โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประเทศอิสราเอลและราชอาณาจักรอียิปต์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ประเทศอิสราเอลและราชอาณาจักรอียิปต์

ประเทศอิสราเอล vs. ราชอาณาจักรอียิปต์

ประเทศอิสราเอล (Israel; יִשְׂרָאֵל; إِسْرَائِيل) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐอิสราเอล (State of Israel; מְדִינַת יִשְׂרָאֵל; دَوْلَة إِسْرَائِيل) เป็นประเทศในตะวันออกกลางบนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและชายฝั่งเหนือของทะเลแดง มีเขตแดนทางบกติดต่อกับประเทศเลบานอนทางทิศเหนือ ประเทศซีเรียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศจอร์แดนทางทิศตะวันออก ดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาของปาเลสไตน์ทางทิศตะวันออกและตะวันตกตามลำดับ และประเทศอียิปต์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศอิสราเอลมีภูมิลักษณ์หลากหลายแม้มีพื้นที่ค่อนข้างเล็ก เทลอาวีฟเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศ ส่วนที่ตั้งรัฐบาลและเมืองหลวงตามประกาศคือ เยรูซาเลม แม้อำนาจอธิปไตยของรัฐเหนือเยรูซาเลมยังไม่มีการรับรองในระดับนานาประเทศThe Jerusalem Law states that "Jerusalem, complete and united, is the capital of Israel" and the city serves as the seat of the government, home to the President's residence, government offices, supreme court, and parliament. ราชอาณาจักรอียิปต์ (المملكة المصرية) เป็นชื่อของรัฐอิยิปต์สมัยใหม่รัฐแรก ซึ่งดำรงอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1922 - ค.ศ. 1953 ราชอาณาจักรได้รับสถาปนาขึ้นในปี ค.ศ. 1922 เมื่อสหราชอาณาจักรตัดสินใจจะให้อียิปต์พ้นจากฐานะความเป็นรัฐในอารักขาของตนซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1914 สุลต่านฟูอัดที่ 1 เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของราชอาณาจักรแห่งนี้ ต่อมาพระเจ้าฟารุกที่ 1 จึงทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดาในปี ค.ศ. 1936 ก่อนหน้าสมัยราชอาณาจักร ประเทศอียิปต์ได้ถูกยึดครองและควบคุมโดยสหราชอาณาจักรนับตั้งแต่ ค.ศ. 1882 เมื่อมหาอำนาจยุโรปได้ส่งกองทัพเข้ามาสนับสนุนการปกครองระบอบเคดีฟเพื่อต่อต้านการลุกฮือของขบวนการชาตินิยม เหตุการณ์ดังกล่าวได้เป็นจุดเริ่มต้นให้สหราชอาณาจักรเข้าควบคุมอียิปต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมันแต่เพียงในนาม ในปี ค.ศ. 1914 ผลจากการประกาศสงครามต่อจักรวรรดิออตโตมันได้ทำให้สหราชอาณาจักรต้องประกาศให้อียิปต์เป็นรัฐในอารักขาและถอดถอนเคดีฟออกจากตำแหน่ง พร้อมทั้งแต่งตั้งฮุสเซน กามิล พระญาติของเคดีฟ ขึ้นเป็นสุลต่านแห่งอียิปต์แทน อียิปต์ได้รับการสถาปนาและได้รับการยอมรับโดยสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1922 โดยมีพระเจ้าฟูอัดที่ 1 แห่งอียิปต์ ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ และได้ต่อสู้ทางการเมืองกับพรรควาฟด์ (Wafd) อันเป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่แนวทางชาตินิยมที่ต่อต้านทั้งอิทธิพลของสหราชอาณาจักรและประเทศสหราชอาณาจักร ซึ่งพรรคดังกล่าวต้องการจะให้อียิปต์เข้าควบคุมคลองสุเอซโดยตรง นอกจากนั้นยังมีขบวนการทางการเมืองอื่นๆ ที่เคลื่อนไหวในยุคนี้ เช่น พรรคคอมมิวนิสต์อียิปต์ (ก่อตั้ง ค.ศ. 1925) และขบวนการภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood - ก่อตั้ง ค.ศ. 1928) ซึ่งขบวนการหลังนี้เป็นขบวนการที่ทรงอำนาจทั้งทางการเมืองและศาสนา พระเจ้าฟูอัดที่ 1 เสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1936 ราชสมบัติจึงตกอยู่กับเจ้าชายฟารุกซึ่งขณะนั้นมีพระชนม์ได้ 16 พรรษา การรุกรานเอธิโอเปียโดยอิตาลีในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน เป็นสัญญานเตือนให้พระองค์ต้องลงพระนามในสนธิสัญญาอังกฤษ-อียิปต์ เพื่อให้สหราชอาณาจักรถอนทหารออกไปจากอียิปต์ทั้งหมด โดยยกเว้นเพียงบริเวณคลองสุเอซ ซึ่งสหราชอาณาจักรได้ตกลงถอนทหารในปี ค.ศ. 1949 ราชอาณาจักรอียิปต์ประสบความยุ่งยากจากภาวะการฉ้อราษฎร์บังหลวงและการที่พลเมืองของตนเองมองว่าประเทศของตนเป็นเพียงหุ่นเชิดของสหราชอาณาจักร จากเหตุเหล่านี้ และซ้ำเติมด้วยสงครามอาหรับ-อิสราเอล ในปี ค.ศ. 1948 ได้นำไปสู่การปฏิวัติอียิปต์ในปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ประเทศอิสราเอลและราชอาณาจักรอียิปต์

ประเทศอิสราเอลและราชอาณาจักรอียิปต์ มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาษาอาหรับระบบรัฐสภาสงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1948จักรวรรดิออตโตมันคลองสุเอซประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนประเทศอียิปต์

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ประเทศอิสราเอลและภาษาอาหรับ · ภาษาอาหรับและราชอาณาจักรอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบรัฐสภา

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ที่ไม่มีอำนาจในการปกครอง ระบบรัฐสภา เป็นกลไกการปกครอง ที่ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลมีที่มาจากรัฐสภาซึ่งทำหน้าที่นิติบัญญัติ และมีความรับผิดชอบต่อสภา ในระบบรัฐสภา ตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ และตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลมักจะแยกออกจากกัน โดยหัวหน้ารัฐบาลเป็นนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ประมุขแห่งรัฐเป็นพระมหากษัตริย์ตามการสืบสันตติวงศ์ หรือประธานาธิบดีจากการเลือกตั้ง ระบบรัฐสภาสมัยใหม่มีต้นกำเนิดในอังกฤษใน ศตวรรษที่17 โดยมีประเทศที่ใช้ระบบสาธารณรัฐระบบรัฐสภาได้แก่ เยอรมนี อิตาลี อินเดีย ออสเตรีย ฮังการี ตุรกี อิรัก อิสราเอล ปากีสถาน สิงคโปร์ ไอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ ฟินแลนด์ กรีซ เซอร์เบีย เช็กเกีย บัลแกเรีย เนปาล บังกลาเทศ เอธิโอเปีย ซูรินาม เป็นต้น ส่วนประเทศที่ใช้ระบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญได้แก่ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น ไทย กัมพูชา มาเลเซีย สเปน สวีเดน นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม เดนมาร์ก แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ลักเซมเบิร์ก ลิกเตนสไตน์ โมนาโก อันดอร์รา เป็นต้น.

ประเทศอิสราเอลและระบบรัฐสภา · ระบบรัฐสภาและราชอาณาจักรอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1948

งครามอาหรับ-อิสราเอล..

ประเทศอิสราเอลและสงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1948 · ราชอาณาจักรอียิปต์และสงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1948 · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออตโตมัน

ักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire, Osmanlı İmparatorluğu, โอสมานลือ อิมพาราโทรลู) ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) หลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูล) เป็นเมืองหลวง สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 เป็นผู้นำในการทำสงคราม ตอนแรกที่ยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองคอนสแตนติโนเปิลใหม่เป็น อิสตันบูล และเปลี่ยนโบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์ เป็นมัสยิดในศาสนาอิสลาม จักรวรรดิออตโตมันมีอาณาเขตที่ครอบคลุมถึง 3 ทวีป ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา และยุโรป ซึ่งขยายไปไกลสุดถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ทางตะวันตก นครเวียนนาทางทิศเหนือ ทะเลดำทางทิศตะวันออก และอียิปต์ทางทิศใต้ จักรวรรดิออตโตมันล่มสลายในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) มีจักรพรรดิเมห์เหม็ดที่ 6 เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้าย และมีสาธารณรัฐตุรกี ขึ้นมาแทนที่ และมีมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก.

จักรวรรดิออตโตมันและประเทศอิสราเอล · จักรวรรดิออตโตมันและราชอาณาจักรอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

คลองสุเอซ

ลองสุเอซ (Suez Canal) เป็นคลองที่มนุษย์สร้างขึ้นในประเทศอียิปต์ ระหว่าง Port Said (Būr Sa'īd) ฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และเมืองสุเอซ (Suez) บนฝั่งทะเลแดง มีความยาว 183 กิโลเมตร คลองสุเอซเชื่อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเข้ากับทะเลแดง ผ่านช่องแคบสุเอซ ในอียิปต์ตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทาง 101 ไมล์ เดิมทีมันถูกขุดขึ้นด้วยมือ ปัจจุบัน สามารถรองรับเรือยาว 500 ม. กว้าง 70 ม. ลึก 70 ม. ไม่มีประตูกั้นน้ำเพราะทะเลทั้ง 2 แห่งมีระดับเดียวกัน คลองสุเอซเริ่มสร้างในเดือนเมษายน ปี 1859 แล้วเสร็จในเดิอนพฤศจิกายน ปี 1869 เป็นตัวเชื่อมสำคัญในการค้าระดับโลกเนื่องจากเป็นเส้นทางลัดระหว่างยุโรปและเอเซีย ขจัดการเดินทางอ้อมแหลมกู๊ดโฮป ทวีปแอฟริกา คลองสุเอซช่วยให้การเดินทางระหว่างทวีปยุโรปกับทวีปเอเชียสั้นลงเป็นอย่างมาก เนื่องจากเรือไม่ต้องเดินทางอ้อมทวีปแอฟริกา ก่อนการสร้างคลองนั้น ใช้การขนถ่ายสินค้าทางบกระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลแดง คลองสุเอซแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนเหนือและส่วนใต้ โดยมีทะเลสาบเกรตบิตเตอร์ (Great Bitter) เป็นจุดกลาง.

คลองสุเอซและประเทศอิสราเอล · คลองสุเอซและราชอาณาจักรอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน

ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน (representative democracy) เป็นประชาธิปไตยแบบหนึ่งซึ่งตั้งอยู่บนหลักว่า ข้าราชการจากการเลือกตั้งเป็นผู้แทนกลุ่มประชาชน ซึ่งขัดต่อประชาธิปไตยทางตรง ประชาธิปไตยแบบตะวันตกสมัยใหม่ทั้งหมดเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนประเภทใดประเภทหนึ่งทั้งสิ้น เช่น สหราชอาณาจักรเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเยอรมนีเป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนเป็นองค์ประกอบของทั้งระบบรัฐสภาหรือระบบประธานาธิบดี และตรงแบบใช้ในสภาล่าง เช่น สภาสามัญชน (สหราชอาณาจักร) หรือบุนเดชตัก (เยอรมนี) และอาจกำกับอีกทีหนึ่งโดยข้อบังคับตามรัฐธรรมนูญ เช่น สภาสูง ในสภานั้น อำนาจอยู่ในมือของผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน หมวดหมู่:ประชาธิปไตย.

ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนและประเทศอิสราเอล · ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนและราชอาณาจักรอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอียิปต์

รณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt; جمهورية مصر العربية) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (Egypt; مصر มิส-ร) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรไซนาย (เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ ชื่อ "อียิปต์" (Egypt) มาจากชื่อภาษาละตินว่า "ไอกิปตุส" (Aegyptus) และชื่อภาษากรีกว่า "ไอกึปตอส" (Αιγυπτος) ทั้งสองรูปมีที่มาอีกทอดหนึ่งจากภาษาอียิปต์ว่า "ฮิ-คุ-ปตาห์" (Hi-ku-ptah) ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองที.

ประเทศอิสราเอลและประเทศอียิปต์ · ประเทศอียิปต์และราชอาณาจักรอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ประเทศอิสราเอลและราชอาณาจักรอียิปต์

ประเทศอิสราเอล มี 108 ความสัมพันธ์ขณะที่ ราชอาณาจักรอียิปต์ มี 25 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 5.26% = 7 / (108 + 25)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศอิสราเอลและราชอาณาจักรอียิปต์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »