เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ประเทศไทยในโอลิมปิกและพิมศิริ ศิริแก้ว

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ประเทศไทยในโอลิมปิกและพิมศิริ ศิริแก้ว

ประเทศไทยในโอลิมปิก vs. พิมศิริ ศิริแก้ว

ประเทศไทยเข้าร่วมกีฬาโอลิมปิกครั้งแรกในโอลิมปิกฤดูร้อน 1952 และได้ส่งนักกีฬาเข้าร่วมโอลิมปิกฤดูร้อนทุกครั้งตั้งแต่นั้นมา ยกเว้นในโอลิมปิกฤดูร้อน 1980 ซึ่งไทยได้ร่วมการคว่ำบาตรที่นำโดยสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยยังได้ส่งนักกีฬาเข้าร่วมโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งแรกในปี ค.ศ. 2002 นับตั้งแต่ประเทศไทยส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันครั้งแรก นักกีฬาไทยได้เหรียญรางวัลรวมทั้งหมด 33 เหรียญ โดยแบ่งเป็น 9 เหรียญทอง 8 เหรียญเงิน 16 เหรียญทองแดง. มศิริ ศิริแก้ว ชื่อเล่นแต้ว (25 เมษายน พ.ศ. 2533-) นักยกน้ำหนักทีมชาติไทย ชาวอำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น เจ้าของเหรียญเงินยกน้ำหนัก รุ่นน้อยกว่า 58 กิโลกรัม ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ณกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ณ กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล พิมศิริ เกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2533 ที่อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น เป็นบุตรของคำปุ่น และอมรรัตน์ ศิริแก้ว ในวัยเด็กเข้าศึกษาที่โรงเรียนบ้านเขวา และโรงเรียนมัญจาศึกษา ต่อมาเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนกีฬาจังหวัดชลบุรี และสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี ตามลำดับ แต่เดิมเธอเริ่มเล่นกีฬาด้วยการเป็นนักวิ่งระยะสั้น กระทั่งว่าที่ร้อยตรีศักดิ์ชัย ธิตะจารี เห็นแววจึงเรียกมาทดสอบเป็นนักยกน้ำหนัก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ประเทศไทยในโอลิมปิกและพิมศิริ ศิริแก้ว

ประเทศไทยในโอลิมปิกและพิมศิริ ศิริแก้ว มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): วันดี คำเอี่ยมประภาวดี เจริญรัตนธารากูลโอลิมปิกฤดูร้อน

วันดี คำเอี่ยม

รือเอกหญิงวันดี คำเอี่ยม เป็นนักกีฬายกน้ำหนักหญิง ทีมชาติไทย สังกัดสมาคมยกน้ำหนักแห่งประเทศไทย เป็นชาวอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ มีผลงานสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดศรีสะเกษและประเทศไทย ด้วยรางวัลเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง จากการเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬายกน้ำหนักในระดับนานาชาติหลายรายการ.

ประเทศไทยในโอลิมปิกและวันดี คำเอี่ยม · พิมศิริ ศิริแก้วและวันดี คำเอี่ยม · ดูเพิ่มเติม »

ประภาวดี เจริญรัตนธารากูล

ร้อยเอกหญิง ประภาวดี เจริญรัตนธารากูล (สังกัดกรมพลาธิการทหารบก) หรือที่รู้จักและนิยมเรียกกันในชื่อ น้องเก๋ (ชื่อเดิม: จันทร์พิมพ์ กันทะเตียน, ชื่อเล่น: เก๋) นักกีฬายกน้ำหนักทีมชาติไทย ได้รับเหรียญทองเป็นเหรียญแรกให้กับประเทศไทย ในการแข่งขันโอลิมปิก 2008 ที่ปักกิ่ง โดยเข้าแข่งขันใน รุ่น 53 กิโลกรัม เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ทำสถิติท่าสแนตช์ 95 กิโลกรัม ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 126 กิโลกรัม รวมน้ำหนักทำได้ 221 กิโลกรัมทำลายสถิติโอลิมปิกสำหรับท่าคลีนแอนด์เจิร์ก.

ประภาวดี เจริญรัตนธารากูลและประเทศไทยในโอลิมปิก · ประภาวดี เจริญรัตนธารากูลและพิมศิริ ศิริแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

โอลิมปิกฤดูร้อน

กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน หรือ ซัมเมอร์โอลิมปิกเกมส์ (Summer Olympic Games) เป็นการแข่งขันกีฬาหลายชนิดระหว่างประเทศ ซึ่งตามปกติจะมีการจัดแข่งขันทุกสี่ปี โดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee หรือ IOC) ในแต่ละครั้งจะมีการมอบเหรียญรางวัล ผู้ชนะเลิศได้เหรียญทอง อันดับสองได้เหรียญเงิน และอันดับสามได้เหรียญทองแดง การมอบเหรียญนี้เป็นประเพณีตั้งแต่ปี 1904 ต่อมามีการจัดแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว อันสืบเนื่องมาจากความสำเร็จของโอลิมปิกฤดูร้อน การแข่งขันนั้นเริ่มต้นครั้งแรกด้วยกีฬาเพียง 42 ประเภท และนักกีฬาชายเพียง 250 คน จนมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึงมากกว่า 10,000 คน ของนักกีฬาชายและหญิงจาก 202 ประเทศทั่วโลก คณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่ปักกิ่ง คาดการณ์ว่าจะมีนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันประมาณ 10,500 คน เข้าชิงชัยใน 302 รายการ ในขณะที่กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้ประมาณการไว้ว่าจะมีนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันประมาณ 10,500 คน แต่ก็เกิดการคลาดเคลื่อนขึ้นเพราะมีผู้เข้าแข่งขันกว่า 11,099 คน ใน 301 รายการแข่งขัน นักกีฬาถูกส่งเข้าแข่งขันโดยคณะกรรมการโอลิมปิกของประเทศต่าง ๆ (NOC-National Olympic Committee) เพื่อแสดงจำนวนพลเมืองในบังคับของประเทศตน เพลงชาติและธงชาติประกอบพิธีมอบเหรียญ และตารางแสดงจำนวนเหรียญที่ชนะ โดยถูกใช้อย่างกว้างขวางในบางประเทศ โดยปกติแล้วเฉพาะประเทศที่ได้รับการรับรองเท่านั้นที่จะมีผู้แทนได้ แต่มีแค่เพียงประเทศมหาอำนาจบางประเทศเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้มีส่วนร่วม โดยมีเพียง 4 ประเทศที่ส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อนทุกครั้ง ได้แก่ ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร กรีซ และสวิตเซอร์แลนด์ และมีเพียงประเทศเดียวเท่านั้นที่ชนะและได้รับเหรียญทองอย่างน้อย 1 เหรียญจากการแข่งขันทุกครั้ง คือ สหราชอาณาจักร โดยได้รับตั้งแต่ 1 เหรียญทอง ในปี 1904 1952 และ 1996 จนถึงได้รับ 56 เหรียญทอง ในปี 1908.

ประเทศไทยในโอลิมปิกและโอลิมปิกฤดูร้อน · พิมศิริ ศิริแก้วและโอลิมปิกฤดูร้อน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ประเทศไทยในโอลิมปิกและพิมศิริ ศิริแก้ว

ประเทศไทยในโอลิมปิก มี 58 ความสัมพันธ์ขณะที่ พิมศิริ ศิริแก้ว มี 37 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 3.16% = 3 / (58 + 37)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศไทยในโอลิมปิกและพิมศิริ ศิริแก้ว หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: