โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาเฮร์ริงและวงศ์ปลาหลังเขียว

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปลาเฮร์ริงและวงศ์ปลาหลังเขียว

ปลาเฮร์ริง vs. วงศ์ปลาหลังเขียว

ปลาเฮร์ริง (herring) เป็นชื่อสามัญของปลาหลายชนิด หลายสกุล ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupidae) คำว่า herring ในภาษาอังกฤษมาจากคำในภาษาเยอรมันสูงโบราณว่า heri แปลว่า "ฝูง" หรือ "เจ้าภาพ, เจ้าบ้าน" อันหมายถึง ลักษณะการรวมตัวกันเป็นฝูงใหญ่ของปลาจำพวกนี้ โดยมีสกุลต้นแบบคือ Clupea ปลาเฮร์ริงเป็นปลาจำพวกเดียวกับปลาซาร์ดีน มีรูปร่างคล้ายกับปลากะพงแต่รูปร่างเรียวยาวกว่า ความยาวโดยทั่วไป 14–18 เซนติเมตร ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในทะเลใกล้ชายฝั่งของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ รวมถึงชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ดำรงชีพด้วยการกินแพลงก์ตอนเหมือนปลาจำพวกอื่นในวงศ์เดียวกัน ปลาเฮร์ริงเป็นปลาที่ตกเป็นอาหารของปลาอื่นรวมถึงสัตว์ทะเลประเภทอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น โลมา, วาฬ หรือปลาฉลาม และเป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะของทวีปยุโรปจนเข้าไปอยู่ในวิถีชีวิตของผู้คน เป็นปลาเศรษฐกิจที่นิยมนำมาบริโภคและแปรรูป เช่น red herring ซึ่งเป็นปลาเฮร์ริงแห้งที่ผ่านการรมควันและหมักเกลือจนมีสีแดงอันเป็นที่มาของชื่อ และเป็นอาหารที่มีกลิ่นแรง นอกจากนี้ วลี red herring ยังเป็นสำนวนในภาษาอังกฤษซึ่งหมายถึง สิ่งหรือบุคคลที่ล่อหลอกให้เข้าใจผิด หรือการกระทำที่เบี่ยงเบนไปจากประเด็นหลัก ประเด็นสำคัญ เป็นต้น. วงศ์ปลาหลังเขียว (วงศ์: Clupeidae) เป็นปลากระดูกแข็งในอันดับปลาหลังเขียว (Clupeiformes) โดยมากปลาในวงศ์นี้ เป็นปลาทะเล นิยมทำเป็นปลากระป๋อง เช่น ปลาซาร์ดีน (Sardina pilchardus) เป็นต้น แต่ก็มีหลายชนิดที่เป็นปลาน้ำจืด เช่น ปลาซิวแก้ว (Clupeichthys aesarnensis), ปลาหมากผาง หรือ ปลามงโกรยน้ำจืด (Tenualosa thibaudeaui) เป็นต้น ปลาวงศ์นี้มีลักษณะสำคัญคือ ลำตัวค่อนข้างแบนข้าง ริมฝีปากบนเป็นแผ่นกระดูกบาง ๆ มีฟันซี่เล็กละเอียด หรืออาจไม่มีเลยในบางชนิด มีเกล็ดบางแบบขอบเรียบ ปกคลุมทั่วตัว ครีบมีขนาดเล็กไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหางมักเว้าลึก ส่วนมากมักมีเกล็ดที่ด้านท้องเป็นสันคม ลำตัวมักเป็นสีเงินแวววาว และด้านหลังเป็นสีเขียวเรื่อ จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญในภาษาไทย โดยมากกินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร แบ่งออกเป็นวงศ์ย่อย ๆ ได้อีก 5 วงศ์ (ดูในตาราง) ในขณะที่ภาษาอังกฤษจะเรียกปลาในวงศ์นี้รวม ๆ กันว่า ปลาเฮร์ริง, ปลาแชด หรือปลาซาร์ดีน เป็นต้น ขณะที่ในภาษาไทยจะเรียกรวม ๆ กันว่า ปลากุแล, ปลากุแลกล้วย, ปลาอกแล, ปลาหมากผาง, ปลาตะลุมพุก, ปลามงโกรย หรือปลาหลังเขียว เป็นต้น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปลาเฮร์ริงและวงศ์ปลาหลังเขียว

ปลาเฮร์ริงและวงศ์ปลาหลังเขียว มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ปลาซาร์ดีนแพลงก์ตอน

ปลาซาร์ดีน

ปลาซาร์ดีนยุโรป หรือ ปลาซาร์ดีนแท้ ปลาซาร์ดีน หรือ ปลาพิลชาร์ด (Sardine, Pilchard) เป็นชื่อสามัญของปลาทะเลหลายชนิด หลายสกุล ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) โดยปลาที่อาจเรียกได้ว่าซาร์ดีนนั้น ได้แก.

ปลาซาร์ดีนและปลาเฮร์ริง · ปลาซาร์ดีนและวงศ์ปลาหลังเขียว · ดูเพิ่มเติม »

แพลงก์ตอน

แพลงก์ตอน แพลงก์ตอน (plankton) มาจากคำว่า πλανκτος ("planktos") ในภาษากรีกแปลว่า wanderer หรือผู้ท่องเที่ยวไปโดยไร้จุดหมาย คือสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ที่ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ไม่สามารถว่ายน้ำไปยังทิศทางที่ต้องการอย่างอิสร.

ปลาเฮร์ริงและแพลงก์ตอน · วงศ์ปลาหลังเขียวและแพลงก์ตอน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปลาเฮร์ริงและวงศ์ปลาหลังเขียว

ปลาเฮร์ริง มี 6 ความสัมพันธ์ขณะที่ วงศ์ปลาหลังเขียว มี 21 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 7.41% = 2 / (6 + 21)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปลาเฮร์ริงและวงศ์ปลาหลังเขียว หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »