เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ประเทศเช็กเกียและแดนซิงเฮาส์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ประเทศเช็กเกียและแดนซิงเฮาส์

ประเทศเช็กเกีย vs. แดนซิงเฮาส์

็กเกีย (Czechia; Česko) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเช็ก (Czech Republic; Česká republika) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล อยู่ในภูมิภาคยุโรปกลาง พรมแดนทางตอนเหนือจรดประเทศโปแลนด์ ทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือจรดเยอรมนี ทางใต้จรดออสเตรีย และทางตะวันออกจรดสโลวาเกีย เช็กเกียประกอบด้วยภูมิภาคที่เก่าแก่สองส่วน คือ โบฮีเมียและมอเรเวีย และส่วนหนึ่งของภูมิภาคที่สาม เรียกว่า ไซลีเซีย ประเทศนี้ได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 เมืองหลวงของประเทศคือ ปราก เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศด้วย เมืองสำคัญอื่น ๆ ของประเทศ ได้แก่ เบอร์โน, ออสตราวา, เปิลเซน, ฮราเดตส์กราลอเว, เชสเกบุดเยยอวีตเซ และอูสตีนัดลาเบม นับตั้งแต่การยุบเลิกประเทศเชโกสโลวาเกียเมื่อปลายปี พ.ศ. 2535 กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงศึกษาธิการของสาธารณรัฐเช็กได้สนับสนุนให้ใช้ชื่อประเทศแบบสั้นเป็นภาษาอังกฤษว่า "เช็กเกีย" (Czechia) แต่ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก จนกระทั่งในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 คณะรัฐมนตรีสาธารณรัฐเช็กได้มีมติเห็นชอบให้ใช้ชื่อ "เช็กเกีย" เป็นชื่อเรียกประเทศแบบสั้นอย่างเป็นทางการ. แดนซิงเฮาส์ (The Dancing House, Tančící dům) หรือเดิม "เฟรดและจินเกอร์" (Fred and Ginger) เป็นอาคารของบริษัทประกันภัยเนชันเนล-เนเดอร์ลันเดน (Nationale-Nederlanden) จากประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่ Rašínovo nábřeží ณ กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก แดนซิงเฮาสืได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกชาวโครเอเซีย-เช็ก วลาโด มิลูนิก (Vlado Milunić) ร่วมกับสถาปนิกรางวัลพริตซ์เกอร์สัญชาติแคนาดา-อเมริกา แฟรงก์ เกห์รี อาคารได้รับการออกแบบในปี 1992 และสร้างเสร็จในปี 1996 แดนซิงเฮาส์จัดได้ว่าเป็นงานชิ้นเอกชิ้นหนึ่งที่มีความสำคัญต่อลัทธิดีคอนสตรักชันเป็นอย่างมาก อาคารได้ถูกสร้างขึ้นบริเวณพื้นที่มีความสำคัญทางสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นสถานที่เดิมเป็นบ้านที่ถูกทำลายลงภายหลังการทิ้งระเบิดกรุงปรากของเครื่องบินทิ้งระเบิดของสหรัฐอเมริกา ในปี 1945 เกห์รีและมิลูนิกได้เสนอไอเดียอันลึกซึ้งที่ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ การหยุดนิ่งและการเคลื่อนไหว (หยินและหยาง) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนผ่านจากระบอบคอมมิวนิสต์ภายใต้การควบคุมของเชโกสโลวาเกียสู่การแยกการออกเป็นสาธารณรัฐเช็กในระบอบประชาธิปไตย โดยใช้ลัทธิคตินิยมเปลี่ยนแนว (Deconstructivism) มาเป็นสื่อกลางในการสื่อ ก่อนที่แดนซิงเฮาส์จะได้ถูกสร้างขึ้น ก็ได้ถูกโจมตีเรื่องความไม่เหมาะสมของสถานที่ รวมถึงความคิดเห็นของผู้คนบางส่วนที่ไม่เห็นพ้องกับสถาปัตยกรรมสไตล์ใหม่นี้ เพราะภายในรอบบริเวณเมืองปรากเต็มไปด้วยอาคารสไตล์ดั้งเดิมทั้งบารอก กอธิก และพวกอาร์ตนูโว ซึ่งเป็นสไตล์อาคารที่สวยงามในรูปแบบของลวดลายคลาสสิกที่สร้างชื่อเสียงให้กับกรุงปรากเป็นอย่างมาก จนในเวลาต่อมาประธานาธิบดีเช็ก วาเครฟ ฮาเวล (Václav Havel) ได้ให้การสนับสนุนโครงการก่อสร้างนี้ ด้วยความหวังที่จะให้แดนซิงเฮาส์เป็นศูนย์กลางทางกิจกรรมวัฒนธรรม เกห์รี ได้สรรค์สร้างอาคารด้วยไอเดียมาจากการเต้นรำของนักเต้นรำหญิงชาย ซึ่งเดิมได้ตั้งชื่อไว้ว่าเฟรดและจินเกอร์ ที่ย่อมาจากชื่อจริงของนักเต้นรำชาวอเมริกันเฟรด แอสแตร์และจินเกอร์ โรเจอรส์ แต่ชื่อนี้ปัจจุบันไม่นิยมใช้กันแล้ว จนกระทั่งเกห์รีต่อมาเคยกล่าวไว้ว่า "กลัวที่จะส่งศิลปที่ไร้ค่าจากแดนมะกันฮอลลีวูดสู่กรุงปราก" จากรูปลักษณ์ภายนอกอันโดดเด่น ทำให้ธนาคารแห่งประเทศเช็ก ได้นำมาตราในเหรียญเงินมูลค่า 2,000 โครูนาเช็ก ซึ่งเป็นแบบสุดท้ายในชุดซีรีส์ "10 ศตวรรษแห่งสถาปัตยกรรม" (Ten Centuries of Architecture).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ประเทศเช็กเกียและแดนซิงเฮาส์

ประเทศเช็กเกียและแดนซิงเฮาส์ มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สงครามโลกครั้งที่สองประเทศเชโกสโลวาเกียปรากโครูนาเช็ก

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ประเทศเช็กเกียและสงครามโลกครั้งที่สอง · สงครามโลกครั้งที่สองและแดนซิงเฮาส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเชโกสโลวาเกีย

right right เชโกสโลวาเกีย เป็นอดีตประเทศในยุโรปกลาง ปัจจุบันแยกออกเป็นสาธารณรัฐเช็กและประเทศสโลวาเกี.

ประเทศเชโกสโลวาเกียและประเทศเช็กเกีย · ประเทศเชโกสโลวาเกียและแดนซิงเฮาส์ · ดูเพิ่มเติม »

ปราก

รรยากาศภายในกรุงปราก ปราก (Prague) หรือ ปราฮา (Praha) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศเช็กเกีย มีประชากรอาศัยประมาณ 1.2 ล้านคน เมื่อ ค.ศ. 1992 องค์การยูเนสโก ได้ประกาศให้ปรากเป็นมรดกโลก.

ประเทศเช็กเกียและปราก · ปรากและแดนซิงเฮาส์ · ดูเพิ่มเติม »

โครูนาเช็ก

รูนาเช็ก เป็นสกุลเงินของประเทศเช็กเกีย อักษรย่อตามรหัส ISO 4217 คือ CZK ใน 1 โครูนาประกอบด้วย 100 ฮาเลรู เหรียญประกอบด้วยเหรียญ 50 ฮาเลรู, 1, 2, 5, 10, 20 และ 50 โครูนา (สำหรับ 20 โครูนา นิยมใช้เหรียญมากกว่า และสำหรับ 50 โครูนา นิยมใช้ธนบัตรมากกว่า) ธนบัตรประกอบด้วยธนบัตร 20, 50, 100, 200, 500, 1000, 2000 และ 5000 โครูน.

ประเทศเช็กเกียและโครูนาเช็ก · แดนซิงเฮาส์และโครูนาเช็ก · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ประเทศเช็กเกียและแดนซิงเฮาส์

ประเทศเช็กเกีย มี 54 ความสัมพันธ์ขณะที่ แดนซิงเฮาส์ มี 18 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 5.56% = 4 / (54 + 18)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศเช็กเกียและแดนซิงเฮาส์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: