โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาทูน่าครีบเหลือง

ดัชนี ปลาทูน่าครีบเหลือง

ปลาทูน่าครีบเหลือง (Yellowfin tuna, Allison's tuna, Pacific long-tailed tuna, Yellowfinned albacore) ปลาทะเลกระดูกแข็งขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) จัดเป็นปลาทูน่าหรือปลาโอที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง แต่เล็กกว่าปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ (T. thynnus) และปลาทูน่าครีบน้ำเงินแปซิฟิค (T. orientalis) พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่น ระหว่างละติจูดที่ 40 องศาเหนือ ถึง 40 องศาใต้ มักชอบว่ายน้ำตั้งแต่ผิวน้ำจนถึงความลึกประมาณ 300 เมตร ในระดับอุณหภูมิ 18-31 องศาเซลเซียส มีลักษณะพิเศษที่เห็นได้ชัดคือ ความกว้างที่สุดของลำตัวปลาอยู่บริเวณกึ่งกลางของครีบหลังอันแรก ครีบหลังอันแรกแยกออกจากครีบหลังอันที่สองอย่างชัดเจน ครีบหูมีความยาวถึงกึ่งกลางของฐานครีบหลังอันที่สองในปลาทูน่าขนาดใหญ่ ครีบหลังอันที่สองและครีบก้นมีขนาดยาวมาก (ยาวกว่าความยาวของครีบหลังร้อยละ 20) เมื่อผ่าท้องออกดูจะพบว่าด้านล่างของตับจะไม่ลาย ด้านหลังเป็นสีน้ำเงินดำ แล้วค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง และสีน้ำเงินด้านล่างของลำตัว ปลาทูน่าครีบเหลืองขนาดใหญ่ขนาดใหญ่จะพบจุดสีเข้มเป็นแถวตามแนวดิ่งประมาณ 20 แถว ครีบหลังและครีบก้นมีสีเหลืองสด มีครีบเล็กสีเหลืองจำนวน 7-10 คู่ และที่ปลายของครีบเล็กจะเป็นสีดำ ขนาดเมื่อโตเต็มที่มีความยาวมากกว่า 2 เมตร (วัดจากปากถึงเว้าครีบหาง) และมีหน้ำหนักได้ถึง 200 กิโลกรัม แต่ที่พบทั่วไปมีขนาด ประมาณ 0.5-1.5 เมตร เริ่มเข้าสู่ภาวะโตเต็มวัยเมื่อมีความยาว 50-60 เซนติเมตร และร้อยละของปลาที่โตเต็มวัยจะสูงขึ้นเมื่อมีความยาวมากกว่า 70 เซนติเมตร ปลาทูน่าครีบเหลืองทุกตัวจะอยู่ในภาวะโตเต็มวัยเมื่อมีความยาว มากกว่า 120 เซนติเมตร มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 9 ปี ไข่เป็นลักษณะไข่ลอยไปตามกระแสบนผิวน้ำ เมื่อฟักเป็นตัวใช้เวลา 2 ปี จึงจะมีสภาพโตเต็มที่ ลูกปลาแรกฟักมีความยาว 3 มิลลิเมตร ถึงแม้จะว่ายน้ำได้ แต่ก็ไม่คล่องแคล่ว จนกระทั่งอีกหลายปสัดาห์ต่อมาจึงสามารถว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่ว แต่ลูกปลาวัยอ่อนไม่สามารถที่จะปกป้องตัวเองได้ จึงตกเป็นอาหารของสัตว์นักล่าต่าง ๆ เสมอ ปลาทูน่าครีบเหลืองเป็นปลาที่นิยมรับประทานสด และเป็นวัตถุดิบในการทำปลากระป๋อง จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมากอีกชนิดหนึ่ง อุปกรณ์ในการประมงที่ใช้ในการจับ คือ อ้วนล้อม, เบ็ดตวัด, อวนลอย และเบ็ดราว มีราคาซื้อขายสูงถึงกิโลกรัมละ 2,000 บาท เป็นปลาที่มีส่วนที่เป็นเนื้อแดงเยอะ ที่เรียกกันในภาษาญี่ปุ่นว่า "ชูโทะโระ" (中とろ).

25 ความสัมพันธ์: ชั้นปลากระดูกแข็งพ.ศ. 2331การประมงมหาสมุทรละติจูดวงศ์ปลาอินทรีสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสีดำสีน้ำเงินสีเหลืองสปีชีส์อัตราร้อยละอันดับปลากะพงองศาเซลเซียสตับปลาทูน่าปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือปลาทูน่าแท้ปลาที่มีก้านครีบปลาน้ำเค็มปีเมตรเขตร้อน

ชั้นปลากระดูกแข็ง

ปลากระดูกแข็ง (ชั้น: Osteichthyes, Bony fish) จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ซึ่งอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา เป็นปลาที่จัดอยู่ในชั้น Osteichthyes พบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โครงร่างภายในเป็นกระดูกแข็งทั้งหมด ก้านครีบอาจเป็นกระดูกอ่อนหรือกระดูกแข็งก็ได้ มีกระดูกสันหลัง ปากอยู่ปลายสุดด้านหน้า มีฟัน ตาขนาดใหญ่ ไม่มีหนังตา ขากรรไกรเจริญดี หายใจด้วยเหงือก มีฝาปิดเหงือก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมองมี 10 คู่ มีถุงรับกลิ่น 1 คู่ แยกเพศ ปฏิสนธิภายนอก ออกลูกเป็นไข่ มีบางชนิดที่ออกลูกเป็นตัว.

ใหม่!!: ปลาทูน่าครีบเหลืองและชั้นปลากระดูกแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2331

ทธศักราช 2331 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปลาทูน่าครีบเหลืองและพ.ศ. 2331 · ดูเพิ่มเติม »

การประมง

การจับปลาของคนไทยที่แม่น้ำน่าน การประมง หมายถึงการจัดการของมนุษย์ด้านการจับปลาหรือสัตว์น้ำอื่นๆ การดูแลรักษาปลาสวยงามและการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ประมงเช่น น้ำมันปลา กิจกรรมการทำประมงจัดแบ่งได้ทั้งตามชนิดสัตว์น้ำและตามเขตเศรษฐกิจ เช่น การทำประมงปลาแซลมอนในอลาสก้า การทำประมงปลาคอดในเกาะลอโฟเทน ประเทศนอร์เวย์หรือการทำประมงปลาทูน่าในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก และยังรวมถึงการเพาะปลูกในน้ำ (Aquaculture) ซึ่งหมายถึงการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์บางชนิดในน้ำ เพื่อใช้เป็นอาหารคนหรือสัตว์ เช่นเดียวกับเกษตรกรรมที่ทำบนพื้นดิน การทำฟาร์มในน้ำ เช่นฟาร์มปลา ฟาร์มกุ้ง ฟาร์มหอย ฟาร์มหอยมุก การเพาะปลูกในน้ำในสภาพแวดล้อมที่ควบคุมไว้ การเพาะปลูกในน้ำจืด น้ำกร่อย ในทะเล การเพาะปลูกสาหร่าย ต่อมาได้มีการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการประมงเป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาหนึ่งเรียกว่าวิทยาศาสตร์การประมง มีพื้นฐานจากวิชาชีววิทยา นิเวศวิทยา สมุทรศาสตร์ เศรษฐศาสตร์และการจัดการ มีการจัดศึกษาด้านการประมงในแง่มุมต่างๆ ทั้งระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก และการประมงมีบทบาทสำคัญในเชิงธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ จึงมีคำอื่นๆที่เกี่ยวข้องเช่น “ธุรกิจการประมง” อุตสาหกรรมประมง” เกิดขึ้น ซึ้นเราสามารถเรียนรู้ได้ต่อนี้.

ใหม่!!: ปลาทูน่าครีบเหลืองและการประมง · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทร

การแบ่งมหาสมุทรตามแบบต่างๆ แผ่นที่กายภาพก้นทะเล มหาสมุทร (ocean) เป็นผืนน้ำทะเลขนาดใหญ่เชื่อมต่อกัน และครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3 ใน 4 (71%) ของพื้นผิวโลก มหาสมุทรเรียงตามลำดับขนาดจากมากไปน้อยได้แก่ มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และมหาสมุทรอาร์กติก คำว่า sea หรือทะเล บางครั้งใช้แทนคำว่า "ocean" หรือ "มหาสมุทร" ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกันได้ แต่หากเจาะจงการพูดแล้ว sea คือแหล่งน้ำเค็ม (ส่วนหนึ่งของมหาสมุทร) ส่วนที่มีพื้นที่ติดพื้นดิน มวลน้ำเค็มปกคลุมประมาณ 72% ของพื้นผิวโลก (~3.6 กม.2) และถูกแบ่งเป็นมหาสมุทรหลัก ๆ และทะเลขนาดเล็กอีกหลายแห่ง โดยมหาสมุทรจะครอบคลุมพื้นที่โลกประมาณ 71% มหาสมุทรประกอบด้วยน้ำของโลก 97% และนักสมุทรศาสตร์กล่าวว่ามหาสมุทรในโลกเพิ่งได้มีการสำรวจไปได้เพียง 5% เท่านั้น ปริมาตรสุทธิมีประมาณ 1.35 พันล้านลูกบาศก์กิโลเมตร (320 ล้านลูกบาศก์ไมล์) มีความลึกเฉลี่ยที่ เนื่องจากมหาสมุทรเป็นส่วนประกอบหลักของอุทกภาคของโลก มหาสมุทรจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เป็นส่วนหนึ่งในวัฏจักรคาร์บอน และมีอิทธิพลต่อภูมิอากาศและลมฟ้าอากาศ มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตกว่า 230,000 สปีชีส์ แม้ว่ามหาสมุทรในส่วนที่ลึก ๆ ส่วนมากยังคงไม่ถูกสำรวจ และเชื่อกันว่ามีสิ่งมีชีวิตใต้น้ำมากกว่า 2 ล้านชนิดอยู่ในนั้น จุดกำเนิดของมหาสมุทรนั้นยังไม่มีคำตอบ แต่มีความคิดว่ามันเกิดขึ้นในบรมยุคเฮเดียน และอาจจะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดกระบวนการกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต.

ใหม่!!: ปลาทูน่าครีบเหลืองและมหาสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

ละติจูด

ละติจูด (latitude) หรือเดิมเรียกว่า เส้นรุ้ง แทนด้วยอักษรกรีก φ เป็นพิกัดที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลกและแบ่งเขตสภาวะอากาศโดยวัดจากเส้นศูนย์สูตร พิกัดที่ใช้คู่กัน คือ ลองจิจูด พื้นที่ที่มีพิกัดละติจูดต่างกัน จะมีภูมิอากาศ (climate) และสภาพอากาศ (weather) ต่างกัน ละติจูดมีค่าตั้งแต่ 0 องศาที่เส้นศูนย์สูตร ไปจนถึง 90 องศาที่บริเวณขั้วโลก (นับเป็น 90 องศาเหนือหรือใต้) เนื่องจากเป็นการวัดมุมจากจุดสมมติที่เส้นศูนย์สูตรไปยังจุดขั้วโลกที่ 90 อง.

ใหม่!!: ปลาทูน่าครีบเหลืองและละติจูด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาอินทรี

วงศ์ปลาอินทรี (Mackerels, Tunas, King mackerels) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scombridae มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวเพรียวยาวเป็นทรงกระสวย นัยน์ตากลมโต มีครีบหลังแบ่งออกเป็น 2 ตอน โดยตอนหลังมีลักษณะแข็งและมีขนาดเล็ก มีครีบท้องและครีบก้น กล้ามเนื้อก่อนถึงโคนหางมีเนื้อเยื่อขวางอยู่เรียกว่า "คีล" (Keel) โคนครีบหางกิ่วเล็กแต่แข็งแรง มีครีบแบ่งเป็นแฉก 2 แฉกเว้าลึก ครีบท้องขนานยาวไปกับความยาวลำตัว มีขนาดความยาวแตกต่างกันตั้งแต่ 20 เซนติเมตร ไปจนถึงเกือบ 3 เมตร บางสกุลอาจมีลวดลายตามความยาวหรือแนวลำตัว ในปากมีฟันและกรามที่แข็งแรง มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ในทะเลเปิดในเขตอบอุ่นทั่วโลก เป็นปลาที่มีการอพยพย้ายถิ่น ในปลาขนาดเล็กกินแพลงก์ตอนและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า และในปลาขนาดใหญ่จะไล่กินปลาขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร ว่ายน้ำได้อย่างรวดเร็ว เพราะใช้ครีบและหางแนบกับลำตัวเมื่อว่ายน้ำ โดยมีสถิติสูงสุดที่บันทึกได้คือ 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยปลาในวงศ์นี้ เป็นที่รู้จักกันในชื่อสามัญภาษาไทยโดยรวมกัน คือ ปลาทู, ปลาโอ, ปลาทูน่า และปลาอินทรี เป็นต้น เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก เพราะเป็นปลาที่มนุษย์ใช้ในการบริโภค ทั้งปรุงสุดหรืออาหารกระป๋อง รวมทั้งทำอาหารสัตว์ และตกกันเป็นเกมกีฬาด้วย ปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 55 ชนิด 15 สกุล และแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ (Thunnus thynnus) ที่มีรายงานยาวเต็มที่ที่เคยพบคือ 458 เซนติเมตร และมีน้ำหนักถึง 684 กิโลกรัม.

ใหม่!!: ปลาทูน่าครีบเหลืองและวงศ์ปลาอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ

หภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature and Natural Resources หรือ World Conservative Union: IUCN) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นด้วยเป้าหมายเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2491 (1948) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่บริเวณทะเลสาบเจนีวาในเมืองแกลนด์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ องค์กรประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 83 ประเทศ ตัวแทนรัฐบาล 108 กลุ่ม องค์กรอิสระ 766 กลุ่ม และองค์กรระหว่างประเทศ มีนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญในสังกัดประมาณ 10,000 จากทั่วโลก.

ใหม่!!: ปลาทูน่าครีบเหลืองและสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาทูน่าครีบเหลืองและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาทูน่าครีบเหลืองและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สีดำ

ีดำ เป็นสีของวัตถุที่ไม่สะท้อนแสงที่สเปกตรัมสะท้อนออกมา วัตถุสีดำจะดูดกลืนทุกสีในสเปกตรัม จึงไม่สะท้อนสีใด ๆ ออกมาเลย หลายคนคิดว่าสีดำคือ "การผสมทุกสีเข้าด้วยกัน" แต่ความเป็นจริงแล้ว สีที่สามารถสะท้อนแสงคืนได้หมดทุกสีคือ สีขาว บางครั้งสีดำบ่งบอกถึงความว่างเปล่า และไม่มีสีสัน แต่สีดำเป็นสีสีหนึ่ง สามารถบ่งบอกคุณลักษณ์ต่างๆ ของวัตถุ เช่น แมวสีดำ หรือภาพศิลป์สีดำ.

ใหม่!!: ปลาทูน่าครีบเหลืองและสีดำ · ดูเพิ่มเติม »

สีน้ำเงิน

ีน้ำเงิน เป็นหนึ่งในแม่สี ทั้งแม่สีทางแสง และทางวัตถุธาตุ เป็นแม่สีที่มีความยาวคลื่นต่ำที่สุด แสงสีน้ำเงินมีบริเวณช่วงคลื่นระหว่าง 440-490 นาโนเมตร เป็นสีที่ใกล้เคียงกับสีฟ้าและสีกรมท่า และถือเป็น 1 ในแม่สีร่วมกับ สีแดง และสีเขียว สีน้ำเงิน เป็นสีในกลุ่มสีโทนเย็น สีน้ำเงินเป็นสีที่สร้างความสุขุมเยือกเย็น หนักแน่นและละเอียดรอบคอบ ใช้ในการสร้างแรงบันดาลใจและการแสดงออกทางศิลปะได้ดีอีกด้วย ขณะที่สีฟ้าให้ความรู้สึกแบบเดียวกับสีเขียว คือ สบายตา ให้ความรู้สึกเป็นอิสระ ปลอดโปร่ง โล่งใจ ลดความร้อนรุ่มกระวนกระวายใจลงได้.

ใหม่!!: ปลาทูน่าครีบเหลืองและสีน้ำเงิน · ดูเพิ่มเติม »

สีเหลือง

ีเหลือง เป็น 1 ใน 3 แม่สี ร่วมกับสีแดง และสีน้ำเงิน โดยปกติสีจะมีอยู่สองโทน คือ สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น แต่สีเหลืองเป็นสีที่อยู่ตรงกลางระหว่าง สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น จึงสามารถเลือกใช้สีเหลืองเข้าไปผสมผสานได้กับสีทั้งสองโทน ซึ่งนอกจากสีเหลืองแล้วยังมีสีม่วงอีกสีหนึ่งที่มีลักษณะดังกล่าว.

ใหม่!!: ปลาทูน่าครีบเหลืองและสีเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ปลาทูน่าครีบเหลืองและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อัตราร้อยละ

รื่องหมายเปอร์เซ็นต์ อัตราร้อยละ หรือ เปอร์เซ็นต์ (percentage/percent) คือแนวทางในการนำเสนอจำนวนโดยใช้เศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็น 100 มักใช้สัญลักษณ์เป็น เครื่องหมายเปอร์เซ็นต์ "%" เช่น ร้อยละ 45 หรือ 45% มีค่าเทียบเท่ากับ อัตราร้อยละมักใช้สำหรับการเปรียบเทียบว่าปริมาณหนึ่ง ๆ มีขนาดเท่าไรโดยประมาณเมื่อเทียบกับอีกปริมาณหนึ่ง ซึ่งปริมาณอย่างแรกมักเป็นส่วนย่อยหรือเป็นการเปลี่ยนแปลงของปริมาณอย่างหลัง ตัวอย่างเช่น ราคาของสินค้าชนิดหนึ่งเท่ากับ $2.50 และผู้ขายต้องการเพิ่มราคาอีก $0.15 ดังนั้นอัตราการเพิ่มราคาคือ 0.15 ÷ 2.50.

ใหม่!!: ปลาทูน่าครีบเหลืองและอัตราร้อยละ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: ปลาทูน่าครีบเหลืองและอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

องศาเซลเซียส

องศาเซลเซียส (สัญลักษณ์ °C) หรือที่เคยเรียกว่า องศาเซนติเกรด (degree centigrade) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิหน่วยหนึ่งในระบบเอสไอ กำหนดให้จุดเยือกแข็งของน้ำคือ 0 °C และจุดเดือดคือ 100 °C โดยตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่แอนเดอร์ เซลเซียส ผู้ซึ่งสร้างระบบใกล้เคียงกับปัจจุบัน ในปัจจุบันองศาเซลเซียสใช้กับแพร่หลายทั่วโลกในชีวิตประจำวัน จะยกเว้นก็มีสหรัฐอเมริกาและประเทศจาไมกาเท่านั้นที่นิยมใช้หน่วยองศาฟาเรนไฮต์ แต่ในประเทศดังกล่าว องศาเซลเซียสและเคลวินก็ใช้มากในด้านวิทยาศาสตร.

ใหม่!!: ปลาทูน่าครีบเหลืองและองศาเซลเซียส · ดูเพิ่มเติม »

ตับ

ตับ (liver) เป็นอวัยวะสำคัญที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์บางชนิด ในร่างกายมนุษย์ อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม มีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการกำจัดพิษในเมแทบอไลท์ (metabolites) (สารที่ได้จากขบวนการเมแทบอลิซึม) การสังเคราะห์โปรตีน และการผลิตสารชีวเคมีต่างๆที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ถ้าตับล้มเหลว หน้าที่ของตับไม่สามารถทดแทนได้ในระยะยาว โดยที่เทคนิคการฟอกตับ (liver dialysis) อาจช่วยได้ในระยะสั้น ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมแทบอลิซึมหลายประการในร่างกาย เช่นการควบคุมปริมาณไกลโคเจนสะสม การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง การสังเคราะห์พลาสมาโปรตีน การผลิตฮอร์โมน และการกำจัดพิษ ตับยังเป็นต่อมช่วยย่อยอาหารโดยผลิตน้ำดีซึ่งเป็นสารประกอบอัลคาไลน์ช่วยย่อยอาหารผลิตโดยขบวนการผสมกับไขมัน (emulsification of lipids) ถุงนํ้าดีจะใช้เป็นที่เก็บน้ำดีนี้ ถุงน้ำดีมีลักษณะเป็นถุงอยู่ใต้ตับ ก่อนอาหารถุงน้ำดีจะป่องมีขนาดเท่าผลลูกแพร์เล็กเต็มไปด้วยน้ำดี หลังอาหาร น้ำดีจะถูกนำไปใช้หมด ถุงน้ำดีจะแฟบ เนื้อเยื่อของตับมีความเป็นพิเศษอย่างมาก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย hepatocytes ที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีปริมาณสูง รวมทั้งการสังเคราะห์และการแตกตัวของโมเลกุลที่ซับซ้อนขนาดเล็กที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตปกติ หน้าที่การทำงานทั้งหมดอาจแตกต่างกันไป แต่ในตำราประมาณว่ามีจำนวนประมาณ 500 อย่าง.

ใหม่!!: ปลาทูน่าครีบเหลืองและตับ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาทูน่า

ปลาทูน่า หรือ ปลาโอ (tuna; マグロ) เป็นปลาทะเลกลุ่มหนึ่ง ในเผ่า Thunnini วงศ์ Scombridae โดยเฉพาะในสกุล Thunnus จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมาก เนื้อของปลาทูน่าจะมีสีชมพูหรือแดงเข้ม ต่างจากปลาทั่วไปที่มักจะมีเนื้อสีขาว นิยมเอามาทำเป็นปลากระป๋อง หรือปรุงสดต่าง ๆ เช่น ซาชิมิ ปลาทูน่า มีลักษณะรวม คือ อาศัยอยู่เป็นฝูงในทะเลหรือมหาสมุทรห่างจากชายฝั่ง มีรูปร่างเพรียวคล้ายกระสวย บริเวณฐานครีบหูมีกลุ่มเกล็ดเล็ก ๆ ครีบหางเว้าลึก เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้รวดเร็วว่องไวมาก.

ใหม่!!: ปลาทูน่าครีบเหลืองและปลาทูน่า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ

ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ หรือ ปลาทูน่ายักษ์ (Northern bluefin tuna, Atlantic bluefin tuna, Giant blufin tuna; タイセイヨウクロマグロ) ปลาทะเลกระดูกแข็งขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) จัดเป็นปลาโอหรือปลาทูน่าชนิดหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรเขตอบอุ่นระหว่างละติจูดที่ 5-50 องศาเหนือ สามารถอยู่อาศัยบริเวณผิวน้ำในระยะอุณหภูมิกว้างมากพบการแพร่กระจายบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกฝั่งตะวันตกและมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันออก มีลักษณะพิเศษที่เห็นได้เด่นชัดคือ ความกว้างที่สุดของลำตัวปลาอยู่ทางตอนต้นของครีบหลังอันที่หนึ่ง ตัวค่อนข้างอ้วนสั้น หัวโต ตาโต ครีบหลังแยกออกเป็นสองส่วนอย่างชัดเจน ที่คอดหางมีสีดำ มีขนาดความยาวที่สุดมากกว่า 300 เซนติเมตร แต่ที่พบทั่วไปมีขนาด 200 เซนติเมตร โดยตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่บันทึกได้ คือ ยาว 458 เซนติเมตร และมีน้ำหนักถึง 684 กิโลกรัม มีอายุยืนยาวกว่า 30 ปี และเป็นสัตว์เลือดอุ่น เพราะร่างกายมีระบบปรับอุณหภูมิอย่างยอดเยี่ยม สามารถดูดซึมออกซิเจนไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงสูง มีกลไกการทำงานของหัวใจที่ยอดเยี่ยม จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ นั้นเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญเช่นเดียวกับปลาทูน่าชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น เป็นปลาที่ชาวญี่ปุ่นทำการประมงมานานกว่า 5,000 ปี โดยชาวพื้นเมืองชาวไฮดาในแถบแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือหน้า 18 เรื่องเล่าจากต่างแดน, ราชาแห่งมัจฉ.

ใหม่!!: ปลาทูน่าครีบเหลืองและปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาทูน่าแท้

ปลาทูน่าแท้ (true tuna, real tuna) เป็นสกุลของปลาทะเลขนาดใหญ่สกุลหนึ่ง จำพวกปลาทูน่า ใช้ชื่อสกุลว่า Thunnus จัดอยู่ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) ปลาทูน่าแท้เป็นปลาที่มีวิวัฒนาการชั้นสูง ทำให้มีรูปร่างปราดเปรียวเพรียวยาวเหมือนตอร์ปิโด ลำตัวสีเงินแวววาว ถือเป็นปลาที่เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีเหงือกมีขนาดใหญ่ ร่างกายมีระบบปรับอุณหภูมิที่ดีเยี่ยม สามารถดูดซึมออกซิเจนไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงสูง และมีกลไกการทำงานของหัวใจที่ดีเยี่ยม มีครีบแข็งทรงโค้งทั้งครีบทวารและครีบหลังอันที่สอง ส่วนครีบหางที่ใช้แหวกว่ายหักเลี้ยวได้อย่างว่องไวเป็นตัวขับเคลื่อนไปข้างหน้า ด้วยสรีระดังกล่าว จึงทำให้ปลาทูน่าแท้เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เร็วมากกลุ่มหนึ่งในมหาสมุทร โดยสามารถทำความเร็วไปข้างหน้าได้ราว 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และสูงถึงเกือบ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 70-74 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นรองเพียงปลากระโทงแทง ซึ่งเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เร็วที่สุดในโลกเท่านั้นซึ่งคำว่า Thunnus นั้นมาจากคำ 2 คำในภาษาละตินหรือภาษากรีกโบราณคำว่า θύννος (thýnnos) แปลว่า “ปลาทูน่า” และ θύνω (thynō) แปลว่า "ที่พุ่ง; ที่โผ" ทั้งหมดเป็นปลาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเป็นปลาเศรษฐกิจ ทั้งในการประมงและตกเป็นเกมกีฬา มีราคาซื้อขายกันที่สูงมาก และสามารถปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ ได้หลากหลายทั้งรับประทานเนื้อสด ๆ แบบปลาดิบของญี่ปุ่น และปรุงเป็นเมนูอาหารต่าง.

ใหม่!!: ปลาทูน่าครีบเหลืองและปลาทูน่าแท้ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาทูน่าครีบเหลืองและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำเค็ม

ปลาหมอทะเล (''Epinephelus lanceolatus'') เป็นปลาน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่สุดที่มักพบได้ตามแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ปลาน้ำเค็ม หรือ ปลาทะเล คือ ปลาที่เป็นปลาส่วนใหญ่ที่พบได้ในปัจจุบันนี้ มีแหล่งอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำทะเลหรือน้ำเค็มที่มีปริมาณความเค็มของเกลือละลายมากกว่าร้อยละ 3–5 ขึ้นไป อันได้แก่ มหาสมุทร, ทะเล, ทะเลสาบน้ำเค็ม, ทะเลลึก หรือปากแม่น้ำ, ชายฝั่ง หรือป่าโกงกางที่เป็นส่วนของน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย โครงสร้างของปลาน้ำเค็มนั้นจะไม่แตกต่างไปจากปลาน้ำจืดเท่าใดนัก เพียงแต่จะมีการปรับตัวให้เข้ากับน้ำเค็มได้โดยมีผิวหนังและเกล็ดหุ้มตัวกันไม่ให้น้ำและเกลือแร่ผ่านสู่ร่างกายมากนัก น้ำจากภายในร่างกายจะแพร่ออกสู่ภายนอกร่างกาย เนื่องจากน้ำภายนอกร่างกายมีความเข้มข้นของสารละลายมากกว่าภายในร่างกาย ปลาน้ำเค็มจึงต้องมีการดื่มน้ำเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปซึ่งต่างจากปลาน้ำจืด ไตของปลาน้ำเค็มขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่สูงเท่ากับปริมาณออกซิเจนในเลือด ขณะที่ปลาน้ำจืดไตจะขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่ต่ำกว่าที่อยู่ในเลือด ในขณะเดียวกันก็จะมีการขับสารละลายส่วนเกินที่ได้จากการดื่มน้ำออกสู่นอกร่างกาย โดยจะมีอวัยวะพิเศษที่จะช่วยในการขับสารละลายที่ไม่ต้องการออก เรียกว่า คลอไรด์เซลล์ ที่อยู่บริเวณเหงือก ที่เป็นอวัยวะช่วยในการหายใจ นอกจากนี้แล้ว ปลาน้ำเค็มในบางอันดับเช่นอันดับปลากะพงจะมีโครงสร้างของกระดูกที่มีความแข็งแรงและหนาแน่น มีน้ำหนักกว่าปลาน้ำจืด ทั้งนี้เนื่องจาก ความเค็มในทะเลหรือมหาสมุทรจะมีความหนาแน่นมากกว่าในน้ำจืด ฉะนั้นปลาน้ำเค็มจึงมีการลอยตัวตามธรรมชาติได้ดีกว.

ใหม่!!: ปลาทูน่าครีบเหลืองและปลาน้ำเค็ม · ดูเพิ่มเติม »

ปี

ปี หมายถึง ช่วงเวลาที่ดาวเคราะห์แต่ละดวงโคจรรอบดาวฤกษ์ เช่นการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์แต่ละดวงจะมีระยะเวลาของปีไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความเร็วในการโคจรของดาวเคราะห์และความยาววงโคจรของดาวเคราะห.

ใหม่!!: ปลาทูน่าครีบเหลืองและปี · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: ปลาทูน่าครีบเหลืองและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เขตร้อน

แผนที่โลกที่เน้นเขตร้อนด้วยสีแดง เขตร้อนหรือโซนร้อน (tropics) เป็นบริเวณของโลกที่อยู่รอบเส้นศูนย์สูตร จำกัดด้วยเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ในซีกโลกเหนือ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) เหนือ และทรอปิกออฟแคปริคอร์นในซีกโลกใต้ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) ใต้ ละติจูดนี้ใกล้เคียงกับความเอียงของแกนโลก เขตร้อนรวมทุกพื้นที่บนโลกซึ่งดวงอาทิตย์ถึงจุดใต้แสงอาทิตย์ (subsolar point) คือ จุดที่ดวงอาทิตย์อยู่ตรงเหนือศีรษะพอดี อย่างน้อยครั้งหนึ่งในปีสุริยคติ.

ใหม่!!: ปลาทูน่าครีบเหลืองและเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Thunnus albacares

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »