โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปรัมปราวิทยาและมานุษยวิทยาวัฒนธรรม

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปรัมปราวิทยาและมานุษยวิทยาวัฒนธรรม

ปรัมปราวิทยา vs. มานุษยวิทยาวัฒนธรรม

ประมวลเรื่องปรัมปราราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 68 (mythology) หมายถึง การรวบรวมเรื่องปรัมปรา (myth) เกี่ยวกับธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และจารีตประเพณี ของกลุ่มชนหนึ่ง และเรียกวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องปรัมปราเหล่านี้ว่า ปรัมปราวิทยา หรือ ปุราณวิทยา (mythology). มานุษยวิทยาวัฒนธรรม นับเป็นหนึ่งในสี่สาขาของมานุษยวิทยาซึ่งพัฒนาขึ้นในสหรัฐอเมริกา พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริม "วัฒนธรรม" ให้มีความหมายเชิงมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ การศึกษาความมากหลายในหมู่มนุษย์และการตรวจสอบหาเศรษฐกิจของโลกและกระบวนการทางการเมืองที่มีต่อวัฒนธรรมที่เป็นจริง แนวคิดเชิงมานุษยวิทยาของ "วัฒนธรรม" ในบางส่วน สะท้อนให้เห็นถึงปฏิกิริยาที่มีต่อสัมพันธสารหรือวาทกรรมที่ขึ้นอยู่กับสิ่งตรงกันข้ามระหว่าง "วัฒนธรรม" และ "ธรรมชาติ" ตามที่มนุษย์ได้อยู่อาศัยใน "สภาวะธรรมชาติ" นักมานุษยวิทยาได้โต้เถียงว่าวัฒนธรรมคือ "ธรรมชาติของมนุษย์" และผู้คนทั้งหลายมีความสามารถที่จะจำแนกประสบการณ์ ถอดรหัสการจำแนกในเชิงสัญลักษณ์ และสอนความเป็นนามธรรมนั้นให้แก่ผู้อื่น โดยที่มนุษย์ได้วัฒนธรรมมาด้วยการเรียนรู้ (ในกระบวนการของการทำให้กลายเป็นวัฒนธรรมและการสัมพันธ์กันในสังคม) ผู้คนอยู่อาศัยในที่แตกต่างกัน แตกต่างด้วยสิ่งล้อมรอบ จึงอาจทำให้มีการพัฒนาวัฒนธรรมออกมาต่างกัน นักมานุษยวิทยายังได้ชี้ประเด็นว่าด้วยด้วยวัฒนธรรมนั่นเองที่ทำให้ผู้คนสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้สืบมาทางพันธุกรรม ดังนั้นผู้คนที่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ต่างกันจึงมักมีวัฒนธรรมที่ต่างกันด้วย ทฤษฎีทางมานุษยวิทยาส่วนมากมีต้นตอมาจากความซาบซึ้งและความสนใจในความตึงเครียดระหว่างความเป็นท้องถิ่นและความเป็นระดับโลก เส้นขนานของมานุษยวิทยาวัฒนธรรมเกิดขึ้นในสหรัฐฯ กล่าวคือ วิชามานุษยวิทยาสังคม ซึ่งใช้ "ความเป็นสังคม" เป็นแนวคิดกลางและที่เน้นจุดรวมไปที่การศึกษาสถานภาพทางสังคมและบทบาท กลุ่ม สถาบันและความสัมพันธ์ระหว่างกันแล้วพัฒนามาเป็นสาขาวิชาการในสหราชอาณาจักร ความหมายของขอบข่ายของ "มานุษยวิทยาสังคม-วัฒนธรรม" ทำให้เกิดความแตกต่างในประเพณีของทั้งมานุษยวิทยาวัฒนธรรมและมานุษยวิทยาสังคม.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปรัมปราวิทยาและมานุษยวิทยาวัฒนธรรม

ปรัมปราวิทยาและมานุษยวิทยาวัฒนธรรม มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ธรรมชาติ

ธรรมชาติ

ฟ้าผ่าระหว่างภูเขาไฟกาลองกังปะทุ ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2525 ธรรมชาติ ในความหมายอย่างกว้างสุด เทียบเท่ากับโลกธรรมชาติ โลกกายภาพ หรือโลกวัตถุ "ธรรมชาติ" หมายถึง ปรากฏการณ์ของโลกกายภาพ และยังหมายถึงชีวิตโดยรวม มีขนาดตั้งแต่เล็กกว่าอะตอมไปจนถึงจักรวาล คำว่า nature มาจากคำภาษาละติน natura หรือ "คุณสมบัติสำคัญ, พื้นนิสัยสืบทอด" และในสมัยโบราณ ตามตัวอักษรหมายถึง "กำเนิด" natura เป็นคำแปลภาษาละตินของคำภาษากรีก physis (φύσις) ซึ่งเดิมเกี่ยวข้องกับลักษณะภายในซึ่งพืช สัตว์และลักษณะเฉพาะ (feature) อื่นของโลกพัฒนาแนว (accord) ของตน มโนทัศน์ธรรมชาติโดยรวม จักรวาลทางกายภาพ เป็นหนึ่งในหลายการต่อขยายของความคิดดั้งเดิม เริ่มต้นด้วยการประยุกต์ใช้แก่นบางอย่างของคำว่า φύσις โดยนักปรัชญายุคก่อนโสเครติส และได้รับความแพร่หลายอย่างต่อเนืองนับแต่นั้น การใช้นี้ได้รับการยืนยันระหว่างการมาถึงของระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ในหลายศตวรรษหลัง ปัจจุบัน "ธรรมชาติ" มักหมายถึง ธรณีวิทยาและสัตว์ป่า ธรรมชาติอาจหมายถึงอาณาจักรของพืชและสัตว์หลายชนิดทั่วไป และในบางกรณีหมายถึง ขบวนการซึ่งเกี่ยวข้องกับวัตถุไร้ชีวิต คือ วิถีซึ่งสิ่งบางประเภทโดยเฉพาะดำรงและเปลี่ยนแปลงแนวของตน เช่น ลมฟ้าอากาศและธรณีวิทยาของโลก และสสารและพลังงานอันประกอบขึ้นเป็นทุกสิ่งเหล่านี้ นอกจากนี้ยังใช้หมายถึง "สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ" สัตว์ป่า หิน ป่า ชายหาด และโดยทั่วไปสิ่งเหล่านี้ที่ไม่ถูกเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญโดยอันตรกิริยาของมนุษย์โดยทั่วไปไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ยกเว้นถูกจัดเป็น อย่างเช่น "ธรรมชาติมนุษย์" มโนทัศน์เก่ากว่าของสิ่งธรรมชาติซึ่งยังพบในปัจจุบันอยู่ชี้ข้อแตกต่างระหว่างธรรมชาติกับที่มนุษย์สร้างขึ้น (artificial) โดยสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ถูกทำให้เกิดขึ้นจากความรู้สึกตัวหรือจิตของมนุษย์ ขึ้นอยู่กับบริบทเฉพาะ คำว่า "ธรรมชาติ" ยังอาจแตกต่างจากไม่เป็นธรรมชาติ เหนือธรรมชาติหรือสังเคราะห.

ธรรมชาติและปรัมปราวิทยา · ธรรมชาติและมานุษยวิทยาวัฒนธรรม · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปรัมปราวิทยาและมานุษยวิทยาวัฒนธรรม

ปรัมปราวิทยา มี 3 ความสัมพันธ์ขณะที่ มานุษยวิทยาวัฒนธรรม มี 17 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 5.00% = 1 / (3 + 17)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปรัมปราวิทยาและมานุษยวิทยาวัฒนธรรม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »