โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลากะมงพร้าวและหมึก (สัตว์)

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปลากะมงพร้าวและหมึก (สัตว์)

ปลากะมงพร้าว vs. หมึก (สัตว์)

ปลากะมงพร้าว หรือ ปลากะมงยักษ์ หรือ ปลาตะคองยักษ์ (Giant trevally, Lowly trevally, Giant kingfish; ชื่อย่อ: GT) ปลาทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) มีส่วนหัวโค้งลาด ปากกว้าง ลำตัวแบนข้าง ครีบหางเว้าลึก ข้างลำตัวและโคนหางมีเส้นแข็งสีคล้ำ ลำตัวสีเทาเงินหรืออมเหลือง ครีบอกสีเหลือง ครีบอื่นสีคล้ำ ในปลาขนาดใหญ่อาจมีจุดประสีคล้ำที่ข้างลำตัว มีความยาวเมื่อโตเต็มที่ได้ถึง 170 เซนติเมตร น้ำหนัก 80 กิโลกรัม ปลาขนาดเล็กจะอยู่รวมเป็นฝูง เมื่อโตขึ้นจะแยกอยู่ตามลำพังหรือเป็นฝูงเล็ก ๆ มักว่ายคู่กับปลาขนาดใหญ่ เช่น ปลาฉลามวาฬหรือปลากระเบนแมนตา เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร โดยไล่ล่าปลาขนาดเล็กต่าง ๆ รวมทั้ง หมึก, กุ้ง และปู เป็นอาหาร ในปลาขนาดเล็กอาจพบได้ในแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำจืด เช่น ท่าเรือ, ชายฝั่ง และปากแม่น้ำ ปลาขนาดใหญ่อยู่นอกแนวปะการังหรือกองหินใต้น้ำ ในทะเลเปิด ที่แอฟริกาตะวันออก ปลากะมงพร้าวขนาดโตเต็มวัยจะว่ายเป็นฝูงเข้ามาในแม่น้ำที่เป็นน้ำจืด อย่างช้า ๆ และว่ายเป็นวงกลมรอบ ๆ ไปมา โดยที่ยังไม่ทราบสาเหตุถึงพฤติกรรมเช่นนี้ เป็นปลาที่แพร่กระจายไปในมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย ตั้งแต่ฮาวาย, ญี่ปุ่น, ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก จนถึงออสเตรเลีย ในน่านน้ำไทยสามารถพบได้ทั้ง 2 ฟากฝั่งทะเล จัดเป็นปลาที่พบได้บ่อย เป็นปลาขนาดใหญ่ที่นิยมตกกันเป็นเกมกีฬา โดยถือเป็นปลาเกมที่เป็นปลาทะเล 1 ใน 3 ชนิดที่นิยมตกกัน และเป็นปลาเศรษฐกิจ และนิยมเลี้ยงกันในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งปลากะมงพร้าวมีพฤติกรรมพุ่งเข้าชาร์จอาหารด้วยความรุนแรง ทำให้หลายครั้งสร้างความบาดเจ็บแก่ผู้ให้อาหารแบบที่สวมชุดประดาน้ำลงไปให้ถึงในที่เลี้ยง อีกทั้ง ยังมีผู้ที่นิยมเลี้ยงปลาสวยงามประเภทปลาใหญ่ หรือปลากินเนื้อ เลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย เช่นเดียวกับปลากะมงตาแดง (C. sexfasciatus) โดยจะนำมาเลี้ยงในน้ำจืดตั้งแต่ยังเล็ก ๆ ทั้งนี้มีรายงานระบุอย่างไม่เป็นทางการว่า ในหลายพื้นที่ได้พบปลากะมงพร้าวขนาดกลางหรือค่อนไปทางใหญ่ในแหล่งน้ำจืด เช่น ในเหมืองร้างแห่งหนึ่ง ในอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา และที่จังหวัดชุมพร สันนิษฐานว่าคงเป็นปลาที่ผลัดหลงมาจากเหตุการณ์สึนามิเมื่อปลายปี ค.ศ. 2004 ซึ่งปลามีน้ำหนักประมาณ 2-10 กิโลกรัม นอกจากนี้แล้วที่ประเทศอินโดนีเซีย ยังมีผู้เลี้ยงปลากะมงพร้าวในน้ำจืดได้ในบ่อปลาคาร์ป จนมีขนาดใหญ่ราว 60 เซนติเมตรได้ โดยเลี้ยงมาตั้งแต่ตัวประมาณ 5 เซนติเมตร ซึ่งการจะเลี้ยงปลาให้เติบโตและแข็งแรงจนโตได้ ต้องเลี้ยงในสถานที่ ๆ มีความกว้างขวางพอสมควร และต้องผสมเกลือลงไปในน้ำในปริมาณที่มากพอควร แม้จะมีปริมาณความเค็มไม่เท่ากับน้ำทะเลก็ตามหน้า 123-128, Amphidromous story สุดยอดนักล่า ปลาสองน้ำ คอลัมน์ Wild Ambition โดย ชวิน ตันพิทยคุปต์, กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์, นันทวัฒน์ โชติสุวรรณ. หมึก หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาหมึก เป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดใหญ่ เคลื่อนที่ได้รวดเร็ว และว่องไว มีหนวดรอบปาก 4-5 คู่ บนหนวดมีปุ่มดูดเรียงเป็นแถว มีหน้าที่จับเหยื่อป้อนเข้าปาก เป็นสัตว์ที่มีอยู่ในไฟลัมมอลลัสกา ชั้นเซฟาโลพอดซึ่งเป็นชั้นของสัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนิ่ม ชั้นย่อย Coleoidea ต่างจากกลุ่มสัตว์ที่ใกล้เคียงกันคือ Nautiloidea ซึ่งมีเปลือกแข็งห่อหุ้มภายนอกร่างกาย แต่หมึกส่วนใหญ่กลับมีกระดูกหรือเปลือกอยู่ภายในเพื่อใช้ประโยชน์ในการเป็นทุ่นหรือพยุงร่างกาย ซึ่งเรียกว่า ลิ้นทะเล ยังมีบางชนิดที่ไม่มีกระดูก แต่มีกระดูกอ่อนทดแทนเพื่อใช้ในการพยุงโครงสร้างร่างกาย คำว่า Cephalopoda ซึ่งเป็นชื่อชั้นที่ใช้เรียกหมึก มาจากภาษากรีกแปลรวมกันว่า "สัตว์หัว-เท้า" (head-footed animals) เนื่องจากหมึกเป็นสัตว์ที่ไม่มีแขนขา เพียงแต่มีระยางค์ยื่นออกจากจากรอบ ๆ บริเวณปากเรียกว่า หนวด เท่านั้นเอง หมึกวิวัฒนาการมาจากมอลลัสกา ในปลายยุคแคมเบรียน หรือราว 500 ล้านปีก่อน แต่กระนั้นหมึกและหอยในยุคปัจจุบันนี้ ก็ยังมีระบบทางร่างกายหลายอย่างเหมือนกัน กล่าวคือ ระบบทางเดินอาหาร, ปาก, ฟัน และกล้ามเนื้อแบบแมนเทิล ปัจจุบัน ได้มีการค้นพบหมึกแล้วว่า 1,000 ชนิด ชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ หมึกมหึมา (Mesonychoteuthis hamiltoni) ซึ่งเป็นหมึกในอันดับหมึกกล้วย อาศัยอยู่ในห้วงน้ำลึกของมหาสมุทรแอตแลนติก อาจยาวได้ถึง 14 เมตร นับเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย และเล็กที่สุดมีขนาดไม่เกิน 1 เซนติเมตรด้วยซ้ำ เช่น หมึกในวงศ์ Idiosepiidae เป็นต้น หมึกมีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการใช้เป็นอาหารมาช้านาน ในแทบทุกวัฒนธรรม หมึกถือเป็นสัตว์ทะเลที่ใช้ปรุงเป็นอาหาร ซึ่งสามารถปรุงสุดได้ทั้งสดและตากแห้ง เช่น ในอาหารไทย เช่น หมึกผัดกะเพรา หรือ หมึกย่าง เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ โดยเฉพาะลิ้นทะเล ซึ่งมีแคลเซียมเป็นจำนวนมาก จึงนิยมให้นกหรือสัตว์ปีกกินเพื่อเพิ่มแคลเซียมในร่างกาย นอกจากนี้แล้ว หมึกยังมักถูกอ้างอิงถึงในวรรณกรรมประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะหมึกยักษ์หรือหมึกที่มีขนาดใหญ่ เช่น โจมตีใส่เรือดำน้ำนอติลุสของกัปตันนีโม ในนวนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง Twenty Thousand Leagues Under the Sea เป็นต้น สำหรับหมึกที่พบในน่านน้ำไทย ได้แก่ หมึกกระดองลายเสือ (Sepia pharaonis), หมึกกล้วย (Photololigo duvauceli), หมึกหอม (Sepioteuthis lessoniana), หมึกสายราชา (Octopus rex) เป็นต้น เลือดปลาหมึกมีสีน้ำเงิน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปลากะมงพร้าวและหมึก (สัตว์)

ปลากะมงพร้าวและหมึก (สัตว์) มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สัตว์สปีชีส์น้ำหนักเมตร

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ปลากะมงพร้าวและสัตว์ · สัตว์และหมึก (สัตว์) · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ปลากะมงพร้าวและสปีชีส์ · สปีชีส์และหมึก (สัตว์) · ดูเพิ่มเติม »

น้ำหนัก

เครื่องชั่งสปริงเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้วัดขนาดของน้ำหนัก ในทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ น้ำหนัก หมายถึงแรงบนวัตถุอันเนื่องมาจากความโน้มถ่วง ขนาดของน้ำหนักในปริมาณสเกลาร์ มักเขียนแทนด้วย W แบบตัวเอน คือผลคูณของมวลของวัตถุ m กับขนาดของความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วง g นั่นคือ ถ้าหากพิจารณาน้ำหนักว่าเป็นเวกเตอร์ จะเขียนแทนด้วย W แบบตัวหนา หน่วยวัดของน้ำหนักใช้อย่างเดียวกันกับหน่วยวัดของแรง ซึ่งหน่วยเอสไอก็คือนิวตัน ยกตัวอย่าง วัตถุหนึ่งมีมวลเท่ากับ 1 กิโลกรัม มีน้ำหนักประมาณ 9.8 นิวตันบนพื้นผิวโลก มีน้ำหนักประมาณหนึ่งในหกเท่าบนพื้นผิวดวงจันทร์ และมีน้ำหนักที่เกือบจะเป็นศูนย์ในห้วงอวกาศที่ไกลออกไปจากเทหวัตถุอันจะส่งผลให้เกิดความโน้มถ่วง ในทางนิติศาสตร์และการพาณิชย์ น้ำหนัก มีความหมายเดียวกันกับมวล The National Standard of Canada, CAN/CSA-Z234.1-89 Canadian Metric Practice Guide, January 1989.

น้ำหนักและปลากะมงพร้าว · น้ำหนักและหมึก (สัตว์) · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ปลากะมงพร้าวและเมตร · หมึก (สัตว์)และเมตร · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปลากะมงพร้าวและหมึก (สัตว์)

ปลากะมงพร้าว มี 44 ความสัมพันธ์ขณะที่ หมึก (สัตว์) มี 73 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 3.42% = 4 / (44 + 73)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปลากะมงพร้าวและหมึก (สัตว์) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »