โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประเทศโมร็อกโกและรัฐบาลพลัดถิ่น

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ประเทศโมร็อกโกและรัฐบาลพลัดถิ่น

ประเทศโมร็อกโก vs. รัฐบาลพลัดถิ่น

มร็อกโก (ชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรโมร็อกโก, เป็นรัฐเดี่ยวและรัฐเอกราชที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคมาเกร็บในแอฟริกาเหนือ เป็นหนึ่งในถิ่นกำเนินชนเบอร์เบอร์ ในทางภูมิศาสตร์โมร็อกโกมีเทือกเขาหินขรุขระตรงกลาง มีทะเลทรายขนาดใหญ่และมีชายฝั่งยาวมาตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติกจนถึงทะเลเมดิเตอเรเนียน โมร็อกโกมีพื้นที่ประมาณ 710,850 ตารางกิโลเมตรและประชากรกว่า 33.8 ล้านคน เมืองหลวงชื่อราบัตและมีเมืองใหญ่สุดชื่อกาซาบล็องกา นอกจากนี้ยังมีเมืองสำคัญอื่น ๆ อีกอาทิมาร์ราคิช แทงเจียร์ ซาเล่ห์ แฟ็ส แม็กแน็สและ วัจด้า ในทางประวัติศาสตร์โมร็อกโกเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคมีความเป็นอิสระและไม่ได้ถูกยุ่งเกียวหรือรุกรานโดยเพื่อนบ้านตั้งแต่สุลต่าน โมเลย์ อิดริส ที่ 1ก่อตั้งรัฐโมร็อกโกครั้งแรกใน พ.ศ. 1332 ประเทศถูกปกครองโดยระบบราชวงศ์และเจริญสุดขีดในช่วงราชวงศ์อัลโมราวิดและราชวงศ์อัลโลฮัดซึ่งครอบครองส่วนหนึ่งของคาบสมุทรไอบีเรียและแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ ราชวงศ์มารีนิดและราชวงศ์ซาดีได้ยืนหยัดต่อต้านการรุกร่านจากต่างประเทศ อีกทั้งโมร็อกโกเป็นประเทศในแอฟริกาเหนือประเทศเดียวที่เลี่ยงการยึดครองจากจักรวรรดิออตโตมันได้ ราชวงศ์อเลาอัวซึ่งปกครองประเทศอยู่ในปัจุบันนั้นขึ้นมามีอำนาจในโมร็อกโกตั้งแต่ พ.ศ. 2174 ใน พ.ศ. 2455 โมร็อกโกถูกแบ่งเป็นโมร็อกโกในอารักขาของฝรั่งเศส โมร็อกโกในอารักขาของสเปนกับเขตสากลในแทนเจียร์และกลับมาได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2499 วัฒนธรรมชาวโมร็อกโกจะเป็นแบบผสมผสานตามอิทธิพลของเบอร์เบอร์ อาหรับ แอฟริกาตะวันตกและยุโรป โมร็อกโกอ้างว่าเวสเทิร์นสะฮาราซึ่งเป็นดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเองซึ่งเคยเป็นสะฮาราของสเปนนั้นเป็นจังหวัดทางใต้ของโมร็อกโก หลังจากสเปนตกลงที่จะปลดปล่อยดินแดนนี้ให้โมร็อกโกและมอริเตเนียใน พ.ศ. 2518 ชาวซาห์ราวีได้ทำสงครามแบบกองโจร มอริเตเนียถอนตัวออกจากดินแดนที่มีสิทธิครอบครองใน พ.ศ. 2522 และสงครามอันยืดเยื้อก็ยุติจากการหยุดยิงใน พ.ศ. 2534 ปัจจุบันโมร็อกโกครอบครองดินแดนสองในสาม โมร็อกโกปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญกับรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง กษัตริย์โมร็อกโกมีอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติอย่างมาก โดยเฉพาะการทหาร นโยบายต่างประเทศและศาสนา อำนาจบริหารออกใช้โดยรัฐบาล ขณะที่สภานิติบัญญัติเป็นของรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรโมร็อกโกและราชมนตรีสภาทั้งสองสภา กษัตริย์สามารถออกพระราชกฤษฎีกาที่เรียกว่าดาฮีร์ซึ่งมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย นอกจากนี้กษัตริย์สามารถยุบสภาหลังจากปรึกษานายกรัฐมนตรีและประธานศาลรัฐธรรมนูญ ชาวโมร็อกโกส่วนมากนับถือศาสนาอิสลามมีภาษาราชการคือภาษาอาหรับและภาษาเบอร์เบอร์ ภาษาเบอร์เบอร์เป็นภาษาหลักของโมร็อกโกก่อนที่อาหรับจะมามีบทบาทในคริสศ์ศตวรรษที่ 600 ภาษาอาหรับในโมร็อกโกเรียกว่า Darija โมร็อกโกเป็นสมาชิกของสันนิบาตอาหรับ สหภาพเมดิเตอร์เรเนียนและสหภาพแอฟริกา และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ห้าของแอฟริก. รัฐบาลพลัดถิ่น (government in exile) เป็นกลุ่มการเมืองซึ่งอ้างตัวเป็นรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐเอกราชรัฐหนึ่ง แต่ไม่อาจใช้อำนาจตามกฎหมายในรัฐนั้น และจำต้องพำนักอยู่นอกรัฐดังกล่าว รัฐบาลพลัดถิ่นมักคาดหวังว่า วันหนึ่งจะได้กลับคืนบ้านเมืองและครองอำนาจอย่างเป็นทางการอีกครั้ง รัฐบาลพลัดถิ่นต่างจากรัฐตกค้าง (rump state) ตรงที่รัฐตกค้างยังสามารถควบคุมส่วนหนึ่งส่วนใดในดินแดนเดิมได้อยู่ เช่น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แม้จักรวรรดิเยอรมันเข้ายึดครองประเทศเบลเยียมได้เกือบทั้งประเทศ แต่ประเทศเบลเยียมและพันธมิตรยังครองภาคตะวันตกซึ่งเป็นส่วนน้อยของประเทศได้อยู่ จึงชื่อว่าเป็นรัฐตกค้าง ถ้าเป็นรัฐบาลพลัดถิ่นจะตรงกันข้าม คือ ไม่สามารถครอบครองดินแดนไว้ได้เลย รัฐบาลพลัดถิ่นมักมีขึ้นในช่วงการรบซึ่งดินแดนถูกยึดครองไป หรือมักเป็นผลมาจากสงครามกลางเมือง การปฏิวัติ หรือรัฐประหาร เช่น ระหว่างที่เยอรมนีขยายดินแดนในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลยุโรปหลายชาติได้เข้าลี้ภัยในสหราชอาณาจักรเพื่อไม่ตกอยู่ในกำมือพวกนาซี รัฐบาลพลัดถิ่นยังอาจจัดตั้งขึ้นเนื่องจากเชื่อถือกันอย่างกว้างขวางว่า รัฐบาลซึ่งกำลังผ่านบ้านครองเมืองอยู่นั้นขาดความชอบธรรม เช่น หลังเกิดสงครามกลางเมืองซีเรีย พันธมิตรกองทัพปฏิวัติและฝ่ายค้านซีเรียแห่งชาติ (National Coalition for Syrian Revolutionary and Opposition Forces) ได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยมุ่งหมายจะล้มล้างการปกครองของพรรคบะอัธ (Ba'ath Party) ซึ่งกำลังอยู่ในอำนาจ รัฐบาลพลัดถิ่นจะมีประสิทธิภาพหรือไม่ เบื้องต้นขึ้นอยู่กับว่า ได้รับการสนับสนุนมากหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนจากรัฐบาลต่างชาติหรือจากพลเมืองประเทศตนเอง รัฐบาลพลัดถิ่นบางชุดกลายเป็นกองกำลังอันน่าเกรงขาม เพราะสามารถท้าทายผู้ปกครองประเทศนั้น ๆ ได้อย่างฉกาจฉกรรจ์ ขณะที่รัฐบาลพลัดถิ่นอื่น ๆ ส่วนใหญ่มักมีสถานะเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น ปรากฏการณ์รัฐบาลพลัดถิ่นมีมาก่อนคำว่า "รัฐบาลพลัดถิ่น" จะได้รับการใช้จริง ในยุคกษัตริย์ พระเจ้าแผ่นดินหรือราชวงศ์ที่ถูกอัปเปหิเคยตั้งราชสำนักพลัดถิ่น เช่น ราชวงศ์สจวร์ตซึ่งถูกโอลิเวอร์ ครอมเวล (Oliver Cromwell) ถอดจากบัลลังก์ ก็ไปตั้งราชสำนักพลัดถิ่น และราชวงศ์บูร์บง (House of Bourbon) ก็ทำเช่นเดียวกันในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศสและช่วงนโปเลียน (Napoleon) เถลิงอำนาจ ครั้นเมื่อระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญแพร่หลายขึ้น รัฐบาลกษัตริย์พลัดถิ่นก็เริ่มมีนายกรัฐมนตรีด้วยเหมือนกัน เช่น รัฐบาลพลัดถิ่นเนเธอร์แลนด์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองตั้ง Pieter Sjoerds Gerbrandy เป็นนายกรัฐมนตรี.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ประเทศโมร็อกโกและรัฐบาลพลัดถิ่น

ประเทศโมร็อกโกและรัฐบาลพลัดถิ่น มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ"ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" เป็นศัพท์บัญญัติของ (constitutional monarchy) เป็นรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐโดยไม่ทรงมีบทบาททางการเมืองและทรงอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญไม่ว่าเป็นหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์อาจมีพระราชอำนาจโดยพระบารมีและรัฐบาลอาจดำเนินการในพระนาม แต่พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงกำหนดนโยบายสาธารณะหรือเลือกผู้นำทางการเมือง เวอร์นอน บอกดานอร์ (Vernon Bogdanor) นักรัฐศาสตร์ชาวอังกฤษ นิยามว่า ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ "องค์อธิปัตย์ที่ปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง" (a sovereign who reigns but does not rule), excerpted from การปกครองรูปแบบนี้ต่างจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์ทรงควบคุมการตัดสินใจทางการเมืองโดยไม่ทรงถูกรัฐธรรมนูญควบคุมเอาไว้ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บางทีเรียกว่า ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (limited monarchy) สาธารณรัฐอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (crowned republic) หรือราชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา (parliamentary monarchy) นอกจากเป็นศูนย์รวมใจของชนในชาติแล้ว ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญอาจมีพระราชอำนาจอย่างเป็นทางการ เช่น ยุบสภานิติบัญญัติ หรืออนุมัติกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นพระราชอำนาจทางพิธีการ มิใช่เป็นช่องให้พระมหากษัตริย์จัดการการเมืองได้โดยพลการ วอลเทอร์ แบกฮอต (Walter Bagehot) นักทฤษฎีการเมืองชาวอังกฤษ เขียนไว้ในหนังสือ ดิอิงลิชคอนสติติวชัน (The English Constitution) ว่า มีพระราชสิทธิ์สามประการเท่านั้นที่ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญทรงใช้ได้ตามพระทัย คือ แสวงหาคำปรึกษา ประทานคำปรึกษา และประทานคำตักเตือน ประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่โดดเด่น เช่น สหราชอาณาจักรและอดีตเมืองขึ้นทั้งสิบห้าซึ่งล้วนใช้การปกครองที่เรียกว่า "ระบบเวสมินสเตอร์" (Westminster system) ส่วนรัฐสามแห่ง คือ กัมพูชา มาเลเซีย และสันตะสำนัก ใช้ราชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง โดยให้อภิชนกลุ่มเล็ก ๆ เป็นคณะผู้เลือกตั้งองค์อธิปัตย์ขึ้นมาเป็นระยะ ๆ นับแต่เดือนกรกฎาคม..

ประเทศโมร็อกโกและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ · รัฐบาลพลัดถิ่นและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ประเทศโมร็อกโกและรัฐบาลพลัดถิ่น

ประเทศโมร็อกโก มี 51 ความสัมพันธ์ขณะที่ รัฐบาลพลัดถิ่น มี 14 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 1.54% = 1 / (51 + 14)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศโมร็อกโกและรัฐบาลพลัดถิ่น หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »