เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ประเทศยูเครนและสาธารณรัฐไครเมีย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ประเทศยูเครนและสาธารณรัฐไครเมีย

ประเทศยูเครน vs. สาธารณรัฐไครเมีย

ประเทศยูเครน (Ukraine) หรือ อูกรายีนะ (Україна, Ukrayina) เป็นประเทศในยุโรปตะวันออก มีอาณาเขตทางตะวันออกติดต่อกับประเทศรัสเซีย ทางเหนือติดต่อกับเบลารุส ทางตะวันตกติดต่อกับโปแลนด์ สโลวาเกีย และฮังการี ทางตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับโรมาเนียและมอลโดวา ทางใต้และตะวันออกเฉียงใต้จรดทะเลดำและทะเลอะซอฟตามลำดับ ยูเครนมีพื้นที่ 603,628 กม. รณรัฐไครเมีย (Republic of Crimea; Респýблика Крым, Республіка Крим) (ตาตาร์ไครเมีย Къырым Джумхуриети) เป็นสาธารณรัฐที่ประกาศตนเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซีย ถือครองดินแดนส่วนใหญ่ของคาบสมุทรไครเมียในทะเลดำ ทางใต้ของประเทศยูเครน อธิปไตยเหนือดินแดนดังกล่าวยังพิพาทกันระหว่างประเทศยูเครนกับรัสเซีย สาธารณรัฐไครเมียก่อตั้งขึ้นจากผลแห่งการลงประชามติไครเมีย พ.ศ. 2557 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2557 โดยรัสเซียรับรองเอกราชของสาธารณรัฐไครเมียในวันเดียวกับที่ก่อตั้ง ในวันรุ่งขึ้น ประเทศดังกล่าวขอเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซีย และมีการลงนามร่างกฎหมายเพื่อเปิดทางให้ดำเนินการได้ ซึ่งการรวมไครเมียเข้ากับรัสเซียดังกล่าวไม่ได้รับการรับรองจากนานาชาติโดยทั่วไป การขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียได้รับสิทธิแยกกัน โดยสิทธิหนึ่งแก่อดีตสาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมีย และอีกสิทธิหนึ่งแก่เซวัสโตปอล วันที่ 18 มีนาคม 2557 รัสเซียและไครเมียได้ลงนามสนธิสัญญาการเข้าร่วมของสาธารณรัฐไครเมียและเซวัสโตปอลในสหพันธรัฐรัสเซียหลังการปราศรัยต่อรัฐสภาของประธานาธิบดีปูติน ในช่วงเปลี่ยนผ่านซึ่งจะมีถึงวันที่ 1 มกราคม 2558 ทั้งสองฝ่ายจะระงับประเด็นการรวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของไครเมียและเซวัสโตปอล "ในระบบเศรษฐกิจ การเงิน สินเชื่อ และกฎหมายของสหพันธรัฐรัสเซีย" จนถึงวันที่ 18 มีนาคม 2557 มีเพียงสี่ประเทศเท่านั้นที่รับรองเอกราชของสาธารณรัฐไครเมีย โดยมีหนึ่งประเทศที่เป็นรัฐสมาชิกสหประชาชาติ คือ รัสเซีย อับฮาเซีย นากอร์โน-คาราบัค และเซาท์ออสซีเชีย ก่อนหน้านี้ ในวันที่ 11 มีนาคม 2557 ทั้งสองเขตเคยอนุมัติมติร่วมแสดงเจตจำนงประกาศอิสรภาพ ตลอดจนมติแสดงเจตนารวมกับรัสเซีย รัฐบาลทั้งสองเรียกร้องให้มีการลงประชามติเพื่อจุดประสงค์นี้ แม้ว่าเสียงส่วนใหญ่ที่ไปออกเสียงลงคะแนนในการลงประชามตินี้ออกเสียงสนับสนุนเอกราชจากยูเครน แต่นานาชาติไม่รับรองความชอบธรรมและความเป็นธรรมของการออกเสียงดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพราะการลงประชามตินี้เกิดขึ้นในสถานการณ์ที่รัสเซียกำลังยึดครองคาบสมุทรไครเมียอยู.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ประเทศยูเครนและสาธารณรัฐไครเมีย

ประเทศยูเครนและสาธารณรัฐไครเมีย มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมียทะเลดำประเทศรัสเซียเซวัสโตปอล

สาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมีย

รเมีย (Crimea) หรือมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมีย (Крим, Автономна Республіка Крим; Крым, Автономная Республика Крым, Avtonomnaja Respublika Krym; Къырым, Къырым Мухтар Джумхуриети, Qırım, Qırım Muhtar Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐปกครองตนเอง ภายใต้สหพันธรัฐรัสเซีย ตั้งอยู่ทางชายฝั่งด้านเหนือของทะเลดำ ที่รวมถึงแหลมไครเมีย มีเมืองหลวงชื่อซิมเฟโรปอล (Simferopol) ตั้งอยู่กลางแหลม ไครเมียมีพื้นที่ 26,200 ตร.กม.

ประเทศยูเครนและสาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมีย · สาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมียและสาธารณรัฐไครเมีย · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลดำ

แผนที่บริเวณทะเลดำ ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณทะเลดำ โดยนาซา ทะเลดำ (Black Sea หรือชื่อในสมัยโบราณ​ Euxine Sea) เป็นทะเลที่อยู่ระหว่างทวีปยุโรป (ด้านตะวันออกเฉียงใต้),เอเชียไมเนอร์,และดินแดนคอเคซัส มีทางออกไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก ผ่านทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน,ทะเลอีเจียน และช่องแคบอีกหลายแห่ง ทางช่องแคบบอสฟอรัสที่เชื่อมต่อกับทะเลมาร์มะรา แล้วผ่านช่องแคบดาร์ดะเนลส์เชื่อมต่อไปยังทะเลอีเจียนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลแห่งนี้ได้แยกยุโรปตะวันออกกับเอเชียตะวันตกออกจากกัน นอกจากนี้ทะเลดำยังเชื่อมต่อกับทะเลอะซอฟผ่านทางช่องแคบเคียร์ช ทะเลดำมีเนื้อที่ผิวประมาณ 436,402 ตารางกิโลเมตร (168,500 ตารางไมล์) (ไม่นับรวมทะเลอะซอฟ) ทะเลดำมีความลึกสุด 2,212 เมตร (7,257 ฟุต) และมีปริมาตร 547,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร (131,200 ลูกบาศก์ไมล์) ประเทศที่มีชายฝั่งติดทะเลดำ ได้แก่ ประเทศตุรกี, บัลแกเรีย, โรมาเนีย, ยูเครน, รัสเซีย และจอร์เจีย ดินแดนของแหลมไครเมียปัจจุบันเป็นของยูเครน ทะเลดำถูกล้อมรอบด้วยเทือกเขาพอนทิกทางทิศใต้ เทือกเขาคอเคซัสทางทิศตะวันออก และมีชะโงกผากว้างทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะจากทิศตะวันออกไปจรดทิศตะวันตกยาวสุด 1,175 กิโลเมตร (730 ไมล์) ทะเลดำมีเมืองสำคัญที่ตั้งอยู่ตามชายฝั่ง ประกอบด้วย เมืองโซชี (Sochi), โนโวรอสซีสค์ (Novorossiysk) และ เคียร์ช (Kerch) ประเทศรัสเซีย โอเดสซา (Odessa), เซวัสโตปอล (Sevastopol), และ ยัลต้า (Yalta) ประเทศยูเครน เมืองคอนสแตนตา (Constanta), เมืองแมงกาเลีย (Mangalia), และเมืองนาโวดารี (Năvodari) ประเทศโรมาเนีย เมืองวาร์นา (Varna) กับเมืองเบอร์กาส (Burgas) ประเทศบัลแกเรีย เมืองซอนกุลดาก (Zonkuldak), เมืองซัมซุน (Samsum), เมืองกีเรซัน (Giresun), เมืองออร์ดู (Ordu), เมืองไรซ์ (Rize), เมืองแทรบซอน (Trabzon), และเมืองโฮปา (Hopa) ประเทศตุรกี และเมืองบาตูมี (Batumi), เมืองปอตี (Poti), และเมืองซักฮูมี (Sukhumi) ประเทศจอร์เจี.

ทะเลดำและประเทศยูเครน · ทะเลดำและสาธารณรัฐไครเมีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศรัสเซีย

รัสเซีย (Russia; Росси́я) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation; a) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน..

ประเทศยูเครนและประเทศรัสเซีย · ประเทศรัสเซียและสาธารณรัฐไครเมีย · ดูเพิ่มเติม »

เซวัสโตปอล

ซวัสโตปอล (Sevastopol, ยูเครนและรัสเซีย: Севасто́поль) เป็นหนึ่งในสองนครที่มีสถานภาพพิเศษในประเทศยูเครน (อีกนครหนึ่ง คือ เคียฟ เมืองหลวงของประเทศ) ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลดำของคาบสมุทรไครเมีย มีประชากร 342,541 คน (2544) ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และสภาพการเดินเรือของท่าเรือเซวัสโตปอลทำให้นครดังกล่าวเป็นจุดนาวิกที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ นอกจากนี้ยังเป็นรีสอร์ตริมทะเลและสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศเครือจักรภพรัฐเอกราช นครยังเป็นที่ตั้งของกองเรือทะเลดำรัสเซีย ซึ่งเดิมเป็นของโซเวียต และปัจจุบันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือยูเครนและรัสเซียเช่าฐานทัพเรือจากยูเครนไปถึงปี 2585 เซวัสโตปอลเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่กองทัพเรือยูเครนและกองเรือทะเลดำของรัสเซีย ความสำคัญด้านการค้าและการต่อเรือของท่าเซวัสโตปอลเติบโตขึ้นหลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย แม้จะประสบความยากลำบากที่มาจากการควบคุมท่าเรือและสะพานเทียบเรือร่วมกันของทหาร เซวัสโตปอลยังเป็นศูนย์วิจัยชีววิทยาทางทะเลที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีการศึกษาและฝึกโลมาในนครนับแต่สงครามโลกครั้งที่สองยุติ เซวัสโตปอลเป็นหนึ่งในสถานที่ที่มีภูมิอากาศอบอุ่นที่สุดในประเทศยูเครน โดยฤดูหนาวไม่หนาว และฤดูร้อนอบอุ่นปานกลาง วันที่ 6 มีนาคม 2557 เซวัสโตปอลประกาศว่าตนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซียฝ่ายเดียว.

ประเทศยูเครนและเซวัสโตปอล · สาธารณรัฐไครเมียและเซวัสโตปอล · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ประเทศยูเครนและสาธารณรัฐไครเมีย

ประเทศยูเครน มี 77 ความสัมพันธ์ขณะที่ สาธารณรัฐไครเมีย มี 15 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 4.35% = 4 / (77 + 15)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศยูเครนและสาธารณรัฐไครเมีย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: