาน้ำจืดนั้น จะมีแรงดันออสโมซิสในเลือดอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำที่อาศัยอยู่มาก จึงทำให้มีการไหลของน้ำเข้าสู่ร่างกายและเกลือแร่แพร่ออกสู่น้ำภายนอกได้ง่าย โดยไม่ให้น้ำซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายและออกจากร่างกายได้ แต่ทว่ากระบวนการดังกล่าวก็ยังไม่ดีพอ เพราะเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ปลาใช้หายใจมีน้ำไหลผ่าน เมื่อมีเหงือก น้ำก็มีโอกาสไหลผ่านเข้าสู่ภายในร่างกายได้ จึงกำจัดน้ำส่วนที่เกินที่ถูกดูดเข้าสู่ร่างกายออกสู่นอกร่างกายได้วิธีการขับถ่ายนำเอาปัสสาวะซึ่งมีความดันออสโมซิสต่ำกว่าเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย ร่างกายส่วนใหญ่ของปลาน้ำจืดจะปกคลุมด้วยผิวหนังและเกล็ดซึ่งไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านนอกจากบริเวณที่เป็นเหงือกแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจเท่านั้นที่น้ำผ่านได้ และโดยธรรมชาติปลาน้ำจืดไม่ดื่มน้ำเลย ซึ่งแตกต่างจากปลาทะเล เพราะการดื่มน้ำจะทำให้ร่างกายมีน้ำมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะมีน้ำบางส่วนไหลผ่านบริเวณปากและเหงือกเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจก็จะมีโอกาสซึมเข้าไปในร่างกายได้บ้าง และเกลือแร่จากเลือดก็จะแพร่ออกมาทางเหงือกได้มากพอดู ปลาน้ำจืดจึงมีไตขับน้ำส่วนเกินออกไปเป็นปัสสาวะ และมีกลุ่มเซลล์พิเศษอยู่บริเวณเหงือกคอยดูดเอาเกลือแร่ต่าง ๆ ที่จำเป็นกลับสู่ร่างก.

ปลาน้ำจืดและปลาแปบ · ปลาน้ำจืดและวงศ์ย่อยปลาซิว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแปบยาว

ปลาแปบยาว (Razorbelly minnow) เป็นปลาน้ำจืดในสกุล Salmophasia (/ซัล-โม-ฟา-เซีย-อา/) ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาแปบที่มีรูปร่างเรียวยาวกว่าปลาแปบสกุลอื่น ๆ พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียใต้รวมถึงประเทศพม่า พบในประเทศไทยเพียงชนิดเดียว ในลุ่มแม่น้ำสาละวินและลุ่มแม่น้ำตะนาวศรีในแถบจังหวัดระนอง.

ปลาแปบและปลาแปบยาว · ปลาแปบยาวและวงศ์ย่อยปลาซิว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแปบขาว

ปลาแปบขาว เป็นปลาน้ำจืดในสกุล Oxygaster (/อ็อก-ซี-แกส-เตอร์/) ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาจำพวกปลาแปบ เดิมเคยถูกจัดให้อยู่ในสกุล Chela โดยมี โยฮัน คอนราด ฟัน ฮัสเซลต์ นักมีนวิทยาชาวดัตช์ เป็นผู้อนุกรมวิธาน โดยใช้ลักษณะของเกล็ดแถวที่อยู่หน้าครีบหลังเลยเข้ามาถึงระหว่างนัยน์ตาเป็นลักษณะสำคัญ ส่วนที่มีลักษณะรองลงมา คือ ท้องแบนเป็นสันคม ปลายปากล่างมีปุ่มกระดูก ครีบอกอยู่ในแนวระดับเดียวกับท้อง จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่ด้านหน้าจุดเริ่มต้นของครีบก้น เกล็ดตามแนวบนเส้นข้างลำตัวมีประมาณ 43-60 แถว จำแนกออกได้เป็น 2 ชนิด พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแม่น้ำลำคลอง รวมถึงป่าพรุในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ปลาแปบและปลาแปบขาว · ปลาแปบขาวและวงศ์ย่อยปลาซิว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแปบใส

ปลาแปบใส ปลาน้ำจืดขนาดเล็กในสกุล Parachela (/ปาราแคลา/) ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เดิมปลาแปบในสกุลนี้ รวมอยู่ในสกุลเดียวกันกับสกุล Oxygaster แต่ฟรันซ์ ชไตน์ดัคเนอร์ แยกออกมาตั้งเป็นสกุลใหม่ โดยเห็นว่าปลาในสกุลนี้ไม่มีครีบท้อง แต่มีตัวอย่างปลาเพียงตัวเดียวเท่านั้น แต่ยังมิได้รับการยอมรับเท่าไหร่นัก จนกระทั่งในปี..

ปลาแปบและปลาแปบใส · ปลาแปบใสและวงศ์ย่อยปลาซิว · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปลาแปบและวงศ์ย่อยปลาซิว

ปลาแปบ มี 30 ความสัมพันธ์ขณะที่ วงศ์ย่อยปลาซิว มี 41 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 15, ดัชนี Jaccard คือ 21.13% = 15 / (30 + 41)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปลาแปบและวงศ์ย่อยปลาซิว หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »