เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและวงศ์ปลาตะเพียน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและวงศ์ปลาตะเพียน

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา vs. วงศ์ปลาตะเพียน

้เฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาที่เดียวเท่านั้น ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นปลาที่พบได้ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นแม่น้ำหลักของประเทศอีกลุ่มแม่น้ำหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมีการค้นพบปลาในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานี้แล้วไม่ต่ำกว่า 350 ชนิด นับเป็นอันดับ 2 รองจากลุ่มแม่น้ำโขงหนังสือปลาไทยคืนถิ่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยา กรมประมง มีนาคม.. วงศ์ปลาตะเพียน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyprinidae, barb, carp, minnow, goldfish) โดยคำว่า Cyprinidae มาจากคำว่า kyprînos ในภาษากรีกโบราณ (κυπρῖνος แปลว่า "ปลาทอง") ประกอบด้วยปลาจำพวกปลาไน, ปลาตะเพียน, ปลาทอง และปลาซิว ถือเป็นวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดในปลาน้ำจืด ประกอบไปด้วยชนิด มากกว่า 2,000 ชนิดใน 200 สกุล แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์ย่อย โดยจัดอยู่ในอันดับ Cypriniformes เป็นวงศ์ที่มีชนิดและจำนวนปลามากที่สุดในปลาน้ำจืดของไทย และมีความหลากหลายเป็นอันดับสามของโลก ปัจจุบันพบแล้วอย่างน้อย 204 ชน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและวงศ์ปลาตะเพียน

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและวงศ์ปลาตะเพียน มี 21 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สปีชีส์ปลาบัวปลากระมังปลากระแหปลากระโห้ปลากาปลาฝักพร้าปลายี่สกปลาสะนากปลาหว้าหน้านอปลาหนามหลังปลาตะพากเหลืองปลาตะกากปลาตะโกกปลาตะเพียนขาวปลาซิวอ้าวปลานวลจันทร์น้ำจืดปลาแปบควายปลาไส้ตันตาขาวปลาไส้ตันตาแดงปลาไน

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและสปีชีส์ · วงศ์ปลาตะเพียนและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาบัว

ปลาบัว ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Labeo dyocheilus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลากา (L. chrysophekadion) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีส่วนหัวโตกว่า และมีจะงอยปากหนายื่นออกที่ปลายมีตุ่มเล็ก ๆ กระจัดกระจาย ปากค่อนข้างกว้างและเป็นรูปโค้งอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก โดยมีส่วนหนังด้านบนคลุม ตามีขนาดเล็กอยู่ค่อนไปทางด้านบน มีหนวดสั้น ๆ 2 คู่ ลำตัวค่อนข้างกลม ครีบหลังเล็ก ไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหางเว้าลึก ปลาวัยอ่อนมีสีเงินวาว โคนหางมีจุดสีดำเห็นชัดเจน ขนาดโดยเฉลี่ย 50 เซนติเมตร หากินโดยแทะเล็มตะไคร่หรือสาหร่ายที่เกาะตามโขดหินหรือลำธารที่น้ำไหลเชี่ยว เป็นปลาที่พบน้อย พบตั้งแต่แม่น้ำสาละวิน, แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำโขง พบได้น้อยที่แม่น้ำเจ้าพระยา ปลาบัวมีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "หว้าซวง", "สร้อยบัว" หรือ "ซวง" ในเขตแม่น้ำเพชรบุรีเรียก "งาลู".

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและปลาบัว · ปลาบัวและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระมัง

ปลากระมัง (Smith's barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเหมือนปลาตะเพียนทั่วไป แต่ลำตัวแบนข้างกว่ามาก มีครีบหลังยกสูง ก้านครีบอันแรกและครีบก้นเป็นรอยหยัก เกล็ดเล็กละเอียดสีเงิน ครีบท้องและครีบอกสีเหลืองอ่อน ครีบหางเว้าลึก ตาโต หัวมนกลม ไม่มีหนวด ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30-45 เซนติเมตร พบในแม่น้ำและแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย นิยมใช้เนื้อบริโภคเหมือนปลาตะเพียนทั่วไป และพบเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ปลากระมัง ยังมีชื่อเรียกที่แตกต่างออกไปตามถิ่นต่าง ๆ ด้วย เช่น "มัง" ที่บึงบอระเพ็ด "วี" ที่เชียงราย "เหลี่ยม" หรือ "เลียม" ที่ปากน้ำโพ ขณะที่ภาคใต้เรียก "แพะ" และภาคอีสานเรียก "สะกาง".

ปลากระมังและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา · ปลากระมังและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระแห

ฝูงปลากระแหที่ศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุพรรณบุรี ปลากระแห เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus schwanenfeldii อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) รูปร่างคล้ายปลาตะเพียนทอง (B. altus) ที่อยู่สกุลเดียวกัน แต่มีรูปร่างป้อมสั้นกว่า ลำตัวแบนข้าง ส่วนหลังยกสูง หัวค่อนข้างเล็ก ตาโต มีหนวด 2 คู่ที่ริมฝีปาก ปากเล็กอยู่สุดของจะงอยปาก เกล็ดเล็กมีสีเงินวาวเหลือบเหลืองทอง ครีบหลังสีส้มมีแต้มสีดำชัดที่ด้านบนสุด ครีบอื่น ๆ มีสีส้มสดยกเว้นขอบบนของครีบอกและขอบล่างของครีบหางที่มีแถบสีดำยาว มีขนาดประมาณ 15–30 เซนติเมตร พบอาศัยอยู่เป็นฝูงในแม่น้ำและหนองบึงทุกภาคของประเทศไทย หรือตามหน้าวัดที่อยู่ติดริมแม่น้ำต่าง ๆ โดยมักจะอาศัยอยู่รวมกับปลาตะเพียน (B. gonionotus), ปลาตะเพียนทอง, ปลาแก้มช้ำ (Puntius orphoides) หรือปลาในตระกูลปลาตะเพียนชนิดอื่นด้วยกันเสมอ ปลากระแหนิยมบริโภคโดยการปรุงสด รมควัน ตากแห้ง ทำปลาร้า ปลาส้ม นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ชื่อเรียกอื่น ๆ ตามท้องถิ่น เช่น "กระแหทอง" หรือ "ตะเพียนหางแดง", ในภาษาใต้เรียก "ลำปำ", ในภาษาอีสานเรียก "เลียนไฟ", ภาษาเหนือเรียก "ปก" เป็นต้น.

ปลากระแหและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา · ปลากระแหและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระโห้

ปลากระโห้ (Siamese giant carp, Giant barb) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอีกด้วย โดยเฉลี่ยมักมีขนาดประมาณ 1.5 เมตร แต่พบใหญ่สุดได้ถึง 3 เมตร หนักได้ถึง 150 กิโลกรัม ในอดีต เกล็ดปลากระโห้สามารถนำมาทอดรับประทานเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อ ปลากระโห้ จัดเป็นปลาประจำกรุงเทพมหานครของกรมประมง.

ปลากระโห้และปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา · ปลากระโห้และวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากา

ปลาการาชบัณฑิตยสถาน.

ปลากาและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา · ปลากาและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฝักพร้า

วามหมายอื่น: สำหรับปลาชนิดอื่นที่เป็นปลาน้ำเค็ม ดูได้ที่ ปลาดาบลาว ปลาฝักพร้า (Freshwater wolf herring, Sword minnow, Long pectoral-fin minnow; カショーロバルブ) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะลำตัวยาวและแบนข้างคล้ายมีดดาบ ท้องเป็นสันแคบ ตาโต ปากกว้างเฉียงขึ้นด้านบน ปลายปากล่างโค้งเข้าเล็กน้อยคล้ายตะขอ ลำตัวสีเงินวาว ครีบใส ครีบอกใหญ่และยาวแหลม ครีบท้องและครีบหลังเล็ก แต่ครีบก้นมีฐานครีบยาว ครีบหางเว้าลึกและปลายมน โคนครีบหางมีแต้มสีคล้ำ ขนาดประมาณ 20-60 เซนติเมตร จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Macrochirichthys เป็นปลาล่าเหยื่อ มักหากินบริเวณใกล้ผิวน้ำ เป็นปลาที่ว่ายน้ำเร็วมาก อาหารได้แก่ ปลาขนาดเล็กจำพวกปลาซิวและแมลง พบในแหล่งน้ำหลากและแม่น้ำขนาดใหญ่ในภาคกลาง, ภาคอีสาน เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำโขง ในภาคใต้พบเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกเท่านั้น และพบได้จนถึงประเทศอินโดนีเซีย เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำสะอาด ปัจจุบันอยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ เพราะสภาพแวดล้อมที่อยู่ถูกทำลายไปประกอบกับปริมาณปลาที่พบในธรรมชาติมีน้อยมาก จึงไม่ทำให้เป็นที่นิยมในการประมง ปลาฝักพร้า ยังมีชื่อเรียกอื่นที่เรียกต่างออกไป เช่น "ปลาท้องพลุ", "ปลาดาบลาว", "ปลาดาบญวน", "ปลาโกร๋ม" เป็นต้น.

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและปลาฝักพร้า · ปลาฝักพร้าและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

ปลายี่สก

ปลายี่สก หรือ ปลายี่สกทอง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Probarbus jullieni อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae).

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและปลายี่สก · ปลายี่สกและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสะนาก

ำหรับปลานางอ้าวชนิดอื่น ดูได้ที่ ปลาซิวอ้าว หรือปลาน้ำหมึก ปลาสะนาก (Burmese trout, Giant barilius) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Raiamas guttatus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae).

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและปลาสะนาก · ปลาสะนากและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหว้าหน้านอ

ปลาหว้าหน้านอ เป็นชื่อของปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bangana behri จัดเป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะเด่นคือ ปลาโตเต็มวัยแล้ว โดยเฉพาะตัวผู้ ส่วนหัวจะมีโหนกและตุ่มเม็ดคล้ายสิวเห็นได้ชัด จึงเป็นที่มาของชื่อ ปลาวัยอ่อน โคนหางจะมีจุดสีดำเห็นได้ชัด เมื่อโตขึ้นจะจางหาย ริมฝีปากหนา หากินบริเวณพื้นน้ำและแก่งหินที่น้ำไหลเชี่ยว โดยแทะเล็มตะไคร่หรือสาหร่าย บริเวณที่ปลาหากินจะเห็นเป็นรอยทางยาว โตเต็มที่ได้กว่า 60 เซนติเมตร อาศัยอยู่ตามแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ในประเทศ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำโขง, แม่น้ำสาละวิน ในเขตจังหวัดกาญจนบุรีเรียกปลาชนิดนี้ว่า "ปลางา" และภาษาอีสานเรียกว่า "หว้าซวง" ปัจจุบัน พบหาได้ยากในธรรมชาติ แต่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว เนื้อมีรสชาติอร่อย นิยมปรุงสด และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งค่อนข้างหายาก.

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและปลาหว้าหน้านอ · ปลาหว้าหน้านอและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหนามหลัง

ปลาหนามหลัง เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mystacoleucus marginatus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลาในวงศ์นี้ทั่วไป แต่ลำตัวแบนข้างมากกว่า ครีบหลังสูงปานกลาง ก้านครีบหลังมีหยักที่ขอบด้านท้าย ที่โคนครีบหลังด้านหน้าสุดมีหนามแหลมสั้นยื่นออกมาทางข้างหน้า ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของปลาสกุลนี้ และเป็นที่มาของชื่อ มีเกล็ดใหญ่คลุมตัว ครีบก้นสั้น ครีบหางเว้าลึก ตัวมีสีเงินอมเหลืองอ่อน ขอบเกล็ดด้านบนมีสีคล้ำ บางเกล็ดบนลำตัวจึงดูเหมือนเป็นขีดสั้น ๆ ประที่ด้านข้าง ครีบมีสีเหลืองอ่อนหรือส้ม และขอบครีบด้านท้ายมีสีคล้ำ เมื่อติดอวนหรือตาข่ายจะปลดออกได้ยาก เพราะหนามแหลมที่ครีบหลัง มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 8-10 เซนติเมตร ใหญ่สุดที่พบ 15 เซนติเมตร พบชุกชุมในแม่น้ำสายใหญ่และแหล่งน้ำนิ่งทั่วประเทศ โดยอาศัยอยู่ทุกระดับของน้ำเป็น จัดเป็นปลาที่มีราคาถูก นำมาทำปลาร้าหรือปรุงสด และถูกเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ปลาหนามหลังมีชื่อเรียกที่ต่างออกไปตามถิ่นต่าง ๆ เช่น "ปลาขี้ยอก" หรือ "ปลาหนามบี้" ในภาคอีสาน "ปลาหญ้า" ในภาคใต้ ที่เขตแม่น้ำน่านเรียก "ปลาหนามไผ่" หรือ "ปลาหนามแต๊บ" เป็นต้น.

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและปลาหนามหลัง · ปลาหนามหลังและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะพากเหลือง

ปลาตะพากเหลือง หรือ ปลาตะพากทอง (Golden-bellied barb) เป็นปลาน้ำจืดจำพวกปลาตะพากชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาตะพากชนิดที่พบได้หลากหลายและเป็นที่รู้จักกันดีที.

ปลาตะพากเหลืองและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา · ปลาตะพากเหลืองและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะกาก

ปลาตะกาก เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cosmochilus harmandi อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายกับปลาในสกุล Cyclocheilichthys หรือ ปลาตะโกก คือ ลำตัวเพรียวยาว มีหนวด 2 คู่ ที่ริมฝีปากมีติ่งเนื้อเล็ก ๆ เป็นชายครุยรอบ ๆ ครีบหลังยกสูงมาก โดยจะสูงมากกว่าปลาตะโกก ครีบหางเว้าลึก เกล็ดใหญ่สีเงิน ว่ายน้ำได้รวดเร็ว ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1 เมตร หนักได้ถึง 10 กิโลกรัม กินอาหารได้แก่ แมลง, พืชน้ำ และสัตว์หน้าดิน เช่น หอย เป็นอาหาร เป็นปลาที่พบได้ตามแม่น้ำขนาดใหญ่ในภาคกลางและภาคอีสาน เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล เป็นต้น เป็นปลาเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของภาคอีสาน นิยมบริโภคด้วยการปรุงสดหรือทำปลาร้า จัดเป็นปลาที่มีราคาสูงชนิดหนึ่ง แต่ต่ำกว่าปลาตะโกก (C. enoplus) เพราะเนื้อแข็งกว่า พบเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเป็นบางครั้ง ถูกเรียกในตลาดปลาสวยงามว่า "กระมังครีบสูง " และมีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "ปากบาน" หรือ "โจกเขียว".

ปลาตะกากและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา · ปลาตะกากและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะโกก

ปลาตะโกก (Soldier river barb) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyclocheilichthys enoplos อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae).

ปลาตะโกกและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา · ปลาตะโกกและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะเพียนขาว

ปลาตะเพียนขาว หรือ ปลาตะเพียนเงิน หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ปลาตะเพียน (Java barb, Silver barb) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเหมือนปลาในวงศ์ปลาตะเพียนทั่วไป ตัวมีสีเงินแวววาว ด้านหลังมีสีคล้ำเล็กน้อย ด้านท้องสีจาง ครีบอื่น ๆ มีสีเหลืองอ่อน ภาคอีสานเรียกว่า "ปลาปาก" ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาพื้นเมืองของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ นับเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยรู้จักดี และอยู่ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่มาแต่โบราณ เช่น ปลาตะเพียนใบลาน มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้ในประเทศมานานกว่า 30 ปี และถูกนำพันธุ์ไปเลี้ยงยังต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย, บอร์เนียว, อินโดนีเซีย แม้ว่าในประเทศเหล่านี้จะมีปลาชนิดนี้อยู่ในธรรมชาติแล้วก็ตาม ขนาดโดยเฉลี่ย 36 เซนติเมตร (พบใหญ่ที่สุด 90 เซนติเมตร น้ำหนัก 13 กิโลกรัม ที่มาเลเซีย) พบชุกชุมในทุกแหล่งน้ำทุกภาคของไทย ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน อยู่กันเป็นฝูง ชอบที่น้ำไหลเป็นพิเศษ เป็นปลากินพืช, แมลง และสัตว์หน้าดิน นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยเฉพาะตัวที่เป็นปลาเผือก ซึ่งเรียกกันว่า "ปลาตะเพียนอินโด" นิยมเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์เก็บกินเศษอาหารที่ปลาใหญ่กินเหลือหรือเก็บตะไคร่น้ำและปรสิตในตู้ หรือแม้กระทั่งเลี้ยงเป็นปลาลูกไล่ของปลาใหญ่กว่า หรือเลี้ยงเพื่อทดสอบค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ (pH) หรือความเข้มข้นของคลอรีน ก่อนที่จะปล่อยปลาที่จะเลี้ยงจริงลงไป เนื่องจากเป็นปลาที่มีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย และมีความไวต่อคุณภาพน้ำ มีการผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงฤดูฝน ตัวเมียเมื่อถึงสภาพสมบูรณ์ ลำตัวจะอวบอ้วนและใหญ่กว่าตัวผู้ถึง 2-3 เท่า ตัวผู้บริเวณข้างแก้มจะมีตุ่มคล้ายสิวอันเป็นเอกลักษณ์ของปลาในวงศ์ปลาตะเพียน ตัวเมียใช้เวลาอุ้มท้องจนกระทั่งวางไข่ประมาณ 1 เดือน ปัจจุบันมีการเพาะพันธุ์ปลาเพื่อนำไปปล่อยในแหล่งน้ำต่าง ๆ มีการนำมาทำเป็นอาหาร เช่น ปลาตะเพียนต้มเค็ม หรือปลาส้ม นับว่าเป็นตำรับที่มีชื่อมากของปลาชนิดนี้ แต่เป็นปลาที่มีก้างมาก.

ปลาตะเพียนขาวและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา · ปลาตะเพียนขาวและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวอ้าว

ำหรับปลานางอ้าวชนิดอื่น ดูได้ที่ ปลาน้ำหมึก และปลาสะนาก ปลาซิวอ้าว (Apollo shark) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Luciosoma bleekeri อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Danioninae มีรูปร่างค่อนข้างเพรียว ลำตัวค่อนข้างกลม ส่วนหัวและจะงอยปากยื่นยาว ปากกว้าง ไม่มีหนวด ตาโต เกล็ดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน ด้านหลังสีคล้ำ มีแถบสีดำพาดตามแนวยาวของลำตัวตั้งแต่ตาไปจนถึงโคนหาง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร มักอาศัยเป็นฝูงเล็ก ๆ หากินใกล้ผิวน้ำ กินปลาเล็กและแมลงเป็นอาหาร ส่วนมากพบในแม่น้ำ ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองจนถึงแม่น้ำโขง มักบริโภคโดยการปรุงสด และทำปลาร้า และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ปลาซิวอ้าว ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลานางอ้าว" หรือ "ปลาอ้ายอ้าว" หรือ "ปลาซิวควาย" เป็นต้น.

ปลาซิวอ้าวและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา · ปลาซิวอ้าวและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

ปลานวลจันทร์น้ำจืด

ปลานวลจันทร์น้ำจืด หรือ ปลานวลจันทร์ เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Labeoninae มีรูปร่างลำตัวเรียวยาวทรงกระบอก หัวโต ปากและตาเล็ก เกล็ดเล็ก ปลาในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาจะมีหัวและลำตัวสีเงินอมเหลืองทอง ส่วนปลาในลุ่มน้ำโขงจะเป็นสีชมพู ครีบหลังยกสูง ครีบหางเว้าลึก ครีบก้นเล็ก อาหารได้แก่ อินทรียสาร สัตว์หน้าดินขนาดเล็ก แพลงก์ตอน และแมลงต่าง ๆ มีขนาดประมาณ 46 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 69 เซนติเมตร น้ำหนัก 5 กิโลกรัม ปลานวลจันทร์น้ำจืดมีพฤติกรรมวางไข่ในแหล่งน้ำหลากและเลี้ยงตัวอ่อนจนน้ำลดลงจึงอพยพลงสู่แม่น้ำ ปัจจุบันเป็นปลาที่หายาก เชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้วจากแม่น้ำเจ้าพระยา และยังพบได้บ้างที่แม่น้ำโขงและแม่น้ำแม่กลอง ปลานวลจันทร์น้ำจืดมีชื่อเป็นภาษาอีสานว่า "ปลาพอน" และ "ปลาพรวน" ในภาษาเขมร และจัดเป็นสัตว์น้ำประจำจังหวัดสุรินทร.

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและปลานวลจันทร์น้ำจืด · ปลานวลจันทร์น้ำจืดและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแปบควาย

ปลาแปบควาย เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกปลาแปบ อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cultrinae ใช้ชื่อสกุลว่า Paralaubuca (/พา-รา-ลอ-บู-คา/) มีรูปร่างโดยรวมคือ มีรูปร่างยาว ลำตัวแบนข้างมาก ปากเล็ก ตาโต ท้องเป็นสันคม ด้านท้องค่อนข้างกว้างออก ครีบอกยาว ครีบหางเว้าลึก เกล็ดเล็กละเอียดสีเงินแวววาว เส้นข้างลำตัวไม่ต่อเนื่องกัน เกล็ดแถวที่อยู่หน้าครีบหลังไม่เลยเข้ามาถึงระหว่างนัยน์ตา เกล็ดตามเส้นข้างลำตัวมีจำนาน 50–85 แถว มีขนาดโตเต็มที่โดยเฉลี่ย 15 เซนติเมตร มักอยู่เป็นฝูงใหญ่ มีการอพยพขึ้นล่องตามแม่น้ำเพื่อวางไข่และหากินเป็นฤดูกาล มักอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ที่ไหลเชี่ยว หากินใกล้ผิวน้ำ พบตั้งแต่แม่น้ำโขงถึงแม่น้ำเจ้าพระยาไปจนถึงมาเลเซีย กินแมลงหรือสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร มีทั้งหมด 5 ชนิด โดยเป็นชนิดที่พบได้ในประเทศไทย 3 หรือ 4 ชน.

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและปลาแปบควาย · ปลาแปบควายและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไส้ตันตาขาว

ปลาไส้ตันตาขาว ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลาไส้ตันตาแดง (A. apogon) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน เว้นแต่ขอบตาบนไม่มีสีแดง และมีหนวดสั้น ๆ 2 คู่ ลำตัวสีเงินวาวหรืออมเหลืองอ่อน มีแถบสีคล้ำพาดตามความยาวลำตัว 5-6 แถบ ครีบสีเหลืองอ่อนหรือชมพูจาง ๆ มีขนาดโดยเฉลี่ย 15-20 เซนติเมตร มักอาศัยอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ พบได้ตามแม่น้ำ หนองบึง และแหล่งน้ำนิ่งของภาคกลาง ภาคเหนือ และอีสาน เป็นปลาที่พบชุกชุมเช่นเดียวกับปลาไส้ตันตาแดง ปลาไส้ตันตาขาวมีชื่อที่เรียกต่างออกไป เช่น จังหวัดพะเยาเรียกว่า "แพ็บ" เป็นต้น.

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและปลาไส้ตันตาขาว · ปลาไส้ตันตาขาวและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไส้ตันตาแดง

ปลาไส้ตันตาแดง (Beardless Barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae).

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและปลาไส้ตันตาแดง · ปลาไส้ตันตาแดงและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไน

ปลาไน หรือ ปลาคาร์ปธรรมดา (carp, common carp) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyprinus carpio อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาน้ำจืดที่เชื่อว่าเป็นปลาที่มนุษย์เลี้ยงเป็นชนิดแรกของโลกเพื่อเป็นอาหาร โดยเลี้ยงในประเทศจีนเมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว โดยเริ่มพร้อมกับปลาทอง.

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและปลาไน · ปลาไนและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและวงศ์ปลาตะเพียน

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มี 207 ความสัมพันธ์ขณะที่ วงศ์ปลาตะเพียน มี 60 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 21, ดัชนี Jaccard คือ 7.87% = 21 / (207 + 60)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและวงศ์ปลาตะเพียน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: