ปลาเทราต์สีน้ำตาลและเฮลล์เบนเดอร์
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง ปลาเทราต์สีน้ำตาลและเฮลล์เบนเดอร์
ปลาเทราต์สีน้ำตาล vs. เฮลล์เบนเดอร์
ปลาเทราต์สีน้ำตาล (Salmo trutta) เป็นสายพันธุ์ปลาที่มีต้นกำเนิดในยุโรป จัดอยู่ในวงศ์ปลาแซลมอน ปลาสายพันธุ์นี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า ปลาเทราต์ทะเล โดยปกติพวกมันจะอาศัยอยู่ในน้ำทะเล แต่ในฤดูวางไข่พวกมันจะว่ายทวนแม่น้ำขึ้นมาวางไข่ในแหล่งนี้สะอาดเท่านั้น ปราเทราต์ทะเลในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์นั้นมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปตามภูมิภาค เช่นในเวลส์เรียกว่า เซวิน, ในสก็อตแลนด์เรียกว่า ฟินน็อก, ภาคตะวันตกเรียกว่า พีล, ภาคตะวันตกเฉียงเหนือเรียกว่า มอร์ท และในไอร์แลนด์เรียกว่า ไวต์เทราต์ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในปลาเศรษฐกิจที่ผู้คนนิยมรับประทาน ปลาเทราต์สีน้ำตาลนั้น มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติตั้งแต่ตอนเหนือของนอร์เวย์และบริเวณโดยรอบทะเลขาวของรัสเซียในมหาสมุทรอาร์กติก ไปจนถึงเทือกเขาแอตลาสในแอฟริกาตอนเหนือ ทา ตะวันตกมีการกระจายพันธุ์ไม่เกินไปกว่าไอซ์แลนด์ในแอตแลนติกตอนเหนือ ในขณะที่ทางตะวันออกมีการกระจายพันธุ์ไม่เกินไปกว่าบริเวณทะเลอารัลในอัฟกานิสถานและปากีสถาน. ลล์เบนเดอร์ (Hellbender, Hellbender salamander) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดใหญ่ จำพวกซาลาแมนเดอร์ยักษ์ชนิดหนึ่ง นับเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Cryptobranchus เฮลล์เบนเดอร์ เป็นซาลาแมนเดอร์ยักษ์เพียงชนิดเดียวที่พบได้ในสหรัฐอเมริกา และเป็นซาลาแมนเดอร์ยักษ์ 1 ใน 3 ชนิดที่สืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้เป็นเวลากว่า 300 ล้านปีมาแล้ว โดยที่ชื่อ "เฮลล์เบนเดอร์" นั้น มีความหมายว่า "เลื้อยมาจากนรก" โดยไม่ทราบสาเหตุที่มาของชื่อนี้ ขณะที่ชื่อสกุลมาจากภาษากรีกโบราณคำว่า kryptos หมายถึง "หลบซ่อน" และ branchion หมายถึง "เหงือก" นอกจากนี้แล้วยังมีชื่อสามัญอื่น ๆ อีก เช่น "นากเมือก" (Snot otter), "หมาปีศาจ" (Devil dog) และ "ปีศาจโคลน" (Mud-devil) เป็นต้น ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเชื่อกันว่า เฮลล์เบนเดอร์เป็นสัตว์มีพิษและเป็นภัยคุกคามต่อการประมง เฮลล์เบนเดอร์มีลักษณะคล้ายกับซาลาแมนเดอร์ยักษ์ที่พบในจีน และญี่ปุ่น คือ มีส่วนหัวแบนที่กว้างและแผ่แบน รอบ ๆ ปากมีตุ่มที่เป็นประสาทสัมผัสตรวจจับการสั่นสะเทือนของน้ำ ตามีขนาดเล็ก ปากกว้าง มุมปากยาวจากตาข้างหนึ่งจรดตาอีกข้างหนึ่ง ลำตัวแบนเรียวยาว หางมีแผ่นครีบ และไวต่อความรู้สึก ผิวหนังย่นเพื่อใช้ในการหายใจแลกเปลี่ยนออกซิเจน เพราะเป็นซาลาแมนเดอร์ที่ใช้ผิวหนังในการหายใจ แต่ทว่ามีความยาวน้อยกว่า โดยเฮลล์เบนเดอร์โตได้เต็มที่ประมาณ 2 ฟุต หรือ 75 เซนติเมตร มีอายุได้ยาวนานถึง 30 ปี เฮลล์เบนเดอร์ อาศัยอยู่ในลำธารน้ำที่ไหลแรงและสะอาด มีปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำสูง ในป่าทึบบนภูเขาที่ห่างไกลของสหรัฐอเมริกา เมื่อถูกคุกคามจะปล่อยเมือกจำนวนมากที่มีรสชาติขม เพื่อป้องกันมิให้ถูกกินจากสัตว์นักล่า เฮลล์เบนเดอร์ตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่และตัวอ่อน ตัวอ่อนจะมีพู่เหงือกภายนอกเหมือนกับซาลาแมนเดอร์หลายชนิดทั่วไป ออกหากินในเวลากลางคืน โดยกินสัตว์น้ำต่าง ๆ เช่น เครย์ฟิช เป็นอาหาร ในขณะที่ยังเป็นตัวอ่อนจะกินแมลงน้ำ ในเวลากลางวันจะหลบซ่อนตัวอยู่ภายในโพรงหินหรือใต้ก้อนหิน เนื่องจากมีลำตัวและส่วนหัวที่แบน เพื่อป้องกันตัวเองและมิให้ถูกกระแสน้ำพัดไป เพราะเฮลล์เบนเดอร์โดยเฉพาะที่ยังเป็นตัวเล็กจะตกเป็นอาหารของสัตว์อื่นได้ เช่น เต่า หรืองู รวมถึงปลาเทราต์ เฮลล์เบนเดอร์ตะวันตก หรือเฮลล์เบนเดอร์โอซาร์คส์ เฮลล์เบนเดอร์แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย คือ ชนิดตะวันออก และชนิดตะวันตก โดยชนิดตะวันออกนั้นยังมีจำนวนประชากรมากอยู่และปลอดภัยจากการถูกคุกคาม แต่ในชนิดตะวันตก โดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ในภูเขาโอซาร์คส์ ทางแถบตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา มีจำนวนประชากรที่ลดลงอย่างต่อเนื่องมากว่า 30 ปีแล้ว ตั้งแต่ทศวรรษที่ 70 จากการถูกจับไปเป็นสัตว์เลี้ยง รวมถึงภัยคุกคามอย่างอื่น ได้แก่ มลภาวะในน้ำ และเชื้อราไคทริด ที่เป็นภัยคุกคามสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกในปัจจุบัน เฮลล์เบนเดอร์ที่ติดเชื้อรานี้จะทำให้เกิดแผลต่าง ๆ ตามร่างกาย ทำให้นิ้วตีนกุดหรือขาดไป และตายในที่สุด แม้จะสามารถงอกอวัยวะใหม่ได้เมื่อขาดไป แต่หากกระดูกภายในได้หักไปแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะงอกใหม่ได้อีก หรือแม้แต่เฮลล์เบนเดอร์ที่มีจำนวนนิ้วงอกมากกว่าปกติก็มี ซึ่งเชื้อราไคทิรดนี้เชื่อว่าแพร่ระบาดมาจากกบที่นำเข้ามาจากแอฟริกา เพื่อเป็นสัตว์เลี้ยง นอกจากนี้แล้วยังโดนคุกคามจากปลาเทราต์ ซึ่งเป็นปลากินเนื้อขนาดใหญ่ โดยเฉพาะ ปลาเทราต์สีน้ำตาล เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เฮลล์เบนเดอร์ตะวันตกต้องพิการ ในปัจจุบัน ได้มีการให้ทุนจากกรมประมงและสัตว์ป่า สหรัฐอเมริกา (FWS) แก่ผู้ที่ทำการวิจัยและฝึกเฮลล์เบนเดอร์ในวัยอ่อนให้ระวังการจู่โจมของปลาเทราต์สีน้ำตาล ในสถานที่เลี้ยง ก่อนที่จะนำปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติต่อไป โดยให้เฮลล์เบนเดอร์รู้จักหลบเลี่ยงเมื่อได้กลิ่นของปลาเทราต์The Hellbender, "Nick Baker's Weird Creatures".
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปลาเทราต์สีน้ำตาลและเฮลล์เบนเดอร์
ปลาเทราต์สีน้ำตาลและเฮลล์เบนเดอร์ มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สัตว์สัตว์มีแกนสันหลัง
ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.
ปลาเทราต์สีน้ำตาลและสัตว์ · สัตว์และเฮลล์เบนเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »
ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.
ปลาเทราต์สีน้ำตาลและสัตว์มีแกนสันหลัง · สัตว์มีแกนสันหลังและเฮลล์เบนเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ปลาเทราต์สีน้ำตาลและเฮลล์เบนเดอร์ มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปลาเทราต์สีน้ำตาลและเฮลล์เบนเดอร์
การเปรียบเทียบระหว่าง ปลาเทราต์สีน้ำตาลและเฮลล์เบนเดอร์
ปลาเทราต์สีน้ำตาล มี 18 ความสัมพันธ์ขณะที่ เฮลล์เบนเดอร์ มี 20 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 5.26% = 2 / (18 + 20)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปลาเทราต์สีน้ำตาลและเฮลล์เบนเดอร์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: