โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประเทศไทยและศาสนา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ประเทศไทยและศาสนา

ประเทศไทย vs. ศาสนา

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก. ัญลักษณ์ของศาสนาต่าง ๆ ภาพศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลก ศาสนา (Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิดและสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ หลายศาสนามีการบรรยาย สัญลักษณ์และประวัติศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเจตนาอธิบายความหมายของชีวิต และ/หรืออธิบายกำเนิดชีวิตหรือเอกภพ จากความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับจักรวาลและธรรมชาติมนุษย์ คนได้รับศีลธรรม จริยศาสตร์ กฎหมายศาสนาหรือวิถีชีวิตลำดับก่อน บางการประมาณว่า มีศาสนาราว 4,200 ศาสนาในโลก นอกจากนี้ ยังมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ ซึ่งเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ประเทศไทยและศาสนา

ประเทศไทยและศาสนา มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ลัทธิอนุตตรธรรมลัทธิขงจื๊อลัทธิเต๋าศาสนาบาไฮศาสนายูดาห์ศาสนาฮินดูศาสนาซิกข์สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ลัทธิอนุตตรธรรม

อักษร ''หมู่'' หมายถึง "พระแม่องค์ธรรม" พระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิบัวขาว ลัทธิเซียนเทียนเต้า และลัทธิอื่น ๆ ที่แตกแขนงมาภายหลัง รวมทั้งลัทธิอนุตตรธรรม ลัทธิอนุตตรธรรม (一貫道 Yīguàn Dào อีก้วนเต้า) ในประเทศไทยเรียกว่า วิถีอนุตตรธรรม เป็นศาสนาที่หวัง เจฺว๋อี ก่อตั้งขึ้นในประเทศจีนสมัยราชวงศ์ชิงเมื่อปี..

ประเทศไทยและลัทธิอนุตตรธรรม · ลัทธิอนุตตรธรรมและศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิขงจื๊อ

หอต้าเฉิง (Dàchéng) อาคารหลักของวัดขงจื๊อในชูฟู่ ลัทธิขงจื๊อ หรือศาสนาขงจื๊อ (Confucianism) เป็นระบบด้านจริยธรรมและปรัชญาของจีน ซึ่งพัฒนาจากการสอนของขงจื๊อ (551 - 479 ปีก่อน ค.ศ.) นักปรัชญาชาวจีน ลัทธิขงจื๊อถือกำเนิดขึ้นเป็น "งานสอนด้านจริยธรรม-สังคมการเมือง" ในยุคชุนชิว แต่ภายหลังพัฒนาส่วนที่เป็นอภิปรัชญาและจักรวาลวิทยาในสมัยราชวงศ์ฮั่น.

ประเทศไทยและลัทธิขงจื๊อ · ลัทธิขงจื๊อและศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิเต๋า

ัญลักษณ์ หยิน-หยาง ลัทธิเต๋า หรือ ศาสนาเต๋า (道教 Dàojiao; Taoism) เป็นปรัชญาและศาสนาที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน เน้นการใช้ชีวิตกลมกลืนกับเต๋า ซึ่งเป็นแนวคิดหลักในสำนักปรัชญาจีนส่วนใหญ่ แต่ในศาสนาเต๋า เต๋าหมายถึงต้นกำเนิด แบบแผน และสารัตถะของสรรพสิ่ง ไม่เน้นเรื่องพิธีกรรมซับซ้อนและระเบียบสังคมอย่างลัทธิขงจื๊อ แม้แต่ละนิกายมีคำสอนด้านจริยธรรมแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปเน้นหลักการเดียวกันคือ "อู๋เหวย์" ความเป็นธรรมชาติ ความเรียบง่าย ศาสนาเต๋ากำเนิดขึ้นราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช โดยรับแนวคิดทางจักรวาลวิทยาจากสำนักยินหยาง และแนวปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัฏจักรของธรรมชาติตามคัมภีร์อี้จิง ต่อมาใช้เต้าเต๋อจิงของเล่าจื๊อและคัมภีร์จวงจื๊อเป็นคัมภีร์หลักประจำศาสนา ถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น ลัทธิเต๋าในจ๊กก๊กเริ่มมีองค์กรและพิธีกรรมเป็นระบบ จนถึงปัจจุบันศาสนาเต๋าแบ่งเป็น 2 นิกายหลักคือ สำนักฉวนเจินและสำนักเจิ้งอี หลังสมัยของเล่าจื๊อและจวงจื๊อ มีการจัดสารบบวรรณกรรมศาสนาเต๋าต่าง ๆ และรวมทุกศาสตร์ทุกแขนงที่เกี่ยวกับเต๋าทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน เช่น พงศาวดาร ประวัติการสร้างศาสนา ตำรายาสมุนไพร ประวัติเทพเซียน องค์การ เพลงสรรเสริญ คู่มือการทำพิธีกรรมทางศาสนา ตำราการทำฮู้(ยันต์) ตำราการทำนายดวงชะตา(อี้จิง) หลักธรรมคำสอนของเล่าจื๊อ,จวงจื๊อ,เลี่ยจื๊อ,และปรมาจารย์ในประวัติศาสตร์ทุกท่านที่ศึกษาเต๋า(ซึ่งบางท่านอาจเกิดก่อนเล่าจื๊อ) บทสวดศาสนา และอื่นๆอีกมากมายเข้าไว้ด้วยกัน จนได้เป็นคัมภีร์เต้าจ้างและพิมพ์เผยแพร่ตามรับสั่งของจักรพรรดิจีน และเป็นศาสนาประจำชาติจีนมาตลอดจนหลังคริสต์ศตวรรษที่ 17 จึงไม่ได้อยู่ในอุปถัมภ์ของราชสำนัก ปัจจุบัน ศาสนาเต๋าเป็นหนึ่งในห้าศาสนาที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในประเทศจีนและประเทศไต้หวัน แม้ศาสนานี้จะไม่แพร่หลายนอกประเทศจีนนัก แต่ก็พบว่ามีศาสนิกชนจำนวนหนึ่งในฮ่องกง มาเก๊า และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ประเทศไทยและลัทธิเต๋า · ลัทธิเต๋าและศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาบาไฮ

อาคารของธรรมสภายุติธรรมสากลบาไฮ ที่ประเทศอิสราเอล ศาสนาบาไฮราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 316 หรือลัทธิบาไฮ (الدّين البهائي; Bahá'í Faith) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่แยกตัวออกมาจากลัทธิบาบีในปี ค.ศ. 1863 ถือกำเนิดในจักรวรรดิเปอร์เซีย (ปัจจุบันอยู่ในอาณาเขตของประเทศอิหร่าน) ศาสดาคือพระบะฮาอุลลอฮ์ (พ.ศ 2360-2435) ศูนย์กลางบาไฮโลกอยู่ที่เมืองไฮฟา มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด 2 แห่ง คือ พระสถูปของพระบะฮาอุลลอฮ์อยู่ที่เมืองอัคคา และพระสถูปของพระบาบอยู่ที่เมืองไฮฟา ประเทศอิสราเอล ปัจจุบันเป็นศาสนาที่เผยแผ่ได้กว้างขวางเป็นอันดับสองของโลก โดยมีศาสนิกชนกว่า 5 ล้านคนทั่วโลก บาไฮศาสนิกชนมาจากภูมิหลังที่แตกต่างกัน และอาศัยอยู่ในแทบทุกประเทศทั่วโลก.

ประเทศไทยและศาสนาบาไฮ · ศาสนาและศาสนาบาไฮ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนายูดาห์

นายูดาห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 281 หรือศาสนายิว (Judaism; יהדות) คือวิถีชีวิต ปรัชญา และศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ตามความเชื่อของชาวยิวLewis (1984), pp.10, 20 มีต้นกำเนิดในคัมภีร์ฮีบรู (หรือคัมภีร์ทานัค) รวมถึงคัมภีร์ชั้นหลัง เช่น คัมภีร์ทาลมุด ศาสนิกชนยูดาห์ถือว่าวิถีนี้ เป็นพันธสัญญาระหว่างพระยาห์เวห์กับวงศ์วานอิสราเอล ศาสนายูดาห์แบบรับบีถือว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานธรรมบัญญัติที่เรียกว่าคัมภีร์โทราห์แก่โมเสสที่ภูเขาซีนาย ศาสนายูดาห์มีพระเจ้าสูงสุด คือ พระยาห์เวห์ โดยชาวยิวมีความเชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกและมนุษย์คู่แรกเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และถือว่าโมเสสคือศาสดา ให้กำเนิดศาสนายูดาห์เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และยังมีบุคคลสำคัญ เช่น อับราฮัม อิสอัค ยาโคบ ยูดาห์ ผู้เผยพระวจนะท่านอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ฯลฯ เป็นต้น ศาสนายูดาห์มีความเป็นมายาวนานกว่าสี่พันปี (นับจากสมัยอับราฮัม) จึงถือเป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน ในคัมภีร์ทานัคที่เขียนขึ้นในยุคหลัง เช่น หนังสือเอสเธอร์ เรียกชาวฮีบรูหรือวงศ์วานอิสราเอลว่าชาวยิว คัมภีร์ของศาสนายูดาห์ยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อกลุ่มศาสนาอับราฮัมยุคหลังด้วย คือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาบาไฮ รวมทั้งมีอิทธิพลต่อจริยธรรมและระบบซีวิลลอว์ตะวันตกทั้งทางตรงและทางอ้อม ชาวยิวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนา ซึ่งหมายรวมทั้งที่เป็นชาวยิวโดยกำเนิดและและคนที่เข้ารีตยิว ในปี..

ประเทศไทยและศาสนายูดาห์ · ศาสนาและศาสนายูดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ประเทศไทยและศาสนาฮินดู · ศาสนาและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาซิกข์

ัญลักษณ์ของศาสนาซิกข์ที่ใช้ในปัจจุบัน ศาสนาซิกข์ หรือ ศาสนาสิกข์ (ਸਿੱਖੀ, สัท.:, Sikhism) เป็นศาสนาที่ถือกำเนิดขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในตอนเหนือของอินเดีย จากคำสอนของ นานัก และคุรุผู้สืบทอดอีก 9 องค์ หลักปรัชญาของศาสนาซิกข์และการปฏิบัติตามหลักศาสนา นิยมเรียกว่า "คุรมัต" (ความหมายโดยพยัญชนะ หมายถึง "คำสอนของคุรุ" หรือ "ธรรมของซิกข์") คำว่า "ซิกข์" หรือ "สิกข์" มาจากภาษาสันสกฤตว่า "ศิษฺย" หมายถึง ศิษย์ ผู้เรียน หรือ "ศิกฺษ" หมายถึง การเรียน และภาษาบาลีว่า "สิกฺข" หรือ "สิกฺขา" หมายถึง การศึกษา ผู้ศึกษา หรือผู้ใฝ่เรียนรู้ ศาสนาซิกข์ เป็นศาสนาแบบเอกเทวนิยม เนื่องจากหลักความเชื่อของศาสนาซิกข์ คือ ศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว คือ "วาหคุรู" ปฏิบัติสมาธิในนามของพระเจ้า และโองการของพระเจ้า ศาสนิกชาวซิกข์จะนับถือหลักคำสอนของคุรุซิกข์ทั้ง 10 หรือผู้นำผู้รู้แจ้ง และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ ที่เรียกว่า "คุรุ ครันถ์ สาหิพ" ซึ่งเป็นบทคัดสรรจากผู้เขียนมากมาย จากภูมิหลังทางศาสนา และเศรษฐกิจสังคมที่หลากหลาย คัมภีร์ของศาสนาเป็นบัญญัติของคุรุ โคพินท์ สิงห์ คุรุองค์สุดท้ายแห่งขาลสา ปันถ (Khalsa Panth) การสอนและหลักปฏิบัติของศาสนาซิกข์มีความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรมของภูมิภาคปัญจาบในลักษณะต่างๆ กัน ชาวซิกข์ทุกคนต้องทำพิธี "ปาหุล" คือพิธีล้างบาป เมื่อเสร็จพิธีแล้วก็จะรับเอา "กะ" คือสิ่งที่เริ่มต้นด้วยอักษร "ก" 5 ประการ ดังต่อไปนี้.

ประเทศไทยและศาสนาซิกข์ · ศาสนาและศาสนาซิกข์ · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ำนักงานราชบัณฑิตยสภา (Office of the Royal Society) หรือชื่อเดิมว่า ราชบัณฑิตยสถาน (the Royal Institute), ข่าวประชาสัมพันธ์ เว็บไซต.

ประเทศไทยและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา · ศาสนาและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ประเทศไทยและศาสนา

ประเทศไทย มี 527 ความสัมพันธ์ขณะที่ ศาสนา มี 34 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 1.43% = 8 / (527 + 34)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศไทยและศาสนา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »