สารบัญ
26 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2541พาย (ค่าคงตัว)พีเอช (เคมี)วงศ์ย่อยปลากัดวงศ์ปลากัด ปลากระดี่สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นสีส้มอันดับปลากะพงจังหวัดนราธิวาสประเทศไทยปลากัดปลากัด (สกุล)ปลากัดช้างปลากัดหัวโม่งจันทบุรีปลากัดอมไข่กระบี่ปลากัดอมไข่สงขลาปลากัดปีนังปลากัดป่าภาคใต้ปลากัดป่ามหาชัยปลากัดเขียวปลาที่มีก้านครีบเพศชายเมตรเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พ.ศ. 2541
ทธศักราช 2541 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1998 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน.
พาย (ค่าคงตัว)
ัญลักษณ์ของพาย พาย หรือ ไพ (อักษรกรีก) เป็นค่าคงตัวทางคณิตศาสตร์ ที่เกิดจากความยาวเส้นรอบวงหารด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลม ค่า π มักใช้ในคณิตศาสตร์, ฟิสิกส์ และวิศวกรรม π เป็นอักษรกรีกที่ตรงกับตัว "p" ในอักษรละติน มีชื่อว่า "pi" (อ่านว่า พาย ในภาษาอังกฤษ แต่อ่านว่า พี ในภาษากรีก) บางครั้งเรียกว่า ค่าคงตัวของอาร์คิมิดีส (Archimedes' Constant) หรือจำนวนของลูดอล์ฟ (Ludolphine number หรือ Ludolph's Constant) ในเรขาคณิตแบบยุคลิด π มีนิยามว่าเป็นอัตราส่วนของเส้นรอบวงหารด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลม หรือเป็นอัตราส่วนของพื้นที่วงกลม หารด้วย รัศมียกกำลังกำลังสอง ในคณิตศาสตร์ชั้นสูงจะนิยาม π โดยใช้ฟังก์ชันตรีโกณมิติ เช่น π คือจำนวนบวก x ที่น้อยสุดที่ทำให้ sin (x).
ดู ปลากัดช้างและพาย (ค่าคงตัว)
พีเอช (เคมี)
ีเอช (pH ย่อมาจาก Potential of Hydrogen ion) เป็นค่าที่แสดงความเป็นกรดเป็นเบสของสารเคมีจากปฏิกิริยาของไฮโดรเจนไอออน (H+) สามารถทดสอบได้หลายวิธี โดยวิธีที่นิยมและง่ายสุดคือทดสอบด้วยกระดาษลิตมัสจากการเปลี่ยนสี สำหรับตัวเลขที่แสดงค่าพีเอช ถ้าพิจารณาอย่างง่ายที่อุณหภูมิห้อง ค่าเท่ากับ 7 แสดงว่าสารนั้นเป็นกลางไม่มีฤทธิ์เป็นกรดหรือเบส เช่น น้ำบริสุทธิ์ ถ้ามีค่าน้อยกว่า 7 แสดงว่าเป็นกรด และถ้ามากกว่า 7 แสดงว่าเป็น.
วงศ์ย่อยปลากัด
วงศ์ย่อยปลากัด (Fighting fish & Paradise fish) เป็นวงศ์ย่อยของปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ที่มีอวัยวะหายใจลักษณะคล้ายเขาวงกต ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macropodusinae เป็นปลาขนาดเล็ก เมื่อโตเต็มที่แล้วไม่เกินนิ้วมือของมนุษย์ จัดเป็นวงศ์ย่อยที่มีความหลากหลายที่สุดของวงศ์ใหญ่นี้ เป็นปลาที่มีสีสันสวยงาม โดยเฉพาะตัวผู้ จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยสมาชิกที่เป็นที่รู้จักกันดีของวงศ์ย่อยนี้ คือ ปลากัด มีพฤติกรรมการวางไข่ทั้งก่อหวอดและอมไข่ พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และเอเชียตะวันออก.
ดู ปลากัดช้างและวงศ์ย่อยปลากัด
วงศ์ปลากัด ปลากระดี่
วงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Labyrinth fishes, Gouramis, Gouramies) เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดวงศ์ใหญ่ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Osphronemidae (/ออฟ-โฟร-นิ-มิ-ดี้/) พบกระจายอย่างกว้างขวางตั้งแต่ภูมิภาคเอเชียใต้, อนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงเกาหลี โดยมากปลาที่อยู่ในวงศ์นี้จะมีลักษณะเป็นปลาขนาดเล็ก ลำตัวป้อมแบน เกล็ดสากเป็นแบบทีนอยด์ มีสีสันสวยงาม ตัวผู้มีขนาดใหญ่และสีสดสวยกว่าตัวเมีย ครีบอกคู่แรกเป็นเส้นยาวใช้สำหรับสัมผัส มีความสามารถพิเศษคือ มีอวัยวะช่วยในการหายใจอยู่ในเหงือก เรียกว่า "อวัยวะเขาวงกต" (Labyrinth organ) จึงทำให้สามารถฮุบอากาศจากบนผิวน้ำได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป จึงสามารถอยู่ในน้ำที่มีออกซิเจนต่ำได้ มักอยู่ในแหล่งน้ำนิ่งขนาดเล็ก เช่น ห้วย, หนอง, บึง, นาข้าว หรือ ร่องสวนมากกว่าแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น คลอง หรือ แม่น้ำ ในบางสกุล ตัวผู้จะใช้น้ำลายผสมกับอากาศเรียกว่า "หวอด" ก่อติดกันเป็นกลุ่มก้อนเพื่อวางไข่ และตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลรักษาไข่และตัวอ่อน เป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว ในบางชนิดตัวผู้เมื่อพบกันจะกัดกันจนตายกันไปข้าง ปลาในวงศ์นี้ส่วนใหญ่มีขนาดไม่เกิน 10 เซนติเมตร และมีสีสันสวยงาม จึงนิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่าบริโภค เป็นที่รู้จักกันดีเช่น ปลากัด (Betta spendens), ปลากระดี่นางฟ้า (Trichogaster trichopterus) ปลาพาราไดซ์ (Macropodus opercularis) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปลาบางชนิดเป็นปลาเศรษฐกิจที่นำมาบริโภคได้ เช่น ปลาสลิด (Trichogaster pectoralis) และปลาแรด (Osphronemus goramy) สำหรับปลาแรดซึ่งมีขนาดใหญ่ได้ถึง 90 เซนติเมตร และพบได้ทุกภาคในประเทศไทย ตลอดไปจนถึงมาเลเซียและอินโดนีเซี.
ดู ปลากัดช้างและวงศ์ปลากัด ปลากระดี่
สัตว์
ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.
สัตว์มีแกนสันหลัง
ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.
ดู ปลากัดช้างและสัตว์มีแกนสันหลัง
สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น
รองเท้านารีปีกแมลงปอ หรือ รองเท้านารีสุขะกูล (''Paphiopedilum sukhakulii'') เป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่นที่พบได้เฉพาะภูเขาหินทรายในป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 1,000-1,500 เมตร ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเท่านั้น''กล้วยไม้เมืองไทย'', รศ.ดร.
ดู ปลากัดช้างและสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น
สีส้ม
ีส้ม เป็นหนึ่งในกลุ่มสีโทนร้อน แสงสีส้มที่มองเห็นได้มีความยาวคลื่นราว 590 นาโนเมตร สีเพลิง เป็น รูปลักษณ์ของสีออกคล้ายสีแสด ซึ่งมีความเข้มกว่าสีส้ม.
อันดับปลากะพง
อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).
จังหวัดนราธิวาส
นราธิวาส เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นจังหวัดชายแดนใต้สุดของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลตะวันออกของแหลมมลายู ห่างจากกรุงเทพฯ ทางรถยนต์ประมาณ 1,149 กิโลเมตร โดยมีเนื้อที่ประมาณ 4,475.43 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,797,143.75 ไร่ ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดปัตตานีในเขตอำเภอสายบุรี อำเภอไม้แก่น และอ่าวไทย ทิศตะวันออกติดต่อกับอ่าวไทยและรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศใต้ติดต่อกับรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดยะลาในเขตอำเภอบันนังสตา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้และภูเขา 2 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด มีป่าพรุประมาณ 361,860 ไร่ ทางแถบทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดทิวเขาสันกาลาคีรีซึ่งเป็นแนวกั้นพรมแดนไทย-มาเลเซีย ลักษณะพื้นที่จะมีความลาดเอียงจากทิศตะวันตกไปสู่ทิศตะวันออก พื้นที่ราบส่วนใหญ่อยู่บริเวณติดกับอ่าวไทยและที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำ 4 สาย คือ แม่น้ำบางนรา แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำตากใบ และแม่น้ำโก-ลก มีประชากรจำนวน 796,239 คน แยกเป็นชาย 393,837 คน หญิง 402,402 คน โดยจังหวัดนราธิวาสมีศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการอุตสาหกรรมอยู่ที่อำเภอสุไหงโก-ลก ซึ่งเป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่และมีความเจริญกว่าตัวจังหวัดมาก.
ดู ปลากัดช้างและจังหวัดนราธิวาส
ประเทศไทย
ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.
ปลากัด
ปลากัด หรือ ปลากัดภาคกลาง เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae.
ปลากัด (สกุล)
ปลากัด (Fighting fishes) ชื่อสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง มีชื่อสกุลว่า Betta (/เบ็ท-ทา/) ในวงศ์ย่อย Macropodinae ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae.
ปลากัดช้าง
ปลากัดช้าง หรือ ปลากัดน้ำแดง ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างป้อมสั้น ครีบหลังยาว ครีบท้องเป็นเส้นยาว ครีบก้นยาว ปลายครีบเรียวยาว ครีบหางค่อนข้างใหญ่ หัวโต ปากกว้าง เกล็ดใหญ่ ส่วนหัวละลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนหรือสีน้ำตาลแดง มีลายใต้คางซึ่งมีลักษณะเหมือนสัญลักษณ์พาย (π) อันเป็นที่มาของชื่อวิทยาศาสตร์ ใต้ขอบตาเป็นสีส้มเข้มในตัวผู้ ครีบสีจางมีเหลือบสีเขียวอ่อน ปากสีคล้ำ มีรอยสีคล้ำเป็นรูปโค้งและมีแถบ 2 แถบติดกันที่ใต้คางและริมฝีปากล่าง นับเป็นหนึ่งในปลากัดอมไข่ ที่พบได้ในประเทศไทย จัดเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุด โดยสามารถโตเต็มที่ได้ถึง 12 เซนติเมตร แต่เฉลี่ยทั่วไป 9 เซนติเมตร ซึ่งนับว่าใหญ่ที่สุดด้วยในบรรดาปลากัดทั้งหมดที่พบในประเทศไทย พบในป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส ของประเทศไทย โดยอาศัยในน้ำที่มีสีชาหรือสีแดง อันเกิดจากการทับถมของซากพืชเป็นเวลานาน และมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างค่อนข้างต่ำ (ประมาณ pH 5-6) เป็นปลาที่ไม่ดุร้าย ก้าวร้าว เหมือนพวกปลากัดประเภทก่อหวอด จึงสามารถเลี้ยงรวมกันได้หลาย ๆ ตัว สถานภาพเป็นปลาที่ถูกคุกคามทางด้านถิ่นที่อยู่อาศัยในธรรมชาติ จัดเป็นปลาเฉพาะถิ่น ปัจจุบัน สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในสถานที่เลี้ยง.
ปลากัดหัวโม่งจันทบุรี
ปลากัดหัวโม่งจันทบุรี หรือ ปลากัดหัวโม่ง ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างคล้ายปลากัดภูเขา (B.
ดู ปลากัดช้างและปลากัดหัวโม่งจันทบุรี
ปลากัดอมไข่กระบี่
ปลากัดอมไข่กระบี่ หรือ ปลากัดหัวโม่งกระบี่ เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta simplex อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae เป็นปลากัดประเภทอมไข่ (Mouthbrooder) ชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย ปลาตัวผู้มีสีสันสวยงาม ครีบหลัง ครีบท้อง และครีบหางสีแดง ครีบท้องจะมีริมสีน้ำเงิน ปลาตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า หัวแหลมกว่า และสีสันไม่สวยงามเท่าตัวผู้ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 8 เซนติเมตร ปลากัดอมไข่กระบี่ เป็นปลาที่พบเฉพาะกอหญ้าริมลำธารที่น้ำไหลเอื่อย ๆ ซึ่งเป็นลำธารที่ไหลมาจากภูเขาหินปูนที่น้ำมีความกระด้างและมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 7.5–8.5 มีแคลเซียมคาร์บอเนตละลายสูง ในเขตจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียงเท่านั้น จัดเป็นปลาที่พบได้น้อยและถูกคุกคามถิ่นที่อยู่อาศัย แต่ปัจจุบัน สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในที่เลี้ยงโดยมนุษย์ชมปลากัดอมไข่ประบี่กับขุนเคย่ามเหลือง, คอลัมน์ Aqua Surveyโดย ธีรวัฒน์ อุทาพงษ์ หน้า 48-52.
ดู ปลากัดช้างและปลากัดอมไข่กระบี่
ปลากัดอมไข่สงขลา
ปลากัดอมไข่สงขลา หรือ ปลากัดสงขลา หรือ ปลากัดฟีร็อกซ์ ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) จัดเป็นปลากัดประเภทปลากัดอมไข่ชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย โดยพบครั้งแรกจากการสำรวจที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบในแหล่งน้ำที่มีกระแสน้ำไหลบนภูเขาอาศัยบริเวณรากไม้หรือใบไม้ใกล้ฝั่ง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6.3 เซนติเมตร (2.5 นิ้ว)ปลาตัวผู้จะไม่ก่อหวอดแต่จะอมไข่ไว้ในปากจนฟักเป็นตัว ทั้งนี้เชื่อว่าเป็นเพราะสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ คือ ลำธารที่น้ำไหลเชี่ยวแรงบนภูเขา พบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำบนภูเขาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทย พบได้เฉพาะภาคใต้เท่านั้น และพบได้เรื่อยไปในแหลมมลายูจนถึงรัฐปีนังในมาเลเซีย เป็นปลาที่หาได้ยากและใกล้จะสูญพันธุ์ โดยถูกลุกลํ้าพื้นที่ จนทำให้(ปลากัดอมไข่)หาดูได้ยากนัก โดยที่คำว่า ferox เป็นภาษาละติน หมายถึง "โหดเหี้ยม" หรือ "ป่าเถื่อน".
ดู ปลากัดช้างและปลากัดอมไข่สงขลา
ปลากัดปีนัง
ปลากัดปีนัง หรือ ปลากัดภูเขา (Penang betta) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) รูปร่างและคล้ายปลากัดทั่วไป แต่มีลำตัวป้อมใหญ่กว่า หัวโต ครีบหางใหญ่ ตัวผู้มีสีน้ำตาลคล้ำ ข้างแก้มสีฟ้าเหลือบเขียว เกล็ดมีจุดสีฟ้าเหลือบทั้งตัว ครีบสีน้ำตาลอ่อน ครีบหลังและครีบหางมีลายเส้นประสีคล้ำ ครีบก้นมีขอบดำ ตัวเมียสีน้ำตาลอ่อน และมีแถบสีคล้ำพาดตามแนวยาวของลำตัว ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5-7 เซนติเมตร พฤติกรรมของปลากัดชนิดนี้ ไม่เหมือนปลากัดจำพวกก่อหวอด อย่าง ปลากัดภาคกลาง (B.
ปลากัดป่าภาคใต้
ปลากัดป่าภาคใต้ หรือ ปลากัดภาคใต้ เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae มีลักษณะคล้ายปลากัดภาคกลาง (B.
ดู ปลากัดช้างและปลากัดป่าภาคใต้
ปลากัดป่ามหาชัย
ปลากัดป่ามหาชัย หรือ ปลากัดมหาชัย (Mahachai betta) เป็นปลาน้ำจืดจำพวกปลากัดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae).
ดู ปลากัดช้างและปลากัดป่ามหาชัย
ปลากัดเขียว
ปลากัดเขียว หรือ ปลากัดอีสาน เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างและพฤติกรรมคล้ายปลากัดภาคกลาง (B.
ปลาที่มีก้านครีบ
ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.
ดู ปลากัดช้างและปลาที่มีก้านครีบ
เพศชาย
ัญลักษณ์เพศชาย เพศชาย (♂) หรือเพศผู้ คือเพศหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ที่ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ขนาดเล็กที่เรียกว่า อสุจิ โดยตัวอสุจิสามารถรวมกับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงที่เรียกว่า เซลล์ไข่ เกิดขั้นตอนที่เรียกว่า การผสมพันธุ์ เพศชายไม่สามารถสืบพันธุ์ได้โดยปราศจากการเข้าถึงเซลล์ไข่ของเพศหญิงอย่างน้อย 1 เซลล์ แต่สิ่งมีชีวิตบางอย่างสามารถสืบพันธุ์ได้โดยอาศัยการสืบพันธุ์หรือไม่อาศัยการสืบพันธุ์ แต่ละสปีชีส์ไม่ได้มีระบบทางเพศที่เหมือนกัน ในมนุษย์และในสัตว์ส่วนใหญ่ การสืบพันธุ์ถือเป็นกลไกทางพันธุกรรมแต่ในบางสปีชีส์แล้วสามารถเกิดในจากทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่น.
เมตร
มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ.
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทางเดินศึกษาธรรมชาติ ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หรือ ป่าพรุโต๊ะแดง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ป่าพรุโต๊ะแดง หรือ ป่าพรุสิรินธร เป็นป่าพรุที่มีเนื้อที่มากที่สุดที่ยังเหลืออยู่ในประเทศไทย เนื้อที่ของป่ามีความกว้างประมาณ 8 กิโลเมตร และมีความยาวประมาณ 28 กิโลเมตร มีพื้นที่ครอบคลุมอาณาเขตของอำเภอตากใบ อำเภอสุไหงปาดี อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอเจาะไอร้อง และอำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส คิดเป็นเนื้อที่กว่า 125,625 ไร่ (แต่ส่วนที่สมบูรณ์จริง ๆ มีประมาณ 50,000 ไร่) มีแหล่งน้ำสำคัญ 3 สายไหลผ่าน คือ แม่น้ำบางนรา, คลองสุไหงปาดี และคลองโต๊ะแดง (อันเป็นที่มาของชื่อเรียก) ป่าแห่งนี้เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ป่าหลากหลายชนิด ซึ่งหลายชนิดอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ และพื้นที่รอบๆป่าก็เป็นพื้นที่เพาะปลูกข้าว ยาง และผลไม้ต่าง ๆ โดยมีศูนย์วิจัยและศึกษาพันธ์ป่าพรุสิรินธร ซึ่งตั้งอยู่ ณ ตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหงโกลก ใช้เวลาเดินทางจากตัวเมืองสุไหงโกลก ผ่านทางหลวงสายสุไหงโกลก - ตากใบ แล้วเลี้ยวซ้ายตรงแยกชวนันท์ ด้วยระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตรจากตัวเมืองสุไหงโกลก เดินศึกษาธรรมชาติยาวกว่า 1,200 เมตร ภายในศูนย์ฯมีเส้นทางเดินศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของป่าผ่าใจกลางป่าพรุ มีหอคอย และศูนย์บริการข้อมูล ตลอดจนซุ้มแสดงประวัติและข้อมูลขอลพืช พันธ์ และสัตว์ต่างๆในพื้นที่ป่าพรุโดยรอบ ใช้เวลาเดินประมาณ 45 - 60 นาที.
ดู ปลากัดช้างและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Betta piปลากัดน้ำแดง