โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาออสการ์

ดัชนี ปลาออสการ์

ปลาออสการ์ (Oscar fish, Red belvet, Velvet cichlid, Marbled cichlid, Peacock-eyed cichilld, Tiger oscar, Peacock cichilld) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) เป็นปลาพันธุ์พื้นเมืองของลุ่มแม่น้ำโอริโนโก, แม่น้ำอะเมซอน และแม่น้ำลา พลาตา ในทวีปอเมริกาใต้อย่างกว้างขวาง เช่น ประเทศบราซิล, โคลอมเบีย, เปรู, เฟรนช์เกียนา, อุรุกวัย, เวเนซุเอลา และอาร์เจนตินา เป็นปลาที่หากินในบริเวณแหล่งน้ำที่เป็นน้ำตื้นทีมีพื้นท้องน้ำเป็นโคลนปนทรายหรือกรวดทราย ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 45.7 เซนติเมตร คุณภาพของน้ำในแหล่งที่พบอาศัยมีอุณหภูมิระหว่าง 22-25 องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 6.0-8.0 มีรูปร่างแบนข้างและลำตัวป้อม ส่วนหัวค่อนข้างใหญ่ ตาโต ปากกว้าง ริมฝีปากหนา ลำตัวมีสีน้ำตาลอมเขียว ที่ขอบของแผ่นกระดูกปิดเหงือกและด้านล่างของลำตัวมีสีส้มอมแดงหรือส้มจาง ๆ ที่ด้านบนของคอดหางมีจุดกลมสีดำคล้ายลูกตาดำและมีวงสีส้มอมแดงล้อมรอบ เป็นปลาที่ว่ายน้ำช้า กินสัตว์อื่นเป็นอาหารได้หลากหลาย ทั้งสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ และแมลงด้วย ปลาออสการ์ เป็นปลาที่ใช้บริโภคกันในพื้นถิ่น โดยจะพบวางขายกันในตลาดสด มีชื่อเรียกในภาษาถิ่นว่า Acará-acu และเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะการเป็นปลาสวยงาม ซึ่งนิยมเลี้ยงกันมาอย่างยาวนาน จัดเป็นปลาที่มีนิสัยดุร้ายก้าวร้าวชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เลี้ยงดูลูกอ่อน ทั้งเพศผู้และเพศเมีย ในราวต้นพุทธทศวรรษ 2500 ถือเป็นปลาหมอสีชนิดแรก ๆ ที่นำเข้ามาสู่ประเทศไทย ในฐานะปลาสวยงาม ซึ่งมีราคาซื้อขายแพงมาก โดยตกคู่ละ 500 บาท (ราคาทองคำแท่งในขณะนั้นบาทละ 400 บาท) ปัจจุบัน มีการเพาะเลี้ยงกันจนมีสีสันที่สวยงามกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมมาก เช่น ปลาเผือก, สีเหลืองสดหรือสีทองหรือสีแดงสดทั้งตัว รวมทั้งมีแบบที่มีครีบยาวกว่าปกติด้วย โดยชื่อ "ออสการ์" นั้นมาจากชื่อกลางของนักมีนวิทยาชาวสวีเดน สเวน ออสการ์ คูลเลนเดอร์ ที่ศึกษาโดยเฉพาะกับปลาในวงศ์ปลาหมอสี.

51 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2374พ.ศ. 2554พ.ศ. 2555ภาวะผิวเผือกภาษาถิ่นมาเนาส์มิถุนายนมีนวิทยารูปวงกลมรีโอเดลาปลาตาวงศ์ย่อยปลาออสการ์วงศ์ปลาหมอสีสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์น้ำสีส้มสีทองสีดำสีน้ำตาลสีแดงสีเหลืองสีเขียวสปีชีส์สเวน ออสการ์ คูลเลนเดอร์อันดับปลากะพงอุณหภูมิองศาเซลเซียสทรายทวีปอเมริกาใต้ทองคำตลาดตาตุลาคมประเทศบราซิลประเทศสวีเดนประเทศอาร์เจนตินาประเทศอุรุกวัยประเทศโคลอมเบียประเทศไทยประเทศเวเนซุเอลาประเทศเปรูปลาสวยงามปลาออสการ์ (สกุล)ปลาที่มีก้านครีบปลาน้ำจืดแมลงแม่น้ำแอมะซอนแม่น้ำโอริโนโกเฟรนช์เกียนาเมตร...PH ขยายดัชนี (1 มากกว่า) »

พ.ศ. 2374

ทธศักราช 2374 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และพ.ศ. 2374 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2554

ทธศักราช 2554 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2011 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และพ.ศ. 2554 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2555

ทธศักราช 2555 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2012 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีมะโรง จัตวาศก จุลศักราช 1374 (วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก) สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประกาศให้..

ใหม่!!: ปลาออสการ์และพ.ศ. 2555 · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะผิวเผือก

ลิงเผือกในสวนสัตว์พาต้า ภาวะผิวเผือก (Albinism หรือ achromia หรือ achromasia หรือ achromatosis หรือถ้าเป็นคำวิเศษณ์ก็ใช้ albinoid หรือ albinic) “Albinism” มาจากภาษาละตินว่า “Albus” ที่แปลว่า “ขาว” หมายถึงภาวะความผิดปกติแต่กำเนิด hypopigmentation ชนิดหนึ่ง ที่มีทำให้บางส่วนของร่างกายหรือร่างกายทั้งหมดขาดสีเมลานินในบริเวณตา ผิวหนังและผม หรือบางครั้งก็เพียงแต่ที่ตา ภาวะผิวเผือกเกิดจากการได้รับยีนส์ด้อย ภาวะที่ว่านี้มีผลต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่รวมทั้งมนุษย์, ปลา, นก, สัตว์เลื้อยคลาน และ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ศัพท์ที่ใช้เรียกกันโดยทั่วไปของภาวะที่ว่านี้คือ “albino” ที่บางครั้งนำมาใช้ในเชิงดูหมิ่น “albino” จึงเลี่ยงมาเป็นการใช้วลีเช่น “albinistic person” หรือ “person with albinism” (ผู้มีภาวะผิวเผือก) แทนที.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และภาวะผิวเผือก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาถิ่น

ษาถิ่น หรือ สำเนียง คือ ภาษาเฉพาะของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งที่มีรูปลักษณะเฉพาะตัวทั้งถ้อยคำและสำเนียงเป็นต้น เช่น ในแต่ละภาคของประเทศไทยมีภาษาถิ่นประจำภาคนั้น ดังนี้ ภาคเหนือมีภาษาถิ่นพายัพเช่น ปิ๊กบ้าน ภาคอีสานมีภาษาถิ่นอีสานเช่น เมื่อบ้าน ภาคใต้มีภาษาถิ่นใต้เช่น หลบเริน (แผลงมาจาก "กลับเรือน") และภาคกลางมีภาษาไทยกลางเช่น กลับบ้าน เป็นต้น ทั้งนี้ ทุกภาษาถิ่นในประเทศไทยคงใช้คำศัพท์และไวยากรณ์ที่สอดคล้องกัน แต่มักจะแตกต่างกันในเรื่องของวรรณยุกต์ ถ้อยคำ และสำเนียง เป็นต้น ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ของภาษาถิ่นนั้น หากพื้นที่ของผู้ใช้ภาษานั้นกว้างก็จะมีภาษาถิ่นหลากหลาย และมีภาษาถิ่นย่อย ๆ ลงไปอีก ซึ่งภาษาถิ่นนั้นมักเป็นเรื่องของภาษาพูดหรือภาษาท่าทาง มากกว่า การกำหนดภาษาหลักหรือภาษาถิ่นนั้น นักภาษาศาสตร์จะพิจารณาคุณลักษณะในเชิงภาษาเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ภาษาไทย และภาษาลาวถือว่าต่างก็เป็นภาษาถิ่นของกันและกัน (อาจนับภาษาใดภาษาหนึ่งเป็นภาษาหลักก็ได้ โดยไม่มีนัยสำคัญทางภาษาศาสตร์) แต่เนื่องจากภาษาถิ่นทั้งสองอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของสองประเทศ โดยทั่วไปจึงถือว่าเป็นคนละภาษา;แนวคิดในการจำแนกภาษาถิ่นนั้น มักพิจารณาจาก.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และภาษาถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

มาเนาส์

มาเนาส์ (Manaus) เป็นเมืองในประเทศบราซิล เป็นเมืองหลวงของรัฐอามาโซนัส ตั้งอยู่บริเวณจุดบรรจบกันของแม่น้ำเนโกรและแม่น้ำโซลิโมย ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในรัฐอามาโซนัส จากสถิติข้อมูลของสถาบันภูมิศาสตร์และสถิติของบราซิล และถือเป็นจุดหมายปลายทางในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เมืองนี้ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศบราซิล ห่างจากเมืองหลวงบราซิเลียเป็นระยะทาง 3,490 กม.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และมาเนาส์ · ดูเพิ่มเติม »

มิถุนายน

มิถุนายน เป็นเดือนที่ 6 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 4 เดือนที่มี 30 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนมิถุนายนเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมถุน และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีกรกฎ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนมิถุนายนดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาววัวและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ ชื่อในภาษาอังกฤษ "June" มีที่มาจากเทพเจ้าโรมันนามว่า จูโน (Juno) ส่วนในประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนมิถุนายนในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และมิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

มีนวิทยา

มีนวิทยา (Ichthyology) เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปลา ลักษณะรูปร่างภายนอกของปลา ระบบภายในตัวปลา รวมถึงอนุกรมวิธานของปลา ออกเป็นกลุ่มหรือประเภท ปลาในที่นี้ประกอบด้วยปลากระดูกแข็ง ปลากระดูกอ่อน ได้แก่ ฉลามและกระเบน และปลาไม่มีขากรรไกร โดยไม่ครอบคลุมไปถึงสัตว์น้ำจำพวกอื่น เช่น หมึก, กบ, กุ้ง, ปู, วาฬ หรือโลมา ซึ่งไม่จัดว่าเป็นปลา การศึกษาทางด้านมีนวิทยามีความสัมพันธ์อย่างมากกับสาขาวิชาชีววิทยาทางทะเล ชลธีวิทยา และสมุทรศาสตร์ และเรียกนักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญและศึกษาศาสตร์ทางด้านนี้ว่า "นักมีนวิทยา" มีนวิทยา ถือได้ว่าเป็นแขนงย่อยของสัตววิทยา โดยคำว่า "Ichthyology" ที่ใช้เป็นชื่อภาษาอังกฤษนั้น มาจากภาษากรีกคำว่า "Ichthys" (ἰχθύς) แปลว่า ปลา, "logy" หรือ "logos" (λόγος) แปลว่า วิชา หรือ เรื่องราว, "มีน" มาจากภาษาบาลีสันสกฤต แปลว่า ปลา และ "วิทยา" มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า ความรู้ โดยบุคคลแรกที่ถือได้ว่าศึกษาศาสตร์มีนวิทยาเป็นคนแรกของโลก คือ อริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีกโบราณที่มีชื่อเสียง เพราะเป็นผู้ริเริ่มจำแนกสิ่งมีชีวิต บันทึกของอริสโตเติลได้กล่าวถึงโครงสร้าง อุปนิสัย การอพยพย้ายถิ่น ฤดูกาลสืบพันธุ์ และความรู้อื่น ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับปลามากชนิด แต่ความจริงมนุษย์รู้จักปลามานานกว่า 50,000 ปีแล้ว จากหลักฐานที่มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้วาดภาพปลาไว้ที่ผนังถ้ำ เช่น รูปปลาบึกที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นต้น การศึกษาเกี่ยวกับปลาในระยะต่อมาโดยมากยังอ้างอิงผลงานของอริสโตเติล จะมีเพิ่มเติมก็เป็นเรื่องปลีกย่อย จนกระทั่งในศตวรรษที่ 18 การศึกษาเกี่ยวกับปลาตื่นตัวมากขึ้น มีการเขียนตำราวิชาทางวิชาการ ซึ่งใช้อ้างอิงมาจนถึงทุกวันนี้ มีการจำแนกหมวดหมู่ปลากระดูกอ่อน ปลากระดูกแข็ง ศึกษากายวิภาค สรีรวิทยา วิวัฒนาการของปลาจากซากดึกดำบรรพ์ มีนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาศาสตร์ด้านมีนวิทยาที่มีชื่อเสียงหลายคน อาทิ อัลเบิร์ต กึนเธอร์, จอร์จส์ คูเวียร์, อเล็กซานเดอร์ เอ็มมานูเอล อกาซซี, หลุยส์ อกาซซี (บุตรของอกาซซี) รวมถึง คาโรลัส ลินเนียส ผู้ให้กำเนิดหลักการอนุกรมวิธานที่ใช้มาถึงปัจจุบันด้วย สำหรับในประเทศไทย ศาสตร์แขนงนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ ดร.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และมีนวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

รูปวงกลม

รูปวงกลมที่แสดงถึงรัศมี เส้นผ่านศูนย์กลาง จุดศูนย์กลาง และเส้นรอบวง รูปวงกลม (อังกฤษ: circle) เป็นรูปร่างพื้นฐานอันหนึ่งในเรขาคณิตแบบยุคลิด รูปวงกลมเป็นโลกัส (locus) ของจุดทุกจุดบนระนาบที่มีระยะห่างคงตัวกับจุดที่กำหนดอีกจุดหนึ่ง ระยะห่างนั้นเรียกว่ารัศมี และจุดที่กำหนดเรียกว่าจุดศูนย์กลาง สามจุดใดๆ ที่ไม่อยู่บนเส้นตรงเดียวกัน จะสามารถวาดรูปวงกลมผ่านทั้งสามจุดได้เพียงวงเดียว เส้นรอบวง คือเส้นรอบรูปของรูปวงกลม ส่วนโค้ง (arc) คือส่วนหนึ่งที่เชื่อมต่อกันของเส้นรอบวง คอร์ด (chord) คือส่วนของเส้นตรงที่มีจุดปลายทั้งสองบรรจบอยู่บนเส้นรอบวง เส้นผ่านศูนย์กลาง คือคอร์ดที่ลากผ่านจุดศูนย์กลาง มีความยาวเป็นสองเท่าของรัศมี และเป็นคอร์ดที่ยาวที่สุดในรูปวงกลม รูปวงกลมเป็นเส้นโค้ง (curve) แบบปิดที่แบ่งระนาบออกเป็นพื้นที่ภายในกับพื้นที่ภายนอก พื้นที่ภายในรูปวงกลมเรียกว่า จาน (disk) รูปวงกลมเป็นกรณีพิเศษของรูปวงรีที่มีโฟกัส (focus) อยู่ที่จุดเดียวกันนั่นคือจุดศูนย์กลาง นอกจากนี้รูปวงกลมยังเป็นภาคตัดกรวยที่เกิดจากการตัดด้วยระนาบที่ตั้งฉากกับแกนของทรงกรวย เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และรูปวงกลม · ดูเพิ่มเติม »

รีโอเดลาปลาตา

วาดปากน้ำรีโอเดลาปลาตา ภาพถ่ายจากดาวเทียม รีโอเดลาปลาตา (Río de la Plata หมายถึง "แม่น้ำแห่งแร่เงิน") หรือที่นิยมเรียกว่า แม่น้ำเพลต (River Plate) ในอังกฤษบริติชและกลุ่มประเทศในเครือจักรภพ และในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษอื่น ๆ ในบางครั้งอาจใช้ว่า Plata River เป็นแม่น้ำซึ่งเกิดจากการรวมกันของแม่น้ำอุรุกวัยและแม่น้ำปารานา ในบางครั้ง รีโอเดลาปลาตาไม่ถูกนับว่าเป็นแม่น้ำ แต่หากนับแล้ว รีโอเดลาปลาตาจะเป็นแม่น้ำที่กว้างที่สุดในโลก ซึ่งมีความกว้าง 30 กิโลเมตรในบริเวณจุดบรรจบกันของแม่น้ำอุรุกวัยและแม่น้ำปารานา และเพิ่มขึ้นเป็น 220 กิโลเมตรในบริเวณที่จะออกสู่มหาสมุทรแอตแลนติก เป็นพรมแดนทางธรรมชาติระหว่างประเทศอาร์เจนตินากับประเทศอุรุกวัย โดยมีเมืองท่าหลักและเมืองหลวงอย่างบัวโนสไอเรสทางตะวันตกเฉียงเหนือ และมอนเตวิเดโอทางตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และรีโอเดลาปลาตา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยปลาออสการ์

วงศ์ย่อยปลาออสการ์ เป็นวงศ์ย่อยของปลาน้ำจืดขนาดกลาง ค่อนไปทางใหญ่วงศ์ย่อยหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) ใช้ชื่อวงศ์ย่อยว่า Astronotinae เป็นปลากินเนื้อเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาใต้ เป็นปลาที่ชนพื้นเมืองใช้รับประทานเป็นอาหาร.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และวงศ์ย่อยปลาออสการ์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาหมอสี

วงศ์ปลาหมอสี (Cichlids) เป็นวงศ์ปลาที่มีจำนวนชนิดมากกว่า 1,000 ชนิด นับเป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดที่มีจำนวนชนิดมากเป็นอันดับสาม รองมาจากวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cichlidae (/ซิค-ลิด-เด/) ชื่อสามัญในภาษาไทยนิยมเรียกว่า "ปลาหมอสี" ปลาในวงศ์นี้ส่วนใหญ่จึงมักมีชื่อขึ้นต้นว่า "ปลาหมอ" ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีลักษณะหลายหลากแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของถิ่นกำเนิด ปลาหมอสีส่วนใหญ่เป็นปลาน้ำจืด แต่มีบางชนิดพบในน้ำกร่อย ปลาในวงศ์นี้พบมากที่สุดในทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งมีประมาณ 900 และ 290 ชนิดตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีบางชนิดพบได้ในตอนล่างของทวีปอเมริกาเหนือ อีกสี่ชนิดพบในตะวันออกกลาง และอีกสามชนิดพบในอินเดีย ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีความสำคัญต่อมนุษย์ในหลายลักษณะ ปลาบางชนิด เช่น ปลานิล จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ในขณะที่ปลาอีกหลายชนิดเป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาเทวดา, ปลาปอมปาดัวร์ และ ปลาออสการ์ เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และวงศ์ปลาหมอสี · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์น้ำ

ัตว์น้ำ (aquatic animal) หมายถึง สัตว์ที่อาศัยในน้ำหรือมีวงจรชีวิตส่วนหนึ่งอยู่ในน้ำหรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมถึง เช่น ปลา กุ้ง ปู แมงดาทะเล หอย เต่า ตะพาบน้ำ จระเข้ รวมทั้งไข่ของสัตว์น้ำนั้น สัตว์น้ำจำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม ปลิงทะเล ฟองน้ำ หินปะการัง กัลปังหา และสาหร่ายทะเล ทั้งนี้ รวมทั้งซากหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์น้ำเหล่านั้น และหมายความรวมถึงพันธุ์ไม้น้ำ ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุชื่อ.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และสัตว์น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

สีส้ม

ีส้ม เป็นหนึ่งในกลุ่มสีโทนร้อน แสงสีส้มที่มองเห็นได้มีความยาวคลื่นราว 590 นาโนเมตร สีเพลิง เป็น รูปลักษณ์ของสีออกคล้ายสีแสด ซึ่งมีความเข้มกว่าสีส้ม.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และสีส้ม · ดูเพิ่มเติม »

สีทอง

สีทอง เป็นสีเหลืองแกมส้ม และเป็นสีของทองคำในธรรมชาติ ทอง.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และสีทอง · ดูเพิ่มเติม »

สีดำ

ีดำ เป็นสีของวัตถุที่ไม่สะท้อนแสงที่สเปกตรัมสะท้อนออกมา วัตถุสีดำจะดูดกลืนทุกสีในสเปกตรัม จึงไม่สะท้อนสีใด ๆ ออกมาเลย หลายคนคิดว่าสีดำคือ "การผสมทุกสีเข้าด้วยกัน" แต่ความเป็นจริงแล้ว สีที่สามารถสะท้อนแสงคืนได้หมดทุกสีคือ สีขาว บางครั้งสีดำบ่งบอกถึงความว่างเปล่า และไม่มีสีสัน แต่สีดำเป็นสีสีหนึ่ง สามารถบ่งบอกคุณลักษณ์ต่างๆ ของวัตถุ เช่น แมวสีดำ หรือภาพศิลป์สีดำ.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และสีดำ · ดูเพิ่มเติม »

สีน้ำตาล

ีน้ำตาล (Brown) เป็นสีชนิดหนึ่งที่คล้ายกับสีของลำต้นของต้นไม้ ออกสีส้มแก่ๆ ผสมกับสีเขียวไปด้วย พบเห็นได้ทั่วไป เช่น กิ่งและลำต้นของต้นไม้ เป็นต้น เป็นสีที่ไม่ค่อยจะสะท้อนแสงเท่าไรนัก จัดอยู่ในกลุ่มจำพวกสีเย็น.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และสีน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

สีแดง

ีแดง คือสีมีความถี่ของแสงที่ต่ำที่สุด ที่ตามนุษย์สามารถแยกแยะได้ แสงสีแดงมีบริเวณช่วงคลื่นระหว่าง 630-760 นาโนเมตร สีแดงเป็นสีอย่างสีเลือดหรือสีชาด, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น มดแดง ผ้าแดง จัดเป็น 1 ในแม่สี 3 สี ร่วมกับสีเขียว, สีน้ำเงิน.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และสีแดง · ดูเพิ่มเติม »

สีเหลือง

ีเหลือง เป็น 1 ใน 3 แม่สี ร่วมกับสีแดง และสีน้ำเงิน โดยปกติสีจะมีอยู่สองโทน คือ สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น แต่สีเหลืองเป็นสีที่อยู่ตรงกลางระหว่าง สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น จึงสามารถเลือกใช้สีเหลืองเข้าไปผสมผสานได้กับสีทั้งสองโทน ซึ่งนอกจากสีเหลืองแล้วยังมีสีม่วงอีกสีหนึ่งที่มีลักษณะดังกล่าว.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และสีเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

สีเขียว

ีเขียว เป็นสีสีหนึ่งบนคลื่นที่ตามองเห็น ตั้งอยู่ระหว่างสีน้ำเงินและสีเหลือง สีเขียวเกิดจากแสงที่ความยาวคลื่นประมาณ 495-570 นาโนเมตร สีเขียวในแม่สีเชิงลบที่ใช้สำหรับระบายสีและพิมพ์สีเกิดจากสีเหลืองผสมกับสีน้ำเงิน หรือสีเหลืองผสมกับสีน้ำเงินอมเขียว ในระบบสี RGB ที่พบในโทรทัศน์และจอคอมพิวเตอร์ เป็นสีที่มาจากแม่สีเชิงบวก ร่วมกับสีแดงและสีน้ำเงิน ซึ่งต่างก็ผสมกันจนกลายเป็นสีอื่น ๆ ได้ ในภาษาอังกฤษใหม่ คำว่า green (สีเขียว) มาจากคำภาษาอังกฤษกลางว่า grene จากรากศัพท์ภาษาเยอรมันเดียวกันกับคำว่าคำว่า "grass" และ "grow" สีเขียวเป็นสีของการปลูกหญ้าและใบไม้ ด้วยเหตุนี้สีเขียวจึงเป็นสีของฤดูใบไม้ผลิ ความเจริญเติบโต และธรรมชาติEva Heller, Psychologie de la couleur- effets et symboliques.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และสีเขียว · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ปลาออสการ์และสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

สเวน ออสการ์ คูลเลนเดอร์

วน ออสการ์ คูลเลนเดอร์ หรือ สเวน โอ.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และสเวน ออสการ์ คูลเลนเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: ปลาออสการ์และอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

อุณหภูมิ

อุณหภูมิของก๊าซอุดมคติอะตอมเดี่ยวสัมพันธ์กับค่าเฉลี่ยพลังงานจลน์ของอะตอม อุณหภูมิ คือการวัดค่าเฉลี่ยของพลังงานจลน์ของอนุภาคในสสารใดๆ ซึ่งสอดคล้องกับความร้อนหรือเย็นของสสารนั้น ในอดีตมีแนวคิดเกี่ยวกับอุณหภูมิเกิดขึ้นเป็น 2 แนวทาง คือตามแนวทางของหลักอุณหพลศาสตร์ และตามการอธิบายเชิงจุลภาคทางฟิสิกส์เชิงสถิติ แนวคิดทางอุณหพลศาสตร์นั้น ถูกพัฒนาขึ้นโดยลอร์ดเคลวิน โดยเกี่ยวข้องกับการวัดในเชิงมหภาค ดังนั้นคำจำกัดความอุณหภูมิในเชิงอุณหพลศาสตร์ในเบื้องแรก จึงระบุเกี่ยวกับค่าตัวแปรต่างๆ ที่สามารถตรวจวัดได้จากการสังเกต ส่วนแนวทางของฟิสิกส์เชิงสถิติจะให้ความเข้าใจในเชิงลึกยิ่งกว่าอุณหพลศาสตร์ โดยอธิบายถึงการสะสมจำนวนอนุภาคขนาดใหญ่ และตีความพารามิเตอร์ต่างๆ ในอุณหพลศาสตร์ (เชิงมหภาค) ในฐานะค่าเฉลี่ยทางสถิติของพารามิเตอร์ของอนุภาคในเชิงจุลภาค ในการศึกษาฟิสิกส์เชิงสถิติ สามารถตีความคำนิยามอุณหภูมิในอุณหพลศาสตร์ว่า เป็นการวัดพลังงานเฉลี่ยของอนุภาคในแต่ละองศาอิสระในระบบอุณหพลศาสตร์ โดยที่อุณหภูมินั้นสามารถมองเป็นคุณสมบัติเชิงสถิติ ดังนั้นระบบจึงต้องประกอบด้วยปริมาณอนุภาคจำนวนมากเพื่อจะสามารถบ่งบอกค่าอุณหภูมิอันมีความหมายที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ ในของแข็ง พลังงานนี้พบในการสั่นไหวของอะตอมของสสารในสภาวะสมดุล ในแก๊สอุดมคติ พลังงานนี้พบในการเคลื่อนไหวไปมาของอนุภาคโมเลกุลของแก.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และอุณหภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

องศาเซลเซียส

องศาเซลเซียส (สัญลักษณ์ °C) หรือที่เคยเรียกว่า องศาเซนติเกรด (degree centigrade) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิหน่วยหนึ่งในระบบเอสไอ กำหนดให้จุดเยือกแข็งของน้ำคือ 0 °C และจุดเดือดคือ 100 °C โดยตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่แอนเดอร์ เซลเซียส ผู้ซึ่งสร้างระบบใกล้เคียงกับปัจจุบัน ในปัจจุบันองศาเซลเซียสใช้กับแพร่หลายทั่วโลกในชีวิตประจำวัน จะยกเว้นก็มีสหรัฐอเมริกาและประเทศจาไมกาเท่านั้นที่นิยมใช้หน่วยองศาฟาเรนไฮต์ แต่ในประเทศดังกล่าว องศาเซลเซียสและเคลวินก็ใช้มากในด้านวิทยาศาสตร.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และองศาเซลเซียส · ดูเพิ่มเติม »

ทราย

ผืนทรายที่ถูกลมพัดเป็นริ้วเหมือนคลื่น ทราย เป็นตัวอย่างหนึ่งของวัสดุจำพวก สสารแบบเม็ด (granular matter) ตามธรรมชาติแล้ว ทรายเกิดจากหินที่ถูกย่อยเป็นเม็ดละเอียด ซึ่งหมายถึงทรายทั่ว ๆ ไปที่เราพบเห็นตามชายหาด แต่อีกความหมายหนึ่งในแง่วิทยาศาสตร์ (โดยเฉพาะทางธรณีวิทยา) แล้ว หมายถึงชื่อขนาดของอนุภาคขนาดเม็ด "ทราย" ที่มีขนาดอนุภาคหรือเม็ดตะกอนระหว่าง 0.0625 ถึง 2 มิลลิเมตร อนุภาคหนึ่ง ๆ ของทรายนั้น เรียกว่า "เม็ดทราย" ขนาดของอนุภาคที่เล็กถัดลงไป เรียกว่า ทรายแป้ง (slit) เป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า 0.0625 มิลลิเมตร จนถึง 0.004 มิลลิเมตร ส่วนขนาดของอนุภาคที่ใหญ่กว่าขนาดอนุภาคของทราย เรียกว่า กรวด (gravel) อนุภาคมีขนาดใหญ่กว่า 2 ถึง 64 มิลลิเมตร (ท่านสามารถศึกษาการแบ่งขนาดของอนุภาคทางธรณีวิทยาได้จาก '''grain size''') เมื่อใช้นิ้วถูเบา ๆ ขนาดอนุภาคทรายนั้นจะให้ความรู้สึกสาก ส่วนอนุภาคทรายแป้งนั้นจะรู้สึกเหมือนนิ้วถูผงแป้ง แต่จะรู้สึกสาก ๆ เพียงเล็กน้อย) ทราย ทราย50 About Sye.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และทราย · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และทวีปอเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ทองคำ

ทองคำ (gold) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 79 และสัญลักษณ์คือ Au (มาจากภาษาละตินว่า aurum) จัดอยู่ในกลุ่มธาตุโลหะมีสกุลชนิดหนึ่ง ทองคำเป็นธาตุโลหะทรานซิชันสีเหลืองทองมันวาวเนื้ออ่อนนุ่ม สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่ ทองคำใช้เป็นทุนสำรองทางการเงินของหลายประเทศ ใช้ประโยชน์เป็นเครื่องประดับ งานทันตกรรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิก.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และทองคำ · ดูเพิ่มเติม »

ตลาด

ตลาดสดในสิงคโปร์ ตลาด เป็นการชุมนุมกันทางสังคม แลกเปลี่ยนสินค้ากัน ในภาษาทั่วไป ตลาดหมายความรวมถึงสถานที่ที่มนุษย์มาชุมนุมกันเพื่อค้าขาย ในทางเศรษฐศาสตร์ ตลาดหมายถึงการแลกเปลี่ยนซื้อขาย โดยไม่มีความหมายของสถานที่ทางกายภาพ การค้าขายของไทยสมัยก่อนนั้น เน้นทางน้ำเป็นหลัก เพราะการคมนาคมทางน้ำเป็นการคมนาคมหลักของคนไทย ซึ่งอาจจะเห็นได้จากการมีตลาดน้ำต่าง ๆ ในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นการเปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้ดำเนินกิจกรรมการแลกเปลี่ยน ซื้อขายสินค้าและบริการตามความถนัดของแต่ละครอบครัว เป็นแหล่งรายได้ที่สุจริตของแต่ละครอบครัว เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจภายในชุมชนรวมถึงจากภายนอกเข้าสู่ชุมชนด้วย และยังก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีในระดับชุมชน รวมถึงการช่วยธำรงรักษาวัฒนธรรมประเพณีในชุมชน ในกรณีของชุมชนที่มีวัฒนธรรมความเป็นมา จากการที่กลุ่มคนในชุมชนมีการสร้างปฏิสัมพันธ์อันดีด้วยกัน คำว่า "ตลาด" สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า "ยี่สาร" ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า "บาซาร์" ในภาษาเปอร์เซีย ซึ่งแปลว่า "ตลาด" ตามชาวเปอร์เซียเริ่มเข้ามาในประเทศไทยสมัยพระเจ้าปราสาททอง.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และตลาด · ดูเพิ่มเติม »

ตา

ม่านตา (iris) คือ ส่วนที่มีสีต่างๆกัน thumb ตา คือส่วนรับแสงสะท้อนของร่างกาย ทำให้สามารถมองเห็น และรับรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้ ตาของสัตว์ต่างๆ มีรูปแบบที่ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นตาของ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์ปีก, สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์น้ำ โดยดวงตาของสัตว์ที่พัฒนาแล้ว มักจะมีเพียง 2 ดวง และ อยู่ด้านหน้าของใบหน้า เพื่อการมองเห็นแบบ 3 มิติ ตา คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่รับแสง โดยสัตว์แต่ละชนิดจะมีอวัยวะรับแสงที่แตกต่างกัน ตาที่เรียบง่ายที่สุดจะไม่สามารถทำอะไรได้เลยเว้นแต่การรับรู้ว่าสิ่งแวดล้อมนั้นมืดหรือสว่างเพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ เช่น กลางวันหรือกลางคืน เป็นต้น แต่จะไม่สามารถรับรู้ออกมาเป็นภาพได้ ตาที่ซับซ้อนกว่าจะมีรูปทรงและสีที่เป็นเอกลักษณ์ ในระบบตาที่ซับซ้อน ตาแต่ละดวงจะสามารถรับภาพที่มีบริเวณที่ซ้อนทับกันได้ เพื่อให้สมองสามารถรับรู้ถึงความลึก หรือ ความเป็นสามมิติของภาพ เช่น ระบบตาของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ตาของสัตว์บางชนิด เช่น กระต่ายและกิ้งก่า ได้ถูกออกแบบมาให้มีส่วนของภาพที่ซ้อนทับกันน้อยที่สุด เลนส์ ที่อยู่ส่วนข้างหน้าของตาทำหน้าที่เช่นเดียวกับเลนส์ของกล้อง เมื่อคนเราแก่ตัวลง ตาของคนแก่จะไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และต้องใช้แว่น หรือคอนแทคท์เลนส์ จึงจะสามารถมองเห็นชัดเจนได้.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และตา · ดูเพิ่มเติม »

ตุลาคม

ตุลาคม เป็นเดือนที่ 10 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนตุลาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีตุล และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีพิจิก แต่ในทางดาราศาสตร์ เดือนตุลาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาวและไปอยู่ในกลุ่มดาวคันชั่งตอนต้นเดือนพฤศจิกายน เดือนตุลาคมในภาษาอังกฤษ October มาจากภาษาละติน octo เนื่องจากเป็นเดือนที่ 8 ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคม ประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนตุลาคมในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบราซิล

ราซิล (Brazil; Brasil) หรือชื่อทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล (Federal Republic of Brazil; República Federativa do Brasil) เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ และเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของโลก มีพื้นที่กว้างขวางระหว่างตอนกลางของทวีปอเมริกาใต้และ มหาสมุทรแอตแลนติก มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศอุรุกวัย อาร์เจนตินา ปารากวัย โบลิเวีย เปรู โคลอมเบีย เวเนซุเอลา กายอานา ซูรินาม และแคว้นเฟรนช์เกียนาของฝรั่งเศส (ติดกับทุกประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ยกเว้นเอกวาดอร์และชิลี) ชื่อ "บราซิล" มาจากต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า บราซิลวูด (Pau-Brasil ในภาษาโปรตุเกส) ซึ่งนำไปใช้ย้อมผ้าด้วยสีแดงจากเปลือกไม้ของมัน บราซิลเป็นดินแดนแห่งเกษตรกรรมและป่าเขตร้อน การที่บราซิลมีทรัพยากรธรรมชาติที่มากมายและมีแรงงานเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นประเทศที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สูงที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ (สูงเป็นอันดับที่ 10 ของโลก) และเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคในปัจจุบัน บราซิลใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาทางการ.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และประเทศบราซิล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสวีเดน

วีเดน (Sweden; สฺแวรฺแย) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรสวีเดน (Kingdom of Sweden) เป็นประเทศกลุ่มนอร์ดิกตั้งอยู่บนคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ในยุโรปเหนือ เขตแดนทางตะวันตกจรดประเทศนอร์เวย์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือจรดประเทศฟินแลนด์ และช่องแคบ สแกเกอร์แรก (Skagerrak) ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดช่องแคบแคทีแกต (Kattegat) และทางตะวันออกจรดทะเลบอลติก และอ่าวบอทเนีย มีกรุงสต็อกโฮล์มเป็นเมืองหลวง ประเทศสวีเดนมีประชากรที่เบาบาง เว้นแต่ในเขตเมืองใหญ่ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศประกอบด้วยป่าไม้ และภูเขาสูง หลังจากสิ้นสุดยุคไวกิง สวีเดนกลายเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพคาลมาร์ ร่วมกับเดนมาร์กและนอร์เวย์ (ในช่วงเวลานี้ ฟินแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสวีเดน) สวีเดนได้ออกจากสหภาพในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 และได้รบสู้กับประเทศเพื่อนบ้านเป็นเวลาหลายปี โดยเฉพาะรัสเซีย และเดนมาร์กกับนอร์เวย์ที่ยังเป็นสหภาพอยู่ ซึ่งไม่ยอมรับการที่สวีเดนออกจากสหภาพ ในคริสศตวรรษที่ 17 สวีเดนได้ขยายเขตด้วยสงครามและกลายเป็นมหาอำนาจด้วยขนาด 2 เท่าของปัจจุบัน ถึง..

ใหม่!!: ปลาออสการ์และประเทศสวีเดน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอาร์เจนตินา

อาร์เจนตินา (อังกฤษและArgentina อารฺเฆนตีนา (สเปน)) หรือชื่อทางการ สาธารณรัฐอาร์เจนตินา (Argentine Republic; República Argentina) เป็นหนึ่งในประเทศในทวีปอเมริกาใต้ (ลาตินอเมริกา) ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาแอนดีสทางทิศตะวันตก และมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ทางทิศตะวันออกและทิศใต้ มีพรมแดนจดประเทศปารากวัยและประเทศโบลิเวียทางภาคเหนือ จดประเทศอุรุกวัยและประเทศบราซิลทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจดประเทศชิลีทางภาคตะวันตกและภาคใต้ อาร์เจนตินาเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของทวีปอเมริกาใต้ รองจากบราซิล และมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และประเทศอาร์เจนตินา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอุรุกวัย

อุรุกวัย (Uruguay) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐบูรพาอุรุกวัย (República Oriental del Uruguay) เป็นประเทศเล็ก ๆ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ มีอาณาเขตจรดประเทศบราซิลทางทิศเหนือ จรดแม่น้ำอุรุกวัยทางทิศตะวันตก จรดปากแม่น้ำรีโอเดลาปลาตา (มีความหมายตามตัวอักษรว่า "แม่น้ำแห่งแร่เงิน" แต่มักเป็นที่รู้จักในชื่อภาษาอังกฤษว่า "แม่น้ำเพลต") ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีอาณาเขตของประเทศอาร์เจนตินาอยู่อีกฝั่ง และจรดมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประชากรประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศอาศัยอยู่ในเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือ กรุงมอนเตวิเดโอ อุรุกวัยเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของทวีปอเมริกาใต้ และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีระบบการเมืองและระบบเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพที.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และประเทศอุรุกวัย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโคลอมเบีย

ลอมเบีย (โกลมเบีย) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐโคลอมเบีย เป็นประเทศในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันออกติดต่อกับเวเนซุเอลาและบราซิล ทางทิศใต้ติดต่อกับเอกวาดอร์และเปรู ทางทิศเหนือจรดทะเลแคริบเบียน ส่วนทางทิศตะวันตกติดต่อกับปานามาและมหาสมุทรแปซิฟิก.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และประเทศโคลอมเบีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวเนซุเอลา

ประเทศเวเนซุเอลา (เบ-เน-ซเว-ลา) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐโบลีวาร์แห่งเวเนซุเอลา (Bolivarian Republic of Venezuela, República Bolivariana de Venezuela) เป็นประเทศบนชายฝั่งทางเหนือของทวีปอเมริกาใต้ มีอาณาเขตจรดประเทศโคลอมเบียทางทิศตะวันตก จรดบราซิลทางทิศใต้ และจรดกายอานาทางทิศตะวันออก เวเนซุเอลามีดินแดนราว 916,445 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรโดยประมาณ 29,105,632 คน เวเนซุเอลาถูกพิจารณาว่าเป็นรัฐที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงอย่างยิ่ง โดยถิ่นที่อยู่มีตั้งแต่เทือกเขาแอนดีสทางตะวันตกไปถึงป่าฝนแอ่งแอมะซอนทางใต้ ผ่านที่ราบยาโนสอันกว้างใหญ่และชายฝั่งแคริบเบียนในตอนกลางและสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอรีโนโกทางตะวันออก เวเนซุเอลาเป็นสหพันธรัฐที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ประกอบด้วย 23 รัฐ, แคปิทอลดิสตริกท์ (Capital District) ซึ่งมีกรุงการากัส และเฟเดอรัลดีเพนเดนซี (Federal Dependency) ซึ่งประกอบด้วยหมู่เกาะนอกชายฝั่งเวเนซุเอลา เวเนซุเอลาอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนทั้งหมดของกายอานาที่อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเอสกวีโบ ซึ่งผืนดิน 159,500 ตารางกิโลเมตรนี้ถูกตั้งฉายาว่า กายอานาเอสกวีบา หรือ "เขตที่ถูกเรียกร้องคืน" เวเนซุเอลาเป็นหนึ่งในประเทศที่กลายเป็นเมืองที่สุดในละตินอเมริกา ชาวเวเนซุเอลาส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในนครทางเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรุงการากัส เมืองหลวงของประเทศ ซึ่งเป็นนครใหญ่สุดเช่นกัน นับแต่การค้นพบน้ำมันในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เวเนเซุเอลากลายเป็นหนึ่งในประเทศผู้ส่งออกน้ำมันของโลก และมีน้ำมันสำรองใหญ่ที่สุด จากเดิมที่เวเนซุเอลาเป็นประเทศด้อยพัฒนาที่ส่งออกโภคภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น กาแฟและโกโก้ แต่น้ำมันขึ้นมาครองการส่งออกและรายได้ภาครัฐอย่างรวดเร็ว ปริมาณน้ำมันที่มากเกินความต้องการในคริสต์ทศวรรษ 1980 นำไปสู่วิกฤตหนี้สินภายนอกและวิกฤตเศรษฐกิจอันยาวนาน ซึ่งเงินเฟ้อแตะ 100% ในปี 2539 และอัตราความยากจนพุ่งแตะ 66% ในปี 2538 โดยที่ในปี 2541 จีดีพีต่อหัวร่วงลงอยู่ระดับเดียวกับปี 2506 หรือลดลงหนึ่งในสามจากจุดสูงสุดในปี 2521 การฟื้นตัวของราคาน้ำมันหลังปี 2544 กระตุ้นเศรษฐกิจเวเนซูเอลาและอำนวยการบริโภคทางสังคม แม้ผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลกปี 2551 จะทำให้เกิดเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหม่ อย่างไรก็ดี จนถึงปี 2553 เศรษฐกิจเวเนซูเอลากลับมาเติบโตอีกครั้ง เวเนซุเอลายังได้อ้างว่าตนตั้งอยู่ในตะวันออกกลางและสันนิบาตอาหรั.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และประเทศเวเนซุเอลา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเปรู

ประเทศเปรู (Perú) มีชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเปรู เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ มีพรมแดนทางทิศเหนือติดกับประเทศเอกวาดอร์และประเทศโคลอมเบีย ทิศตะวันออกติดกับประเทศบราซิลและประเทศโบลิเวีย ทางทิศใต้ติดกับประเทศชิลี และทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ประเทศเปรูเป็นที่ตั้งของอารยธรรมการัล ซึ่งเป็นอารยธรรมเก่าแก่อันหนึ่งของโลก และอาณาจักรอินคา จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาก่อนยุคโคลัมบัส ต่อมาภูมิภาคนี้ตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิสเปน และได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2364 ชื่อเปรูมาจากคำว่า "บีรู" (Birú) ซึ่งเป็นชื่อของผู้ปกครองท้องถิ่นบริเวณอ่าวซานมีเกลในปานามา โดยบริเวณนี้เป็นจุดใต้สุดที่ชาวยุโรปรู้จักเมื่อครั้งนักสำรวจชาวสเปนมาถึงในปี พ.ศ. 2065 ดังนั้นเมื่อฟรันซิสโก ปีซาร์โรเดินทางสำรวจต่อไปทางใต้ จึงเรียกภูมิภาคเหล่านั้นว่า บีรูหรือเปรูด้วย จักรวรรดิสเปนรับรองชื่อนี้ในปี..

ใหม่!!: ปลาออสการ์และประเทศเปรู · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวยงาม

ตู้ ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่าง ๆ จากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และปลาสวยงาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาออสการ์ (สกุล)

ปลาออสการ์ เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) ในวงศ์ย่อยปลาออสการ์ (Astronotinae) โดยใช้ชื่อสกุลว่า Astronotus (/แอส-โตร-โน-ตัส/) ซึ่งมาจากภาษากรีกคำว่า astra.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และปลาออสการ์ (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำจืด

วงศ์นี้ล้วนแต่เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ปลาน้ำจืด (Freshwater fish) หมายถึง ปลาที่อาศัยอยู่ได้ในเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืด คือ น้ำที่มีปริมาณเกลือหรือความเค็มละลายน้อยกว่าร้อยละ 00.5 เท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ, คลอง พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ที่เป็นน้ำจืด เช่น ทะเลสาบน้ำจืด, บึง หนอง หรือลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบ โดยโครงสร้างของปลาน้ำจืดนั้น จะมีแรงดันออสโมซิสในเลือดอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำที่อาศัยอยู่มาก จึงทำให้มีการไหลของน้ำเข้าสู่ร่างกายและเกลือแร่แพร่ออกสู่น้ำภายนอกได้ง่าย โดยไม่ให้น้ำซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายและออกจากร่างกายได้ แต่ทว่ากระบวนการดังกล่าวก็ยังไม่ดีพอ เพราะเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ปลาใช้หายใจมีน้ำไหลผ่าน เมื่อมีเหงือก น้ำก็มีโอกาสไหลผ่านเข้าสู่ภายในร่างกายได้ จึงกำจัดน้ำส่วนที่เกินที่ถูกดูดเข้าสู่ร่างกายออกสู่นอกร่างกายได้วิธีการขับถ่ายนำเอาปัสสาวะซึ่งมีความดันออสโมซิสต่ำกว่าเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย ร่างกายส่วนใหญ่ของปลาน้ำจืดจะปกคลุมด้วยผิวหนังและเกล็ดซึ่งไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านนอกจากบริเวณที่เป็นเหงือกแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจเท่านั้นที่น้ำผ่านได้ และโดยธรรมชาติปลาน้ำจืดไม่ดื่มน้ำเลย ซึ่งแตกต่างจากปลาทะเล เพราะการดื่มน้ำจะทำให้ร่างกายมีน้ำมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะมีน้ำบางส่วนไหลผ่านบริเวณปากและเหงือกเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจก็จะมีโอกาสซึมเข้าไปในร่างกายได้บ้าง และเกลือแร่จากเลือดก็จะแพร่ออกมาทางเหงือกได้มากพอดู ปลาน้ำจืดจึงมีไตขับน้ำส่วนเกินออกไปเป็นปัสสาวะ และมีกลุ่มเซลล์พิเศษอยู่บริเวณเหงือกคอยดูดเอาเกลือแร่ต่าง ๆ ที่จำเป็นกลับสู่ร่างก.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และปลาน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

แมลง

แมลง (Insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพดา จำแนกออกเป็นไฟลัมต่าง ๆ ได้ 13 กลุ่ม มีลักษณะสำคัญคือมีลำตัวเป็นปล้องคล้อง ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ส่วน สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ลำตัวทั้งสองด้านซ้ายขวามีความเหมือนและมีขนาดเท่ากัน มีเปลือกห่อหุ้มลำตัวด้วยสารไคติน (Chitinous Exoskeleton) ไม่มีขน หายใจแบบใช้เหงือกหรือใช้รูหายใจ มีวัฎจักรวงจรชีวิตในการเจริญเติบโตแบบไข่ มีการลอกคราบเป็นบางครั้งแล้วสร้างผนังหรือเปลือกห่อหุ้มลำตัวใหม่ มีรยางค์เป็นคู่และเป็นปล้อง ส่วนใหญ่นักกีฏวิทยามักใช้รยางค์ในการแบ่งเพศผู้เพศเมียของแมลง มีอวัยวะภายในที่มีท่อทางเดินอาหารเป็นท่อยาวตลอดจากปากไปถึงทวารหนัก ระบบเลือดเป็นแบบเปิดและมีท่อเลือดอยู่ทางด้านสันหลังเหนือระบบทางเดินอาหาร มีระบบประสาทที่ประกอบไปด้วยสมองอยู่เหนือท่ออาหาร มีเส้นประสาทขนาดใหญ่หนึ่งคู่เชื่อมต่อจากสมอง มีการรวมตัวเป็นระยะก่อเกิดเป็นปมประสาท เส้นประสาทขนาดใหญ่ของแมลง จะอยู่ทางด้านล่างของลำตัวใต้ท่ออาหาร มีกล้ามเนื้อแบบเรียบอยู่ตามลำตัวบทปฏิบัติการกีฎวิทยาเบื้องต้น, ภาควิชากีฎวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ร. ดร.สาวิตรี มาไลยพันธุ์, สำนักพิมพ์รั้วเขียว,..

ใหม่!!: ปลาออสการ์และแมลง · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำแอมะซอน

แม่น้ำแอมะซอน แม่น้ำแอมะซอน (Amazon River; Rio Amazonas; Río Amazonas) เป็นแม่น้ำในทวีปอเมริกาใต้ มีต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศเปรู และไหลออกมหาสมุทรที่ประเทศบราซิล มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 6,992 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดของโลก (รองลงมาคือแม่น้ำไนล์) และยังเป็นแม่น้ำที่มีปากแม่น้ำกว้างที่สุดในโลก ซึ่งอยู่บริเวณทางเหนือของบราซิล แม่น้ำแอมะซอนเป็นแม่น้ำสายที่มีปริมาณน้ำมากที่สุด ปริมาณน้ำที่ไหลออกยังมหาสมุทรแอตแลนติกมากถึง 45 ล้านแกลลอนต่อวินาทีในฤดูฝน ฝนที่ตกในลุ่มแม่น้ำแอมะซอนเฉลี่ยปีละ 3 เมตร (สูงสุด 6 เมตร) แต่ฝนจะตกเพียงไม่กี่เดือน ต่างกันไปตามแต่ละสถานที่ ในช่วงฤดูแล้งราวเดือนตุลาคม น้ำจะลดปริมาณลงจนเห็นสันทรายและเกิดเป็นทะเลสาบต่าง ๆ บางแห่งตัดขาดจากกัน ในฤดูน้ำหลากน้ำจะท่วมป่าทุกปี ในเนื้อที่ประมาณ 90,000 ตารางกิโลเมตร ขนาดเท่าประเทศอังกฤษ และยังถือเป็นแม่น้ำที่มีปริมาณน้ำมากถึง 1 ใน 5 ส่วนของโลก มีแม่น้ำสาขาที่แยกออกจากแอมะซอนมากกว่า 1,100 สาขา อีกทั้งยังถือเป็นแม่น้ำที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก เป็นแม่น้ำที่มีความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ปลามากที่สุดในโลก กว่า 3,000 ชนิด ซึ่งนับว่ามากกว่ามหาสมุทรแอตแลนติกเสียอีก.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และแม่น้ำแอมะซอน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำโอริโนโก

right โอริโนโก (Orinoco) มีต้นกำเนินมากจากที่ราบสูงกายอานา ในทิวเขาปาริมา อยู่บริเวณรอยต่อระหว่างประเทศเวเนซุเอลากับประเทศบราซิล แม่น้ำมีความยาวกว่า 2,150 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่กว่า 900,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 75 ของประเทศเวเนซุเอลา บางช่วงของแม่น้ำโอริโนโกอยู่ในประเทศโคลอมเบีย แม่น้ำไหลลงที่มหาสมุทรแอตแลนติกในประเทศเวเนซุเอลาซึ่งปากแม่น้ำอยู่ใกล้กับประเทศตรินิแดดและโตเบโก.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และแม่น้ำโอริโนโก · ดูเพิ่มเติม »

เฟรนช์เกียนา

ฟรนช์เกียนา (French Guiana) หรือ กุยยานฟร็องแซซ (Guyane française) เป็นจังหวัดโพ้นทะเล (département d'outre-mer) ของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่บนชายฝั่งทางเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ทิศเหนือจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับประเทศบราซิล และทางทิศตะวันตกติดกับประเทศซูรินาม เช่นเดียวกับจังหวัดโพ้นทะเลของฝรั่งเศสจังหวัดอื่น ๆ เฟรนช์เกียนายังมีฐานะเป็นแคว้นโพ้นทะเล (région d'outre-mer) ซึ่งเป็น 1 ใน 18 แคว้นของประเทศฝรั่งเศสด้วย โดยถือเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกับประเทศฝรั่งเศสในทวีปยุโรปและใช้สกุลเงินยูโรเช่นกัน.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และเฟรนช์เกียนา · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และเมตร · ดูเพิ่มเติม »

PH

PH, Ph, pH, ph (พีเอช) สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: ปลาออสการ์และPH · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Astronotus ocellatus

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »