โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลานิลและวงศ์ปลาหมอสี

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปลานิลและวงศ์ปลาหมอสี

ปลานิล vs. วงศ์ปลาหมอสี

ปลานิล เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oreochromis niloticus เป็นปลาเศรษฐกิจ แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี. วงศ์ปลาหมอสี (Cichlids) เป็นวงศ์ปลาที่มีจำนวนชนิดมากกว่า 1,000 ชนิด นับเป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดที่มีจำนวนชนิดมากเป็นอันดับสาม รองมาจากวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cichlidae (/ซิค-ลิด-เด/) ชื่อสามัญในภาษาไทยนิยมเรียกว่า "ปลาหมอสี" ปลาในวงศ์นี้ส่วนใหญ่จึงมักมีชื่อขึ้นต้นว่า "ปลาหมอ" ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีลักษณะหลายหลากแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของถิ่นกำเนิด ปลาหมอสีส่วนใหญ่เป็นปลาน้ำจืด แต่มีบางชนิดพบในน้ำกร่อย ปลาในวงศ์นี้พบมากที่สุดในทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งมีประมาณ 900 และ 290 ชนิดตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีบางชนิดพบได้ในตอนล่างของทวีปอเมริกาเหนือ อีกสี่ชนิดพบในตะวันออกกลาง และอีกสามชนิดพบในอินเดีย ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีความสำคัญต่อมนุษย์ในหลายลักษณะ ปลาบางชนิด เช่น ปลานิล จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ในขณะที่ปลาอีกหลายชนิดเป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาเทวดา, ปลาปอมปาดัวร์ และ ปลาออสการ์ เป็นต้น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปลานิลและวงศ์ปลาหมอสี

ปลานิลและวงศ์ปลาหมอสี มี 9 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การตั้งชื่อทวินามสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังอันดับปลากะพงทวีปแอฟริกาปลาหมอเทศปลาที่มีก้านครีบปลานิล (สกุล)ปลาน้ำจืด

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

การตั้งชื่อทวินามและปลานิล · การตั้งชื่อทวินามและวงศ์ปลาหมอสี · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ปลานิลและสัตว์ · วงศ์ปลาหมอสีและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ปลานิลและสัตว์มีแกนสันหลัง · วงศ์ปลาหมอสีและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ปลานิลและอันดับปลากะพง · วงศ์ปลาหมอสีและอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ทวีปแอฟริกาและปลานิล · ทวีปแอฟริกาและวงศ์ปลาหมอสี · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอเทศ

ปลาหมอเทศ (Mozambique tilapia, Three spotted tilapia) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีลักษณะรูปร่างทั่วไปคล้ายปลานิล (O. niloticus) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในวงศ์เดียวกันและสกุลเดียวกัน แต่ว่า ปลาหมอเทศมีรูปร่างที่เล็กกว่า มีลำตัวแบนข้าง หัวสั้น ปากกว้าง มีฟันซี่เล็กละเอียด ครีบอกยาวแหลม ครีบก้นมีก้านแข็ง 3 ชิ้น ปลายครีบหางตัดตรง มีเกล็ดตั้งแต่บริเวณแก้ม, หัว ถึงโคนหาง เกล็ดเป็นแบบเกล็ดสาก เส้นข้างลำตัวขาดช่วง ด้านบนลำตัวมีสีคล้ำอมเขียวหรือน้ำเงิน แก้มมีสีจางเป็นปื้น ลำตัวมีแถบสีคล้ำ 8–9 แถบ พาดตามแนวตั้ง ท้องสีจางหรือเหลืองอ่อน ขอบครีบมีสีแดงหรือน้ำตาลรวมถึงครีบอก ปลาขนาดเล็กมีสีคล้ำหรือสีเทา มีความแตกต่างจากปลานิล คือ ปากยาวกว่า และไม่มีแถบหรือลายบนครีบ แต่มีปื้นสีจางบนแก้มของปลาตัวผู้ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 40 เซนติเมตร โดยเฉลี่ยประมาณ 20–30 เซนติเมตร เป็นปลาที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ รวมถึงตะกอนอินทรียสาร ขยายพันธุ์โดยปลาตัวผู้ขุดหลุมบนพื้นท้องน้ำเหมือนหลุมขนมครก ปลาตัวเมียอมไข่ในปากไว้ประมาณ 10–15 วัน ก่อนจะปล่อยลูกปลาให้ออกมาว่ายวนรอบ ๆ ตัวแม่ปลา มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา แถบแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ ในแหล่งน้ำต่าง ๆ และถูกนำเข้าไปในประเทศใกล้เคียง ก่อนจะกลายเป็นปลาเศรษฐกิจที่ถูกนำเข้าไปในหลายประเทศในหลายทวีปทั่วโลก ในประเทศไทยถูกนำเข้ามาในปี พ.ศ. 2492.(พิเศษ) บุญ อินทรัมพรรย์ แห่งคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยนำผ่านมาจากปีนัง เพื่อส่งเสริมเกษตรกรเลี้ยงเป็นอาชีพ แต่ทว่า ความนิยมในการบริโภคสู้ปลานิลไม่ได้ เนื่องจากเนื้อค่อนข้างแข็งและมีขนาดตัวเล็ก ดังนั้น จึงมีราคาจำหน่ายที่ต่ำกว่าปลานิล และถูกปล่อยลงตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย กลายเป็นผลพลอยได้จากการเลี้ยงกุ้ง ในปี..

ปลานิลและปลาหมอเทศ · ปลาหมอเทศและวงศ์ปลาหมอสี · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ปลาที่มีก้านครีบและปลานิล · ปลาที่มีก้านครีบและวงศ์ปลาหมอสี · ดูเพิ่มเติม »

ปลานิล (สกุล)

ปลานิล (Tilapia) เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาหมอสี (Cichilidae) พบกระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกาจนถึงภูมิภาคตะวันออกกลาง ใช้ชื่อสกุลว่า Oreochromis (/ออ-เร-โอ-โคร-มิส/) โดยที่มาของสกุลนี้ อัลเบิร์ต กึนเธอร์ นักสัตววิทยาชาวเยอรมันได้ตั้งสกุลนี้ขึ้นในปี ค.ศ. 1889 โดยมีลักษณะทางอนุกรมวิธานของสกุลนี้โดยย่อ คือ มีลำตัวป้อมสั้นและแบนข้าง เกล็ดเป็นแบบบางเรียบ มีเส้นข้างลำตัวที่ไม่สมบูรณ์ 2 เส้น มีฟัน 2 หรือหลายแถวที่ขากรรไกรบนและล่าง รูปร่างของฟันแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิด ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยวที่เป็นซี่แข็งปลายแหลม จำนวน 14-17 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยวที่เป็นซี่แข็งปลายแหลมจำนวน 3 ก้าน คอดหางมีความกว้างและความยาวใกล้เคียงกัน มีกระดูกสันหลัง 29-32 ข้อ ต่อมาในปี ค.ศ. 1915 จอร์จ อัลเบิร์ต บุนเลเยอร์ นักสัตววิทยาและนักอนุกรมวิธานชาวเบลเยี่ยมได้ตั้งสกุล Tilapia ขึ้น และได้รวมปลาหลายสกุลในวงศ์นี้เข้ามาอยู่ในสกุลนี้ รวมทั้งสกุลปลานิลนี้ด้วย ซึ่งทำให้ครั้งหนึ่งปลาที่อยู่ในสกุลนี้ใช้ได้ชื่อชื่อสกุลว่า Tilapia นำหน้าชื่อชนิดกัน และกลายเป็นชื่อพ้องในเวลาต่อมา ต่อมาในปี ค.ศ. 1983 อีเทลเวนน์ เทรวาวาส นักมีนวิทยาชาวอังกฤษได้ศึกษาลักษณะของปลาในสกุล Tilapia เห็นว่าสกุลปลานิลที่กึนเธอร์ตั้งขึ้นมานั้น มีลักษณะทางอนุกรมวิธานที่มีข้อจำกัดเฉพาะและเหมาะสมมากกว่า จึงได้ให้ใช้ชื่อสกุลนี้ตราบมาจนปัจจุบัน โดยปรากฏเป็นผลงานในหนังสือชื่อ Tilapia fishes of the genera Sarotherodon, Oreochromis and Danakilia โดยปัจจุบันพบปลาที่อยู่ในสกุลปลานิลนี้มากกว่า 30 ชนิด มีชนิดที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ปลานิล (Oreochromis miloticus), ปลาหมอเทศ (O. mossambicus), ปลาหมอเทศข้างลาย (O. aureus) เป็นต้น ซึ่งเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญของทวีปแอฟริกาและในอีกหลายภูมิภาคทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้ว.

ปลานิลและปลานิล (สกุล) · ปลานิล (สกุล)และวงศ์ปลาหมอสี · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำจืด

วงศ์นี้ล้วนแต่เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ปลาน้ำจืด (Freshwater fish) หมายถึง ปลาที่อาศัยอยู่ได้ในเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืด คือ น้ำที่มีปริมาณเกลือหรือความเค็มละลายน้อยกว่าร้อยละ 00.5 เท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ, คลอง พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ที่เป็นน้ำจืด เช่น ทะเลสาบน้ำจืด, บึง หนอง หรือลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบ โดยโครงสร้างของปลาน้ำจืดนั้น จะมีแรงดันออสโมซิสในเลือดอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำที่อาศัยอยู่มาก จึงทำให้มีการไหลของน้ำเข้าสู่ร่างกายและเกลือแร่แพร่ออกสู่น้ำภายนอกได้ง่าย โดยไม่ให้น้ำซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายและออกจากร่างกายได้ แต่ทว่ากระบวนการดังกล่าวก็ยังไม่ดีพอ เพราะเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ปลาใช้หายใจมีน้ำไหลผ่าน เมื่อมีเหงือก น้ำก็มีโอกาสไหลผ่านเข้าสู่ภายในร่างกายได้ จึงกำจัดน้ำส่วนที่เกินที่ถูกดูดเข้าสู่ร่างกายออกสู่นอกร่างกายได้วิธีการขับถ่ายนำเอาปัสสาวะซึ่งมีความดันออสโมซิสต่ำกว่าเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย ร่างกายส่วนใหญ่ของปลาน้ำจืดจะปกคลุมด้วยผิวหนังและเกล็ดซึ่งไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านนอกจากบริเวณที่เป็นเหงือกแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจเท่านั้นที่น้ำผ่านได้ และโดยธรรมชาติปลาน้ำจืดไม่ดื่มน้ำเลย ซึ่งแตกต่างจากปลาทะเล เพราะการดื่มน้ำจะทำให้ร่างกายมีน้ำมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะมีน้ำบางส่วนไหลผ่านบริเวณปากและเหงือกเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจก็จะมีโอกาสซึมเข้าไปในร่างกายได้บ้าง และเกลือแร่จากเลือดก็จะแพร่ออกมาทางเหงือกได้มากพอดู ปลาน้ำจืดจึงมีไตขับน้ำส่วนเกินออกไปเป็นปัสสาวะ และมีกลุ่มเซลล์พิเศษอยู่บริเวณเหงือกคอยดูดเอาเกลือแร่ต่าง ๆ ที่จำเป็นกลับสู่ร่างก.

ปลานิลและปลาน้ำจืด · ปลาน้ำจืดและวงศ์ปลาหมอสี · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปลานิลและวงศ์ปลาหมอสี

ปลานิล มี 48 ความสัมพันธ์ขณะที่ วงศ์ปลาหมอสี มี 58 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 9, ดัชนี Jaccard คือ 8.49% = 9 / (48 + 58)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปลานิลและวงศ์ปลาหมอสี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »