โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาฉลามหางยาวหน้าหนูและวัยเริ่มเจริญพันธุ์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปลาฉลามหางยาวหน้าหนูและวัยเริ่มเจริญพันธุ์

ปลาฉลามหางยาวหน้าหนู vs. วัยเริ่มเจริญพันธุ์

ปลาฉลามหางยาวหน้าหนู หรือ ปลาฉลามหางยาวตาโต (Bigeye thresher shark, False thresher) ปลากระดูกอ่อนจำพวกปลาฉลามชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาฉลามหางยาว (Alopiidae) โดยคำว่า superciliosus ที่ใช้เป็นชื่อวิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาละตินคำว่า super หมายถึง "เหนือ" และ ciliosus หมายถึง "คิ้ว" อันหมายถึง ร่องที่อยู่เหนือดวงตา ปลาฉลามหางยาวตาโต มีรูปร่างลักษณะเหมือนกับปลาฉลามหางยาวชนิดอื่นทั่วไป มีร่างกายสีเทาออกม่วงกลมกลืนไปกับสีของสภาพแวดล้อม มีดวงตากลมโตรูปลูกแพร์ขนาดใหญ่กว่าปลาฉลามหางยาวชนิดอื่น โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 10 เซนติเมตร นับว่าเป็นขนาดของตาของสัตว์โลกที่ใหญ่ที่สุดที่ไม่ใช่สัตว์จำพวกนก สันนิษฐานว่ามีไว้เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพของทะเลลึกที่มืดมิดที่มีปริมาณแสงน้อย นอกจากนี้แล้วยังสามารถที่ปรับอุณหภูมิในร่างกายให้อุ่นกว่าอุณหภูมิของน้ำที่อาศัยอยู่ โดยจะมีอุณหภูมิร่างกายอยู่ที่ 2-4 องศาเซลเซียส ปลาฉลามหางยาวตาโต จัดเป็นปลาฉลามกินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ขนาดเมื่อโตเต็มที่มีขนาดเฉลี่ยประมาณ 4.6 เมตร หรือเล็กกว่านี้ พบใหญ่ที่สุด 4.8 เมตร น้ำหนักประมาณ 360 กิโลกรัม ปลาฉลามหางยาวตาโต อาศัยอยู่ในมหาสมุทรที่มีความลึกกว่า 500 เมตร น้ำมีอุณหภูมิเย็น พบได้ในหลายพื้นที่ทั่วโลก แต่จะพบได้บ่อยที่มหาสมุทรแอตแลนติก รวมถึงบางส่วนในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดียด้วย เป็นปลาที่มีความปราดเปรียวว่องไว ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ล่าปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำต่าง ๆ กินเป็นอาหาร โดยใช้ครีบหางท่อนบนที่ยาวใหญ่นั้นตีไล่เหยื่อ เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 12-13 ปีในตัวเมีย และ 9-10 ปีในตัวผู้ ลูกปลาเกิดใหม่มีความยาว 70-106 เซนติเมตร โดยเกิดเป็นตัวจากไข่ในช่องท้องของปลาตัวแม่ เป็นปลาฉลามอีกชนิดหนึ่งที่ถูกจับและใช้ประโยชน์ในทางการประมง และก็ถูกจัดให้เป็นหนึ่งใน 10 ชนิดของปลาฉลามที่ถูกคุกคามจนใกล้สูญพันธุ์ทั่วโลก. วัยเริ่มเจริญพันธุ์ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพซึ่งกายของเด็กเจริญเต็มที่สู่กายผู้ใหญ่ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางอวัยวะสืบพันธุ์เพื่อให้พร้อมแก่การปฏิสนธิได้ วัยเริ่มเจริญพันธุ์เริ่มจากสัญญาณฮอร์โมนจากสมองไปยังต่อมบ่งเพศ คือ รังไข่ในเด็กหญิงและอัณฑะในเด็กชาย ต่อมบ่งเพศสนองต่อสัญญาณดังกล่าวโดยผลิตฮอร์โมนซึ่งกระตุ้นความต้องการทางเพศ (libido) และการเติบโต การทำหน้าที่และการแปรรูปของสมอง กระดูก กล้ามเนื้อ เลือด ผิวหนัง ขน หน้าอกและอวัยวะเพศ การเติบโตทางกาย ความสูงและน้ำหนัก เร่งเร็วขึ้นในครึ่งแรกของวัยเริ่มเจริญพันธุ์และเสร็จเมื่อเด็กนั้นพัฒนากายผู้ใหญ่ ความแตกต่างระหว่างเด็กชายและเด็กหญิงก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์อย่างเดียว คือ อวัยวะเพศภายนอก จนกว่ามีการเจริญเต็มที่ของสมรรถภาพสืบพันธุ์ โดยเฉลี่ย เด็กหญิงเริ่มวัยเริ่มเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 10–11 ปี เด็กชายเริ่มที่อายุ 11–12 ปี ปกติเด็กหญิงเสร็จวัยริ่มเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 15–17 ขณะที่เด็กชายปกติเสร็จเมื่ออายุ 16–17 ปี จุดกำหนดสำคัญของวัยเริ่มเจริญพันธุ์ของหญิง คือ การเริ่มแรกมีระดู หรือการเริ่มมีประจำเดือน ซึ่งโดยเฉลี่ยเกินระหว่างอายุ 12–13 ปี สำหรับชายเป็นการหลั่งน้ำกามครั้งแรก ซึ่งเฉลี่ยเกิดเมื่ออายุ 13 ปี ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 อายุเฉลี่ยซึ่งเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กหญิง ถึงวัยเริ่มเจริญพันธุ์น้อยกว่าเมื่อเทียบกับคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งได้แก่ 15 ปีสำหรับเด็กหญิง และ 16 ปีสำหรับเด็กชาย การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเนื่องจากหลายปัจจัย รวมถึงโภชนาการที่ดีขึ้นซึ่งส่งผลให้ร่างกายเติบโตอย่างรวดเร็ว น้ำหนักและการสะสมไขมันเพิ่มขึ้น หรือการสัมผัสกับตัวรบกวนฮอร์โมน เช่น ซีโนเอสโตรเจน ซึ่งบางครั้งอาจเนื่องจากการบริโภคอาหารหรือปัจจัยสิ่งแวดล้อมอื่น วัยเริ่มเจริญพันธุ์ที่เริ่มเร็วกว่าปกติ เรียก ภาวะเริ่มเจริญพันธุ์ก่อนวัย ส่วนวัยเริ่มเจริญพันธุ์ซึ่งเริ่มช้ากว่าปกติ เรียก ภาวะเริ่มเจริญพันธุ์ล่าช้า การเปลี่ยนแปลงกายสัณฐานวิทยาในขนาด รูปทรง องค์ประกอบและการทำหน้าที่ของกายวัยเริ่มเจริญพันธุ์ที่โดดเด่น คือ การพัฒนาลักษณะทางเพศทุติยภูมิ คือ การเปลี่ยนจากกายเด็ก จากเด็กหญิงเป็นหญิงสาว จากเด็กชายเป็นชายหนุ่ม คำว่า วัยเริ่มเจริญพันธุ์อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพสู่การเจริญเต็มที่ทางเพศ มิใช่การเจริญเต็มที่ทางจิตสังคมและวัฒนธรรมซึ่งแสดงด้วยคำว่า "พัฒนาการเยาวชน" ในวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งเยาวชน คือ ช่วงการเปลี่ยนผ่านทางจิตใจจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ ซึ่งทับซ้อนกับช่วงวัยเริ่มเจริญพันธุ์เสียมาก หมวดหมู่:เยาวชน หมวดหมู่:การเจริญของมนุษย์ หมวดหมู่:เพศสภาพกับอายุ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปลาฉลามหางยาวหน้าหนูและวัยเริ่มเจริญพันธุ์

ปลาฉลามหางยาวหน้าหนูและวัยเริ่มเจริญพันธุ์ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปลาฉลามหางยาวหน้าหนูและวัยเริ่มเจริญพันธุ์

ปลาฉลามหางยาวหน้าหนู มี 12 ความสัมพันธ์ขณะที่ วัยเริ่มเจริญพันธุ์ มี 10 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (12 + 10)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปลาฉลามหางยาวหน้าหนูและวัยเริ่มเจริญพันธุ์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »