โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาเข็ม

ดัชนี ปลาเข็ม

ปลาเข็ม (Wrestling halfbeak) เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดและปลาน้ำกร่อยขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dermogenys อยู่ในวงศ์ปลาเข็ม (Hemiramphidae) มีลักษณะสำคัญทางอนุกรมวิธานคือ ครีบหางตัดตรงหรือเป็นทรงกลม จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่หลังจุดเริ่มต้นของครีบก้น จำนวนก้านครีบแขนงของครีบหลังน้อยกว่าก้านครีบแขนงของครีบก้น ในปลาตัวผู้ครีบก้นส่วนหน้าจะเปลี่ยนเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินแมลงเป็นอาหารหลัก ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ แต่ตัวผู้จะทำหน้าที่เป็นจ่าฝูง ออกลูกเป็นตัว ในตัวผู้มีพฤติกรรมก้าวร้าวมักใช้ปลายปากที่แหลมคมนี้ทิ่มแทงใส่กันอยู่บ่อย ๆ ซึ่งจากพฤติกรรมนี้ได้มีผู้นำเอามาเพาะเลี้ยงเพื่อใช้ต่อสู้กันเป็นการพนันและการละเล่นพื้นบ้านอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกกันว่า "ปลาเข็มหม้อ" เช่นเดียวกับปลากัด พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแหล่งน้ำต่าง ๆ ของทวีปเอเชีย ทั้ง เอเชียอาคเนย์ไปจนถึงแหลมมลายู และเกาะสุมาตรา พบทั้งหมด 12 ชน.

30 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2366พ.ศ. 2547พื้นที่ชุ่มน้ำการพนันการตั้งชื่อทวินามภาพถ่ายวงศ์ปลาเข็มสกุล (ชีววิทยา)สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์สนุก.คอมอวัยวะเพศอันดับปลาเข็มอนุกรมวิธานทรงกลมทวีปเอเชียคาบสมุทรมลายูปลากัดปลาที่มีก้านครีบปลาน้ำกร่อยปลาน้ำจืดปลาเข็มปลาเข็มหม้อปลาเข็มป่าแมลงเพศชายเกาะสุมาตราเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

พ.ศ. 2366

ทธศักราช 2366 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปลาเข็มและพ.ศ. 2366 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2547

ทธศักราช 2547 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2004 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน เป็นปีอธิกมาส ปกติวาร ตามปฏิทินไทยจันทรคติ และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: ปลาเข็มและพ.ศ. 2547 · ดูเพิ่มเติม »

พื้นที่ชุ่มน้ำ

ื้นที่ชุ่มน้ำเขตร้อน -ป่าพรุศูนย์พิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส พื้นที่ชุ่มน้ำ (wetland) หมายถึงลักษณะทางภูมิประเทศที่มีรูปแบบเป็น พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม มีน้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่มีน้ำขังหรือท่วมอยู่ถาวรและชั่วครั้งชั่วคราว ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำทั้งที่เป็นน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล และพื้นที่ของทะเล ในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดลงต่ำสุดมีความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6 เมตร.

ใหม่!!: ปลาเข็มและพื้นที่ชุ่มน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

การพนัน

ร้านปาจิงโกะในญี่ปุ่น การพนันชนิดหนึ่ง การพนัน (gambling) หมายถึง การเล่นชนิดหนึ่งเพื่อเอาเงินหรือสิ่งอื่นใดด้วยการเสี่ยงโชค โดยการทำนายหรือคาดเดาผลที่เกิดขึ้นในอนาคต การพนันอาจแบ่งได้หลายอย่าง เช่น การพนันในการแข่งขัน ตัวอย่างเช่น เกมไพ่ เกมลูกเต๋า การพนันโดยการทำนายผลที่คาดว่าเกิดขึ้นในอนาคตเช่น การแทงบอล การแทงม้า และการพนันที่ไม่มีการแข่งขันโดยขึ้นกับความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เกิดเช่น หว.

ใหม่!!: ปลาเข็มและการพนัน · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: ปลาเข็มและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

ภาพถ่าย

รูปแมว ภาพถ่าย ได้แก่ ภาพซึ่งได้มาจากกรรมวิธีการถ่ายภาพ คือ การใช้กล้องถ่ายภาพ วัสดุไวแสงสำหรับบันทึกภาพ และมีกระบวนการในการขยายภาพหรือการพิมพ์ภาพออกมา ภาพถ่ายจึงเกิดจากกระบวนการการถ่ายภาพ ภาพถ่ายที่ดีนั้นจะต้องสะท้อนความจริงที่เกิดขึ้น สามารถสื่อเรื่องราวได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง ภาพถ่ายในงานวารสารศาสตร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ภาพข่าว ภาพสารคดี และภาพโฆษณ.

ใหม่!!: ปลาเข็มและภาพถ่าย · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาเข็ม

วงศ์ปลาเข็ม (Wrestling halfbeak, Halfbeak) เป็นวงศ์ของปลาจำพวกหนึ่ง ที่พบได้ทั้งในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Hemiramphidae เดิมเคยถูกจัดให้เป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ปลานกกระจอก (Exocoetidae) ซึ่งเป็นปลาทะเล มีลักษณะสำคัญทางอนุกรมวิธาน คือ ลำตัวเรียวยาว ท่อนหัวค่อนข้างกลม ท่อนหางแบนข้าง ปากล่างยื่นยาวเป็นจะงอยแหลมคล้ายปากนก ปากบนสั้นเป็นรูปสามเหลี่ยม มีฟันรูปสามเหลี่ยมอยู่ที่ปากบนและมีฟันที่ปากล่างมีเฉพาะบริเวณที่อยู่ใต้ปากบน แต่ในบางชนิดมีฟันที่ปากล่างเรียงเป็นแถวตลอดทั้งปาก ส่วนโคนของปากล่างเชื่อมติดต่อกันกับกะโหลกหัวจึงเคลื่อนไหวไม่ได้ ปากบนเท่านั้น มีเกล็ดแบบสาก ครีบทั้งหมดบางใส ครีบหลังและครีบก้นอยู่ใกล้ครีบหาง ตำแหน่งของครีบหางและขนาดของครีบก้นเป็นลักษณะสำคัญในการจำแนกสกุล ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก ครีบอกค่อนข้างใหญ่อยู่ใกล้แนวสันหลัง ครีบหางของสกุลที่อาศัยอยู่ในทะเลมักมีลักษณะเว้าลึก ปลายแยกออกจากกันเป็นแฉก แฉกบนเล็กกว่าแฉกล่าง ส่วนสกุลที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดมักมีครีบหางที่มนกลม เป็นปลาที่มีทั้งออกลูกเป็นไข่และออกลูกเป็นตัว โดยพวกที่ออกลูกเป็นตัว มักจะเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด และที่ออกลูกเป็นไข่มักเป็นปลาทีอาศัยอยู่ในทะเล เป็นปลากินเนื้อ มักว่ายหากินเป็นฝูงบริเวณผิวน้ำ กินอาหารจำพวก แมลงและลูกปลาหรือสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำของเขตร้อนทั่วโลก สำหรับในประเทศไทย เป็นปลาที่สามารถพบเห็นได้ง่ายในแหล่งน้ำทั่วทุกภาคและแทบทุกประเภทของแหล่งน้ำ มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันออกไป เช่น "ตับเต่า", "ปลาเข็ม" หรือ "สบโทง" มีความสำคัญในแง่ของการใช้บริโภคกันในท้องถิ่น และในบางชนิดก็นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและใช้ต่อสู้เป็นการพนันเช่นเดียวกับปลากัดด้ว.

ใหม่!!: ปลาเข็มและวงศ์ปลาเข็ม · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: ปลาเข็มและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์

มโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 ที่จังหวัดนครปฐม จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนประชาบาลวัดสรรเพชญ (ทวีวิทยาคม) จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา มัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพญาไท ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2511 เริ่มรับราชการที่กรมประมงตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม..

ใหม่!!: ปลาเข็มและสมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาเข็มและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาเข็มและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ปลาเข็มและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

สนุก.คอม

นุก.คอม (Sanook.com ตราสัญลักษณ์สะกดว่า Sanook!) เป็นเว็บท่าที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ ของประเทศไทยมาโดยตลอดนับตั้งแต่เริ่มดำเนินการ เว็บไซต์ สนุก.คอม ก่อตั้งโดย ปรเมศวร์ มินศิริ เมื่อปี..

ใหม่!!: ปลาเข็มและสนุก.คอม · ดูเพิ่มเติม »

อวัยวะเพศ

อวัยวะเพศ (sex organ) หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ (reproductive organ, primary sex organ, primary sexual characteristic) เป็นโครงสร้างทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตที่มีความซับซ้อน และเป็นส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์ อวัยวะที่เห็นได้จากด้านนอกในเพศหญิงและชายเรียกว่าเป็น อวัยวะเพศปฐมภูมิ หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ (genitals, genitalia) ส่วนอวัยวะภายในเรียกว่าเป็น อวัยวะเพศทุติยภูมิ หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ภายใน ลักษณะที่เริ่มเกิดขึ้นในวัยเริ่มเจริญพันธุ์ เช่น ขนหัวหน่าวในผู้หญิงและผู้ชาย และหนวดในผู้ชาย เรียกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเพศทุติยภูมิ (secondary sex characteristics) มอสส์, เฟิร์น และพืชบางชนิดที่คล้ายกันมีอับเซลล์สืบพันธุ์ (gametangia) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแกมีโทไฟต์ (gametophyte) ดอกไม้ของพืชดอกสร้างละอองเรณูและเซลล์ไข่ ทว่าอวัยวะเพศอยู่ข้างในแกมีโทไฟต์ภายในละอองเรณูและออวุล (ovule) พืชจำพวกสนก็ผลิตโครงสร้างการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศข้างในแกมีโทไฟต์ภายในลูกสนและละอองเรณู โดยลูกสนและละอองเรณูเองไม่ใช่อวัยว.

ใหม่!!: ปลาเข็มและอวัยวะเพศ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาเข็ม

อันดับปลาเข็ม เป็นอันดับของปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Beloniformes มีลักษณะโดยรวม คือ เป็นปลาขนาดเล็ก มักว่ายรวมฝูงหรือหากินกันบริเวณผิวน้ำ เมื่อตกใจสามารถกระโดดหรือเหินขึ้นเหนือผิวน้ำได้สูงและไกลเหมือนการบินของนกหรือแมลงได้ในบางวงศ์ มีลำตัวยาวมาก ยกเว้นในบางวงศ์ ลำตัวค่อนข้างยาว ลำตัวรูปเหลี่ยม ครีบท้องอยู่ตรงข้ามครีบก้นค่อนไปทางด้านท้ายของลำตัว ครีบหูอยู่ระดับสูงของลำตัว ครีบท้องอยู่ในตำแหน่งท้องริมฝีปากบนและริมฝีปากล่างอาจยื่นยาว ถ้าไม่ยื่นยาวครีบหูหลังท้อง และครีบหางอาจขยายออกไป มีเกล็ดเป็นแบบขอบบางเรียบ แบ่งออกเป็น 5 วงศ์ พบได้ทั้งในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก ได้แก.

ใหม่!!: ปลาเข็มและอันดับปลาเข็ม · ดูเพิ่มเติม »

อนุกรมวิธาน

อนุกรมวิธานวิทยา (อังกฤษ: Taxonomy) เป็นการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ตามสายวิวัฒนาการ อนุกรมวิธานเป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ ในการศึกษาอนุกรมวิธานจะมีศัพท์ที่ใช้เรียกแตกต่างกันออกไป ถ้าหากการศึกษาเป็นไปในทางรวบรวมตัวอย่าง (specimen) บิดาแห่งอนุกรมวิธานวิทยา คือ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน.

ใหม่!!: ปลาเข็มและอนุกรมวิธาน · ดูเพิ่มเติม »

ทรงกลม

รูปทรงกลม ในทางเรขาคณิต ทรงกลม (อังกฤษ: sphere) เป็นกราฟสามมิติ ทรงกลมที่มีจุดศูนย์กลางที่ (x0, y0, z0) จะมีสมการเป็น จุดบนทรงกลมที่มีรัศมี r จะผ่าน พื้นที่ผิวของทรงกลมที่มีรัศมี r คือ และปริมาตรคือ ทรงกลมเป็นรูปทรงที่มีพื้นที่ผิวน้อยที่สุดในบรรดารูปทรงที่มีปริมาตรเท่ากัน และมีปริมาตรมากที่สุดในบรรดารูปทรงที่มีพื้นที่ผิวเท่ากัน หมวดหมู่:เรขาคณิตเชิงอนุพันธ์ หมวดหมู่:เรขาคณิตมูลฐาน หมวดหมู่:พื้นผิว หมวดหมู่:ทอพอโลยี.

ใหม่!!: ปลาเข็มและทรงกลม · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: ปลาเข็มและทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

คาบสมุทรมลายู

มุทรมลายู คาบสมุทรมลายู หรือ แหลมมลายู (Semenanjung Tanah Melayu; Malay Peninsula) เป็นคาบสมุทรขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วางตัวเกือบอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ และเป็นจุดที่อยู่ใต้สุดของทวีปเอเชีย ส่วนที่แคบที่สุดของคาบสมุทรมลายู คือ คอคอดกระ ชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้แยกออกจากเกาะสุมาตราด้วยช่องแคบมะละกา มีเกาะบอร์เนียวอยู่ทางตะวันออกในทะเลจีนใต้.

ใหม่!!: ปลาเข็มและคาบสมุทรมลายู · ดูเพิ่มเติม »

ปลากัด

ปลากัด หรือ ปลากัดภาคกลาง เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae.

ใหม่!!: ปลาเข็มและปลากัด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาเข็มและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำกร่อย

ปลาชะลิน(''Chanos chanos'') ปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ปลาน้ำกร่อย หรือ ปลาสองน้ำ (Amphidromous fish) คือ ปลาที่สามารถปรับสภาพให้อาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำเค็มหรือในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืดตามแม่น้ำลำคลอง ปลาน้ำกร่อย อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: ปลาเข็มและปลาน้ำกร่อย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำจืด

วงศ์นี้ล้วนแต่เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ปลาน้ำจืด (Freshwater fish) หมายถึง ปลาที่อาศัยอยู่ได้ในเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืด คือ น้ำที่มีปริมาณเกลือหรือความเค็มละลายน้อยกว่าร้อยละ 00.5 เท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ, คลอง พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ที่เป็นน้ำจืด เช่น ทะเลสาบน้ำจืด, บึง หนอง หรือลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบ โดยโครงสร้างของปลาน้ำจืดนั้น จะมีแรงดันออสโมซิสในเลือดอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำที่อาศัยอยู่มาก จึงทำให้มีการไหลของน้ำเข้าสู่ร่างกายและเกลือแร่แพร่ออกสู่น้ำภายนอกได้ง่าย โดยไม่ให้น้ำซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายและออกจากร่างกายได้ แต่ทว่ากระบวนการดังกล่าวก็ยังไม่ดีพอ เพราะเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ปลาใช้หายใจมีน้ำไหลผ่าน เมื่อมีเหงือก น้ำก็มีโอกาสไหลผ่านเข้าสู่ภายในร่างกายได้ จึงกำจัดน้ำส่วนที่เกินที่ถูกดูดเข้าสู่ร่างกายออกสู่นอกร่างกายได้วิธีการขับถ่ายนำเอาปัสสาวะซึ่งมีความดันออสโมซิสต่ำกว่าเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย ร่างกายส่วนใหญ่ของปลาน้ำจืดจะปกคลุมด้วยผิวหนังและเกล็ดซึ่งไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านนอกจากบริเวณที่เป็นเหงือกแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจเท่านั้นที่น้ำผ่านได้ และโดยธรรมชาติปลาน้ำจืดไม่ดื่มน้ำเลย ซึ่งแตกต่างจากปลาทะเล เพราะการดื่มน้ำจะทำให้ร่างกายมีน้ำมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะมีน้ำบางส่วนไหลผ่านบริเวณปากและเหงือกเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจก็จะมีโอกาสซึมเข้าไปในร่างกายได้บ้าง และเกลือแร่จากเลือดก็จะแพร่ออกมาทางเหงือกได้มากพอดู ปลาน้ำจืดจึงมีไตขับน้ำส่วนเกินออกไปเป็นปัสสาวะ และมีกลุ่มเซลล์พิเศษอยู่บริเวณเหงือกคอยดูดเอาเกลือแร่ต่าง ๆ ที่จำเป็นกลับสู่ร่างก.

ใหม่!!: ปลาเข็มและปลาน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเข็ม

ปลาเข็ม (Wrestling halfbeak) เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดและปลาน้ำกร่อยขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dermogenys อยู่ในวงศ์ปลาเข็ม (Hemiramphidae) มีลักษณะสำคัญทางอนุกรมวิธานคือ ครีบหางตัดตรงหรือเป็นทรงกลม จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่หลังจุดเริ่มต้นของครีบก้น จำนวนก้านครีบแขนงของครีบหลังน้อยกว่าก้านครีบแขนงของครีบก้น ในปลาตัวผู้ครีบก้นส่วนหน้าจะเปลี่ยนเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินแมลงเป็นอาหารหลัก ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ แต่ตัวผู้จะทำหน้าที่เป็นจ่าฝูง ออกลูกเป็นตัว ในตัวผู้มีพฤติกรรมก้าวร้าวมักใช้ปลายปากที่แหลมคมนี้ทิ่มแทงใส่กันอยู่บ่อย ๆ ซึ่งจากพฤติกรรมนี้ได้มีผู้นำเอามาเพาะเลี้ยงเพื่อใช้ต่อสู้กันเป็นการพนันและการละเล่นพื้นบ้านอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกกันว่า "ปลาเข็มหม้อ" เช่นเดียวกับปลากัด พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแหล่งน้ำต่าง ๆ ของทวีปเอเชีย ทั้ง เอเชียอาคเนย์ไปจนถึงแหลมมลายู และเกาะสุมาตรา พบทั้งหมด 12 ชน.

ใหม่!!: ปลาเข็มและปลาเข็ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเข็มหม้อ

ปลาเข็มหม้อ (Wrestling halfbeak, Malayan halfbeak, Pygmy halfbeak) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dermogenys pusilla ในวงศ์ปลาเข็ม (Hemiramphidae) มีรูปร่างเรียวยาว ริมฝีปากล่างคือส่วนที่ยื่นยาวออกมาเหมือนปลายเข็ม อันเป็นที่มาของชื่อ ส่วนริมฝีปากบนมีขนาดเล็กเป็นรูปสามเหลี่ยมใช้สำหรับจับเหยื่อและต่อสู้ป้องกันตัวระหว่างปลาพวกกันเดียวเอง โดยมักจะพุ่งแทงกัน มีครีบอกขนาดใหญ่และแข็งแรง ทำให้สามารถกระโดดจับแมลงที่อยู่เหนือผิวน้ำเป็นอาหารได้ นอกจากนี้แล้วยังมีสายตาที่แหลมคม สามารถมองเห็นวัตถุที่เหนือน้ำได้ดีกว่าปลาชนิดอื่น ๆ นิยมอยู่กันเป็นฝูง ๆ ประมาณ 8-10 ตัว โดยมีตัวผู้เป็นจ่าฝูงเพียงตัวเดียว ปลาตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้อย่างเห็นได้ชัด เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ครั้งละไม่เกิน 30 ตัว เป็นปลาขนาดเล็ก ความยาวเต็มที่ประมาณ 8 เซนติเมตร พบได้ตามแหล่งน้ำนิ่งเช่น ท้องร่วงสวนผลไม้ทั่วประเทศไทย ในต่างประเทศพบได้ตั้งแต่บังกลาเทศจนถึงคาบสมุทรมลายูและอินโดนีเซีย ปลาเข็มชนิดนี้ คนไทยนิยมเพาะเลี้ยงกันมานานแล้วเพื่อใช้สำหรับต่อสู้กันเพื่อการพนัน คล้ายกับปลากัด โดยจะเพาะเลี้ยงกันในหม้อดินจึงเรียกกันว่า "ปลาเข็มหม้อ" โดยจะมีรูปร่างและขนาดที่ใหญ่กว่าปลาที่พบในธรรมชาติ สำหรับปลาที่ออกสีขาวจะเรียกว่า "ปลาเข็มเผือก" หรือ "ปลาเข็มเงิน" และปลาที่มีสีออกสีทองจะเรียกว่า "ปลาเข็มทอง".

ใหม่!!: ปลาเข็มและปลาเข็มหม้อ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเข็มป่า

ปลาเข็มป่า หรือ ปลาเข็มช้าง (Forest halfbeak) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อว่า Hemirhamphodon (/เฮม-อิ-แรม-โฟ-ดอน/) อยู่ในวงศ์ปลาเข็ม (Hemiramphidae) มีลักษณะสำคัญทางอนุกรมวิธาน คือ ลำตัวยาวปานกลาง ครีบหลังอยู่ด้านหน้าครีบก้น ฐานของครีบหลังยาวเป็นสองเท่าของครีบก้น ครีบหางมนกลม ฟันเป็นทรงกรวยปลายแหลม มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 10 เซนติเมตร พบได้ตั้งแต่ภาคใต้ของประเทศไทยในป่าพรุ ไปตลอดจนถึงแหลมมลายู มีทั้งหมด 9 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: ปลาเข็มและปลาเข็มป่า · ดูเพิ่มเติม »

แมลง

แมลง (Insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพดา จำแนกออกเป็นไฟลัมต่าง ๆ ได้ 13 กลุ่ม มีลักษณะสำคัญคือมีลำตัวเป็นปล้องคล้อง ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ส่วน สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ลำตัวทั้งสองด้านซ้ายขวามีความเหมือนและมีขนาดเท่ากัน มีเปลือกห่อหุ้มลำตัวด้วยสารไคติน (Chitinous Exoskeleton) ไม่มีขน หายใจแบบใช้เหงือกหรือใช้รูหายใจ มีวัฎจักรวงจรชีวิตในการเจริญเติบโตแบบไข่ มีการลอกคราบเป็นบางครั้งแล้วสร้างผนังหรือเปลือกห่อหุ้มลำตัวใหม่ มีรยางค์เป็นคู่และเป็นปล้อง ส่วนใหญ่นักกีฏวิทยามักใช้รยางค์ในการแบ่งเพศผู้เพศเมียของแมลง มีอวัยวะภายในที่มีท่อทางเดินอาหารเป็นท่อยาวตลอดจากปากไปถึงทวารหนัก ระบบเลือดเป็นแบบเปิดและมีท่อเลือดอยู่ทางด้านสันหลังเหนือระบบทางเดินอาหาร มีระบบประสาทที่ประกอบไปด้วยสมองอยู่เหนือท่ออาหาร มีเส้นประสาทขนาดใหญ่หนึ่งคู่เชื่อมต่อจากสมอง มีการรวมตัวเป็นระยะก่อเกิดเป็นปมประสาท เส้นประสาทขนาดใหญ่ของแมลง จะอยู่ทางด้านล่างของลำตัวใต้ท่ออาหาร มีกล้ามเนื้อแบบเรียบอยู่ตามลำตัวบทปฏิบัติการกีฎวิทยาเบื้องต้น, ภาควิชากีฎวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ร. ดร.สาวิตรี มาไลยพันธุ์, สำนักพิมพ์รั้วเขียว,..

ใหม่!!: ปลาเข็มและแมลง · ดูเพิ่มเติม »

เพศชาย

ัญลักษณ์เพศชาย เพศชาย (♂) หรือเพศผู้ คือเพศหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ที่ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ขนาดเล็กที่เรียกว่า อสุจิ โดยตัวอสุจิสามารถรวมกับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงที่เรียกว่า เซลล์ไข่ เกิดขั้นตอนที่เรียกว่า การผสมพันธุ์ เพศชายไม่สามารถสืบพันธุ์ได้โดยปราศจากการเข้าถึงเซลล์ไข่ของเพศหญิงอย่างน้อย 1 เซลล์ แต่สิ่งมีชีวิตบางอย่างสามารถสืบพันธุ์ได้โดยอาศัยการสืบพันธุ์หรือไม่อาศัยการสืบพันธุ์ แต่ละสปีชีส์ไม่ได้มีระบบทางเพศที่เหมือนกัน ในมนุษย์และในสัตว์ส่วนใหญ่ การสืบพันธุ์ถือเป็นกลไกทางพันธุกรรมแต่ในบางสปีชีส์แล้วสามารถเกิดในจากทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่น.

ใหม่!!: ปลาเข็มและเพศชาย · ดูเพิ่มเติม »

เกาะสุมาตรา

มาตรา หรือ ซูมาเตอรา (Sumatra; Sumatera) คือเกาะที่มีขนาดเป็นอันดับ 6 ของโลก (มีขนาดประมาณ 470,000 กม.&sup2) และเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอินโดนีเซี.

ใหม่!!: ปลาเข็มและเกาะสุมาตรา · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ใหม่!!: ปลาเข็มและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Dermogenys

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »