โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประเทศสเปนและราชอาณาจักรกัสติยา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ประเทศสเปนและราชอาณาจักรกัสติยา

ประเทศสเปน vs. ราชอาณาจักรกัสติยา

ความแตกต่างระหว่าง ประเทศสเปนและราชอาณาจักรกัสติยา ไม่สามารถใช้ได้

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ประเทศสเปนและราชอาณาจักรกัสติยา

ประเทศสเปนและราชอาณาจักรกัสติยา มี 13 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บายาโดลิดบูร์โกสภาษาบาสก์ภาษาสเปนภาษาอาหรับศาสนายูดาห์ศาสนาอิสลามศาสนาคริสต์สมัยกลางทวีปยุโรปคาบสมุทรไอบีเรียโรมันคาทอลิกโตเลโด

บายาโดลิด

ปลาซามายอร์ (จัตุรัสหลัก) และศาลาว่าการของเมืองบายาโดลิด บายาโดลิด (Valladolid) เป็นเมืองอุตสาหกรรมในที่ราบภาคกลางค่อนไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศสเปน ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปีซวยร์กา ซึ่งเป็นแควสาขาของแม่น้ำดวยโร ในเขตทำไวน์ที่ชื่อว่ารีเบราเดลดวยโร (Ribera del Duero) โดยมีฐานะเป็นเมืองหลักของทั้งจังหวัดบายาโดลิดและแคว้นกัสติยา-เลออน.

บายาโดลิดและประเทศสเปน · บายาโดลิดและราชอาณาจักรกัสติยา · ดูเพิ่มเติม »

บูร์โกส

ที่ตั้งเมืองบูร์โกสในประเทศสเปน มหาวิหารบูร์โกส อนุสาวรีย์เอลซิด ช่องโค้งซานตามารีอา บูร์โกส (Burgos) เป็นเมืองหลักของจังหวัดบูร์โกสในแคว้นกัสติยาและเลออน ทางภาคเหนือของประเทศสเปน ตั้งอยู่บริเวณขอบด้านเหนือของที่ราบสูงตอนกลาง (Meseta Central) ห่างจากบายาโดลิดเมืองหลักของแคว้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 122 กิโลเมตร และห่างจากกรุงมาดริดไปทางทิศเหนือ 244.7 กิโลเมตร มีประชากรประมาณ 173,600 คนเฉพาะในอาณาเขตของเมืองและอีกประมาณ 10,000 คนในเขตชานเมือง ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่ามีมนุษย์ดึกดำบรรพ์ (เช่น มนุษย์นีแอนเดอร์ทัล) เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณที่เป็นเมืองบูร์โกสในปัจจุบันอย่างน้อยตั้งแต่ยุคหินใหม่ และเมื่อชาวโรมันได้เข้าครอบครองพื้นที่แถบนี้ ก็พบว่ามีชนพื้นเมืองเคลติเบเรียนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว ในสมัยจักรวรรดิโรมันดินแดนนี้เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดฮิสปาเนียซีเตรีออร์และของจังหวัดฮิสปาเนียตาร์ราโกเนนซิสในเวลาต่อมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชาววิซิกอทสามารถขับไล่ชาวซูเอบีออกไปได้และมีอำนาจในแถบนี้แทน จนกระทั่งชาวอาหรับบุกยึดคาบสมุทรไอบีเรียในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 แถบนี้จึงตกเป็นของชาวอาหรับด้วย แต่ก็ไม่ได้ทิ้งร่องรอยที่แสดงการครอบครองไว้มากนัก พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 3 มหาราชทรงตีเมืองนี้คืนได้สำเร็จประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 9 และสร้างปราสาทไว้เป็นจำนวนมากเพื่อใช้ป้องกันอาณาจักรของชาวคริสต์ทางเหนือที่ได้ขยายพื้นที่ลงมาทางทิศใต้นับจากนั้น ดินแดนแถบนี้ภายหลังจึงมีชื่อเรียกว่า กัสติยา ซึ่งแปลว่า "ดินแดนแห่งปราสาท" บูร์โกสได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นเมืองตั้งแต่ ค.ศ. 884 เมื่อเดียโก โรดรีเกซ ปอร์เซโลส (Diego Rodríguez Porcelos) เคานต์แห่งกัสติยาปกครองดินแดนแถบนี้โดยมีคำสั่งให้สนับสนุนการเพิ่มของจำนวนประชากรชาวคริสต์ เขาก็ได้รวบรวมผู้คนในพื้นที่ชนบทรอบ ๆ เข้ามาอยู่ในหมู่บ้านที่ล้อมรอบด้วยป้อมปราการแห่งนี้ โดยมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านบริเวณเขตแดนอาณาจักรชาวคริสต์ที่กำลังขยายเขตออกไปดังกล่าว ชื่อในภาษาของชาววิซิกอทของเมืองบูร์โกส (baurgs) มีความหมายว่า "หมู่บ้านซึ่งล้อมรอบด้วยกำแพงที่มั่นคง" ต่อมาเมืองนี้ก็เริ่มมีคำเรียกต่อท้ายชื่อว่า "กาปุตกัสเตลไล" (Caput Castellae) แปลว่า "หัวหน้าของกัสติยา" เคาน์ตีแห่งบูร์โกสซึ่งขึ้นต่อกษัตริย์แห่งเลออนนั้นยังคงถูกปกครองต่อมาโดยเคานต์อีกหลายคนและเริ่มขยายเขตออกไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเฟร์นัน กอนซาเลซ (Fernán González) เคานต์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งได้ประกาศเอกราชขณะที่ราชอาณาจักรเลออนอ่อนแอลง บูร์โกสเป็นที่ตั้งของสำนักบิชอปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 และในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ก็กลายเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรกัสติยา นอกจากนี้ยังเป็นที่หยุดพักหลักบนเส้นทางที่จะไปสู่เมืองซานเตียโกเดกอมโปสเตลาของบรรดานักแสวงบุญ และเป็นศูนย์กลางทางการค้าระหว่างดินแดนแถบทะเลกันตาเบรียกับดินแดนทางทิศใต้ เป็นจุดดึงดูดพ่อค้าชาวต่างชาติจำนวนมาก ซึ่งต่อมาจะเป็นผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่งในเมืองนี้และกีดกันชาวต่างชาติกลุ่มอื่นไม่ให้เข้ามามีอิทธิพล ตลอดทั้งคริสต์ศตวรรษที่ 13 และคริสต์ศตวรรษที่ 14 บูร์โกสมักจะเป็นสถานที่ประทับของกษัตริย์แห่งเลออนและกัสติยา (จนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16) ประมวลกฎหมายแห่งบูร์โกส (Leyes de Burgos) ซึ่งเป็นกฎหมายชุดแรกที่ใช้ควบคุมการประพฤติตนของชาวสเปนที่เข้าไปตั้งถิ่นฐานในทวีปอเมริกาได้รับการประกาศใช้ที่เมืองนี้เมื่อปี ค.ศ. 1512 ตั้งแต่อดีตนั้นบูร์โกสเคยถูกใช้เป็นพื้นที่การรบหลายครั้ง เช่น ในสงครามระหว่างชาวคริสต์กับชาวมัวร์ (ชาวอาหรับ) ระหว่างแคว้นเลออนและแคว้นนาวาร์ ระหว่างแคว้นกัสติยาและแคว้นอารากอน มาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในสงครามคาบสมุทร (รบกับกองทัพฝรั่งเศสของนโปเลียน) และในช่วงสงครามกลางเมืองสเปน (ค.ศ. 1934-1939) บูร์โกสก็เป็นเมืองหลวงของกองกำลังชาตินิยมที่มีนายพลฟรังโกเป็นผู้นำ.

บูร์โกสและประเทศสเปน · บูร์โกสและราชอาณาจักรกัสติยา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาสก์

ก์ (Basque) เป็นภาษาที่พูดโดยชาวบาสก์ซึ่งอาศัยอยู่แถบเทือกเขาพีเรนีสในตอนกลางของภาคเหนือของประเทศสเปน รวมทั้งในบริเวณภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศสที่มีอาณาเขตติดต่อกัน หรือลึกลงไปกว่านั้นคือ ชาวบาสก์ได้ครอบครองแคว้นปกครองตนเองที่มีชื่อว่าแคว้นประเทศบาสก์ (Basque Country autonomous community) ซึ่งมีวัฒนธรรมและอิสระในการปกครองตนเองทางการเมือง นอกจากนี้ก็ยังมีชาวบาสก์ที่อยู่ในเขตนอร์เทิร์นบาสก์ในฝรั่งเศสและแคว้นปกครองตนเองนาวาร์ในสเปนอีกด้วย ชื่อเรียกภาษาบาสก์อย่างเป็นทางการ (ในภาษาตนเอง) คือ เออุสการา (euskara) ส่วนในรูปภาษาถิ่นอื่น ๆ ได้แก่ เออุสเกรา (euskera) เอสกูอารา (eskuara) และ อุสการา (üskara) แม้ว่าในทางภูมิศาสตร์จะถูกล้อมรอบด้วยภาษาในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน แต่ภาษาบาสก์กลับจัดเป็นภาษาโดดเดี่ยว (language isolate) ไม่ใช่ภาษาในตระกูลดังกล่าว.

ประเทศสเปนและภาษาบาสก์ · ภาษาบาสก์และราชอาณาจักรกัสติยา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสเปน

ษาสเปน (Spanish; สเปน: español) หรือ ภาษาคาสตีล (Castilian; สเปน: castellano) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาไอบีเรียนโรมานซ์ หนึ่งในภาษาทางการ 6 ภาษาขององค์การสหประชาชาติ และภาษาที่มีผู้พูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในโลกรองจากภาษาจีนกลาง รวมทั้งยังเป็นภาษาราชการขององค์การระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจและการเมืองที่สำคัญอีกหลายองค์การอีกด้วย เช่น สหภาพยุโรป สหภาพแอฟริกา องค์การรัฐอเมริกา องค์การรัฐไอบีเรียอเมริกา ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ และสหภาพชาติอเมริกาใต้ เป็นต้น มีผู้พูดภาษาสเปนเป็นภาษาที่หนึ่งและภาษาที่สองเป็นจำนวนระหว่าง 450-500 ล้านคนEl País.

ประเทศสเปนและภาษาสเปน · ภาษาสเปนและราชอาณาจักรกัสติยา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ประเทศสเปนและภาษาอาหรับ · ภาษาอาหรับและราชอาณาจักรกัสติยา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนายูดาห์

นายูดาห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 281 หรือศาสนายิว (Judaism; יהדות) คือวิถีชีวิต ปรัชญา และศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ตามความเชื่อของชาวยิวLewis (1984), pp.10, 20 มีต้นกำเนิดในคัมภีร์ฮีบรู (หรือคัมภีร์ทานัค) รวมถึงคัมภีร์ชั้นหลัง เช่น คัมภีร์ทาลมุด ศาสนิกชนยูดาห์ถือว่าวิถีนี้ เป็นพันธสัญญาระหว่างพระยาห์เวห์กับวงศ์วานอิสราเอล ศาสนายูดาห์แบบรับบีถือว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานธรรมบัญญัติที่เรียกว่าคัมภีร์โทราห์แก่โมเสสที่ภูเขาซีนาย ศาสนายูดาห์มีพระเจ้าสูงสุด คือ พระยาห์เวห์ โดยชาวยิวมีความเชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกและมนุษย์คู่แรกเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และถือว่าโมเสสคือศาสดา ให้กำเนิดศาสนายูดาห์เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และยังมีบุคคลสำคัญ เช่น อับราฮัม อิสอัค ยาโคบ ยูดาห์ ผู้เผยพระวจนะท่านอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ฯลฯ เป็นต้น ศาสนายูดาห์มีความเป็นมายาวนานกว่าสี่พันปี (นับจากสมัยอับราฮัม) จึงถือเป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน ในคัมภีร์ทานัคที่เขียนขึ้นในยุคหลัง เช่น หนังสือเอสเธอร์ เรียกชาวฮีบรูหรือวงศ์วานอิสราเอลว่าชาวยิว คัมภีร์ของศาสนายูดาห์ยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อกลุ่มศาสนาอับราฮัมยุคหลังด้วย คือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาบาไฮ รวมทั้งมีอิทธิพลต่อจริยธรรมและระบบซีวิลลอว์ตะวันตกทั้งทางตรงและทางอ้อม ชาวยิวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนา ซึ่งหมายรวมทั้งที่เป็นชาวยิวโดยกำเนิดและและคนที่เข้ารีตยิว ในปี..

ประเทศสเปนและศาสนายูดาห์ · ราชอาณาจักรกัสติยาและศาสนายูดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ประเทศสเปนและศาสนาอิสลาม · ราชอาณาจักรกัสติยาและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ประเทศสเปนและศาสนาคริสต์ · ราชอาณาจักรกัสติยาและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ประเทศสเปนและสมัยกลาง · ราชอาณาจักรกัสติยาและสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ทวีปยุโรปและประเทศสเปน · ทวีปยุโรปและราชอาณาจักรกัสติยา · ดูเพิ่มเติม »

คาบสมุทรไอบีเรีย

มุทรไอบีเรีย คาบสมุทรไอบีเรีย (Iberian Peninsula; Península Ibérica; Península Ibérica; Península Ibèrica) ตั้งอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีพื้นที่ประมาณ 582,860 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นคาบสมุทรที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของทวีปยุโรปรองจากคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ทางทิศเหนือติดกับเทือกเขาพิเรนีสและประเทศฝรั่งเศส ทางทิศตะวันออกติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศใต้สุดติดกับช่องแคบยิบรอลตาร์ คาบสมุทรไอบีเรียมีความยาวประมาณ 900 กิโลเมตร กว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 900 กิโลเมตร รูปร่างคล้ายสีเหลี่ยมพื้นผ้า พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและเทือกเขา พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงใต้บริเวณเทือกเขาเซียร์ราเนบาดา เป็นบริเวณแห้งแล้งมากแห่งหนึ่งในคาบสมุทร เมืองที่สำคัญที่อยู่ในคาบสมุทรไอบีเรีย ได้แก่ มาดริด บาร์เซโลนา บาเลนเซีย เซบียา บิลบาโอ ลิสบอน โปร์ตู และยิบรอลตาร.

คาบสมุทรไอบีเรียและประเทศสเปน · คาบสมุทรไอบีเรียและราชอาณาจักรกัสติยา · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ประเทศสเปนและโรมันคาทอลิก · ราชอาณาจักรกัสติยาและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โตเลโด

ตเลโด (Toledo; Toletum (โตเลตุม); طليطلة (ตุไลเตละห์)) เป็นเมืองและเทศบาลแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ทางภาคกลางของประเทศสเปน ห่างจากกรุงมาดริดไปทางทิศใต้ประมาณ 70 กิโลเมตร โตเลโดเป็นเมืองหลักของจังหวัดโตเลโดและของแคว้นกัสติยา-ลามันชา ในปี ค.ศ. 1986 (พ.ศ. 2529) องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้เมืองนี้เป็นแหล่งมรดกโลก เนื่องจากมีมรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างมากมายในฐานะหนึ่งในเมืองหลวงของจักรวรรดิสเปน รวมทั้งยังเป็นสถานที่ที่ปรากฏร่องรอยวัฒนธรรมของชาวคริสต์ ชาวยิว และชาวมัวร์อยู่ร่วมกันอีกด้วย บุคคลและศิลปินที่มีชื่อเสียงหลายคนต่างเกิดและเคยพำนักอยู่ในเมืองนี้ เช่น การ์ซีลาโซ เด ลา เบกา, พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 10 และเอลเกรโก ในปี ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548) เมืองนี้มีประชากร 75,578 คน และมีพื้นที่ 232.1 ตารางกิโลเมตร (89.59 ตารางไมล์) โตเลโดเคยเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรวิซิกอท (ในสเปนโบราณ) ตั้งแต่สมัยพระเจ้าลีอูวีกิลด์ และมีฐานะเป็นเมืองหลวงจนกระทั่งชาวมัวร์ (ชาวมุสลิมจากแอฟริกาเหนือ) ได้เข้ามายึดครองคาบสมุทรไอบีเรียเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 ภายใต้การปกครองของอาณาจักรกาหลิบแห่งกอร์โดบา โตเลโด (ซึ่งในขณะนั้นมีชื่อเรียกว่า "ตุไลเตละห์" طليطلة) ก็ได้เข้าสู่ยุคทอง ช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองอันยาวนานนี้รู้จักกันในชื่อ "ลากอนบีเบนเซีย" (La Convivencia) หรือการอยู่ร่วมกัน (ของชาวคริสต์ ชาวยิว และชาวมุสลิม) ในวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1085 (พ.ศ. 1628) พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 แห่งกัสติยาทรงยึดเมืองโตเลโดคืนจากชาวมุสลิมได้และสถาปนาเป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักรกัสติยา-เลออนในช่วงของการพิชิตดินแดนคืน (Reconquista) โตเลโดในอดีตมีชื่อเสียงจากการผลิตเหล็ก (โดยเฉพาะดาบ) และปัจจุบันยังคงเป็นศูนย์กลางการผลิตมีดและเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากเหล็ก เมื่อพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปนทรงย้ายราชธานีจากโตเลโดไปมาดริดในปี ค.ศ. 1561 (พ.ศ. 2104) นั้น เมืองเก่าแห่งนี้ก็ค่อย ๆ เสื่อมลงและไม่ได้รับการฟื้นฟู ป้อมอัลกาซาร์ (Alcázar) ซึ่งตั้งอยู่บนส่วนที่สูงที่สุดของเมืองนี้มีชื่อเสียงในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ในฐานะสถาบันวิชาทหารแห่งหนึ่ง เมื่อสงครามกลางเมืองสเปนระเบิดขึ้นในปี ค.ศ. 1936 (พ.ศ. 2479) กองทหารในป้อมนี้ถูกล้อมโดยกองกำลังของฝ่ายนิยมสาธารณรัฐ ที่ตั้งเมืองโตเลโดในประเทศสเปน.

ประเทศสเปนและโตเลโด · ราชอาณาจักรกัสติยาและโตเลโด · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ประเทศสเปนและราชอาณาจักรกัสติยา

ประเทศสเปน มี 381 ความสัมพันธ์ขณะที่ ราชอาณาจักรกัสติยา มี 20 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 13, ดัชนี Jaccard คือ 3.24% = 13 / (381 + 20)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศสเปนและราชอาณาจักรกัสติยา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »