โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาฉลามน้ำจืดและอันดับปลาฉลามครีบดำ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปลาฉลามน้ำจืดและอันดับปลาฉลามครีบดำ

ปลาฉลามน้ำจืด vs. อันดับปลาฉลามครีบดำ

ำหรับปลาฉลามน้ำจืดอย่างอื่นดูที่: ปลาฉลามน้ำจืด (แก้ความกำกวม) ปลาฉลามน้ำจืด หรือ ปลาฉลามแม่น้ำ (River sharks, Freshwater sharks) เป็นปลาฉลามที่หายากจำนวน 6 ชนิด ในสกุล Glyphis (/กลาย-ฟิส/) เป็นสมาชิกในวงศ์ Carcharhinidae ซึ่งเป็นปลาฉลามเพียงประเภทเดียวเท่านั้นที่สามารถอาศัยอยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดสนิทได้ตลอดทั้งชีวิต ปัจจุบันยังไม่มีองค์ความรู้เพียงพอเกี่ยวกับปลาฉลามสกุลนี้มากนัก และอาจมีชนิดอื่น ๆ ที่ยังไม่ถูกค้นพบ หรืออาจจะเป็นไปได้ว่าในบางชนิดเป็นชนิดเดียวกันด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตาม ปลาฉลามในสกุลนี้ มีลักษณะคล้ายกับปลาฉลามสีน้ำเงิน (Prionace glauca) ซึ่งเป็นปลาฉลามที่พบในทะเลด้วย ซึ่งสำหรับปลาฉลามบางชนิดที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดสนิทได้ เช่น ปลาฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas) หรือ ปลาฉลามครีบดำ (C. melanopterus) ไม่จัดว่าเป็นปลาฉลามแม่น้ำ เพราะปลาฉลามแม่น้ำแท้ ๆ นั้นต้องอยู่ในสกุล Glyphis เท่านั้น แม้จะได้รับการเรียกขานบางครั้งว่าเป็นปลาฉลามแม่น้ำก็ตาม. อันดับปลาฉลามครีบดำ (Ground shark) เป็นอันดับของปลากระดูกอ่อนในชั้นย่อยปลาฉลาม ใช้ชื่ออันดับว่า Carcharhiniformes มีลักษณะโดยรวม คือ มีครีบหลังสองตอน ไม่มีหนามแข็งหน้าครีบหลัง มีช่องเปิดเหงือกห้าช่องอยู่ทางด้านข้างของส่วนหัว ส่วนใหญ่มีช่องรับน้ำขนาดเล็กอยู่หลังตา หรือบางชนิดไม่มี ไม่มีหนวดที่จมูก ไม่มีร่องเชื่อมระหว่างจมูกและปาก ไม่มีแผ่นหนังบริเวณมุมปาก ปากมีขนาดใหญ่ กว้าง โค้งแบบพระจันทร์เสี้ยว ฟันมีหลายรูปแบบด้านหน้าเป็นแบบฟันเขี้ยวแหลมคมทางตอนท้ายมักเป็นฟันบด ช่องที่ 3-5 มักอยู่เหนือฐานครีบอก ไม่มีซี่กรองเหงือก ตามีหนังหุ้ม ลำไส้เป็นแบบบันไดวน หรือ แบบม้วน สามารถแบ่งออกได้เป็น 8 วงศ์ คือ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปลาฉลามน้ำจืดและอันดับปลาฉลามครีบดำ

ปลาฉลามน้ำจืดและอันดับปลาฉลามครีบดำ มี 9 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไควงศ์ปลาฉลามครีบดำสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังอันดับปลาฉลามครีบดำปลากระดูกอ่อนปลาฉลามปลาฉลามครีบดำเลินนาร์ด คอมเพจโน

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค

ั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค (ชั้นย่อย: Elasmobranchii) เป็นชั้นย่อยของปลาในชั้นปลากระดูกอ่อน เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ปลาในชั้นนี้มีวิวัฒนาการมาจากยุคดีโวเนียนยุคต้น (เมื่อ 400 ล้านปีก่อน) จนถึงปัจจุบัน ลักษณะสำคัญของปลาในชั้นนี้คือ ไม่มีถุงลมช่วยในการว่ายน้ำ มีช่องเหงือกทั้งหมด 5-7 คู่เปิดออกสู่ภายนอกเพื่อใช้ในการหายใจ ครีบหลังแข็งมีเกล็ดแบบสาก มีฟันที่แข็งแรงหลายชุดในปาก ปากอยู่ต่ำลงมาทางด้านท้อง มีขากรรไกรที่ไม่เชื่อมติดกับกะโหลก และเมื่อเจริญเติบโตขึ้นกระดูกอ่อนจะแทนที่ด้วยกระดูกสันหลัง รูจมูกทั้ง 2 ข้างไม่ทะลุเข้าช่องปาก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมอง 10 คู่ มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศด้วยการปฏิสนธิภายใน โดยที่ออกลูกเป็นตัว ตัวอ่อนเจริญในท่อรังไข่ เพศผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นแท่ง 1 คู่ซึ่งวิวัฒนาการมาจากครีบ อยู่บริเวณกระดูกเชิงกราน บริเวณครีบท้อง ใช้สำหรับผสมพันธุ์และปล่อยอสุจิ ขณะที่เพศเมียจะมีช่องคลอด เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก.

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคและปลาฉลามน้ำจืด · ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคและอันดับปลาฉลามครีบดำ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาฉลามครีบดำ

วงศ์ปลาฉลามครีบดำ (Requim shark, Whaler shark) เป็นวงศ์ของปลากระดูกอ่อนจำพวกปลาฉลามวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Carcharhinidae อยู่ในอันดับปลาฉลามครีบดำ (Carcharhiniformes) มีรูปร่างโดยรวม คือ เพรียวยาวเป็นทรงกระสวย ครีบหลังมีสองตอน โดยเฉพาะครีบหลังตอนแรกมีลักษณะแหลมสูง ดูเด่น ไม่มีหนามแข็งหน้าครีบหลัง มีช่องเปิดเหงือกห้าช่องอยู่ทางด้านข้างของส่วนหัว ส่วนใหญ่มีช่องรับน้ำขนาดเล็กอยู่หลังตา ตามีทรงกลม ปากเป็นรูปสามเหลี่ยมโค้ง ภายในมีฟันแหลมคมอยู่จำนวนมาก เป็นปลาที่มีความว่องไวปราดเปรียวมาก เป็นปลาที่ล่าเหยื่อและหากินบริเวณกลางน้ำและผิวน้ำในบางครั้ง โดยปกติแล้ว จะกินปลาชนิดอื่นเป็นอาหาร โดยอาศัยโครงสร้างฟันที่แหลมคม ประกอบกับการว่ายน้ำที่คล่องแคล่วและรวดเร็วขณะโจม แต่บางชนิดอาจมีพฤติกรรมโจมตีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล เช่น แมวน้ำ หรือสิงโตทะเล เป็นอาหารได้ด้วย จมูกมีความไวมากสำหรับการได้กลิ่น โดยเฉพาะกลิ่นคาวเลือดและได้ยินเสียงได้ไกลถึง 2 กิโลเมตร ในบางสกุลจะมีพฤติกรรมอย่รวมกันเป็นฝูง ออกลูกเป็นตัว จะอาศัยหากินในทะเลเปิดทั่วโลกในเขตอบอุ่นและเขตร้อน ในบางครั้งอาจเข้าหากินได้ใกล้ชายฝั่งหรือบริเวณที่เป็นน้ำจืดหรือน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน เช่น ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus), ปลาฉลามหัวบาตร (C. leucas) และปลาฉลามแม่น้ำ (Glyphis spp.) ซึ่งเป็นปลาฉลามเพียงจำพวกเดียวแท้ ๆ ในกลุ่มปลาฉลามที่อาศัยและเติบโตในน้ำจืดสนิท มีทั้งหมด 12 สกุล ประมาณ 57 ชนิด โดยชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ปลาฉลามเสือ (Galeocerdo cuvier) ที่ยาวได้ถึง 7 เมตร.

ปลาฉลามน้ำจืดและวงศ์ปลาฉลามครีบดำ · วงศ์ปลาฉลามครีบดำและอันดับปลาฉลามครีบดำ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ปลาฉลามน้ำจืดและสัตว์ · สัตว์และอันดับปลาฉลามครีบดำ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ปลาฉลามน้ำจืดและสัตว์มีแกนสันหลัง · สัตว์มีแกนสันหลังและอันดับปลาฉลามครีบดำ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาฉลามครีบดำ

อันดับปลาฉลามครีบดำ (Ground shark) เป็นอันดับของปลากระดูกอ่อนในชั้นย่อยปลาฉลาม ใช้ชื่ออันดับว่า Carcharhiniformes มีลักษณะโดยรวม คือ มีครีบหลังสองตอน ไม่มีหนามแข็งหน้าครีบหลัง มีช่องเปิดเหงือกห้าช่องอยู่ทางด้านข้างของส่วนหัว ส่วนใหญ่มีช่องรับน้ำขนาดเล็กอยู่หลังตา หรือบางชนิดไม่มี ไม่มีหนวดที่จมูก ไม่มีร่องเชื่อมระหว่างจมูกและปาก ไม่มีแผ่นหนังบริเวณมุมปาก ปากมีขนาดใหญ่ กว้าง โค้งแบบพระจันทร์เสี้ยว ฟันมีหลายรูปแบบด้านหน้าเป็นแบบฟันเขี้ยวแหลมคมทางตอนท้ายมักเป็นฟันบด ช่องที่ 3-5 มักอยู่เหนือฐานครีบอก ไม่มีซี่กรองเหงือก ตามีหนังหุ้ม ลำไส้เป็นแบบบันไดวน หรือ แบบม้วน สามารถแบ่งออกได้เป็น 8 วงศ์ คือ.

ปลาฉลามน้ำจืดและอันดับปลาฉลามครีบดำ · อันดับปลาฉลามครีบดำและอันดับปลาฉลามครีบดำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดูกอ่อน

ปลากระดูกอ่อน (ชั้น: Chondrichthyes; Cartilaginous fish) เป็นชั้นของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีโครงสร้างกระดูกประกอบไปด้วยเซลล์กระดูกอ่อนอย่างเดียว โดยมีหินปูนมาประกอบเป็นบางส่วน ส่วนมากมีเหงือกแยกออกเป็นช่อง 5 ช่อง มีเกล็ดแบบพลาคอยด์ ที่จะไม่โตไปตามตัว มีลักษณะสากเมื่อสัมผัส ตัวผู้มีรยางค์เพศที่ครีบท้องเป็นติ่งยื่นเรียก แคลสเปอร์ หรือที่ในภาษาไทยเรียก เดือย โดยมากจะออกลูกเป็นตัว ขากรรไกรแยกออกจากกะโหลก ปลาจำพวกนี้พบทั่วโลกประมาณ 800 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ ส่วนมากเป็นปลาทะเล ในน้ำจืดมีเพียงไม่กี่สิบชนิด มีหลายอันดับ หลายวงศ์ หลายสกุล โดยปลาในกลุ่มปลากระดูกอ่อนนี้ที่รู้จักกันดี ก็ได้แก่ ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน เป็นต้น ปลากระดูกอ่อนส่วนใหญ่มีรูปร่างเรียวยาว ยกเว้น ปลากระเบน ที่มีรูปร่างแบน ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เช่น ปลากระเบนน้ำจืด มีขนาดแตกต่างกันตามแต่ละสกุล แต่ละชนิด ตั้งแต่มีความยาวเพียงไม่ถึงหนึ่งฟุต จนถึง 20 เมตร หนักถึง 34 ตัน คือ ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก.

ปลากระดูกอ่อนและปลาฉลามน้ำจืด · ปลากระดูกอ่อนและอันดับปลาฉลามครีบดำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลาม

ปลาฉลาม (ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Selachimorpha) เป็นปลาในชั้นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมเพรียวยาว ส่วนใหญ่มีซี่กรองเหงือก 5 ซี่ ครีบทุกครีบแหลมคม ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก มีจุดเด่นคือ ส่วนหัวและจะงอยปากแหลมยาว ปากเว้าคล้ายพระจันทร์เสี้ยวภายในมีฟันแหลมคม ปลาฉลามทุกชนิดเป็นปลากินเนื้อ มักล่าสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ กินเป็นอาหาร แต่ก็มีฉลามบางจำพวกที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เช่น ปลาฉลามในอันดับ Orectolobiformes ได้แก่ ปลาฉลามวาฬ, ปลาฉลามในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามเมกาเมาท์ (Megachasma pelagios) และปลาฉลามอาบแดด (Cetorhinus maximus) แต่ปลาฉลามบางสกุลในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามมาโก (Isurus spp.) และปลาฉลามในอันดับ Carcharhiniformes มีรูปร่างเพรียวยาว ว่ายน้ำได้ปราดเปรียว โดยอาจทำความเร็วได้ถึง 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง เช่น ซึ่งฉลามในอันดับนี้ หลายชนิดเป็นปลาที่ดุร้าย อาจทำร้ายมนุษย์หรือกินสิ่งต่าง ๆ ถึงแม้จะไม่ใช่อาหารได้ด้วย ฉลามในอันดับนี้ได้แก่ ปลาฉลามขาว (Carcharodon carcharias), ปลาฉลามเสือ (Galeocerdo cuvier), ปลาฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas) เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ยังมีปลาฉลามที่มีรูปร่างประหลาดและพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากปลาฉลามส่วนใหญ่ อาทิ ปลาฉลามเสือดาว (Stegostoma fasciatum), ปลาฉลามกบ (Chiloscyllium spp.) ที่อยู่ในอันดับ Orectolobiformes ซึ่งเป็นปลาฉลามที่ไม่ดุร้าย มักหากินและอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล มีครีบหางโดยเฉพาะครีบหางตอนบนแหลมยาวและมีขนาดใหญ่ และมักมีสีพื้นลำตัวเป็นลวดลายหรือจุดต่าง ๆ เพื่อพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือ ปลาฉลามโบราณ (Chlamydoselachus anguineus) ที่อยู่ในอันดับ Hexanchiformes ที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล เป็นปลาน้ำลึกที่หาได้ยากมาก ๆ และเดิมเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว ปลาฉลามโดยมากเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ในตัวผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นติ่งยื่นยาวออกมาหนึ่งคู่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกว่า "เดือย" หรือ "Clasper" ในภาษาอังกฤษ แต่ก็มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่ โดยมากแล้วเป็นปลาทะเล อาศัยอยู่ในทะเลทั้งเขตอบอุ่นและขั้วโลก มีเพียงบางสกุลและบางชนิดเท่านั้น ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อาทิ ปลาฉลามแม่น้ำ (Glyphis spp.) ที่เป็นปลาฉลามน้ำจืดแท้ โดยมีวงจรชีวิตอยู่ในน้ำจืดตลอดทั้งชีวิต และปลาฉลามหัวบาตร หรือ ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus) ที่มักหากินตามชายฝั่งและปากแม่น้ำ ซึ่งอาจปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดสนิทได้.

ปลาฉลามและปลาฉลามน้ำจืด · ปลาฉลามและอันดับปลาฉลามครีบดำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามครีบดำ

ปลาฉลามครีบดำ หรือ ปลาฉลามหูดำ (Blacktip reef shark) เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง มีรูปร่างเพรียวยาว ปากกว้าง มีแถบดำที่ครีบหลัง ครีบไขมัน ครีบก้น และครีบหางตอนล่าง เป็นที่มาของชื่อ กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร มีนิสัยไม่ดุร้ายเมื่อเทียบกับปลาฉลามชนิดอื่น ๆ นิยมอยู่รวมเป็นฝูงบริเวณใกล้ชายฝั่ง และอาจเข้ามาในบริเวณน้ำกร่อย หรือปากแม่น้ำ โดยสามารถเข้ามาหากินใกล้ชายฝั่ง แม้กระทั่งในพื้นที่ ๆ มีน้ำสูงเพียง 1 ฟุต เป็นปลาหากินในเวลากลางคืน ในเวลากลางวันจะหลบซ่อนตัวพักผ่อนตามแนวปะการัง โดยจะหากินอยู่ในระดับน้ำความลึกไม่เกิน 100 เมตร ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 2 เมตร ตัวเมียตั้งท้องนาน 18 เดือน ออกลูกเป็นตัว ครั้งละ 2-4 ตัว เมื่อโตขึ้นมาแล้วสีดำตรงที่ครีบหลังจะหายไป คงเหลือไว้แต่ตรงครีบอกและครีบส่วนอื่น ปลาฉลามครีบดำ นับเป็นปลาฉลามชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในทะเล และเป็นต้นแบบของปลาฉลามในสกุลปลาฉลามปะการัง มีนิสัยเชื่องคน สามารถว่ายเข้ามาขออาหารได้จากมือ เป็นที่ชื่นชอบของบรรดาผู้ที่นิยมการดำน้ำ พบทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน นิยมใช้บริโภคโดยเฉพาะปรุงเป็นหูฉลาม เมนูอาหารจีนราคาแพง และนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงามอีกด้ว.

ปลาฉลามครีบดำและปลาฉลามน้ำจืด · ปลาฉลามครีบดำและอันดับปลาฉลามครีบดำ · ดูเพิ่มเติม »

เลินนาร์ด คอมเพจโน

ลินนาร์ด โจเซฟ วิคเตอร์ คอมเพจโน หรือ เลินนาร์ด คอมเพจโน (Leonard Joseph Victor Compagno, Leonard Compagno) นักมีนวิทยาชาวอเมริกัน ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะเรื่องของปลาฉลาม ดร.คอมเพจโนจบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เมื่อปี ค.ศ. 1979 ด้วยทุนการศึกษาของสถาบัน รวมถึงได้รับการทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดด้วย เป็นอาจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยซานฟรานซิสโกสเตท ระหว่างปี ค.ศ. 1979 ถึงปี ค.ศ. 1985 ดร.คอมเพจโน ปัจจุบันเป็นหัวหน้าของศูนย์การวิจัยปลาฉลาม และภัณฑารักษ์ด้านปลา ของพิพิธภัณฑ์อิซิโกแอฟริกาใต้ ที่เคปทาวน์ เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลเกี่ยวกับปลาฉลาม เป็นผู้เชี่ยวชาญในระดับแนวหน้าของโลกเกี่ยวกับระบบร่างกาย การเปลี่ยนรูปร่างวิวัฒนาการซากดึกดำบรรพ์, สัตวภูมิศาสตร์ และความหลากหลายทางประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการอนุรักษ์ปลาฉลาม เป็นรองประธานภูมิภาคกรรมการปลาฉลามของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้านการวิจัยสำหรับกองประมงขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ของสหประชาชาติ มีผลงานตีพิมพ์ยอดนิยมกว่า 200 เอกสารบทความ, รายงาน, เว็บไซต์, หนังสือและบทความต่าง ๆ เกี่ยวกับปลาฉลามและปลากระดูกอ่อนต่าง ๆ ในด้านการอนุกรมวิธาน เป็นหนึ่งในผู้อนุกรมวิธานปลากระเบนขาว (Himantura signifer) ซึ่งเป็นปลากระเบนน้ำจืดที่พบได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้ว.

ปลาฉลามน้ำจืดและเลินนาร์ด คอมเพจโน · อันดับปลาฉลามครีบดำและเลินนาร์ด คอมเพจโน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปลาฉลามน้ำจืดและอันดับปลาฉลามครีบดำ

ปลาฉลามน้ำจืด มี 31 ความสัมพันธ์ขณะที่ อันดับปลาฉลามครีบดำ มี 14 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 9, ดัชนี Jaccard คือ 20.00% = 9 / (31 + 14)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปลาฉลามน้ำจืดและอันดับปลาฉลามครีบดำ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »