เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ปลาผีเสื้อติดหินน่านและมอริส ก็อตลา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปลาผีเสื้อติดหินน่านและมอริส ก็อตลา

ปลาผีเสื้อติดหินน่าน vs. มอริส ก็อตลา

ปลาผีเสื้อติดหินน่าน ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemimyzon nanensis อยู่ในวงศ์ปลาค้อ (Balitoridae) มีส่วนหัวและลำตัวตอนบนแบนราบ ปากเล็กมากอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก ครีบอกและครีบท้องกว้าง ด้านหลังมีสีกากีหรือน้ำตาลอ่อนและมีแต้มกลมสีคล้ำ ท้องสีจาง ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 4-7 เซนติเมตร ปลาผีเสื้อติดหินน่าน สามารถใช้ครีบอกที่กว้างแกะแนบติดกับแก่งหินที่มีกระแสน้ำไหลเชี่ยว โดยกินอาหารจำพวกตัวอ่อนของแมลงน้ำและสัตว์หน้าดินขนาดเล็ก โดยการกระจายพันธุ์พบเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบชื้นที่เป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำน่านแห่งเดียวเท่านั้น เป็นปลาที่เพิ่งได้รับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์และอนุกรมวิธานเมื่อปี ค.ศ. 1998. มอริส ก็อตลา (Maurice Kottelat) เป็นนักมีนวิทยาชาวสวิส เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1957 ที่เมืองเดอเลมง ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เคยเป็นประธานสมาคมมีนวิทยาแห่งทวีปยุโรป ก็อตลาจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเนอชาแตลในปี ค.ศ. 1987 ในปี ค.ศ. 1980 ได้เดินทางเข้าสู่ประเทศไทยเพื่อศึกษาภาคสนามปลาน้ำจืดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยศึกษาร่วมกับนักมีนวิทยาหลายชาติในภูมิภาคนี้ อาทิ ชวลิต วิทยานนท์ นักมีนวิทยาชาวไทย, ตาน ฮอก ฮุย นักชีววิทยาชาวสิงคโปร์ มีผลงานมากมาย เช่น การเปลี่ยนชื่อสกุลในวงศ์ปลาหมู (Cobitidae) จากสกุล Botia เป็น Chromobotia และ Yasuhikotakia; การอนุกรมวิธานปลาค้อถ้ำพระวังแดง (Schistura spiesi), ปลาพลวงถ้ำ (Neolissochilus subterraneus), ปลาเสือตอลายใหญ่ (Datnioides pulcher) เป็นต้น ที่เกาะสุมาตรา ก็อตลาได้ค้นพบปลาสกุล Paedocypris ซึ่งถือได้ว่าเป็นปลาที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกด้วย ปัจจุบันได้พำนักอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยมีปลาที่ได้รับการบรรยายทางวิทยาศาสตร์ไปแล้วกว่า 440 ชนิด ในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 ก็อตลาได้รับปริญญากิตติมศักดิ์เนื่องในการฉลองของมหาวิทยาลัยเนอชาแตล.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปลาผีเสื้อติดหินน่านและมอริส ก็อตลา

ปลาผีเสื้อติดหินน่านและมอริส ก็อตลา มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชวลิต วิทยานนท์สปีชีส์อนุกรมวิธานปลาน้ำจืด

ชวลิต วิทยานนท์

ร.ชวลิต วิทยานนท์ ชวลิต วิทยานนท์ (ชื่อเล่น: แฟรงก์) เกิดที่กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2502 จบการศึกษาในระดับประถมและมัธยมจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและโททางวิทยาศาสตร์ทางทะเล จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและเทคโนโลยี โตเกียว กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ดร.ชวลิต วิทยานนท์ ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพของปลามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 และค้นพบปลาชนิดใหม่จากประเทศไทยและประเทศใกล้เคียงรวมกันแล้วถึงวันนี้ไม่ต่ำกว่า 20 ชนิด และร่วมการค้นพบฟอสซิลเอปโคราช Khoratpithecus piriyai Chaimanee, Suteethorn, Jintasakul, Vidthayanon, Marandat & Jaeger, 2004 โดยมีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะปลาในอันดับปลาหนัง มีผลงานการเขียนบทความตามวารสารต่าง ๆ เช่น สารคดี, Cichlid World เป็นต้น มีผลงานทางหนังสือ ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่า, ปลาน้ำจืดไทย (พ.ศ. 2544), คู่มือปลาน้ำจืด (พ.ศ. 2547), คู่มือปลาทะเล (พ.ศ. 2551), ปลาไทย ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา (พ.ศ. 2553) และมีผลงานทางด้านสื่อต่าง ๆ เช่น ซีดีฐานข้อมูลปลาในลุ่มแม่น้ำโขงและสนับสนุนข้อมูลด้านอนุกรมวิธานปลาในการจัดนิทรรศการในสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำต่าง ๆ และจัดทำเอกสารเผยแพร่ของหน่วยราชการหลายแห่ง รวมถึงองค์กรชุมชนต่าง ๆ ให้เป็นองค์ความรู้ในการเคลื่อนไหวเพื่ออนุรักษ์ถิ่นอาศัยของสัตว์น้ำในท้องถิ่น เช่น บ้านกรูด บ่อนอก ลุ่มแม่น้ำสงคราม ปากมูล และเชียงของ เป็นกรรมการวิทยานิพนธ์และอาจารย์พิเศษในสาขามีนวิทยาและสัตววิทยาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม อีกทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ทางทะเลและแหล่งน้ำจืด ของกองทุนสัตว์ป่าโลก (Worldwide Fund for Nature - WWF-Greater Mekong สำนักงานประเทศไทย) รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีฯ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และปัจจุบันเป็นผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ประจำโครงงานสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมาธิการลุมแม่น้ำโขง (Environment Programme Mekong River Commission) สำนักงานใหญ่กรุงเวียงจันทน์ สปป.

ชวลิต วิทยานนท์และปลาผีเสื้อติดหินน่าน · ชวลิต วิทยานนท์และมอริส ก็อตลา · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ปลาผีเสื้อติดหินน่านและสปีชีส์ · มอริส ก็อตลาและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อนุกรมวิธาน

อนุกรมวิธานวิทยา (อังกฤษ: Taxonomy) เป็นการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ตามสายวิวัฒนาการ อนุกรมวิธานเป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ ในการศึกษาอนุกรมวิธานจะมีศัพท์ที่ใช้เรียกแตกต่างกันออกไป ถ้าหากการศึกษาเป็นไปในทางรวบรวมตัวอย่าง (specimen) บิดาแห่งอนุกรมวิธานวิทยา คือ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน.

ปลาผีเสื้อติดหินน่านและอนุกรมวิธาน · มอริส ก็อตลาและอนุกรมวิธาน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำจืด

วงศ์นี้ล้วนแต่เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ปลาน้ำจืด (Freshwater fish) หมายถึง ปลาที่อาศัยอยู่ได้ในเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืด คือ น้ำที่มีปริมาณเกลือหรือความเค็มละลายน้อยกว่าร้อยละ 00.5 เท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ, คลอง พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ที่เป็นน้ำจืด เช่น ทะเลสาบน้ำจืด, บึง หนอง หรือลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบ โดยโครงสร้างของปลาน้ำจืดนั้น จะมีแรงดันออสโมซิสในเลือดอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำที่อาศัยอยู่มาก จึงทำให้มีการไหลของน้ำเข้าสู่ร่างกายและเกลือแร่แพร่ออกสู่น้ำภายนอกได้ง่าย โดยไม่ให้น้ำซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายและออกจากร่างกายได้ แต่ทว่ากระบวนการดังกล่าวก็ยังไม่ดีพอ เพราะเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ปลาใช้หายใจมีน้ำไหลผ่าน เมื่อมีเหงือก น้ำก็มีโอกาสไหลผ่านเข้าสู่ภายในร่างกายได้ จึงกำจัดน้ำส่วนที่เกินที่ถูกดูดเข้าสู่ร่างกายออกสู่นอกร่างกายได้วิธีการขับถ่ายนำเอาปัสสาวะซึ่งมีความดันออสโมซิสต่ำกว่าเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย ร่างกายส่วนใหญ่ของปลาน้ำจืดจะปกคลุมด้วยผิวหนังและเกล็ดซึ่งไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านนอกจากบริเวณที่เป็นเหงือกแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจเท่านั้นที่น้ำผ่านได้ และโดยธรรมชาติปลาน้ำจืดไม่ดื่มน้ำเลย ซึ่งแตกต่างจากปลาทะเล เพราะการดื่มน้ำจะทำให้ร่างกายมีน้ำมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะมีน้ำบางส่วนไหลผ่านบริเวณปากและเหงือกเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจก็จะมีโอกาสซึมเข้าไปในร่างกายได้บ้าง และเกลือแร่จากเลือดก็จะแพร่ออกมาทางเหงือกได้มากพอดู ปลาน้ำจืดจึงมีไตขับน้ำส่วนเกินออกไปเป็นปัสสาวะ และมีกลุ่มเซลล์พิเศษอยู่บริเวณเหงือกคอยดูดเอาเกลือแร่ต่าง ๆ ที่จำเป็นกลับสู่ร่างก.

ปลาน้ำจืดและปลาผีเสื้อติดหินน่าน · ปลาน้ำจืดและมอริส ก็อตลา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปลาผีเสื้อติดหินน่านและมอริส ก็อตลา

ปลาผีเสื้อติดหินน่าน มี 22 ความสัมพันธ์ขณะที่ มอริส ก็อตลา มี 29 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 7.84% = 4 / (22 + 29)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปลาผีเสื้อติดหินน่านและมอริส ก็อตลา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: