โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคและปลาฉลาม

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคและปลาฉลาม

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค vs. ปลาฉลาม

ั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค (ชั้นย่อย: Elasmobranchii) เป็นชั้นย่อยของปลาในชั้นปลากระดูกอ่อน เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ปลาในชั้นนี้มีวิวัฒนาการมาจากยุคดีโวเนียนยุคต้น (เมื่อ 400 ล้านปีก่อน) จนถึงปัจจุบัน ลักษณะสำคัญของปลาในชั้นนี้คือ ไม่มีถุงลมช่วยในการว่ายน้ำ มีช่องเหงือกทั้งหมด 5-7 คู่เปิดออกสู่ภายนอกเพื่อใช้ในการหายใจ ครีบหลังแข็งมีเกล็ดแบบสาก มีฟันที่แข็งแรงหลายชุดในปาก ปากอยู่ต่ำลงมาทางด้านท้อง มีขากรรไกรที่ไม่เชื่อมติดกับกะโหลก และเมื่อเจริญเติบโตขึ้นกระดูกอ่อนจะแทนที่ด้วยกระดูกสันหลัง รูจมูกทั้ง 2 ข้างไม่ทะลุเข้าช่องปาก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมอง 10 คู่ มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศด้วยการปฏิสนธิภายใน โดยที่ออกลูกเป็นตัว ตัวอ่อนเจริญในท่อรังไข่ เพศผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นแท่ง 1 คู่ซึ่งวิวัฒนาการมาจากครีบ อยู่บริเวณกระดูกเชิงกราน บริเวณครีบท้อง ใช้สำหรับผสมพันธุ์และปล่อยอสุจิ ขณะที่เพศเมียจะมีช่องคลอด เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก. ปลาฉลาม (ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Selachimorpha) เป็นปลาในชั้นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมเพรียวยาว ส่วนใหญ่มีซี่กรองเหงือก 5 ซี่ ครีบทุกครีบแหลมคม ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก มีจุดเด่นคือ ส่วนหัวและจะงอยปากแหลมยาว ปากเว้าคล้ายพระจันทร์เสี้ยวภายในมีฟันแหลมคม ปลาฉลามทุกชนิดเป็นปลากินเนื้อ มักล่าสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ กินเป็นอาหาร แต่ก็มีฉลามบางจำพวกที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เช่น ปลาฉลามในอันดับ Orectolobiformes ได้แก่ ปลาฉลามวาฬ, ปลาฉลามในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามเมกาเมาท์ (Megachasma pelagios) และปลาฉลามอาบแดด (Cetorhinus maximus) แต่ปลาฉลามบางสกุลในอันดับ Lamniformes เช่น ปลาฉลามมาโก (Isurus spp.) และปลาฉลามในอันดับ Carcharhiniformes มีรูปร่างเพรียวยาว ว่ายน้ำได้ปราดเปรียว โดยอาจทำความเร็วได้ถึง 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง เช่น ซึ่งฉลามในอันดับนี้ หลายชนิดเป็นปลาที่ดุร้าย อาจทำร้ายมนุษย์หรือกินสิ่งต่าง ๆ ถึงแม้จะไม่ใช่อาหารได้ด้วย ฉลามในอันดับนี้ได้แก่ ปลาฉลามขาว (Carcharodon carcharias), ปลาฉลามเสือ (Galeocerdo cuvier), ปลาฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas) เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ยังมีปลาฉลามที่มีรูปร่างประหลาดและพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากปลาฉลามส่วนใหญ่ อาทิ ปลาฉลามเสือดาว (Stegostoma fasciatum), ปลาฉลามกบ (Chiloscyllium spp.) ที่อยู่ในอันดับ Orectolobiformes ซึ่งเป็นปลาฉลามที่ไม่ดุร้าย มักหากินและอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล มีครีบหางโดยเฉพาะครีบหางตอนบนแหลมยาวและมีขนาดใหญ่ และมักมีสีพื้นลำตัวเป็นลวดลายหรือจุดต่าง ๆ เพื่อพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือ ปลาฉลามโบราณ (Chlamydoselachus anguineus) ที่อยู่ในอันดับ Hexanchiformes ที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล เป็นปลาน้ำลึกที่หาได้ยากมาก ๆ และเดิมเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว ปลาฉลามโดยมากเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ในตัวผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นติ่งยื่นยาวออกมาหนึ่งคู่เห็นได้ชัด ซึ่งเรียกว่า "เดือย" หรือ "Clasper" ในภาษาอังกฤษ แต่ก็มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่ โดยมากแล้วเป็นปลาทะเล อาศัยอยู่ในทะเลทั้งเขตอบอุ่นและขั้วโลก มีเพียงบางสกุลและบางชนิดเท่านั้น ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อาทิ ปลาฉลามแม่น้ำ (Glyphis spp.) ที่เป็นปลาฉลามน้ำจืดแท้ โดยมีวงจรชีวิตอยู่ในน้ำจืดตลอดทั้งชีวิต และปลาฉลามหัวบาตร หรือ ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus) ที่มักหากินตามชายฝั่งและปากแม่น้ำ ซึ่งอาจปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดสนิทได้.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคและปลาฉลาม

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคและปลาฉลาม มี 16 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์อวัยวะเพศอันดับปลาฉลามฟันเลื่อยอันดับปลาฉลามกบอันดับปลาฉลามหลังหนามอันดับปลาฉลามหัววัวอันดับปลาฉลามขาวอันดับปลาฉลามครุยอันดับปลาฉลามครีบดำปลากระดูกอ่อนปลากระเบนปลาฉลามนางฟ้าปลาฉนาก

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค · การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และปลาฉลาม · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคและสัตว์ · ปลาฉลามและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคและสัตว์มีแกนสันหลัง · ปลาฉลามและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคและสปีชีส์ · ปลาฉลามและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อวัยวะเพศ

อวัยวะเพศ (sex organ) หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ (reproductive organ, primary sex organ, primary sexual characteristic) เป็นโครงสร้างทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตที่มีความซับซ้อน และเป็นส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์ อวัยวะที่เห็นได้จากด้านนอกในเพศหญิงและชายเรียกว่าเป็น อวัยวะเพศปฐมภูมิ หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ (genitals, genitalia) ส่วนอวัยวะภายในเรียกว่าเป็น อวัยวะเพศทุติยภูมิ หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ภายใน ลักษณะที่เริ่มเกิดขึ้นในวัยเริ่มเจริญพันธุ์ เช่น ขนหัวหน่าวในผู้หญิงและผู้ชาย และหนวดในผู้ชาย เรียกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเพศทุติยภูมิ (secondary sex characteristics) มอสส์, เฟิร์น และพืชบางชนิดที่คล้ายกันมีอับเซลล์สืบพันธุ์ (gametangia) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแกมีโทไฟต์ (gametophyte) ดอกไม้ของพืชดอกสร้างละอองเรณูและเซลล์ไข่ ทว่าอวัยวะเพศอยู่ข้างในแกมีโทไฟต์ภายในละอองเรณูและออวุล (ovule) พืชจำพวกสนก็ผลิตโครงสร้างการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศข้างในแกมีโทไฟต์ภายในลูกสนและละอองเรณู โดยลูกสนและละอองเรณูเองไม่ใช่อวัยว.

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคและอวัยวะเพศ · ปลาฉลามและอวัยวะเพศ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาฉลามฟันเลื่อย

ปลาฉลามฟันเลื่อย (Sawsharks, Sawfishes) เป็นอันดับของปลากระดูกอ่อนอันดับหนึ่ง ในชั้นย่อยปลาฉลาม ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pristiophoriformes มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับปลาฉนาก (Pristiformes) ซึ่งเป็นปลากระดูกอ่อนเช่นเดียวกัน หากแต่ถูกจัดให้อยู่ในชั้นย่อยปลากระเบน (Batoidea) คือ มีจุดเด่น มีอวัยวะที่ยื่นออกมาเป็นกระดูกแข็งจากส่วนหน้าที่มีลักษณะแบนราบแต่มีหนามแหลมอยู่ข้าง ๆ เป็นซี่ ๆ คล้ายฟันเลื่อยหรือกระบองแข็ง แต่ต่างจากปลาฉนากตรงที่มีหนวดยาวอยู่ 2 เส้นอยู่ด้วย และมีซี่กรองเหงือกอยู่หลังตาเหมือนปลาในชั้นย่อยปลาฉลาม มีครีบหลัง 2 ครีบ และครีบก้น แบ่งออกได้เป็น 2 สกุล คือ Pliotrema ซึ่งมีซี่กรองเหงือก 6 ช่อง กับ Pristiophorus มีซี่กรองเหงือก 5 ช่อง เหมือนเช่นปลาฉลามทั่วไป มีความเต็มที่ประมาณ 170 เซนติเมตร ปลาฉลามฟันเลื่อย พบกระจายพันธุ์อยู่ตามพื้นทะเล ในเขตของทะเลญี่ปุ่น, แอฟริกาใต้ จนถึงแอฟริกาใต้ มีพฤติกรรมความเป็นอยู่ทั่วไปคล้ายกับปลาฉนาก โดยหากินสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ ตามหน้าดินและปลาต่าง ๆ เป็นอาหาร ออกลูกเป็นตัว อยู่ในความลึกตั้งแต่ 40 เมตรจนถึงลึกกว่านั้น โดยคำว่า Pristis เป็นภาษากรีกแปลว่า "เลื่อย" รวมกับคำว่า pherein แปลว่า "เพื่อนำมา".

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคและอันดับปลาฉลามฟันเลื่อย · ปลาฉลามและอันดับปลาฉลามฟันเลื่อย · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาฉลามกบ

อันดับปลาฉลามกบ (Carpet shark, อันดับ: Orectolobiformes) เป็นอันดับของปลากระดูกอ่อนอันดับหนึ่ง อยู่ในชั้นปลาฉลาม ใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Orectolobiformes มีลักษณะโดยรวม คือ มีครีบหลัง 2 อัน ไม่มีหนามแข็งที่ครีบหลัง มีครีบหลัง 2 ครีบ มีครีบก้น ปากเล็กอยู่ทางด้านล่าง มีหนวดอยู่ทางด้านหน้าของปาก มีร่องเชื่อมระหว่างจมูกและปาก เรียกว่าโอโรนาซัล กรูฟ หรือ นาโซรัล กรูฟ มีช่องดึงน้ำเข้าจากทางด้านบนบริเวณหลังตา ตั้งแต่ขนาดใหญ่จนถึงขนาดเล็กอยู่ด้านหลังของตา ยกเว้นบางชนิดที่มีช่องเปิดเหงือก 5 ช่อง โดยที่ช่องที่ 4 และช่องที่ 5 อยู่หลังจุดเริ่มต้นของครีบหู ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณพื้นท้องน้ำ ชอบหลบอยู่ระหว่างก้อนหินหรือสาหร่ายหรือแนวปะการัง แต่บางชนิดก็กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร มีทั้งหมด 43 ชนิด ใน 13 สกุล แบ่งออกเป็น 7 วงศ์ ได้แก.

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคและอันดับปลาฉลามกบ · ปลาฉลามและอันดับปลาฉลามกบ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาฉลามหลังหนาม

อันดับปลาฉลามหลังหนาม (Dogfish shark, วงศ์: Squaliformes) เป็นอันดับของปลากระดูกอ่อนในชั้นปลาฉลามอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Squaliformes มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวเป็นรูปทรงกระบอก ส่วนหัวเป็นรูปกรวยไม่แผ่ออกทางด้านข้าง ช่องรับน้ำด้านหลังตามีขนาดเล็กจนถึงมีขนาดใหญ่ จมูกและปากไม่มีร่องเชื่อมติดต่อกัน ตาอยู่ทางด้านข้างของส่วนหัว ปากค่อนข้างกว้างและโค้ง มีหนังที่บริเวณมุมปาก ฟันมีขนาดค่อนข้างใหญ่มีหลายขนาด มีครีบหลัง 2 ตอน ด้านหน้าครีบหลังอาจมีหรือไม่มีหนามแข็งหน้าครีบหลัง ไม่มีครีบก้น ส่วนใหญ่เป็นปลาฉลามที่มีขนาดเล็ก แบ่งออกได้เป็น 7 วงศ์ 97 ชน.

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคและอันดับปลาฉลามหลังหนาม · ปลาฉลามและอันดับปลาฉลามหลังหนาม · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาฉลามหัววัว

อันดับปลาฉลามหัววัว (อันดับ: Heterodontiformes) เป็นอันดับของปลาในชั้นปลากระดูกอ่อน ในชั้นย่อยปลาฉลามจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Heterodontiformes รูปร่างโดยรวมของปลาฉลามในอันดับนี้ คือ มีช่องเปิดเหงือก 3 ช่องสุดท้ายอยู่เหนือจุดเริ่มต้นของครีบอก ช่องรับน้ำมีขนาดเล็กอยู่ทางด้านหลังของตา ไม่มีหนวด มีร่องลึกเชื่อมระหว่างจมูกกับปาก แผ่นเนื้อที่อยู่ทางด้านหน้าของปากยาวถึงปาก ไม่มีแผ่นหนังปิดตา มีส่วนหัวที่เป็นทรงสี่เหลี่ยมและสั้นคล้ายกับส่วนหัวของวัวอันเป็นที่มาของชื่อเรียก มีครีบหลัง 2 ครีบ ซึ่งมีเงี่ยงที่มีรายงานว่ามีพิษ เป็นปลาฉลามขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 1.50 เซนติเมตร อาศัยและหากินตามพื้นทะเล และเป็นปลาที่ถือกำเนิดขึ้นในยุคจูแรซซิก ออกลูกเป็นไข่ ไข่มีลักษณะคล้ายกับเกลียวที่เปิดจุกไวน์มีสีคล้ำ ตามกอสาหร่าย ไข่บางส่วนจะถูกกระแสน้ำซัดขึ้นไปเกยหาดไม่มีโอกาสฟักเป็นตัว ในส่วนที่ฟักเป็นตัวจะใช้เวลาประมาณ 9 เดือน.

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคและอันดับปลาฉลามหัววัว · ปลาฉลามและอันดับปลาฉลามหัววัว · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาฉลามขาว

อันดับปลาฉลามขาว (Mackerel shark) เป็นอันดับของปลากระดูกอ่อนในชั้นปลาฉลามอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อว่า Lamniformes มีลักษณะโดยรวม คือ มีช่องเปิดเหงือกด้านละ 5 ช่อง ช่องเปิดเหงือกช่องที่ 4 และช่องที่ 5 อยู่เหนือฐานของครีบอก ไม่มีช่องรับน้ำบริเวณด้านหลังของตาหรือถ้ามีจะมีขนาดเล็ก จมูกไม่มีหนวด และไม่มีร่องเชื่อมระหว่างจมูก และปาก nตาอยู่ทางด้านข้างของส่วนหัวเยื้องขึ้นมาทางด้านบนเล็กน้อย ครีบหลังทั้งสองครีบไม่มีหนามแข็งอยู่ทางด้านหน้า มีครีบหลัง 2 ครีบ มีครีบก้น ปากกว้างเป็นแบบพระจันทร์เสี้ยวมุมปากอยู่ทางด้านหลังของตา จะงอยปากแหลมเป็นรูปกรวย มีทั้งหมดทั้งสิ้น 7 วงศ์ 60 ชนิดที่ยังคงมีชีวิตมาจนถึงปัจจุบันนี้.

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคและอันดับปลาฉลามขาว · ปลาฉลามและอันดับปลาฉลามขาว · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาฉลามครุย

อันดับปลาฉลามครุย (อันดับ: Hexanchiformes, Frilled shark, Cow shark) เป็นอันดับของปลาในชั้นปลากระดูกอ่อนอันดับหนึ่ง ในชั้นย่อยปลาฉลาม ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hexanchiformes มีลักษณะแตกต่างจากปลาฉลามในอันดับอื่น คือ มีเหงือกและช่องเหงือก 6 หรือ 7 ช่องในแต่ละด้าน ซึ่งปลาฉลามที่ส่วนใหญ่มีเพียงแค่ 5 และไม่มีเยื่อหุ้มตา มีเพียงครีบหลังครีบเดียว เป็นปลาฉลามที่ถือกำเนิดมาจากในยุคจูราซซิค แบ่งออกเป็น 3 วงศ์ (ดูในตาราง) อาศัยอยู่ในเขตน้ำลึก ปัจจุบันเหลือเพียงแค่ 6 ชนิด เพราะได้สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีหลักฐานเป็นฟอสซิล ซึ่งปลาฉลามในอันดับนี้ที่ได้ปรากฏมาและเป็นที่ฮือฮาในเขตทะเลญี่ปุ่น คือ ปลาฉลามครุย (Chlamydoselachus anguineus) ที่มีลำตัวเรียวยาวคล้ายปลาไหล และมีปากที่กว้างมาก.

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคและอันดับปลาฉลามครุย · ปลาฉลามและอันดับปลาฉลามครุย · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาฉลามครีบดำ

อันดับปลาฉลามครีบดำ (Ground shark) เป็นอันดับของปลากระดูกอ่อนในชั้นย่อยปลาฉลาม ใช้ชื่ออันดับว่า Carcharhiniformes มีลักษณะโดยรวม คือ มีครีบหลังสองตอน ไม่มีหนามแข็งหน้าครีบหลัง มีช่องเปิดเหงือกห้าช่องอยู่ทางด้านข้างของส่วนหัว ส่วนใหญ่มีช่องรับน้ำขนาดเล็กอยู่หลังตา หรือบางชนิดไม่มี ไม่มีหนวดที่จมูก ไม่มีร่องเชื่อมระหว่างจมูกและปาก ไม่มีแผ่นหนังบริเวณมุมปาก ปากมีขนาดใหญ่ กว้าง โค้งแบบพระจันทร์เสี้ยว ฟันมีหลายรูปแบบด้านหน้าเป็นแบบฟันเขี้ยวแหลมคมทางตอนท้ายมักเป็นฟันบด ช่องที่ 3-5 มักอยู่เหนือฐานครีบอก ไม่มีซี่กรองเหงือก ตามีหนังหุ้ม ลำไส้เป็นแบบบันไดวน หรือ แบบม้วน สามารถแบ่งออกได้เป็น 8 วงศ์ คือ.

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคและอันดับปลาฉลามครีบดำ · ปลาฉลามและอันดับปลาฉลามครีบดำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดูกอ่อน

ปลากระดูกอ่อน (ชั้น: Chondrichthyes; Cartilaginous fish) เป็นชั้นของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีโครงสร้างกระดูกประกอบไปด้วยเซลล์กระดูกอ่อนอย่างเดียว โดยมีหินปูนมาประกอบเป็นบางส่วน ส่วนมากมีเหงือกแยกออกเป็นช่อง 5 ช่อง มีเกล็ดแบบพลาคอยด์ ที่จะไม่โตไปตามตัว มีลักษณะสากเมื่อสัมผัส ตัวผู้มีรยางค์เพศที่ครีบท้องเป็นติ่งยื่นเรียก แคลสเปอร์ หรือที่ในภาษาไทยเรียก เดือย โดยมากจะออกลูกเป็นตัว ขากรรไกรแยกออกจากกะโหลก ปลาจำพวกนี้พบทั่วโลกประมาณ 800 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ ส่วนมากเป็นปลาทะเล ในน้ำจืดมีเพียงไม่กี่สิบชนิด มีหลายอันดับ หลายวงศ์ หลายสกุล โดยปลาในกลุ่มปลากระดูกอ่อนนี้ที่รู้จักกันดี ก็ได้แก่ ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน เป็นต้น ปลากระดูกอ่อนส่วนใหญ่มีรูปร่างเรียวยาว ยกเว้น ปลากระเบน ที่มีรูปร่างแบน ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เช่น ปลากระเบนน้ำจืด มีขนาดแตกต่างกันตามแต่ละสกุล แต่ละชนิด ตั้งแต่มีความยาวเพียงไม่ถึงหนึ่งฟุต จนถึง 20 เมตร หนักถึง 34 ตัน คือ ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก.

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคและปลากระดูกอ่อน · ปลากระดูกอ่อนและปลาฉลาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบน

ปลากระเบน คือ ปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่งที่อยู่ในชั้นย่อยอีลาสโมแบรนชิไอ (Elasmobranchii) ในอันดับใหญ่ที่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Batoidea หรือ Rajomorphii มีประมาณ 400 ชนิด พบได้ทั้งน้ำจืดสนิท, น้ำกร่อย และทะเล มีรูปร่างแบนราบ ครีบทั้งหมดอยู่ชิดติดกับลำตัวด้านข้าง มีท่อน้ำออก 1 คู่ อยู่ด้านหลังของหัว ซึ่งทำหน้าที่ให้น้ำผ่านเข้าทางเพื่อไหลเวียนผ่านเหงือกเพื่อการหายใจ ซึ่งจะไม่ไหลเวียนผ่านปากซึ่งอยู่ด้านล่างลำตัว เหมือนปลากระดูกอ่อนหรือปลากระดูกแข็งจำพวกอื่น หากินบริเวณพื้นน้ำ ในปากไม่มีฟันแหลมคมเหมือนปลาฉลาม ดังนั้นการกินอาหารจึงค่อยเป็นค่อยไป ด้วยการเคี้ยวอย่างช้า ๆ ซึ่งอาหารส่วนมากก็ได้แก่ หอย, กุ้ง, ปู หรือปลาขนาดเล็กตามพื้นน้ำ เป็นส่วนใหญ่ แบ่งออกได้เป็น 4 อันดับ (ดูในตาราง) ซึ่งก็แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์, หลายสกุล ขนาดแตกต่างหลากหลายไปตามสกุลและชนิด กระจายไปตามเขตอบอุ่นทั่วโลก เช่น วงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) รูปร่างค่อนข้างกลม จะงอยปากแหลม หางยาวคล้ายแส้ มีเงี่ยงแหลมคม ที่มีพิษบริเวณโคนหาง 1-2 ชิ้น ที่เมื่อหักไปแล้วสามารถงอกใหม่ได้, วงศ์ปลากระเบนนก (Myliobatidae) มีส่วนหัวโหนก ครีบด้านข้างแยกออกจากส่วนหัวเห็นได้ชัดเจน และครีบขยายออกด้านข้างเสมือนกับปีกของนก ปลายแหลม ใช้สำหรับว่ายน้ำในลักษณะโบกโบยเหมือนนกบินในทะเล ส่วนปลากระเบนไฟฟ้า พบเฉพาะในทะเล มีขนาดเล็ก มีรูปร่างต่างไปจากปลากระเบนจำพวกอื่น ๆ ที่โคนหางไม่มีเงี่ยง และสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อป้องกันตัวและล่าเหยื่อได้ด้วย ปลากระเบน เป็นปลาที่มนุษย์ผูกพันมาตั้งแต่อดีต ด้วยการใช้เนื้อในการรับประทาน สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ เช่น ผัดเผ็ด, ผัดขี้เมา หรือผัดฉ่า เช่นเดียวกับปลาฉลามได้ ในปลากระเบนบางวงศ์ เช่น วงศ์ปลากระเบนหางสั้น (Potamotrygonidae) มีลำตัวกลมเหมือนจานข้าวหรือแผ่นซีดี จะงอยปากไม่แหลม มีส่วนหางที่สั้น มีถิ่นกำเนิดเฉพาะในแม่น้ำของทวีปอเมริกาใต้ มีสีสันและลวดลายตามลำตัวสวยงาม และสามารถแพร่ขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้ง่าย จึงนิยมเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์กันเป็นปลาสวยงาม นอกจากนี้แล้ว ปลากระเบนส่วนมากจะมีเกล็ดเป็นตุ่มแข็งบริเวณกลางหลัง ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ผลิตเป็นเครื่องหนัง เช่น กระเป๋า ได้ นอกจากนี้แล้วยังนำไปทำเป็นเครื่องประดับเช่น แหวน เป็นต้น.

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคและปลากระเบน · ปลากระเบนและปลาฉลาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามนางฟ้า

ปลาฉลามนางฟ้า (Angel shark) ปลากระดูกอ่อนทะเลจำพวกปลาฉลาม จัดอยู่ในอันดับ Squatiniformes วงศ์ Squatinidae ปลาฉลามนางฟ้า เป็นปลาฉลามที่มีลำตัวแบนราบคล้ายกับปลากระเบน แต่ไม่มีครีบก้น เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลเขตร้อน สามารถพบได้ในทะเลลึกถึง 1,300 เมตร (4,300 ฟุต) ปลาฉลามนางฟ้า เป็นปลาที่หากินตามพื้นทะเลทั้งพื้นทรายหรือพื้นโคลน โดยหาอาหารกินคล้ายกับปลากระเบน หรือปลาฉนาก ซึ่งเป็นปลากระดูกอ่อนเช่นเดียวกัน แต่ต่างอันดับและวงศ์กันออกไป อาหารได้แก่ ปลาขนาดเล็ก, หอย หรือครัสเตเชียน ปลาฉลามนางฟ้า มีความยาวประมาณ 1.5-2 เมตร เป็นปลาที่ออกลูกเป็นไข่ซึ่งไข่นั้นจะพัฒนาในช่องท้องของปลาตัวเมียจนคลอดออกมาเป็นตัวคราวละ 13 ตัว ลูกปลาจะได้รับอาหารจากไข่แดงที่อยู่ในฟอง.

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคและปลาฉลามนางฟ้า · ปลาฉลามและปลาฉลามนางฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉนาก

ปลาฉนาก (Sawfishes) เป็นปลาจำพวกหนึ่งของปลาในชั้นปลากระดูกอ่อน ใช้ชื่ออันดับว่า Pristiformes และวงศ์ Pristidae (โดยมาจากภาษากรีกโบราณคำว่า πρίστης, prístēs หมายถึง "เลื่อย" หรือ "ใบเลื่อย").

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคและปลาฉนาก · ปลาฉนากและปลาฉลาม · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคและปลาฉลาม

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค มี 45 ความสัมพันธ์ขณะที่ ปลาฉลาม มี 54 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 16, ดัชนี Jaccard คือ 16.16% = 16 / (45 + 54)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคและปลาฉลาม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »