โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประเทศเช็กเกียและหนี้สาธารณะ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ประเทศเช็กเกียและหนี้สาธารณะ

ประเทศเช็กเกีย vs. หนี้สาธารณะ

็กเกีย (Czechia; Česko) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเช็ก (Czech Republic; Česká republika) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล อยู่ในภูมิภาคยุโรปกลาง พรมแดนทางตอนเหนือจรดประเทศโปแลนด์ ทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือจรดเยอรมนี ทางใต้จรดออสเตรีย และทางตะวันออกจรดสโลวาเกีย เช็กเกียประกอบด้วยภูมิภาคที่เก่าแก่สองส่วน คือ โบฮีเมียและมอเรเวีย และส่วนหนึ่งของภูมิภาคที่สาม เรียกว่า ไซลีเซีย ประเทศนี้ได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 เมืองหลวงของประเทศคือ ปราก เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศด้วย เมืองสำคัญอื่น ๆ ของประเทศ ได้แก่ เบอร์โน, ออสตราวา, เปิลเซน, ฮราเดตส์กราลอเว, เชสเกบุดเยยอวีตเซ และอูสตีนัดลาเบม นับตั้งแต่การยุบเลิกประเทศเชโกสโลวาเกียเมื่อปลายปี พ.ศ. 2535 กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงศึกษาธิการของสาธารณรัฐเช็กได้สนับสนุนให้ใช้ชื่อประเทศแบบสั้นเป็นภาษาอังกฤษว่า "เช็กเกีย" (Czechia) แต่ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก จนกระทั่งในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 คณะรัฐมนตรีสาธารณรัฐเช็กได้มีมติเห็นชอบให้ใช้ชื่อ "เช็กเกีย" เป็นชื่อเรียกประเทศแบบสั้นอย่างเป็นทางการ. หนี้สาธารณะ (Public debt) หรือ หนี้ของรัฐบาล (Government debt) คือหนี้ที่ถือโดยรัฐบาลกลาง, หน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น, องค์กรของรัฐ รวมไปถึง รัฐวิสาหกิจ ตลอดจนการค้ำประกันหนี้สินโดยรัฐบาล ซึ่งการเกิดขึ้นของหนี้สาธารณะส่วนใหญ่ของรัฐบาลทั่วโลก มาจากการดำเนินนโยบายของรัฐแบบขาดดุล หรือก็คือรายได้ของรัฐน้อยกว่ารายจ่ายของรัฐ ทำให้ต้องมีการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลในแต่ละรอบปีงบประมาณ การกู้เงินของรัฐบาล มีได้หลายช่องทาง รัฐอาจกู้จากสถาบันการเงินภายในประเทศ (เช่น ธนาคารพาณิชย์ และ ธนาคารกลาง), สถาบันการเงินต่างประเทศ, เอกชน, รัฐบาลต่างประเทศ หรือ องค์กรทางการเงินระหว่างประเทศ อาทิ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ), องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) เป็นต้น คนทั่วไปมักมองว่ารัฐบาลไม่ควรก่อหนี้สาธารณะ เพราะหนี้สาธารณะนั้นจะนำมาซึ่งความสูญเสียเสถียรภาพทางการคลังและการเงินของประเทศ ซึ่งท้ายที่สุดจะทำให้ประเทศเกิดวิกฤติการทางการเงิน ทัศนคตินี้ไม่เป็นจริงเสมอไปหากรัฐบาลมีการบริหารจัดการสภาพคล่องของรัฐให้ดี มีวัตถุประสงค์ในการใช้เงินที่เหมาะสม และรักษาสัดส่วนหนี้ในประเทศและต่างประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เนื่องจากหนี้ในประเทศมีความยืดหยุ่นในการบริหารและความเสี่ยงต่ำกว่าหนี้ต่างประเทศ เพราะรัฐบาลที่มีอำนาจรัฐสามารถเจรจากับเจ้าหนี้ ซึ่งอยู่ใต้อำนาจรัฐได้ ทั้งยังสามารถหลีกเลี่ยงความผันผวนของค่าเงิน ตลอดจนสถานการณ์ของโลก นอกจากนี้ความสามารถในการบริหารสภาพคล่องและหนี้สาธารณะ ยังเป็นปัจจัยสำคัญ ต่อการยกอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ประเทศสามารถจัดหาแหล่งทุนจากต่างประเทศได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง การผิดนัดชำระหนี้สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนี้สาธารณะต่างประเทศนั้น ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก เนื่องจากอาจนำมาซึ่งการถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจภาพรวม ทำให้สถานการณ์ที่แย่อยู่แล้วแย่ลงไปอีก ดังนั้นเมื่อประเทศเผชิญหน้ากับความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้ หรือบริหารสภาพคล่องไม่ทัน วิธีที่นิยมคือการขอกู้เงินจากแหล่งใหม่เพื่อไปใช้หนี้แก่เจ้าหนี้รายเก่า อย่างไรก็ตาม การกู้เงินจากแหล่งใหม่โดยเฉพาะจากต่างประเทศในสถานการณ์ที่ย่ำแย่ มักจะถูกฝ่ายผู้ให้กู้ตั้งเงื่อนไขที่เป็นพันธสัญญาให้รัฐบาลผู้ขอกู้ต้องปฏิบัติตาม อาทิ มาตรการรัดเข็มขัด (ลดรายจ่าย) สำหรับหนี้สาธารณะของประเทศไทยนั้น สามารถตรวจสอบได้ที่เว็บไซด์สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (http://www.pdmo.go.th/index.php) ซึ่งสถานะหนี้สาธารณะล่าสุดของไทยอยู่ที่ 173.98 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 45.34% ของจีดีพี.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ประเทศเช็กเกียและหนี้สาธารณะ

ประเทศเช็กเกียและหนี้สาธารณะ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ประเทศเช็กเกียและหนี้สาธารณะ

ประเทศเช็กเกีย มี 54 ความสัมพันธ์ขณะที่ หนี้สาธารณะ มี 13 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (54 + 13)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศเช็กเกียและหนี้สาธารณะ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »