โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาฉนากและปลาฉนากเขียว

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปลาฉนากและปลาฉนากเขียว

ปลาฉนาก vs. ปลาฉนากเขียว

ปลาฉนาก (Sawfishes) เป็นปลาจำพวกหนึ่งของปลาในชั้นปลากระดูกอ่อน ใช้ชื่ออันดับว่า Pristiformes และวงศ์ Pristidae (โดยมาจากภาษากรีกโบราณคำว่า πρίστης, prístēs หมายถึง "เลื่อย" หรือ "ใบเลื่อย"). ปลาฉนากเขียว (Green sawfish, Longcomb sawfish, Narrowsnout sawfish) ปลากระดูกอ่อนขนาดใหญ่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pristis zijsron ในวงศ์ปลาฉนาก (Pristidae) มีรูปร่างคล้ายปลาฉนากจะงอยปากกว้าง หรือ ปลาฉนากน้ำจืด (P. microdon) ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน มีจะงอยปากที่ยาวเป็น 1/3 ของความยาวลำตัวและหาง มีซี่ฟันทั้งหมด 24-34 คู่ ครีบหลังอันแรกคู่หลังครีบอก ครีบหางท่อนบนมีขนาดใหญ่ ขนาดโตเต็มที่ได้ 7.3 เมตร พบกระจายพันธุ์บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย, แอฟริกาตะวันออก, มหาสมุทรแปซิฟิคตอนใต้,ทะเลจีนใต้, ปาปัวนิวกินี และตอนเหนือและรัฐนิวเซาท์เวลส์ของประเทศออสเตรเลีย ในบริเวณน้ำขุ่นหรือดินเลน เป็นปลาฉนากอีกชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำกร่อย หรือน้ำจืดสนิทได้ ลูกปลาวัยอ่อนซี่ฟันจะไม่แข็งเหมือนปลาวัยโต และจะแข็งขึ้นเรื่อย ๆ ตามวั.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปลาฉนากและปลาฉนากเขียว

ปลาฉนากและปลาฉนากเขียว มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังประเทศออสเตรเลียปลากระดูกอ่อนปลาฉนากปลาฉนากจะงอยปากกว้าง

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค

ั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค (ชั้นย่อย: Elasmobranchii) เป็นชั้นย่อยของปลาในชั้นปลากระดูกอ่อน เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ปลาในชั้นนี้มีวิวัฒนาการมาจากยุคดีโวเนียนยุคต้น (เมื่อ 400 ล้านปีก่อน) จนถึงปัจจุบัน ลักษณะสำคัญของปลาในชั้นนี้คือ ไม่มีถุงลมช่วยในการว่ายน้ำ มีช่องเหงือกทั้งหมด 5-7 คู่เปิดออกสู่ภายนอกเพื่อใช้ในการหายใจ ครีบหลังแข็งมีเกล็ดแบบสาก มีฟันที่แข็งแรงหลายชุดในปาก ปากอยู่ต่ำลงมาทางด้านท้อง มีขากรรไกรที่ไม่เชื่อมติดกับกะโหลก และเมื่อเจริญเติบโตขึ้นกระดูกอ่อนจะแทนที่ด้วยกระดูกสันหลัง รูจมูกทั้ง 2 ข้างไม่ทะลุเข้าช่องปาก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมอง 10 คู่ มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศด้วยการปฏิสนธิภายใน โดยที่ออกลูกเป็นตัว ตัวอ่อนเจริญในท่อรังไข่ เพศผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นแท่ง 1 คู่ซึ่งวิวัฒนาการมาจากครีบ อยู่บริเวณกระดูกเชิงกราน บริเวณครีบท้อง ใช้สำหรับผสมพันธุ์และปล่อยอสุจิ ขณะที่เพศเมียจะมีช่องคลอด เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก.

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคและปลาฉนาก · ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคและปลาฉนากเขียว · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ปลาฉนากและสกุล (ชีววิทยา) · ปลาฉนากเขียวและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ปลาฉนากและสัตว์ · ปลาฉนากเขียวและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ปลาฉนากและสัตว์มีแกนสันหลัง · ปลาฉนากเขียวและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรเลีย

ออสเตรเลีย (Australia) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐออสเตรเลีย เป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย, เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่น ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ มันเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลกเมื่อนับพื้นที่ทั้งหมด ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินีและติมอร์-เลสเตทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเวลาอย่างน้อย 40,000 ปี ก่อนที่จะตั้งถิ่นฐานครั้งแรกของอังกฤษในศตวรรษที่ 18,Davison, Hirst and Macintyre, pp.

ประเทศออสเตรเลียและปลาฉนาก · ประเทศออสเตรเลียและปลาฉนากเขียว · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดูกอ่อน

ปลากระดูกอ่อน (ชั้น: Chondrichthyes; Cartilaginous fish) เป็นชั้นของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีโครงสร้างกระดูกประกอบไปด้วยเซลล์กระดูกอ่อนอย่างเดียว โดยมีหินปูนมาประกอบเป็นบางส่วน ส่วนมากมีเหงือกแยกออกเป็นช่อง 5 ช่อง มีเกล็ดแบบพลาคอยด์ ที่จะไม่โตไปตามตัว มีลักษณะสากเมื่อสัมผัส ตัวผู้มีรยางค์เพศที่ครีบท้องเป็นติ่งยื่นเรียก แคลสเปอร์ หรือที่ในภาษาไทยเรียก เดือย โดยมากจะออกลูกเป็นตัว ขากรรไกรแยกออกจากกะโหลก ปลาจำพวกนี้พบทั่วโลกประมาณ 800 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ ส่วนมากเป็นปลาทะเล ในน้ำจืดมีเพียงไม่กี่สิบชนิด มีหลายอันดับ หลายวงศ์ หลายสกุล โดยปลาในกลุ่มปลากระดูกอ่อนนี้ที่รู้จักกันดี ก็ได้แก่ ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน เป็นต้น ปลากระดูกอ่อนส่วนใหญ่มีรูปร่างเรียวยาว ยกเว้น ปลากระเบน ที่มีรูปร่างแบน ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เช่น ปลากระเบนน้ำจืด มีขนาดแตกต่างกันตามแต่ละสกุล แต่ละชนิด ตั้งแต่มีความยาวเพียงไม่ถึงหนึ่งฟุต จนถึง 20 เมตร หนักถึง 34 ตัน คือ ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก.

ปลากระดูกอ่อนและปลาฉนาก · ปลากระดูกอ่อนและปลาฉนากเขียว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉนาก

ปลาฉนาก (Sawfishes) เป็นปลาจำพวกหนึ่งของปลาในชั้นปลากระดูกอ่อน ใช้ชื่ออันดับว่า Pristiformes และวงศ์ Pristidae (โดยมาจากภาษากรีกโบราณคำว่า πρίστης, prístēs หมายถึง "เลื่อย" หรือ "ใบเลื่อย").

ปลาฉนากและปลาฉนาก · ปลาฉนากและปลาฉนากเขียว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉนากจะงอยปากกว้าง

ปลาฉนากจะงอยปากกว้าง หรือ ปลาฉนากน้ำจืด (Largetooth sawfish, Freshwater sawfish) เป็นปลากระดูกอ่อน ในวงศ์ปลาฉนาก (Pristidae) เป็นปลากระดูกอ่อน รูปร่างคล้ายปลาฉลาม มีลักษณะเด่นคือ จะงอยปากที่แหลมยาว มีกระดูกแข็งรอบ ๆ จะงอยแลดูคล้ายฟันเลื่อย มีความยาวได้ถึง 2 นิ้ว มีความคม มีจำนวนประมาณ 14–24 แถว ขนาดเมื่อโตเต็มที่ราว 6 เมตร หนักได้ถึง 600 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้าง โดยพบได้ตั้งแต่แอฟริกาตะวันออก, อินเดียทางตอนเหนือ, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, อิเรียนจายา, ปาปัวนิวกินี ไปจนถึงออสเตรเลียทางตอนเหนือบริเวณรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ปลาฉนากจะงอยปากกว้าง เป็นปลาทะเลที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดได้ สามารถพบในเขตน้ำจืดได้ เช่นที่ ปากแม่น้ำคงคา, ปากแม่น้ำโขง, แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำฟริซต์รอย สำหรับในประเทศไทยเคยมีผู้พบไกลถึงบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ในปี ค.ศ. 1957 การเข้ามาในน้ำจืดของปลาฉนากจะงอยปากกว้าง นักวิทยาศาสตร์ที่ทำการวิจัยด้วยการติดแทคที่ตัวปลาเชื่อว่า ปลาเข้ามาเพื่อขยายพันธุ์ เพราะในน้ำจืดมีสัตว์นักล่าและอันตรายน้อยกว่าในทะเล จนกระทั่งปลามีความยาวได้ 8–9 ฟุต หรืออายุราว 5 ปี จึงจะค่อยว่ายออกทะเลไป ในออสเตรเลียทางตอนเหนือ ปลาฉนากจะงอยปากกว้างจะว่ายน้ำเข้ามาในแม่น้ำที่เป็นน้ำจืดไกลถึง 200 ไมล์ ในถิ่นที่เป็นแดนทุรกันดาร และถึงแม้จะเป็นช่วงฤดูแล้งที่ระดับน้ำลดลงอย่างมากก็ตาม พฤติกรรมของปลาชนิดนี้ คือ มักหากินบริเวณหน้าดินที่มีดินเลนค่อนข้างขุ่นในเวลากลางคืน โดยอาหารได้แก่สัตว์น้ำมีกระดอง เช่น กุ้ง, ปู และหอย เป็นต้น โดยใช้จะงอยปากที่เหมือนใบเลื่อยนั้นไล่ตามและตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ และถึงแม้จะมีจะงอยปากยาวเหมือนเลื่อย แต่ปลาฉนากจะงอยปากกว้างก็ยังมีศัตรูตามธรรมชาติ โดยเฉพาะในออสเตรเลียทางตอนเหนือ ปลาฉนากที่นั่นพบว่ามีบาดแผลจากการถูกโจมตีโดยสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่ เช่น ปลาฉลามหัวบาตร หรือจระเข้น้ำจืดออสเตรเลีย โดยปลาที่พบในแม่น้ำฟริซต์รอยจำนวนร้อยละ 60 ที่มีบาดแผลเช่นนี้หน้า 10 ต่างประเทศ, ภาพสะท้อน 'ปลาฉนาก' อยู่ยากเจอจระเข้.

ปลาฉนากและปลาฉนากจะงอยปากกว้าง · ปลาฉนากจะงอยปากกว้างและปลาฉนากเขียว · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปลาฉนากและปลาฉนากเขียว

ปลาฉนาก มี 42 ความสัมพันธ์ขณะที่ ปลาฉนากเขียว มี 17 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 13.56% = 8 / (42 + 17)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปลาฉนากและปลาฉนากเขียว หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »