โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประเทศศรีลังกาและสิทธิมนุษยชน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ประเทศศรีลังกาและสิทธิมนุษยชน

ประเทศศรีลังกา vs. สิทธิมนุษยชน

รีลังกา (ශ්රී ලංකා; இலங்கை) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา (ශ්රී ලංකා ප්රජාතාන්ත්රික සමාජවාදී ජනරජය; இலங்கை சனநாயக சோசலிசக் குடியரசு) เป็นประเทศเกาะในมหาสมุทรอินเดียตอนเหนือ นอกชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอนุทวีปอินเดีย ชื่อในอดีตได้แก่ ลังกา ลังกาทวีป สิงหลทวีป และ ซีลอน ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ในสมัยอาณานิคมจนถึง พ.ศ. 2517 มีพรมแดนทางทะเลติดต่อกับอินเดียทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และมัลดีฟส์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้. ทธิมนุษยชน (human rights) เป็นหลักทางศีลธรรมหรือจารีตJames Nickel, with assistance from Thomas Pogge, M.B.E. Smith, and Leif Wenar, December 13, 2013, Stanford Encyclopedia of Philosophy,, Retrieved August 14, 2014ซึ่งอธิบายมาตรฐานตายตัวของพฤติกรรมมนุษย์ และได้รับการคุ้มครองสม่ำเสมอเป็นสิทธิทางกฎหมายในกฎหมายท้องถิ่นและกฎหมายระหว่างประเทศ ปกติเข้าใจว่าเป็นสิทธิพื้นฐานที่ไม่โอนให้กันได้ "ซึ่งบุคคลมีสิทธิในตัวเพียงเพราะผู้นั้นเป็นมนุษย์" และซึ่ง "มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน"Burns H. Weston, March 20, 2014, Encyclopedia Britannica,, Retrieved August 14, 2014 โดยไม่คำนึงถึงชาติ สถานที่ ภาษา ศาสนา ชาติพันธุ์กำเนิดหรือสถานภาพอื่นใด สิทธิมนุษยชนใช้ได้ทุกที่ทุกเวลาในแง่ที่เป็นสากล และสมภาคในแง่ที่เหมือนกับสำหรับทุกคนThe United Nations, Office of the High Commissioner of Human Rights,, Retrieved August 14, 2014 สิทธิดังกล่าวต้องการความร่วมรู้สึกและหลักนิติธรรมGary J. Bass (book reviewer), Samuel Moyn (author of book being reviewed), October 20, 2010, The New Republic,, Retrieved August 14, 2014 และกำหนดพันธะต่อบุคคลให้เคารพสิทธิมนุษยชนของผู้อื่น สิทธิดังกล่าวไม่ควรถูกพรากไปยกเว้นอันเป็นผลของกระบวนการทางกฎหมายที่ยึดพฤติการณ์แวดล้อมจำเพาะ ตัวอย่างเช่น สิทธิมนุษยชนอาจรวมเสรีภาพจากการจำคุกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย การทรมานและการประหารชีวิตMerriam-Webster dictionary,, Retrieved August 14, 2014, "rights (as freedom from unlawful imprisonment, torture, and execution) regarded as belonging fundamentally to all persons" ลัทธิสิทธิมนุษยชนมีอิทธิพลสูงในกฎหมายระหว่างประเทศ สถาบันโลกและภูมิภาค การกระทำของรัฐและองค์การนอกภาครัฐก่อพื้นฐานของนโยบายสาธารณะทั่วโลก แนวคิดสิทธิมนุษยชนเสนอว่า "หากวจนิพนธ์สาธารณะสังคมโลกยามสงบสามารถกล่าวเป็นภาษาศีลธรรมร่วมได้ สิ่งนั้นคือสิทธิมนุษยชน" การอ้างอย่างหนักแน่นโดยลัทธิสิทธิมนุษยชนยังกระตุ้นกังขาคติและการอภิปรายเกี่ยวกับเนื้อหา สภาพและการให้เหตุผลว่าชอบด้วยกฎหมายซึ่งสิทธิมนุษยชนตราบจนทุกวันนี้ ความหมายแน่ชัดของคำว่า "สิทธิ" นั้นมีการโต้เถียงและเป็นหัวข้อการอภิปรายทางปรัชญาต่อไป ขณะที่มีการเห็นพ้องต้องกันว่าสิทธิมนุษยชนครอบคลุมสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีด้วยความเป็นธรรม การคุ้มครองจากการเป็นทาส การห้ามพันธุฆาต เสรีภาพในการพูดMacmillan Dictionary,, Retrieved August 14, 2014, "the rights that everyone should have in a society, including the right to express opinions about the government or to have protection from harm"หรือเสรีภาพที่จะได้รับการศึกษา แต่ยังเห็นไม่ลงรอยกันเกี่ยวกับว่าสิทธิใดบ้างต่อไปนี้ควรรวมอยู่ในกรอบทั่วไปของสิทธิมนุษยชน นักคิดบางคนเสนอว่าสิทธิมนุษยชนควรเป็นข้อกำหนดพื้นฐานเพื่อเลี่ยงการละเมิดที่ร้ายแรงที่สุด ขณะที่บางคนมองว่าเป็นมาตรฐานขั้นสูง ความคิดพื้นฐานดังกล่าวจำนวนมากซึ่งขับเคลื่อนขบวนการสิทธิมนุษยชนพัฒนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองและความเหี้ยมโหดของฮอโลคอสต์ จนลงเอยด้วยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีมติเห็นชอบปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในกรุงปารีสในปี 2491 คนโบราณไม่มีแนวคิดสิทธิมนุษยชนสากลสมัยใหม่แบบเดียวกัน การบุกเบิกวจนิพนธ์สิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริงนั้นคือมโนทัศน์สิทธิธรรมชาติซึ่งปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีกฎหมายธรรมชาติยุคกลางซึ่งโดดเด่นขึ้นระหว่างยุคภูมิธรรมยุโรปโดยมีนักปรัชญาอย่างจอห์น ล็อก, ฟรานซิส ฮัตชิสัน (Francis Hutcheson) และฌ็อง-ฌัก บือลามาคี (Jean-Jacques Burlamaqui) และซึ่งมีการเสนออย่างโดดเด่นในวจนิพันธ์การเมืองของการปฏิวัติอเมริกาและการปฏิวัติฝรั่งเศส จากรากฐานนี้ การให้เหตุผลสิทธิมนุษยชนสมัยใหม่กำเนิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 อาจเป็นปฏิกิริยาต่อความเป็นทาส การทรมาน พันธุฆาตและอาชญากรรมสงคราม โดยความตระหนักถึงความเปราะบางของมนุษย์ในตัวและเป็นเงื่อนไขก่อนความเป็นไปได้ของสังคมยุติธรรม.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ประเทศศรีลังกาและสิทธิมนุษยชน

ประเทศศรีลังกาและสิทธิมนุษยชน มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สงครามโลกครั้งที่สอง

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ประเทศศรีลังกาและสงครามโลกครั้งที่สอง · สงครามโลกครั้งที่สองและสิทธิมนุษยชน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ประเทศศรีลังกาและสิทธิมนุษยชน

ประเทศศรีลังกา มี 37 ความสัมพันธ์ขณะที่ สิทธิมนุษยชน มี 23 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 1.67% = 1 / (37 + 23)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศศรีลังกาและสิทธิมนุษยชน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »