โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลานวลจันทร์น้ำจืดและปลาแกง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปลานวลจันทร์น้ำจืดและปลาแกง

ปลานวลจันทร์น้ำจืด vs. ปลาแกง

ปลานวลจันทร์น้ำจืด หรือ ปลานวลจันทร์ เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Labeoninae มีรูปร่างลำตัวเรียวยาวทรงกระบอก หัวโต ปากและตาเล็ก เกล็ดเล็ก ปลาในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาจะมีหัวและลำตัวสีเงินอมเหลืองทอง ส่วนปลาในลุ่มน้ำโขงจะเป็นสีชมพู ครีบหลังยกสูง ครีบหางเว้าลึก ครีบก้นเล็ก อาหารได้แก่ อินทรียสาร สัตว์หน้าดินขนาดเล็ก แพลงก์ตอน และแมลงต่าง ๆ มีขนาดประมาณ 46 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 69 เซนติเมตร น้ำหนัก 5 กิโลกรัม ปลานวลจันทร์น้ำจืดมีพฤติกรรมวางไข่ในแหล่งน้ำหลากและเลี้ยงตัวอ่อนจนน้ำลดลงจึงอพยพลงสู่แม่น้ำ ปัจจุบันเป็นปลาที่หายาก เชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้วจากแม่น้ำเจ้าพระยา และยังพบได้บ้างที่แม่น้ำโขงและแม่น้ำแม่กลอง ปลานวลจันทร์น้ำจืดมีชื่อเป็นภาษาอีสานว่า "ปลาพอน" และ "ปลาพรวน" ในภาษาเขมร และจัดเป็นสัตว์น้ำประจำจังหวัดสุรินทร. ปลาแกง (Chinese mud carp fish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลานวลจันทร์น้ำจืด (C. microlepis) และปลานวลจันทร์เทศ (C. cirrhosus) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน มีส่วนท้องที่ป่องออก เกล็ดเล็กละเอียดมีสีเงินอมเทา ตาเล็ก ส่วนหัวมีขนาดเล็ก ปากเล็กหนาอยู่สุดปลายสุดของส่วนหัว ครีบหางเว้าลึก มีจุดกลมสีดำที่โคนครีบหาง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 55 เซนติเมตร กระจายพันธุ์ตั้งแต่ประเทศจีนจนถึงไต้หวัน และเวียดนาม, กัมพูชา, ลาวและประเทศไทย พบในภาคกลาง ภาคเหนือ และบางส่วนของภาคใต้ หากินโดยและเล็มตะไคร่น้ำและอินทรีย์สารตามพื้นท้องน้ำ โดยที่ปลาชนิดนี้นิยมรับประทานเป็นปลาเศรษฐกิจด้วยการรับประทานด้วยการปรุงสด เนื่องจากเนื้อมีรสชาติดี ในภาษาอีสานจะเรียกว่า "ปลาพอนดำ" และในภาษาเหนือจะเรียกว่า "ปลาลูกแกง" ส่วนในภาษาจีนเรียกว่า "ลิ่นฮื้อ" หรีอ "ตูลิ่นฮื้อ" (鲮).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปลานวลจันทร์น้ำจืดและปลาแกง

ปลานวลจันทร์น้ำจืดและปลาแกง มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาษาไทยถิ่นอีสานวงศ์ย่อยปลาเลียหินวงศ์ปลาตะเพียนสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังอันดับปลาตะเพียนปลาที่มีก้านครีบปลานวลจันทร์น้ำจืด (สกุล)

ภาษาไทยถิ่นอีสาน

ษาไทยถิ่นอีสาน หรือ ภาษาลาวอีสาน เป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่งในสำเนียงภาษาถิ่นของภาษาลาวซึ่งแบ่งเป็น 6 สำเนียงใหญ่ คือ.

ปลานวลจันทร์น้ำจืดและภาษาไทยถิ่นอีสาน · ปลาแกงและภาษาไทยถิ่นอีสาน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยปลาเลียหิน

วงศ์ย่อยปลาเลียหิน (Algae eater, Stone lapping) เป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ Cyprinidae หรือวงศ์ปลาตะเพียน ซึ่งเป็นวงศ์ใหญ่ ในอันดับปลากินพืช (Cypriniformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Labeoninae (/ลา-เบ-โอ-นี-เน/) โดยรวมแล้ว ปลาในวงศ์ย่อยนี้ มีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวทรงกระบอก ครีบหลังยกสูงและไม่มีก้านครีบแข็ง ลักษณะสำคัญ คือ ปากจะงุ้มลงด้านล่าง มีริมฝีปากบนหนาและแข็ง ในบางสกุลจะมีตุ่มเล็ก ๆ คล้ายสิวกระจายอยู่บนนั้น ในหลายชนิดมีหนวดอยู่ 1 คู่ โดยเป็นปลาที่ใช้ปากในการดูดกินตะไคร่น้ำ, สาหร่าย และแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็ก บริเวณพื้นน้ำหรือโขดหิน, ตอไม้ ใต้น้ำ เป็นอาหาร มักพบกระจายพันธุ์ทั้งในลำธารน้ำเชี่ยว และแหล่งน้ำขนาดใหญ่ มักอาศัยอยู่รวมเป็นฝูง ขนาดแตกต่างกันออกไปตั้งแต่เพียงไม่เกิน 10 เซนติเมตร จนถึงเกือบ 1 เมตร กระจายพันธุ์ทั่วไปทั้งทวีปเอเชียและแอฟริก.

ปลานวลจันทร์น้ำจืดและวงศ์ย่อยปลาเลียหิน · ปลาแกงและวงศ์ย่อยปลาเลียหิน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาตะเพียน

วงศ์ปลาตะเพียน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyprinidae, barb, carp, minnow, goldfish) โดยคำว่า Cyprinidae มาจากคำว่า kyprînos ในภาษากรีกโบราณ (κυπρῖνος แปลว่า "ปลาทอง") ประกอบด้วยปลาจำพวกปลาไน, ปลาตะเพียน, ปลาทอง และปลาซิว ถือเป็นวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดในปลาน้ำจืด ประกอบไปด้วยชนิด มากกว่า 2,000 ชนิดใน 200 สกุล แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์ย่อย โดยจัดอยู่ในอันดับ Cypriniformes เป็นวงศ์ที่มีชนิดและจำนวนปลามากที่สุดในปลาน้ำจืดของไทย และมีความหลากหลายเป็นอันดับสามของโลก ปัจจุบันพบแล้วอย่างน้อย 204 ชน.

ปลานวลจันทร์น้ำจืดและวงศ์ปลาตะเพียน · ปลาแกงและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ปลานวลจันทร์น้ำจืดและสัตว์ · ปลาแกงและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ปลานวลจันทร์น้ำจืดและสัตว์มีแกนสันหลัง · ปลาแกงและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาตะเพียน

อันดับปลาตะเพียน หรือ อันดับปลากินพืช (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cypriniformes, Carp, Barb, Loach, Minnow, Chinese suckerfish, Garra) เป็นอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยปลาตะเพียน, ปลาทอง, ปลาคาร์ป, ปลาซิว เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ Cyprinidae มีลักษณะโดยรวมคือ ลำตัวมีเกล็ด ส่วนใหญ่แบนข้าง สันท้องกลมหรือเป็นสันคม ไม่มีหนามที่สันท้อง ตาไม่มีหนังคลุม ปากมีหลายตำแหน่งทั้งอยู่ตรงด้านหน้า เฉียงขึ้น หรืออยู่ทางด้านล่าง บางชนิดยืดหดได้เล็กน้อย บางชนิดมีลักษณะคล้ายปากดูด ส่วนใหญ่ไม่มีฟันบนขากรรไกรหรือบางชนิดที่มีก็มีไม่เกิน 8 ซี่ รอยต่อส่วนปลายของขากรรไกรล่างมีปมยื่นออกมาเรียกว่า ซิมไซซีล นอบ ริมฝีปากบางอาจมีหรือไม่มีติ่งเนื้อ บางชนิดไม่มีริมฝีปาก ไม่มีหนามใต้ตา หรือหน้าตา ช่องเปิดเหงือกกว้างกระดูกโอเพอร์เคิล เจริญดี มีหนวด 1-2 คู่ หรือไม่มี ก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายของครีบหลังอาจแข็ง หรือไม่แข็ง อาจมีหยักด้านในหรือไม่มี ไม่มีครีบไขมัน มีฟันที่หลอดคอ 1-3 แถว ขอบปากเป็นกระดูกพรีแมคซิลลา ขากรรไกรบนยืดหดได้ บางชนิดครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว มีครีบหลังตอนเดียว ถุงลมมีขนาดค่อนข้างใหญ่ส่วนใหญ่แบ่งออกเป็นสองตอน ไม่ถูกแผ่นกระดูกปกคลุมไว้ เป็นปลาที่กระจายอยู่ทั่วไปในทุกภูมิภาคของโลก ทั้งอเมริกาเหนือ, ทวีปยูเรเชียและทวีปเอเชีย มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ พบในน้ำจืดมากกว่าทะเล ส่วนใหญ่เป็นปลาที่กินพืชเป็นอาหาร ไม่มีกระเพาะอาหาร แต่ก็มีหลายชนิดที่กินเนื้อหรือแพลงก์ตอน เป็นปลาที่มนุษย์คุ้นเคยมานานเพราะใช้เป็นอาหาร นอกเหนือจากปลาในวงศ์ Cyprinidae แล้ว ยังมีปลาในวงศ์อื่นอีกที่อยู่ในอันดับนี้ประมาณ 5-6 วงศ์ ได้แก.

ปลานวลจันทร์น้ำจืดและอันดับปลาตะเพียน · ปลาแกงและอันดับปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ปลาที่มีก้านครีบและปลานวลจันทร์น้ำจืด · ปลาที่มีก้านครีบและปลาแกง · ดูเพิ่มเติม »

ปลานวลจันทร์น้ำจืด (สกุล)

ปลานวลจันทร์น้ำจืด เป็นสกุลของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Cirrhinus ทั้งหมด 11 ชนิด มีลักษณะสำคัญคือ มีปากเล็ก บางชนิดไม่มีริมฝีปากล่าง บางชนิดทีริมฝีปากบางมาก มีฟันที่ลำคอ 3 แถว มีหนวด 2 คู่ หนวดที่ริมฝีปากบนยาวกว่าหนวดที่มุมปากบน ความยาวของหนวดแตกต่างกันแต่ละชนิด จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่หน้าจุดเริ่มต้นของครีบท้อง มีก้านครีบแขนง 10–13 ก้าน ก้านครีบเดี่ยวมีขอบเรียบ และไม่เป็นหนามแข็ง ครีบก้นมีก้านครีบแขนง 5 ก้าน ปลาในสกุลนี้เป็นปลาที่นิยมบริโภคกันเป็นปลาเศรษฐกิจ พบกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชีย ตั้งแต่ตอนใต้ของจีน, เกาะไต้หวัน, อนุทวีปอินเดีย และภูมิภาคอินโดจีน สำหรับในประเทศไทยมักเรียกปลาในสกุลนี้รวม ๆ กันว่า "ปลานวลจันทร์", "ปลาพอน" หรือ "ปลาพรวน" ในภาษาเขมร หรือ "ปลาสร้อย" เป็นต้น.

ปลานวลจันทร์น้ำจืดและปลานวลจันทร์น้ำจืด (สกุล) · ปลานวลจันทร์น้ำจืด (สกุล)และปลาแกง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปลานวลจันทร์น้ำจืดและปลาแกง

ปลานวลจันทร์น้ำจืด มี 16 ความสัมพันธ์ขณะที่ ปลาแกง มี 29 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 17.78% = 8 / (16 + 29)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปลานวลจันทร์น้ำจืดและปลาแกง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »