โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาหวีเกศพรุและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปลาหวีเกศพรุและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ปลาหวีเกศพรุ vs. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ปลาหวีเกศพรุ เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ในอันดับปลาหนัง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pseudeutropius indigens อยู่ในวงศ์ปลาหวีเกศ (Schilbeidae) ปลาหวีเกศพรุนับเป็นปลาน้ำจืดชนิดใหม่ของโลก ที่เพิ่งจะได้รับการค้นพบเมื่อปี ค.ศ. 2011 มีลักษณะไปทั่วคล้ายกับปลาแขยงทอง หรือปลาอิแกลาเอ๊ะ (P. moolenburghae) มาก โดยตั้งชื่อชนิดเป็นภาษาละตินมีความหมายว่า "มีน้อยกว่า" จากลักษณะของจำนวนซี่กรองเหงือกและก้านครีบเมื่อเทียบกับปลาอีแกลาเอ๊ะ โดยลักษณะเด่นที่ใช้สำหรับการจำแนก คือ มีส่วนหัวที่มีความกว้างมากกว่าปลาอิแกลาเอ๊ะ ประมาณ 10.5-11.0 % ของความยาวมาตรฐาน ซี่กรองเหงือกมีจำนวน 33-35 อันที่โครงแรก มีก้านครีบก้น 37-41 ก้าน ขากรรไกรบนและล่างเท่ากัน มีฟันเป็นซี่เล็กแหลม จำนวนมาก หนวดเส้นยาวเรียวทั้งหมด 4 คู่ ยาวอย่างน้อยที่สุดยาวไปจนถึงครีบท้อง มีขนาดใหญ่สุดที่พบความยาวลำตัว มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 7 เซนติเมตร มีการกระจายพันธุ์อยู่ในแหล่งน้ำรอบ ๆ ป่าพรุโต๊ะแดง ของจังหวัดนราธิวาส และในแม่น้ำสุโหง-โกลก และยังพบบริเวณต้นน้ำของแม่น้ำตาปี ปลาหวีเกศพรุเป็นปลาที่พบน้อย แต่ก็ถูกจับไปขายเป็นปลาสวยงามเป็นครั้งคราวรวมกับปลาที่พบในป่าพรุชนิดอื่น ๆ หรือถูกจับปนไปกับปลาที่กินได้ขนาดเล็กต่าง ๆ โดยมักจะถูกเรียกรวม ๆ กันกับปลาก้างพระร่วง (Kryptopterus macrocephalus) ซึ่งเป็นปลาต่างวงศ์กัน. ทางเดินศึกษาธรรมชาติ ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หรือ ป่าพรุโต๊ะแดง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ป่าพรุโต๊ะแดง หรือ ป่าพรุสิรินธร เป็นป่าพรุที่มีเนื้อที่มากที่สุดที่ยังเหลืออยู่ในประเทศไทย เนื้อที่ของป่ามีความกว้างประมาณ 8 กิโลเมตร และมีความยาวประมาณ 28 กิโลเมตร มีพื้นที่ครอบคลุมอาณาเขตของอำเภอตากใบ อำเภอสุไหงปาดี อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอเจาะไอร้อง และอำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส คิดเป็นเนื้อที่กว่า 125,625 ไร่ (แต่ส่วนที่สมบูรณ์จริง ๆ มีประมาณ 50,000 ไร่) มีแหล่งน้ำสำคัญ 3 สายไหลผ่าน คือ แม่น้ำบางนรา, คลองสุไหงปาดี และคลองโต๊ะแดง (อันเป็นที่มาของชื่อเรียก) ป่าแห่งนี้เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ป่าหลากหลายชนิด ซึ่งหลายชนิดอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ และพื้นที่รอบๆป่าก็เป็นพื้นที่เพาะปลูกข้าว ยาง และผลไม้ต่าง ๆ โดยมีศูนย์วิจัยและศึกษาพันธ์ป่าพรุสิรินธร ซึ่งตั้งอยู่ ณ ตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหงโกลก ใช้เวลาเดินทางจากตัวเมืองสุไหงโกลก ผ่านทางหลวงสายสุไหงโกลก - ตากใบ แล้วเลี้ยวซ้ายตรงแยกชวนันท์ ด้วยระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตรจากตัวเมืองสุไหงโกลก เดินศึกษาธรรมชาติยาวกว่า 1,200 เมตร ภายในศูนย์ฯมีเส้นทางเดินศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของป่าผ่าใจกลางป่าพรุ มีหอคอย และศูนย์บริการข้อมูล ตลอดจนซุ้มแสดงประวัติและข้อมูลขอลพืช พันธ์ และสัตว์ต่างๆในพื้นที่ป่าพรุโดยรอบ ใช้เวลาเดินประมาณ 45 - 60 นาที.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปลาหวีเกศพรุและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ปลาหวีเกศพรุและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สปีชีส์จังหวัดนราธิวาสปลาเพียวขุ่นป่าพรุเมตร

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ปลาหวีเกศพรุและสปีชีส์ · สปีชีส์และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนราธิวาส

นราธิวาส เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นจังหวัดชายแดนใต้สุดของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลตะวันออกของแหลมมลายู ห่างจากกรุงเทพฯ ทางรถยนต์ประมาณ 1,149 กิโลเมตร โดยมีเนื้อที่ประมาณ 4,475.43 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,797,143.75 ไร่ ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดปัตตานีในเขตอำเภอสายบุรี อำเภอไม้แก่น และอ่าวไทย ทิศตะวันออกติดต่อกับอ่าวไทยและรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศใต้ติดต่อกับรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดยะลาในเขตอำเภอบันนังสตา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้และภูเขา 2 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด มีป่าพรุประมาณ 361,860 ไร่ ทางแถบทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดทิวเขาสันกาลาคีรีซึ่งเป็นแนวกั้นพรมแดนไทย-มาเลเซีย ลักษณะพื้นที่จะมีความลาดเอียงจากทิศตะวันตกไปสู่ทิศตะวันออก พื้นที่ราบส่วนใหญ่อยู่บริเวณติดกับอ่าวไทยและที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำ 4 สาย คือ แม่น้ำบางนรา แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำตากใบ และแม่น้ำโก-ลก มีประชากรจำนวน 796,239 คน แยกเป็นชาย 393,837 คน หญิง 402,402 คน โดยจังหวัดนราธิวาสมีศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการอุตสาหกรรมอยู่ที่อำเภอสุไหงโก-ลก ซึ่งเป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่และมีความเจริญกว่าตัวจังหวัดมาก.

จังหวัดนราธิวาสและปลาหวีเกศพรุ · จังหวัดนราธิวาสและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเพียวขุ่น

ปลาเพียวขุ่น (false glass catfish, striped glass catfish, East indies glass catfish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีรูปร่างลักษณะคล้ายปลาก้างพระร่วง (K. vitreolus) ที่อยู่ในวงศ์และสกุลเดียวกัน แต่ปลาเพียวขุ่นจะมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า มีลำตัวที่ขุ่นทึบกว่า และมีหนวดยาวกว่า ในประเทศไทย อาศัยอยู่เฉพาะป่าพรุโต๊ะแดงในจังหวัดนราธิวาสเท่านั้น ในต่างประเทศพบตามพรุคาบสมุทรมลายู โดยมีอุปนิสัยและพฤติกรรมคล้ายกับปลาก้างพระร่วง จึงได้มีอีกชื่อเรียกชื่อหนึ่งว่า "ปลาก้างพระร่วงป่าพรุ" นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกชนิดหนึ่ง.

ปลาหวีเกศพรุและปลาเพียวขุ่น · ปลาเพียวขุ่นและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี · ดูเพิ่มเติม »

ป่าพรุ

ป่าพรุ ป่าพรุ (Swamp forest, Peat swamp forest) เป็นประเภทของป่าดิบชื้นประเภทหนึ่ง ที่อยู่ในพื้นที่ราบลุ่ม เกิดจากแอ่งน้ำจืดเกิดขังตัวติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน มีการสะสมของชั้นดินอินทรีย์วัตถุ เช่น ซากพืช, ซากสัตว์, เศษซากของต้นไม้ ใบไม้ ต่าง ๆ จนย่อยสลายช้า ๆ กลายเป็นดินพีตหรือดินอินทรีย์ที่มีลักษณะหยุ่นยวบเหมือนฟองน้ำที่มีความหนาแน่นน้อยอุ้มน้ำได้มาก และพบว่ามีการสะสมระหว่างดินพีตกับดินตะกอนทะเลสลับกันชั้นกัน 2-3 ชั้น เนื่องจากน้ำทะเลเคยมีระดับสูงขึ้นจนท่วมป่าพรุ เกิดการสะสมของตะกอนน้ำทะเลถูกขังอยู่ด้านใน พันธุ์ไม้ในป่าพรุตายลงไป และเกิดเป็นป่าชายเลนขึ้นมาแทนที่ เมื่อระดับน้ำทะเลลดลง และมีฝนตกลงมาสะสมน้ำที่ขังอยู่จึงจืดจางลง และเกิดป่าพรุขึ้นมาอีกครั้ง ดินพรุชั้นล่างมีอายุถึง 6,000-7,000 ปี ส่วนดินพรุชั้นบนอยู่ระหว่าง 700-1,000 ปี สภาพโดยทั่วไปของป่าพรุ นั้น คือ พื้นด้านล่างจะเป็นพรุมีน้ำขังตลอดทั้งปี น้ำจะมีสีเขียวหรือน้ำตาลเข้ม อันเกิดจากการหมักหมมตัวมาอย่างยาวนานของซากพืช ซากสัตว์ น้ำจะมีสภาพเป็นกรดมากกว่าค่าของน้ำปกติ (pH ต่ำกว่า 7) ระบบนิเวศในป่าพรุนั้นมีความหลากหลาย และเกี่ยวเนื่องเกี่ยวพันกัน ไม้ยืนต้นจะมีระบบรากแขนงแข็งแรงแผ่ออกไปเกาะเกี่ยวกันเพื่อจะได้ช่วยพยุงลำต้นของกันและกัน และให้ยืนตัวทรงอยู่ได้ ดังนั้นต้นไม้ในป่าพรุจึงอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หากต้นใดต้นหนึ่งล้ม ต้นอื่นจะล้มตามไปด้วย สำหรับในประเทศไทย พื้นที่ที่มีป่าพรุเกิดขึ้นนั้น มักจะเป็นที่ภาคตะวันออกและภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป และพบในบางส่วนบ้างของภาคกลาง ในปัจจุบัน พื้นที่ป่าพรุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ ป่าพรุสิรินธร หรือป่าพรุโต๊ะแดง ในจังหวัดนราธิวาส มีเนื้อที่กว่า 125,625 ไร่ ในอดีต เคยมีป่าพรุในประเทศไทยมากถึงกว่า 400,000 ไร่ กินเนื้อที่กว่า 50 ล้านไร่ แต่ได้ค่อย ๆ ลดปริมาณลงจากการถูกบุกรุกแผ้วถางทำการเกษตร จนปัจจุบันเหลือไม่ถึง 60,000 ไร.

ปลาหวีเกศพรุและป่าพรุ · ป่าพรุและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ปลาหวีเกศพรุและเมตร · เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปลาหวีเกศพรุและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ปลาหวีเกศพรุ มี 25 ความสัมพันธ์ขณะที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มี 33 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 8.62% = 5 / (25 + 33)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปลาหวีเกศพรุและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »