โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลากัดและปลากัดอมไข่กระบี่

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปลากัดและปลากัดอมไข่กระบี่

ปลากัด vs. ปลากัดอมไข่กระบี่

ปลากัด หรือ ปลากัดภาคกลาง เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae. ปลากัดอมไข่กระบี่ หรือ ปลากัดหัวโม่งกระบี่ เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta simplex อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae เป็นปลากัดประเภทอมไข่ (Mouthbrooder) ชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย ปลาตัวผู้มีสีสันสวยงาม ครีบหลัง ครีบท้อง และครีบหางสีแดง ครีบท้องจะมีริมสีน้ำเงิน ปลาตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า หัวแหลมกว่า และสีสันไม่สวยงามเท่าตัวผู้ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 8 เซนติเมตร ปลากัดอมไข่กระบี่ เป็นปลาที่พบเฉพาะกอหญ้าริมลำธารที่น้ำไหลเอื่อย ๆ ซึ่งเป็นลำธารที่ไหลมาจากภูเขาหินปูนที่น้ำมีความกระด้างและมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 7.5–8.5 มีแคลเซียมคาร์บอเนตละลายสูง ในเขตจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียงเท่านั้น จัดเป็นปลาที่พบได้น้อยและถูกคุกคามถิ่นที่อยู่อาศัย แต่ปัจจุบัน สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในที่เลี้ยงโดยมนุษย์ชมปลากัดอมไข่ประบี่กับขุนเคย่ามเหลือง, คอลัมน์ Aqua Surveyโดย ธีรวัฒน์ อุทาพงษ์ หน้า 48-52.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปลากัดและปลากัดอมไข่กระบี่

ปลากัดและปลากัดอมไข่กระบี่ มี 17 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): วงศ์ย่อยปลากัดวงศ์ปลากัด ปลากระดี่สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังอันดับปลากะพงปลากัดปลากัด (สกุล)ปลากัดช้างปลากัดหัวโม่งจันทบุรีปลากัดอมไข่กระบี่ปลากัดอมไข่สงขลาปลากัดปีนังปลากัดป่าภาคใต้ปลากัดป่ามหาชัยปลากัดเขียวปลาที่มีก้านครีบเมตร

วงศ์ย่อยปลากัด

วงศ์ย่อยปลากัด (Fighting fish & Paradise fish) เป็นวงศ์ย่อยของปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ที่มีอวัยวะหายใจลักษณะคล้ายเขาวงกต ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macropodusinae เป็นปลาขนาดเล็ก เมื่อโตเต็มที่แล้วไม่เกินนิ้วมือของมนุษย์ จัดเป็นวงศ์ย่อยที่มีความหลากหลายที่สุดของวงศ์ใหญ่นี้ เป็นปลาที่มีสีสันสวยงาม โดยเฉพาะตัวผู้ จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยสมาชิกที่เป็นที่รู้จักกันดีของวงศ์ย่อยนี้ คือ ปลากัด มีพฤติกรรมการวางไข่ทั้งก่อหวอดและอมไข่ พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และเอเชียตะวันออก.

ปลากัดและวงศ์ย่อยปลากัด · ปลากัดอมไข่กระบี่และวงศ์ย่อยปลากัด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากัด ปลากระดี่

วงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Labyrinth fishes, Gouramis, Gouramies) เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดวงศ์ใหญ่ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Osphronemidae (/ออฟ-โฟร-นิ-มิ-ดี้/) พบกระจายอย่างกว้างขวางตั้งแต่ภูมิภาคเอเชียใต้, อนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงเกาหลี โดยมากปลาที่อยู่ในวงศ์นี้จะมีลักษณะเป็นปลาขนาดเล็ก ลำตัวป้อมแบน เกล็ดสากเป็นแบบทีนอยด์ มีสีสันสวยงาม ตัวผู้มีขนาดใหญ่และสีสดสวยกว่าตัวเมีย ครีบอกคู่แรกเป็นเส้นยาวใช้สำหรับสัมผัส มีความสามารถพิเศษคือ มีอวัยวะช่วยในการหายใจอยู่ในเหงือก เรียกว่า "อวัยวะเขาวงกต" (Labyrinth organ) จึงทำให้สามารถฮุบอากาศจากบนผิวน้ำได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป จึงสามารถอยู่ในน้ำที่มีออกซิเจนต่ำได้ มักอยู่ในแหล่งน้ำนิ่งขนาดเล็ก เช่น ห้วย, หนอง, บึง, นาข้าว หรือ ร่องสวนมากกว่าแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น คลอง หรือ แม่น้ำ ในบางสกุล ตัวผู้จะใช้น้ำลายผสมกับอากาศเรียกว่า "หวอด" ก่อติดกันเป็นกลุ่มก้อนเพื่อวางไข่ และตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลรักษาไข่และตัวอ่อน เป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว ในบางชนิดตัวผู้เมื่อพบกันจะกัดกันจนตายกันไปข้าง ปลาในวงศ์นี้ส่วนใหญ่มีขนาดไม่เกิน 10 เซนติเมตร และมีสีสันสวยงาม จึงนิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่าบริโภค เป็นที่รู้จักกันดีเช่น ปลากัด (Betta spendens), ปลากระดี่นางฟ้า (Trichogaster trichopterus) ปลาพาราไดซ์ (Macropodus opercularis) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปลาบางชนิดเป็นปลาเศรษฐกิจที่นำมาบริโภคได้ เช่น ปลาสลิด (Trichogaster pectoralis) และปลาแรด (Osphronemus goramy) สำหรับปลาแรดซึ่งมีขนาดใหญ่ได้ถึง 90 เซนติเมตร และพบได้ทุกภาคในประเทศไทย ตลอดไปจนถึงมาเลเซียและอินโดนีเซี.

ปลากัดและวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ · ปลากัดอมไข่กระบี่และวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ปลากัดและสัตว์ · ปลากัดอมไข่กระบี่และสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ปลากัดและสัตว์มีแกนสันหลัง · ปลากัดอมไข่กระบี่และสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ปลากัดและอันดับปลากะพง · ปลากัดอมไข่กระบี่และอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

ปลากัด

ปลากัด หรือ ปลากัดภาคกลาง เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae.

ปลากัดและปลากัด · ปลากัดและปลากัดอมไข่กระบี่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากัด (สกุล)

ปลากัด (Fighting fishes) ชื่อสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง มีชื่อสกุลว่า Betta (/เบ็ท-ทา/) ในวงศ์ย่อย Macropodinae ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae.

ปลากัดและปลากัด (สกุล) · ปลากัด (สกุล)และปลากัดอมไข่กระบี่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากัดช้าง

ปลากัดช้าง หรือ ปลากัดน้ำแดง ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างป้อมสั้น ครีบหลังยาว ครีบท้องเป็นเส้นยาว ครีบก้นยาว ปลายครีบเรียวยาว ครีบหางค่อนข้างใหญ่ หัวโต ปากกว้าง เกล็ดใหญ่ ส่วนหัวละลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนหรือสีน้ำตาลแดง มีลายใต้คางซึ่งมีลักษณะเหมือนสัญลักษณ์พาย (π) อันเป็นที่มาของชื่อวิทยาศาสตร์ ใต้ขอบตาเป็นสีส้มเข้มในตัวผู้ ครีบสีจางมีเหลือบสีเขียวอ่อน ปากสีคล้ำ มีรอยสีคล้ำเป็นรูปโค้งและมีแถบ 2 แถบติดกันที่ใต้คางและริมฝีปากล่าง นับเป็นหนึ่งในปลากัดอมไข่ ที่พบได้ในประเทศไทย จัดเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุด โดยสามารถโตเต็มที่ได้ถึง 12 เซนติเมตร แต่เฉลี่ยทั่วไป 9 เซนติเมตร ซึ่งนับว่าใหญ่ที่สุดด้วยในบรรดาปลากัดทั้งหมดที่พบในประเทศไทย พบในป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส ของประเทศไทย โดยอาศัยในน้ำที่มีสีชาหรือสีแดง อันเกิดจากการทับถมของซากพืชเป็นเวลานาน และมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างค่อนข้างต่ำ (ประมาณ pH 5-6) เป็นปลาที่ไม่ดุร้าย ก้าวร้าว เหมือนพวกปลากัดประเภทก่อหวอด จึงสามารถเลี้ยงรวมกันได้หลาย ๆ ตัว สถานภาพเป็นปลาที่ถูกคุกคามทางด้านถิ่นที่อยู่อาศัยในธรรมชาติ จัดเป็นปลาเฉพาะถิ่น ปัจจุบัน สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในสถานที่เลี้ยง.

ปลากัดและปลากัดช้าง · ปลากัดช้างและปลากัดอมไข่กระบี่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากัดหัวโม่งจันทบุรี

ปลากัดหัวโม่งจันทบุรี หรือ ปลากัดหัวโม่ง ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างคล้ายปลากัดภูเขา (B. pugnax) ซึ่งเป็นปลากัดจำพวกอมไข่ (Mouthbrooder) เหมือนกัน ปลากัดหัวโม่งมีตัวโต ปลายปากแหลม ครีบทุกครีบใสโปร่งแสง ลำตัวสีเขียวอ่อน มีแถบสีดำพาดตามความยาวลำตัว 3 แถบ ตากลมโตสีเหลือง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 10 เซนติเมตร ปลาตัวผู้เครื่องครีบทุกครีบและแหลมยาวกว่าตัวเมีย ตัวเมียไม่มีจุดไข่นำเหมือนปลากัดประเภทก่อหวอด พบกระจายโดยทั่วไป ในประเทศไทยบริเวณลำธารน้ำตกแถบภาคตะวันออก โดยสภาพของน้ำที่พบจะมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ประมาณ 7-7.5 นอกจากนั้นยังพบได้ในแหล่งน้ำสภาพเดียวกันของประเทศกัมพูชา เป็นปลาที่ไม่มีพฤติกรรมดุร้าย ก้าวร้าวเหมือนปลากัดจำพวกก่อหวอด จึงสามารถเลี้ยงรวมกันได้หลายตัว ปัจจุบัน สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในที่เลี้ยง.

ปลากัดและปลากัดหัวโม่งจันทบุรี · ปลากัดหัวโม่งจันทบุรีและปลากัดอมไข่กระบี่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากัดอมไข่กระบี่

ปลากัดอมไข่กระบี่ หรือ ปลากัดหัวโม่งกระบี่ เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta simplex อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae เป็นปลากัดประเภทอมไข่ (Mouthbrooder) ชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย ปลาตัวผู้มีสีสันสวยงาม ครีบหลัง ครีบท้อง และครีบหางสีแดง ครีบท้องจะมีริมสีน้ำเงิน ปลาตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า หัวแหลมกว่า และสีสันไม่สวยงามเท่าตัวผู้ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 8 เซนติเมตร ปลากัดอมไข่กระบี่ เป็นปลาที่พบเฉพาะกอหญ้าริมลำธารที่น้ำไหลเอื่อย ๆ ซึ่งเป็นลำธารที่ไหลมาจากภูเขาหินปูนที่น้ำมีความกระด้างและมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 7.5–8.5 มีแคลเซียมคาร์บอเนตละลายสูง ในเขตจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียงเท่านั้น จัดเป็นปลาที่พบได้น้อยและถูกคุกคามถิ่นที่อยู่อาศัย แต่ปัจจุบัน สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในที่เลี้ยงโดยมนุษย์ชมปลากัดอมไข่ประบี่กับขุนเคย่ามเหลือง, คอลัมน์ Aqua Surveyโดย ธีรวัฒน์ อุทาพงษ์ หน้า 48-52.

ปลากัดและปลากัดอมไข่กระบี่ · ปลากัดอมไข่กระบี่และปลากัดอมไข่กระบี่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากัดอมไข่สงขลา

ปลากัดอมไข่สงขลา หรือ ปลากัดสงขลา หรือ ปลากัดฟีร็อกซ์ ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) จัดเป็นปลากัดประเภทปลากัดอมไข่ชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย โดยพบครั้งแรกจากการสำรวจที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบในแหล่งน้ำที่มีกระแสน้ำไหลบนภูเขาอาศัยบริเวณรากไม้หรือใบไม้ใกล้ฝั่ง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6.3 เซนติเมตร (2.5 นิ้ว)ปลาตัวผู้จะไม่ก่อหวอดแต่จะอมไข่ไว้ในปากจนฟักเป็นตัว ทั้งนี้เชื่อว่าเป็นเพราะสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ คือ ลำธารที่น้ำไหลเชี่ยวแรงบนภูเขา พบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำบนภูเขาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทย พบได้เฉพาะภาคใต้เท่านั้น และพบได้เรื่อยไปในแหลมมลายูจนถึงรัฐปีนังในมาเลเซีย เป็นปลาที่หาได้ยากและใกล้จะสูญพันธุ์ โดยถูกลุกลํ้าพื้นที่ จนทำให้(ปลากัดอมไข่)หาดูได้ยากนัก โดยที่คำว่า ferox เป็นภาษาละติน หมายถึง "โหดเหี้ยม" หรือ "ป่าเถื่อน".

ปลากัดและปลากัดอมไข่สงขลา · ปลากัดอมไข่กระบี่และปลากัดอมไข่สงขลา · ดูเพิ่มเติม »

ปลากัดปีนัง

ปลากัดปีนัง หรือ ปลากัดภูเขา (Penang betta) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) รูปร่างและคล้ายปลากัดทั่วไป แต่มีลำตัวป้อมใหญ่กว่า หัวโต ครีบหางใหญ่ ตัวผู้มีสีน้ำตาลคล้ำ ข้างแก้มสีฟ้าเหลือบเขียว เกล็ดมีจุดสีฟ้าเหลือบทั้งตัว ครีบสีน้ำตาลอ่อน ครีบหลังและครีบหางมีลายเส้นประสีคล้ำ ครีบก้นมีขอบดำ ตัวเมียสีน้ำตาลอ่อน และมีแถบสีคล้ำพาดตามแนวยาวของลำตัว ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5-7 เซนติเมตร พฤติกรรมของปลากัดชนิดนี้ ไม่เหมือนปลากัดจำพวกก่อหวอด อย่าง ปลากัดภาคกลาง (B. splendens) หรือ ปลากัดอีสาน (B. smaragdina) เนื่องจากการผสมพันธุ์และวางไข่ ปลาตัวผู้จะไม่ก่อหวอดแต่จะอมไข่ไว้ในปากจนฟักเป็นตัว ทั้งนี้เชื่อว่าเป็นเพราะสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ คือ ลำธารที่น้ำไหลเชี่ยวแรงบนภูเขา อีกทั้งปลากัดจำพวกนี้ไม่มีนิสัยดุร้าย ก้าวร้าว เหมือนพวกปลากัดก่อหวอด จึงสามารถพบอยู่กันเป็นฝูงได้หลาย ๆ ตัว อีกทั้งอวัยวะที่ช่วยในการหายใจ ทำงานได้ไม่สมบูรณ์เท่าปลากัดก่อหวอด พบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำบนภูเขาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทย พบได้เฉพาะภาคใต้เท่านั้น และพบได้เรื่อยไปในแหลมมลายูจนถึงรัฐปีนังในมาเลเซียหน้า 200, คู่มือปลาน้ำจืด โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์ (สำนักพิมพ์สารคดี กรุงเทพ พ.ศ. 2547) ISBN 9744841486 และมีความเป็นไปได้ว่าปลากัดชนิดนี้มีความใกล้เคียงทางพันธุกรรมกับปลากัดชนิด B. enisae ซึ่งเป็นปลากัดประเภทอมไข่เช่นเดียวกัน ที่พบได้ในแถบกาลิมันตันของอินโดนีเซี.

ปลากัดและปลากัดปีนัง · ปลากัดปีนังและปลากัดอมไข่กระบี่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากัดป่าภาคใต้

ปลากัดป่าภาคใต้ หรือ ปลากัดภาคใต้ เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae มีลักษณะคล้ายปลากัดภาคกลาง (B. splendens) และปลากัดอีสาน (B. smaragdina) แต่มีรูปร่างเรียวยาวและครีบหลังค่อนไปทางด้านหลังลำตัว มีพฤติกรรมก้าวร้าวน้อยกว่าปลากัดทั้ง 2 ชนิดข้างต้น มีลำตัวสีน้ำตาลอ่อนเหลือบแดงและน้ำเงิน ครีบหลังและครีบก้นสีคล้ำแดงมีแถบสีฟ้าเรืองแสง ปลายครีบก้นมีแต้มสีแดงสด มีขลิบสีขาว พบในภาคใต้ของประเทศไทย มีขนาดยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ส่วนปลาที่พบในประเทศกัมพูชาแถบจังหวัดสตึงแตรงนั้น จะมีลำตัวและครีบสีดำคล้ำ.

ปลากัดและปลากัดป่าภาคใต้ · ปลากัดป่าภาคใต้และปลากัดอมไข่กระบี่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากัดป่ามหาชัย

ปลากัดป่ามหาชัย หรือ ปลากัดมหาชัย (Mahachai betta) เป็นปลาน้ำจืดจำพวกปลากัดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae).

ปลากัดและปลากัดป่ามหาชัย · ปลากัดป่ามหาชัยและปลากัดอมไข่กระบี่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากัดเขียว

ปลากัดเขียว หรือ ปลากัดอีสาน เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างและพฤติกรรมคล้ายปลากัดภาคกลาง (B. splendens) แต่มีรูปร่างที่เพรียวยาวกว่า เกล็ดมีสีเขียวมากกว่าทั้งที่ข้างแก้มและลำตัว ในบางตัวอาจมีเหลือบสีฟ้า ครีบมีสีเขียวหรือฟ้าและมีลายประสีดำ พบในแหล่งน้ำตื้นที่นิ่งและไหลเอื่อย ๆ ในพื้นที่ภาคอีสานของประเทศไทย และประเทศลาว ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5-6 เซนติเมตร หน้า 200, คู่มือปลาน้ำจืด โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์ (สำนักพิมพ์สารคดี กรุงเทพ พ.ศ. 2547) ISBN 9744841486 ปลากัดเขียว ที่พบในพื้นที่บึงโขงหลง พื้นที่ชุ่มน้ำขนาดกว้างใหญ่ในจังหวัดบึงกาฬ พบมีลักษณะที่เด่นเฉพาะตัว คือ ก้านครีบหางจะมีการแตกตัว บางตัวอาจแตกได้มากถึง 4 ก้าน และในครีบหางจะมีลายขึ้นเป็นเส้นเต็มช่องระหว่างก้านหาง เริ่มตั้งแต่โคนหางกระจายออกไปจนอาจสุดปลายหาง มองดูคล้ายลักษณะของแมงมุม ปลาที่มีลักษณะเช่นนี้เรียกว่า "ปลากัดป่าหางลาย" หรือ "ปลากัดป่ากีตาร์" เนื่องจากเมื่อแผ่ครีบพองเหงือกเมื่อเจอกับปลากัดตัวอื่น ครีบท้องหรือครีบอกข้างใดข้างหนึ่งจะกระดิก คล้ายกับเวลามีผู้ดีดกีตาร์นอกจากนี้แล้ว ปลากัดเขียว ในพื้นที่ต่าง ๆ ก็ยังมีสีสันและขนาดลำตัว ตลอดจนลักษณะครีบต่าง ๆ แตกต่างกันซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเป็นชนิดใหม่ แต่เรื่องนี้ยังมิได้มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์กันอย่างแท้จริง.

ปลากัดและปลากัดเขียว · ปลากัดอมไข่กระบี่และปลากัดเขียว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ปลากัดและปลาที่มีก้านครีบ · ปลากัดอมไข่กระบี่และปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ปลากัดและเมตร · ปลากัดอมไข่กระบี่และเมตร · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปลากัดและปลากัดอมไข่กระบี่

ปลากัด มี 36 ความสัมพันธ์ขณะที่ ปลากัดอมไข่กระบี่ มี 26 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 17, ดัชนี Jaccard คือ 27.42% = 17 / (36 + 26)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปลากัดและปลากัดอมไข่กระบี่ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »