โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประเทศอิหร่านและพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ประเทศอิหร่านและพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี

ประเทศอิหร่าน vs. พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน.. ระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี (Rezā Ŝāh Pahlawi พระนามเดิม เรซา ข่าน (15 มีนาคม ค.ศ. 1878 – 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1944) เป็นชาห์แห่งจักรวรรดิเปอร์เซียThe Columbia Encyclopedia, 6th ed.: ตั้งแต่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1925 จนกระทั่งทรงถูกบังคับให้สละราชสมบัติโดยสหราชอาณาจักร-สหภาพโซเวียตภายหลังทั้งสองกองทัพได้รุกรานอิหร่าน เมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1941 ในปี 1925 ชาห์ เรซา ได้ทำการโค่นล้มราชบัลลังก์ของพระเจ้าชาห์อะหมัด ชาห์ กอญัร ชาห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์กอญัร และก่อตั้งราชวงศ์ปาห์ลาวีขึ้น พระองค์ทรงใช้ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญปกครองอิหร่าน จนกระทั่งถูกล้มล้างในปี ค.ศ. 1979 ในช่วงการปฏิวัติอิหร่าน พระเจ้าชาห์ เรซา ทรงเป็นผู้นำให้มีการปฏิรูปสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองจำนวนมากในช่วงรัชสมัยของพระองค์ และท้ายที่สุดคือการวางรากฐานของรัฐอิหร่านที่ทันสมัย พระราชมรดกของพระองค์ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่จนถึงทุกวันนี้ ป้อมปราการของพระองค์ยืนยันว่าพระองค์เป็นแรงผลักดันให้อิหร่านเข้าไปสู่ความทันสมัย ในขณะที่ผู้คนวิพากษ์วิจารณ์ว่าการครองราชย์ของพระองค์นั้นเป็นเผด็จการและจะนำไปสู่ความล้มเหลวในที่สุด แม้ว่าพระองค์จะพยายามนำอิหร่านไปสู่ความก้าวหน้าเพียงใด ท้ายที่สุดประชาชนในชนบทก็ได้หว่านเมล็ดพันธ์ที่นำไปสู่การปฏิวัติอิหร่านในที่สุดAbrahamian, History of Modern Iran, (2008), p.91.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ประเทศอิหร่านและพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี

ประเทศอิหร่านและพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พ.ศ. 2468พ.ศ. 2522พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวีการปฏิวัติอิหร่านราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

พ.ศ. 2468

ทธศักราช 2468 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1925 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ประเทศอิหร่านและพ.ศ. 2468 · พ.ศ. 2468และพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2522

ทธศักราช 2522 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1979 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ประเทศอิหร่านและพ.ศ. 2522 · พ.ศ. 2522และพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี

ระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี (เปอร์เซีย: محمدرضا شاه پهلوی, พระราชสมภพ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1919 ณ เตหะราน ประเทศอิหร่าน – สวรรคต 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1980 ณ ไคโร ประเทศอียิปต์) หรือ จักรพรรดิชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระองค์ทรงเป็นชาห์แห่งอิหร่านซึ่งเป็นชาห์องค์สุดท้ายที่ปกครองอิหร่าน โดยพระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ปาห์ลาวีซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองประเทศอิหร่านก่อนการปฏิวัติอิสลาม พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี ได้รับการขนานพระนามเป็น ชาฮันชาห์ (Shahanshah ราชันย์แห่งราชา เทียบเท่าตำแหน่งจักรพรรดิ), อัรยาเมหร์ (Aryamehr แสงแห่งอารยัน) และ บอซอร์ก อาร์เตสตาราน (Bozorg Arteshtārān จอมทัพ, เปอร์เซีย:بزرگ ارتشتاران).

ประเทศอิหร่านและพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี · พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวีและพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติอิหร่าน

การปฏิวัติอิหร่าน (หรือเรียก การปฏิวัติอิสลาม หรือการปฏิวัติ ค.ศ. 1979; เปอร์เซีย: انقلاب اسلامی, Enghelābe Eslāmi หรือ انقلاب بیست و دو بهمن) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการโค่นราชวงศ์ปาห์ลาวีภายใต้พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา และการแทนที่ด้วยสาธารณรัฐอิสลามภายใต้รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี ผู้นำการปฏิวัติ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์การฝ่ายซ้ายและอิสลามหลายแห่ง และขบวนการนักศึกษาอิหร่าน เริ่มการเดินขบวนต่อต้านชาห์ในเดือนตุลาคม 2520 พัฒนาเป็นการรณรงค์การดื้อแพ่งซึ่งมีทั้งภาคฆราวาสและศาสนา ซึ่งบานปลายในเดือนมกราคม 2521 ระหว่างเดือนสิงหาคมและธันวาคม 2521 การนัดหยุดงานและการเดินขบวนทำให้ประเทศเป็นอัมพาต ชาห์เสด็จออกนอกประเทศอิหร่านเพื่อลี้ภัยเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2522 เป็นพระมหากษัตริย์เปอร์เซียพระองค์สุดท้าย ปล่อยภาระหน้าที่ให้สภาผู้สำเร็จราชการและนายกรัฐมนตรีที่อิงฝ่ายค้าน รัฐบาลเชิญรูฮุลลอฮ์ โคมัยนีกลับประเทศอิหร่าน และกลับสู่กรุงเตหะรานซึ่งมีชาวอิหร่านหลายล้านคนรอต้อนรับ การทรงราชย์สิ้นสุดหลังวันที่ 11 กุมภาพันธ์ เมื่อกองโจรและทหารกบฏชนะกำลังซึ่งภักดีต่อชาห์ในการสู้รบด้วยอาวุธตามถนน นำให้โคมัยนีเถลิงอำนาจอย่างเป็นทางการ อิหร่านออกเสียงลงคะแนนการลงประชามติทั่วประเทศให้เป็นสาธารณรัฐอิสลามเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2522 และรับรองรัฐธรรมนูญเทวาธิปไตย-สาธารณรัฐนิยมฉบับใหม่Kurzman ซึ่งโคมัยนีกลายเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศ ในเดือนธันวาคม 2522 การปฏิวัตินี้แปลกสำหรับความประหลาดใจที่สร้างไปทั่วโลก เพราะขาดสาเหตุการปฏิวัติดังที่เคยมีมา (เช่น แพ้สงคราม วิกฤตการณ์การเงิน กบฏชาวนาหรือกองทัพไม่พอใจ) เกิดในชาติที่มีความมั่งคั่งทางวัตถุและเจริญรุ่งเรืองค่อนข้างดี มีความเปลี่ยนแปลงลึกซึ้งด้วยความเร็ว เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางทำให้มีการลี้ภัยของชาวอิหร่านจำนวนมากKurzman, p. 121 และแทนกึ่งสมบูรณาญาสิทธิราชนิยมตะวันตกด้วยเทวาธิปไตยอำนาจนิยมต่อต้านตะวันตกInternational Journal of Middle East Studies, 19, 1987, p. 261โดยยึดมโนทัศน์ความอนุบาลของนักนิติศาสตร์อิสลาม (Guardianship of the Islamic Jurists หรือ velayat-e faqih) เป็นการปฏิวัติที่ค่อนข้างไม่รุนแรง และช่วยนิยามความหมายและการปฏิบัติของการปฏิวัติสมัยใหม่ใหม่ (แม้มีความรุนแรงให้หลังการปฏิวัติ).

การปฏิวัติอิหร่านและประเทศอิหร่าน · การปฏิวัติอิหร่านและพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี · ดูเพิ่มเติม »

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ"ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" เป็นศัพท์บัญญัติของ (constitutional monarchy) เป็นรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐโดยไม่ทรงมีบทบาททางการเมืองและทรงอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญไม่ว่าเป็นหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์อาจมีพระราชอำนาจโดยพระบารมีและรัฐบาลอาจดำเนินการในพระนาม แต่พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงกำหนดนโยบายสาธารณะหรือเลือกผู้นำทางการเมือง เวอร์นอน บอกดานอร์ (Vernon Bogdanor) นักรัฐศาสตร์ชาวอังกฤษ นิยามว่า ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ "องค์อธิปัตย์ที่ปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง" (a sovereign who reigns but does not rule), excerpted from การปกครองรูปแบบนี้ต่างจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์ทรงควบคุมการตัดสินใจทางการเมืองโดยไม่ทรงถูกรัฐธรรมนูญควบคุมเอาไว้ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บางทีเรียกว่า ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (limited monarchy) สาธารณรัฐอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (crowned republic) หรือราชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา (parliamentary monarchy) นอกจากเป็นศูนย์รวมใจของชนในชาติแล้ว ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญอาจมีพระราชอำนาจอย่างเป็นทางการ เช่น ยุบสภานิติบัญญัติ หรืออนุมัติกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นพระราชอำนาจทางพิธีการ มิใช่เป็นช่องให้พระมหากษัตริย์จัดการการเมืองได้โดยพลการ วอลเทอร์ แบกฮอต (Walter Bagehot) นักทฤษฎีการเมืองชาวอังกฤษ เขียนไว้ในหนังสือ ดิอิงลิชคอนสติติวชัน (The English Constitution) ว่า มีพระราชสิทธิ์สามประการเท่านั้นที่ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญทรงใช้ได้ตามพระทัย คือ แสวงหาคำปรึกษา ประทานคำปรึกษา และประทานคำตักเตือน ประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่โดดเด่น เช่น สหราชอาณาจักรและอดีตเมืองขึ้นทั้งสิบห้าซึ่งล้วนใช้การปกครองที่เรียกว่า "ระบบเวสมินสเตอร์" (Westminster system) ส่วนรัฐสามแห่ง คือ กัมพูชา มาเลเซีย และสันตะสำนัก ใช้ราชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง โดยให้อภิชนกลุ่มเล็ก ๆ เป็นคณะผู้เลือกตั้งองค์อธิปัตย์ขึ้นมาเป็นระยะ ๆ นับแต่เดือนกรกฎาคม..

ประเทศอิหร่านและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ · พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวีและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ประเทศอิหร่านและพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี

ประเทศอิหร่าน มี 147 ความสัมพันธ์ขณะที่ พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี มี 20 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 2.99% = 5 / (147 + 20)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศอิหร่านและพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »