โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประเทศเนปาลและมองโกลอยด์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ประเทศเนปาลและมองโกลอยด์

ประเทศเนปาล vs. มองโกลอยด์

ประเทศเนปาล หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (Federal Democratic Republic of Nepal; सङ्घीय लोकतान्त्रिक गणतन्त्र नेपाल "สงฺฆีย โลกตานฺตฺริก คณตนฺตฺร เนปาล") เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ มีพื้นที่ 147,181 ตารางกิโลเมตร และประชากรประมาณ 27 ล้านคน ประเทศเนปาลเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 93 ของโลก และมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 41 ของโลก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย มีพรมแดนทิศเหนือติดสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศใต้ ตะวันออกและตะวันตกติดสาธารณรัฐอินเดีย ประเทศเนปาลแยกจากประเทศบังกลาเทศด้วยฉนวนศิลิกูริ (Siliguri Corridor) แคบ ๆ ในประเทศอินเดีย และแยกจากประเทศภูฏานด้วยรัฐสิกขิมของอินเดีย กรุงกาฐมาณฑุเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศ ภาคเหนือของประเทศเนปาลซึ่งเป็นแถบภูเขามีแปดจากสิบภูเขาสูงสุดในโลก ซึ่งรวมยอดเขาเอเวอร์เรสต์ จุดสูงสุดบนโลก ยอดเขากว่า 240 แห่งซึ่งสูงเกิน 6,096 เมตร (20,000 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเลอยู่ในประเทศเนปาล ส่วนภาคใต้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และชื้น ชาวเนปาลประมาณ 81.3% นับถือศาสนาฮินดู เป็นสัดส่วนสูงสุดในโลก ศาสนาพุทธมีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับประเทศเนปาล และมีประชากรนับถือ 9% ตามด้วยศาสนาอิสลาม 4.4% Kiratism 3.1% ศาสนาคริสต์ 1.4% และวิญญาณนิยม 0.4% ประชากรสัดส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคภูเขา อาจระบุตัวว่าเป็นทั้งฮินดูและพุทธ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของธรรมชาติกลมเกลียวของทั้งสองความเชื่อในประเทศเนปาลก็เป็นได้ ประเทศเนปาลปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยตลอดประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ราชวงศ์ศาหะปกครองตั้งแต่ปี 2311 เมื่อพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะทรงรวมราชอาณาจักรเล็ก ๆ จำนวนมาก จนปี 2551 สงครามกลางเมืองนานหนึ่งทศวรรษซึ่งเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ตามด้วยการประท้วงใหญ่โดยพรรคการเมืองหลักทุกพรรค นำสู่ความตกลง 12 ข้อ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 1 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 ซึ่งตามมาสนับสนุนการเลิกราชาธิปไตยและการสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนหลายพรรคการเมืองอย่างท่วมท้น แม้ความท้าทายทางการเมืองยังดำเนินไป แต่กรอบนี้ยังอยู่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 2 ซึ่งได้รับเลือกตั้งในปี 2556 ในความพยายามเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ประเทศเนปาลเป็นประเทศกำลังพัฒนาโดยมีเศรษฐกิจรายได้ต่ำ อยู่ในอันดับที่ 145 จาก 187 ประเทศในดัชนีการพัฒนามนุษย์ในปี 2557 ประเทศเนปาลยังเผชิญกับความหิวและความยากจนระดับสูง แม้ความท้าทายเหล่านี้ ประเทศเนปาลยังคงมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลผูกมัดยกระดับประเทศจากสถานภาพประเทศด้อยพัฒนาภายในปี 2565. มองโกลอยด์ (Mongoloid) คือ คำจำกัดความของกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียเหนือ เอเชียใต้ อาร์กติก ทวีปอเมริกา และหมู่เกาะแปซิฟิก และเป็นส่วนหนึ่งของ "Three Great Races"(3 เผ่าพันธุ์หลัก) ตามแนวคิดของ Georges Cuvier นักธรรมชาติวิทยาและนักสัตววิทยาชาวฝรั่งเศส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ร่วมกับเผ่าพันธุ์คอเคซอยด์และนิกรอยด์ คำว่า มองโกลอยด์ เป็นการผสมคำระหว่างคำว่า มองโกล(Mongol) หมายถึงชาติพันธุ์มองโกลในเขตทุ่งหญ้าสเตปป์ของภูมิภาคเอเชียเหนือและประเทศมองโกเลียในปัจจุบัน กับ οειδές (-ออยเดส) หรือ είδες (-อิเดส) ในภาษากรีกโบราณ แปลว่า มีรูปแบบของ, มีลักษณะของ เมื่อรวมกันจึงมีความหมายถึง "เผ่าพันธุ์ที่มีลักษณะเหมือนชาวมองโกล" ชาติพันธุ์ในกลุ่มมองโกลอยด์จะมีลักษณะของฟีโนไทป์บางประการที่แสดงออกร่วมกัน อาทิ Epicanthic folds (ชั้นหนังเปลือกตาบนที่พับปิดบริเวณมุมของหัวตา), มีลักษณะทางทันตกรรมแบบ sinodonty, รูปร่างลักษณะบางอย่างเหมือนเด็กแม้ในวัยผู้ใหญ่(Neoteny), Oblique palpebral fissures (ช่องว่างระหว่างเปลือกตาบนและล่างที่มีลักษณะเฉียง), จุดมองโกเลียยังเป็นสิ่งที่ค่อนข้างพบมากในเด็กแรกเกิดจนถึง 4 ขวบ, เส้นผมสีดำและเหยียดตรง, ม่านตาสีน้ำตาลเข้ม, ดวงตารูปเมล็ดอัลมอนด์ และมิติของใบหน้าค่อนข้างแบนเมื่อเทียบกับคอเคซอยด์เป็นต้น แนวคิดเกี่ยวกับเผ่าพันธุ์มองโกลอยด์ในอดีตถูกมองว่าใช้ลักษณะการจำแนกแบบอนุกรมวิธานหรือทำให้ชาติพันธุ์ในกลุ่มมองโกลอยด์กลายเป็นสิ่งมีชีวิตต่างสายวิวัฒนาการ การจำกัดความของคำว่า "มองโกลอยด์" จึงยังเป็นข้อถกเถียงและไม่นิยมใช้ในกลุ่มนักมานุษยวิทยาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ลักษณะของชาวมองโกลอยด์ คือ มีผิวเหลืองหรือน้ำตาล ผมเหยียดตรง เส้นผมค่อนข้างหยาบ ขนตามตัวมีน้อย ศีรษะค่อนข้างกลมและแบน รูปหน้ากลม จมูกไม่กว้าง ไม่โด่ง โหนกแก้มนูนเห็นได้ชัดเจน เบ้าตาตื้น เปลือกตาอูม รูปตาเรียว นัยตาสีน้ำตาลหรือสีดำ ริมฝีปากบาง รูปร่างสันทัด เตี้ยถึงสูงปานกลาง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ประเทศเนปาลและมองโกลอยด์

ประเทศเนปาลและมองโกลอยด์ มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): เอเชียใต้

เอเชียใต้

แผนที่เอเชียใต้ สีเขียวเข้มแสดงเอเชียใต้โดยทั่วไป และสีเขียวอ่อนคือเขตที่สหประชาชาติหมายถึงเอเชียใต้ เอเชียใต้เป็นภูมิภาคของทวีปเอเชีย และเป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน และมัลดีฟส์ มีพื้นที่กว้าง 4,480,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 12% ของทวีปเอเชีย ภูมิภาคนี้ยังเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า อนุทวีปอินเดีย ประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคนี้ทั้งหมดต่างก็เป็นสมาชิกขององค์กรความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียใต้ (The South Asian Association for Regional Cooperation หรือ SAARC) ในบางครั้งพื้นที่บางส่วนหรือทั้งหมดของประเทศอัฟกานิสถาน ก็ถูกจำแนกให้เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียใต้ด้วย อนุภูมิภาคเอเชียใต้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ.

ประเทศเนปาลและเอเชียใต้ · มองโกลอยด์และเอเชียใต้ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ประเทศเนปาลและมองโกลอยด์

ประเทศเนปาล มี 47 ความสัมพันธ์ขณะที่ มองโกลอยด์ มี 17 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 1.56% = 1 / (47 + 17)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศเนปาลและมองโกลอยด์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »