เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ปลาออร์และมหาสมุทรแอตแลนติก

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปลาออร์และมหาสมุทรแอตแลนติก

ปลาออร์ vs. มหาสมุทรแอตแลนติก

ปลาออร์ หรือ ปลาริบบิ้น (Oarfish, King of herrings; 皇帶魚; พินอิน: huángdài yú) เป็นปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Regalecus glesne อยู่ในวงศ์ Regalecidae มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับพญานาคตามความเชื่อของไทย หรือมังกรทะเลในความเชื่อในยุคกลางของชาวตะวันตก โดยมีความยาวได้สูงสุดยาวถึง 9 เมตร และหนัก 300 กิโลกรัม แต่ก็มีบันทึกไว้ในบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ด้วยว่า ปลาชนิดนี้เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ยาวที่สุดในโลก โดยอาจยาวได้ถึง 11 เมตร ในขณะที่รายงานไม่ยืนยันอีกบางกระแสระบุว่าอาจยาวถึง 15 เมตร หรือกว่านั้น มีส่วนหัวที่ใหญ่ ลำตัวแบนสีเงิน มีจุดสีฟ้าและดำประปราย มีครีบหลังสีชมพูแดง บนหัวที่อวัยวะแลดูคล้ายหงอนเป็นจุดเด่น เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในท้องทะเลลึกระหว่าง 50–250 เมตร จึงพบเห็นได้ยากมาก แต่มีผู้พบเห็นกันเป็นระยะ ๆ ในหลายพื้นที่ ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของออสเตรเลีย เรื่อยไปจนถึงทะเลนอกชายฝั่งเม็กซิโก และแถบหมู่เกาะเบอร์มิวดา ส่วนใหญ่มักถูกคลื่นซัดออกมาเกยหาด หรือไม่ก็เกิดอาการผิดปกติขึ้นกับปลา เช่น ป่วย หรือใกล้ตาย น้อยครั้งที่จะมีการพบเห็นขณะมีชีวิตอยู่ ภาพถ่ายของปลาออร์ ที่เคยเชื่อกันว่าเป็นพญานาคที่ประเทศลาว เป็นปลาที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร ไม่เป็นอันตรายและไม่ทำร้ายมนุษย์ แม้จะมีรายงานไม่ยืนยันจากนักวิจัยในนิวซีแลนด์ที่ระบุว่าถ้าหากแตะไปที่ตัวของมันขณะยังมีชีวิตอยู่จะปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมาช็อตได้ ปลาออร์เมื่อปรากฏตัวขึ้นมามักจะปรากฏเป็นข่าวครึกโครมอยู่เป็นระยะ ๆ ว่าเป็นพญานาคหรือสัตว์ประหลาด อาทิ ในกลางปี ค.ศ. 1996 ได้ปรากฏภาพถ่ายใบหนึ่งของกลุ่มทหารชาวอเมริกันอุ้มปลาชนิดนี้ แพร่กระจายกันทั่วไปในสังคมไทย ทำให้เกิดความเชื่อว่า นั่นเป็นพญานาคที่จับได้จากแม่น้ำโขง และเชื่อว่า ภาพถ่ายนั้นถ่ายที่ค่ายทหารแห่งหนึ่งในประเทศลาวและถ่ายมานานแล้วกว่า 30 ปี ในยุคสงครามเวียดนาม แต่แท้จริงแล้วเป็นภาพที่ถ่ายในค่ายทหารที่เกาะโคโรนาโด รัฐแคลิฟอร์เนีย ในปีเดียวกันนั้นเอง และเป็นปลาที่อยู่จับได้ในมหาสมุทรแปซิฟิก แถบทวีปอเมริกาใต้. มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปลาออร์และมหาสมุทรแอตแลนติก

ปลาออร์และมหาสมุทรแอตแลนติก มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): มหาสมุทรแปซิฟิกทวีปอเมริกาใต้

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ปลาออร์และมหาสมุทรแปซิฟิก · มหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

ทวีปอเมริกาใต้และปลาออร์ · ทวีปอเมริกาใต้และมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปลาออร์และมหาสมุทรแอตแลนติก

ปลาออร์ มี 43 ความสัมพันธ์ขณะที่ มหาสมุทรแอตแลนติก มี 26 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 2.90% = 2 / (43 + 26)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปลาออร์และมหาสมุทรแอตแลนติก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: