ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปลาฉลามเมกาเมาท์และอันดับปลาฉลามขาว
ปลาฉลามเมกาเมาท์และอันดับปลาฉลามขาว มี 9 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์ปลากระดูกอ่อนปลาฉลามปลาฉลามอาบแดดเลินนาร์ด คอมเพจโน
ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค
ั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค (ชั้นย่อย: Elasmobranchii) เป็นชั้นย่อยของปลาในชั้นปลากระดูกอ่อน เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ปลาในชั้นนี้มีวิวัฒนาการมาจากยุคดีโวเนียนยุคต้น (เมื่อ 400 ล้านปีก่อน) จนถึงปัจจุบัน ลักษณะสำคัญของปลาในชั้นนี้คือ ไม่มีถุงลมช่วยในการว่ายน้ำ มีช่องเหงือกทั้งหมด 5-7 คู่เปิดออกสู่ภายนอกเพื่อใช้ในการหายใจ ครีบหลังแข็งมีเกล็ดแบบสาก มีฟันที่แข็งแรงหลายชุดในปาก ปากอยู่ต่ำลงมาทางด้านท้อง มีขากรรไกรที่ไม่เชื่อมติดกับกะโหลก และเมื่อเจริญเติบโตขึ้นกระดูกอ่อนจะแทนที่ด้วยกระดูกสันหลัง รูจมูกทั้ง 2 ข้างไม่ทะลุเข้าช่องปาก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมอง 10 คู่ มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศด้วยการปฏิสนธิภายใน โดยที่ออกลูกเป็นตัว ตัวอ่อนเจริญในท่อรังไข่ เพศผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นแท่ง 1 คู่ซึ่งวิวัฒนาการมาจากครีบ อยู่บริเวณกระดูกเชิงกราน บริเวณครีบท้อง ใช้สำหรับผสมพันธุ์และปล่อยอสุจิ ขณะที่เพศเมียจะมีช่องคลอด เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก.
ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคและปลาฉลามเมกาเมาท์ · ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคและอันดับปลาฉลามขาว ·
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และปลาฉลามเมกาเมาท์ · การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และอันดับปลาฉลามขาว ·
สัตว์
ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.
ปลาฉลามเมกาเมาท์และสัตว์ · สัตว์และอันดับปลาฉลามขาว ·
สัตว์มีแกนสันหลัง
ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.
ปลาฉลามเมกาเมาท์และสัตว์มีแกนสันหลัง · สัตว์มีแกนสันหลังและอันดับปลาฉลามขาว ·
สปีชีส์
ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).
ปลาฉลามเมกาเมาท์และสปีชีส์ · สปีชีส์และอันดับปลาฉลามขาว ·
ปลากระดูกอ่อน
ปลากระดูกอ่อน (ชั้น: Chondrichthyes; Cartilaginous fish) เป็นชั้นของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีโครงสร้างกระดูกประกอบไปด้วยเซลล์กระดูกอ่อนอย่างเดียว โดยมีหินปูนมาประกอบเป็นบางส่วน ส่วนมากมีเหงือกแยกออกเป็นช่อง 5 ช่อง มีเกล็ดแบบพลาคอยด์ ที่จะไม่โตไปตามตัว มีลักษณะสากเมื่อสัมผัส ตัวผู้มีรยางค์เพศที่ครีบท้องเป็นติ่งยื่นเรียก แคลสเปอร์ หรือที่ในภาษาไทยเรียก เดือย โดยมากจะออกลูกเป็นตัว ขากรรไกรแยกออกจากกะโหลก ปลาจำพวกนี้พบทั่วโลกประมาณ 800 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ ส่วนมากเป็นปลาทะเล ในน้ำจืดมีเพียงไม่กี่สิบชนิด มีหลายอันดับ หลายวงศ์ หลายสกุล โดยปลาในกลุ่มปลากระดูกอ่อนนี้ที่รู้จักกันดี ก็ได้แก่ ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน เป็นต้น ปลากระดูกอ่อนส่วนใหญ่มีรูปร่างเรียวยาว ยกเว้น ปลากระเบน ที่มีรูปร่างแบน ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เช่น ปลากระเบนน้ำจืด มีขนาดแตกต่างกันตามแต่ละสกุล แต่ละชนิด ตั้งแต่มีความยาวเพียงไม่ถึงหนึ่งฟุต จนถึง 20 เมตร หนักถึง 34 ตัน คือ ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก.
ปลากระดูกอ่อนและปลาฉลามเมกาเมาท์ · ปลากระดูกอ่อนและอันดับปลาฉลามขาว ·
ปลาฉลาม
ปลาฉลาม (ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Selachimorpha) เป็นปลาในชั้นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมเพรียวยาว ส่วนใหญ่มีซี่กรองเหงือก 5 ซี่ ครีบทุกครีบแหลมคม ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก มีจุดเด่นคือ ส่วนหัวและจะงอยปากแหลมยาว ปากเว้าคล้ายพระจันทร์เสี้ยวภายในมีฟันแหลมคม ปลาฉลามทุกชนิดเป็นปลากินเนื้อ มักล่าสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ กินเป็นอาหาร แต่ก็มีฉลามบางจำพวกที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เช่น ปลาฉลามในอันดับ Orectolobiformes ได้แก่ ปลาฉลามวาฬ, ปลาฉลามในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามเมกาเมาท์ (Megachasma pelagios) และปลาฉลามอาบแดด (Cetorhinus maximus) แต่ปลาฉลามบางสกุลในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามมาโก (Isurus spp.) และปลาฉลามในอันดับ Carcharhiniformes มีรูปร่างเพรียวยาว ว่ายน้ำได้ปราดเปรียว โดยอาจทำความเร็วได้ถึง 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง เช่น ซึ่งฉลามในอันดับนี้ หลายชนิดเป็นปลาที่ดุร้าย อาจทำร้ายมนุษย์หรือกินสิ่งต่าง ๆ ถึงแม้จะไม่ใช่อาหารได้ด้วย ฉลามในอันดับนี้ได้แก่ ปลาฉลามขาว (Carcharodon carcharias), ปลาฉลามเสือ (Galeocerdo cuvier), ปลาฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas) เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ยังมีปลาฉลามที่มีรูปร่างประหลาดและพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากปลาฉลามส่วนใหญ่ อาทิ ปลาฉลามเสือดาว (Stegostoma fasciatum), ปลาฉลามกบ (Chiloscyllium spp.) ที่อยู่ในอันดับ Orectolobiformes ซึ่งเป็นปลาฉลามที่ไม่ดุร้าย มักหากินและอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล มีครีบหางโดยเฉพาะครีบหางตอนบนแหลมยาวและมีขนาดใหญ่ และมักมีสีพื้นลำตัวเป็นลวดลายหรือจุดต่าง ๆ เพื่อพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือ ปลาฉลามโบราณ (Chlamydoselachus anguineus) ที่อยู่ในอันดับ Hexanchiformes ที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล เป็นปลาน้ำลึกที่หาได้ยากมาก ๆ และเดิมเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว ปลาฉลามโดยมากเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ในตัวผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นติ่งยื่นยาวออกมาหนึ่งคู่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกว่า "เดือย" หรือ "Clasper" ในภาษาอังกฤษ แต่ก็มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่ โดยมากแล้วเป็นปลาทะเล อาศัยอยู่ในทะเลทั้งเขตอบอุ่นและขั้วโลก มีเพียงบางสกุลและบางชนิดเท่านั้น ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อาทิ ปลาฉลามแม่น้ำ (Glyphis spp.) ที่เป็นปลาฉลามน้ำจืดแท้ โดยมีวงจรชีวิตอยู่ในน้ำจืดตลอดทั้งชีวิต และปลาฉลามหัวบาตร หรือ ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus) ที่มักหากินตามชายฝั่งและปากแม่น้ำ ซึ่งอาจปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดสนิทได้.
ปลาฉลามและปลาฉลามเมกาเมาท์ · ปลาฉลามและอันดับปลาฉลามขาว ·
ปลาฉลามอาบแดด
ปลาฉลามอาบแดด หรือ ปลาฉลามยักษ์น้ำอุ่น (basking shark) เป็นปลากระดูกอ่อนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จำพวกปลาฉลาม นับเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์ Cetorhinidae และสกุล Cetorhinus ปลาฉลามอาบแดดจัดอยู่ในอันดับ Lamniformes เช่นเดียวกับปลาฉลามขาว จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองมาจากปลาฉลามวาฬ ปลาฉลามอาบแดดมีความยาวได้ถึง 10 เมตร เท่ากับรถโดยสารสองชั้นคันหนึ่ง (ขนาดโดยเฉลี่ย 8 เมตร) มีน้ำหนักมากถึงได้ 7 ตัน เท่ากับช้างสองเชือก มีลักษณะเด่น คือ มีลำตัวสีเทาออกน้ำตาล มีปลายจมูกเป็นรูปกรวย มีปากขนาดใหญ่ มีซี่กรองเหงือกสีแดงมีลักษณะเป็นซี่คล้ายหวีหรือแปรงที่พัฒนามาเป็นอย่างดีสำหรับกรองอาหาร มีริ้วเหงือกภายนอกตั้งแต่ส่วนบนหัวถึงด้านล่างหัว ซึ่งปลาฉลามอาบแดดจะใช้ซี่กรองเหงือกนี้ในการหายใจเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย กรองกินแพลงก์ตอนสัตว์ต่าง ๆ ผ่านซี่กรองนี้เป็นอาหารเหมือนปลาฉลามวาฬ และปลาฉลามเมกาเมาท์ จัดเป็นปลาฉลามที่มีสมองขนาดเล็ก แต่ก็มีประสาทสัมผัสโดยเฉพาะประสาทการดมกลิ่นที่ดีเยี่ยมเหมือนปลาฉลามกินเนื้อชนิดอื่น ปลาฉลามอาบแดด เป็นปลาฉลามขนาดใหญ่อีกชนิดหนึ่งที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ กระจายพันธุ์อยู่ในทะเลหรือมหาสมุทรเขตน้ำอุ่นทั่วโลก โดยเฉพาะรอบ ๆ เกาะอังกฤษ นับเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดที่พบได้ในเกาะอังกฤษ ปลาฉลามอาบแดดบางครั้งจะรวมตัวกันเป็นฝูงเล็ก ๆ เพื่อกินแพลงก์ตอนสัตว์บริเวณผิวน้ำ ตามสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมที่แพลงก์ตอนสัตว์จะเจริญเติบโตได้ดี คือ มีแสงแดด มีอุณหภูมิอบอุ่นที่เหมาะสม ปลาฉลามอาบแดดจะอ้าปากได้กว้าง จนกระทั่งเห็นซี่กรองภายในปากชัดเจน ไล่กินแพลงก์ตอนสัตว์ตามผิวน้ำ แต่โดยปกติจะอาศัยอยู่ในน้ำลึก และจะมีพฤติกรรมย้ายถิ่นฐานไปตามแพลงก์ตอนตามฤดูกาล ซึ่งเชื่อว่าจะว่ายตามแพลงก์ตอนไปตามกลิ่น จากการศึกษาพบว่าสามารถเดินทางได้ไกลถึง 2,000 กิโลเมตร ภายในระยะเวลา 7 วันThe Basking Shark, "Nick Baker's Weird Creatures" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต.
ปลาฉลามอาบแดดและปลาฉลามเมกาเมาท์ · ปลาฉลามอาบแดดและอันดับปลาฉลามขาว ·
เลินนาร์ด คอมเพจโน
ลินนาร์ด โจเซฟ วิคเตอร์ คอมเพจโน หรือ เลินนาร์ด คอมเพจโน (Leonard Joseph Victor Compagno, Leonard Compagno) นักมีนวิทยาชาวอเมริกัน ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะเรื่องของปลาฉลาม ดร.คอมเพจโนจบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เมื่อปี ค.ศ. 1979 ด้วยทุนการศึกษาของสถาบัน รวมถึงได้รับการทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดด้วย เป็นอาจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยซานฟรานซิสโกสเตท ระหว่างปี ค.ศ. 1979 ถึงปี ค.ศ. 1985 ดร.คอมเพจโน ปัจจุบันเป็นหัวหน้าของศูนย์การวิจัยปลาฉลาม และภัณฑารักษ์ด้านปลา ของพิพิธภัณฑ์อิซิโกแอฟริกาใต้ ที่เคปทาวน์ เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลเกี่ยวกับปลาฉลาม เป็นผู้เชี่ยวชาญในระดับแนวหน้าของโลกเกี่ยวกับระบบร่างกาย การเปลี่ยนรูปร่างวิวัฒนาการซากดึกดำบรรพ์, สัตวภูมิศาสตร์ และความหลากหลายทางประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการอนุรักษ์ปลาฉลาม เป็นรองประธานภูมิภาคกรรมการปลาฉลามของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้านการวิจัยสำหรับกองประมงขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ของสหประชาชาติ มีผลงานตีพิมพ์ยอดนิยมกว่า 200 เอกสารบทความ, รายงาน, เว็บไซต์, หนังสือและบทความต่าง ๆ เกี่ยวกับปลาฉลามและปลากระดูกอ่อนต่าง ๆ ในด้านการอนุกรมวิธาน เป็นหนึ่งในผู้อนุกรมวิธานปลากระเบนขาว (Himantura signifer) ซึ่งเป็นปลากระเบนน้ำจืดที่พบได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้ว.
ปลาฉลามเมกาเมาท์และเลินนาร์ด คอมเพจโน · อันดับปลาฉลามขาวและเลินนาร์ด คอมเพจโน ·
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ปลาฉลามเมกาเมาท์และอันดับปลาฉลามขาว มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปลาฉลามเมกาเมาท์และอันดับปลาฉลามขาว
การเปรียบเทียบระหว่าง ปลาฉลามเมกาเมาท์และอันดับปลาฉลามขาว
ปลาฉลามเมกาเมาท์ มี 30 ความสัมพันธ์ขณะที่ อันดับปลาฉลามขาว มี 17 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 9, ดัชนี Jaccard คือ 19.15% = 9 / (30 + 17)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปลาฉลามเมกาเมาท์และอันดับปลาฉลามขาว หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: