โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาช่อนเอเชียและปลาช่อนแคระ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปลาช่อนเอเชียและปลาช่อนแคระ

ปลาช่อนเอเชีย vs. ปลาช่อนแคระ

ปลาช่อนเอเชีย (Asiatic snakehead) สกุลปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) ปลาในสกุลนี้ มีรูปร่างโดยรวมคือ รูปร่างเรียวทรงกระบอก ส่วนหัวโตจะงอยปากยื่น ปากกว้าง ตาโต มีฟันเป็นเขี้ยวบนขากรรไกร หัวด้านบนราบ ถ้าดูจากตอนบนจะโค้งมนคล้ายงู ลำตัวค่อนข้างกลม ครีบหลังและครีบก้นยาว ครีบหางปลายมน ครีบอกใหญ่ ครีบท้องเล็ก เกล็ดใหญ่มีขอบเรียบ มีอวัยวะช่วยหายใจเป็นหลืบเนื้อสีแดงอยู่ในคอหอย เรียกว่า "Suprabranchia" จึงสามารถอยู่ในแหล่งน้ำที่มีออกซิเจนต่ำได้ ลำตัวมีลวดลายและสีสันแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิด ใช้ชื่อสกุลว่า Channa (/ชาน-นา/) ลักษณะสำคัญของสกุลนี้ คือ หัวและแก้มปกคลุมด้วยเกล็ด ฐานครีบหลังยาวกว่าฐานครีบก้น หัวกว้างและแบน ปากกว้าง มุมปากยาวเลยหลังตา นัยน์ตาอยู่ค่อยมาทางปลายจะงอยปาก แพร่กระจายพันธุ์ในทวีปเอเชีย พบได้ในภูมิภาคเอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงเอเชียตะวันออก มีขนาดรูปร่างแตกต่างกันอย่างมากตามแต่ละชนิด โดยพบมีความยาวตั้งแต่ 1.5 เมตร เช่น C. micropeltes หรือ C. aurolineatus ไปจนถึงไม่ถึงหนึ่งฟุต คือ ปลาช่อนแคร. ปลาช่อนห้าแถบ (''Channa'' sp. "five striped") เป็นปลาช่อนแคระอีกชนิดหนึ่งที่ยังมิได้มีการระบุชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่แน่ชัด แต่มีลักษณะคล้ายกับปลาช่อนสจวร์ต (''C. stewartii'') โดยมีลายบั้งสีน้ำตาลเข้ม 5 แถบ หรือมากกว่าตามแนวตั้งของลำตัว และไม่มีสีสันสวยงาม ปลาช่อนแคระ (Dwarf snakehead) เป็นชื่อสามัญที่เรียกปลาในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) โดยหมายถึงปลาที่มีขนาดเล็ก เมื่อโตเต็มที่แล้วมีขนาดความยาวไม่เกิน 20-30 เซนติเมตร เช่น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปลาช่อนเอเชียและปลาช่อนแคระ

ปลาช่อนเอเชียและปลาช่อนแคระ มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): วงศ์ปลาช่อนปลาช่อนสจวร์ตปลาช่อนออเรียนตาลิสปลาช่อนแอนดริวปลาช่อนเจ็ดสีปลาก้างอินเดีย

วงศ์ปลาช่อน

วงศ์ปลาช่อน (Snakehead fish) ปลาในวงศ์นี้มีรูปร่างเรียวทรงกระบอก ส่วนหัวโตจะงอยปากยื่น ปากกว้าง ตาโต มีฟันเป็นเขี้ยวบนขากรรไกร หัวด้านบนราบ ถ้าดูจากตอนบนจะโค้งมนคล้ายงู ลำตัวค่อนข้างกลม ครีบหลังและครีบก้นยาว ครีบหางปลายมน ครีบอกใหญ่ ครีบท้องเล็ก เกล็ดมีขนาดใหญ่มีขอบเรียบ ปลาช่อนมีอวัยวะช่วยหายใจเป็นหลืบเนื้อสีแดงอยู่ในคอหอย เรียกว่า Suprabranchia จึงสามารถอยู่ในแหล่งน้ำที่มีออกซิเจนต่ำได้ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Channidae (/ชาน-นิ-ดี้/) แพร่พันธุ์โดยการวางไข่โดยตัวผู้และตัวเมียช่วยกันปรับพื้นที่น้ำตื้น ๆ ให้เป็นแปลงกลม แล้ววางไข่ลอยเป็นแพ ตัวผู้เป็นผู้ดูแลไข่จนไข่ฟักเป็นตัวแล้วเลี้ยงลูกปลาจนโต เรียกว่า "ลูกครอก" ซึ่งมีสีแดงหรือส้ม รูปร่างคล้ายพ่อแม่ จากนั้นจึงปล่อยให้หากินเอง พบในเขตร้อนของทวีปแอฟริกาและเอเชีย ปัจจุบันพบทั้งสิ้น 31 ชนิด (และยังมีอีกหลายชนิดที่ยังไม่ได้อนุกรมวิธาน) แบ่งเป็น 2 สกุล คือ Channa 28 ชนิด พบในทวีปเอเชีย และ Parachanna ซึ่งพบในทวีปแอฟริกา 3 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบประมาณ 10 ชนิด ปลาขนาดเล็กสุดคือ ปลาก้าง (C. limbata) ซึ่งมีขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 1 ฟุต และใหญ่ที่สุดคือ ปลาชะโด (C. micropeltes) ที่ใหญ่ได้ถึง 1-1.5 เมตร จัดเป็นวงศ์ปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมาก จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยนิยมบริโภคมากเป็นอันดับหนึ่งก็ว่าได้ โดยปลาช่อนชนิดที่นิยมนำมาบริโภคคือ ปลาช่อน (C. straita) ซึ่งพบได้ทุกแหล่งน้ำและทุกภูม.

ปลาช่อนเอเชียและวงศ์ปลาช่อน · ปลาช่อนแคระและวงศ์ปลาช่อน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาช่อนสจวร์ต

ปลาช่อนสจวร์ต (Stewart's snakehead, Assamese snakehead, golden snakehead) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) ปลาช่อนสจวร์ตเป็นปลาช่อนในกลุ่มปลาช่อนเล็กหรือปลาช่อนแคระอีกชนิดหนึ่ง โตได้เต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในลุ่มน้ำพรหมบุตรในอินเดียและบังกลาเทศ, แถบตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัยในอินเดียและเนปาล และลุ่มน้ำที่มาจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเนปาล ปลาช่อนสจวร์ตเป็นปลาช่อนอีกชนิดหนึ่งที่มีสีสันสวยงามมาก จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและถูกนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยหลายครั้ง เป็นปลาช่อนที่มีสีสันแตกต่างหลากหลายกันมากเนื่องจากมีถิ่นฐานการแพร่กระจายพันธุ์กว้างขวาง และยังมีอีกหลายแหล่งที่มีปลาที่มีความแตกต่างกันชัดเจน แต่ทว่ายังมิได้มีการบรรยายทางวิทยาศาสตร์ จึงมีการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์อย่างไม่เป็นทางการ แต่เป็นชื่อทางการค้าอย่างหลากหลาย แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของปลา เช่น Channa cf.

ปลาช่อนสจวร์ตและปลาช่อนเอเชีย · ปลาช่อนสจวร์ตและปลาช่อนแคระ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาช่อนออเรียนตาลิส

ปลาช่อนออเรียนตาลิส หรือ ปลาช่อนศรีลังกา (Ceylon snakehead) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) เป็นปลาช่อนขนาดเล็กจำพวกปลาช่อนแคระ หรือปลาก้างชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายกับปลาก้าง (C. limbata) ที่พบในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ หรือปลาก้างอินเดีย (C. gachua) ที่พบในอินเดีย โดยไม่มีครีบท้อง ลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาก้างที่พบในเอเชียอาคเนย์มาก มีความยาวเต็มที่ประมาณ 10 เซนติเมตร พบเฉพาะบนเกาะซีลอน หรือศรีลังกาเท่านั้น พฤติกรรมการหากินและการแพร่ขยายพันธุ์เหมือนกับปลาช่อนแคระชนิดอื่น ๆ คือ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายเฝ้าดูแลไข่และลูกอ่อนร่วมกับตัวเมีย โดยมีชื่อพื้นถิ่นในภาษาเบงกาลีว่า ulka Channa orientalis.

ปลาช่อนออเรียนตาลิสและปลาช่อนเอเชีย · ปลาช่อนออเรียนตาลิสและปลาช่อนแคระ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาช่อนแอนดริว

ปลาช่อนแอนดริว หรือ ปลาช่อนบลูอัสสัม ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) เป็นปลาช่อนขนาดเล็กอีกชนิดหนึ่ง มีความยาวเต็มที่ประมาณ 15-20 เซนติเมตร โดยพบแพร่กระจายพันธุ์เพียงเฉพาะบึงเลฟรากูรี่ ในเมืองจัลไพกูรี่ รัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย เท่านั้น โดยในอดีต ปลาช่อนแอนดริวมักจะถูกพบปะปนไปกับปลาช่อนเจ็ดสี (C. bleheri) ในฐานะของปลาสวยงามเสมอ ๆ จึงเคยได้ชื่อว่า "ปลาช่อนบลูเบลเฮอรี่" และได้ชื่อวิทยาศาสตร์อย่างไม่เป็นทางการต่าง ๆ เช่น C. sp.

ปลาช่อนเอเชียและปลาช่อนแอนดริว · ปลาช่อนแคระและปลาช่อนแอนดริว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาช่อนเจ็ดสี

ปลาช่อนเจ็ดสี หรือ ปลาช่อนสายรุ้ง (Rainbow snakehead) เป็นปลาช่อนชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa bleheri (โดยคำว่า bleheri เป็นชื่อที่ตั้งเพื่อให้เกียรติแก่ ไฮโค เบลียร์ นักสำรวจปลาชาวเยอรมัน) ในวงศ์ปลาช่อน (Channide) จัดเป็นปลาช่อนขนาดเล็กเช่นเดียวกับปลาก้าง (C. limbata) และปลาก้างอินเดีย (C. gachua) คือ ขนาดเมื่อโตเต็มที่มีขนาดไม่เกิน 20 เซนติเมตร แต่ได้ชื่อว่าเป็นปลาช่อนขนาดเล็กที่มีสีสันสวยงามมาก โดยมีหลากหลายสีในตัวเดียวกัน ทั้ง ขาว, น้ำเงิน, แดง, ส้ม สลับกันไปบนพื้นลำตัวสีน้ำตาล อีกทั้งครีบต่าง ๆ โดยเฉพาะครีบหูก็มีลวดลายเป็นริ้ว ๆ สีดำอีกด้วย เป็นปลาที่พบได้เฉพาะลุ่มแม่น้ำพรหมบุตรในรัฐอัสสัมและรัฐอรุณาจัลประเทศ ประเทศอินเดียเท่านั้น โดยมีชื่อเรียกในภาษาอัสสัมว่า Sengeli นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเช่นเดียวกับปลาช่อนสวยงามทั่วไป โดยสามารถเลี้ยงรวมกับปลาช่อนสวยงามขนาดเล็กชนิดอื่น ๆ ได้ เนื่องด้วยปลาในกลุ่มนี้จัดว่ามีอุปนิสัยไม่ดุร้ายก้าวร้าว อีกทั้งยังมีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยพฤติกรรมในธรรมชาติ ปลาช่อนกลุ่มนี้จะอาศัยอยู่ในสภาพที่มีอุณหภูมิหลากหลายเปลี่ยนแปลงต่างขั้วกันในรอบปี ตั้งแต่ฤดูที่มีฝนตกหนัก ฤดูร้อนที่อุณหภูมิร้อนจัด ไปจนถึงฤดูหนาวที่มีการละลายของหิมะจากเทือกเขาสูงตามแนวเทือกเขาหิมาลัย จึงมีพฤติกรรมขุดโพรงลึกตามรากไม้เพื่อจำศีลเข้าสู่ฤดูที่เหมาะสมต่อการหากินและแพร่ขยายพันธุ์ต่อไป หน้า 103, CHANNA CRAZY คนคลั่งช่อน, "Wild Ambition" โดย ชวิน ตันพิทยคุปต์ และชัยพัทธ์ งามบุษบงโสภิน.

ปลาช่อนเจ็ดสีและปลาช่อนเอเชีย · ปลาช่อนเจ็ดสีและปลาช่อนแคระ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาก้างอินเดีย

ปลาก้างอินเดีย หรือ ปลากั๊งอินเดีย (Dwarf snakehead) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีรูปร่างและขนาดลำตัวคล้ายคลึงกับปลาก้าง (C. limbata) ที่พบในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์มาก แต่ทว่า ปลาก้างอินเดียนั้นจะมีลำตัวที่ป้อมสั้นกว่า มีจำนวนเกล็ดที่ใต้ขากรรไกรล่างทั้งสองข้างเกล็ดเดียว มีขอบใต้ดวงตาสีแดง และไม่มีครีบท้อง การแพร่ขยายพันธุ์ ปลาเพศผู้จะเป็นฝ่ายอมไข่ในปากจนกว่าลูกปลาจะฟักเป็นตัว และดูแลลูกปลาใกล้ชนิดคู่กับปลาเพศเมีย สีสันบนลำตัวนั้นมีหลากหลายเช่นเดียวกับปลาก้าง มีการกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียใต้ โดยพบที่อินเดีย, รัฐอัสสัม, บังกลาเทศ, ปากีสถาน ไปจนถึงตอนใต้ของประเทศจีน นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเช่นเดียวกับปลาก้าง และปลาช่อนเจ็ดสี (C. bleheri) ซึ่งเป็นปลาที่เป็นขนาดเล็กในวงศ์เดียวกันเช่นกัน อนึ่ง ปลาก้างที่พบในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์รวมถึงประเทศไทย โดยมากจะใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa gachua เช่นเดียวกับปลาก้างอินเดีย แต่ทว่าข้อเท็จจริงแล้วปลาทั้ง 2 ชนิดนั้นมีความแตกต่างกันพอสมควร แต่ทว่ายังไม่มีเอกสารหรือการยืนยันอย่างถูกต้องจากฝ่ายวิชาการ โดยในทัศนะของนักมีนวิทยาบางท่านเห็นว่า ปลาก้างชนิดที่พบในในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ สมควรใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa limbata (Cuvier, 1831) หรือ Channa aff.

ปลาก้างอินเดียและปลาช่อนเอเชีย · ปลาก้างอินเดียและปลาช่อนแคระ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปลาช่อนเอเชียและปลาช่อนแคระ

ปลาช่อนเอเชีย มี 43 ความสัมพันธ์ขณะที่ ปลาช่อนแคระ มี 11 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 11.11% = 6 / (43 + 11)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปลาช่อนเอเชียและปลาช่อนแคระ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »