โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประเทศญี่ปุ่นและโตเกียว

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ประเทศญี่ปุ่นและโตเกียว

ประเทศญี่ปุ่น vs. โตเกียว

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน.. ตเกียว หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่ามหานครโตเกียว (Tokyo Metropolis) หรือเรียกเอะโดะหรือเอโดะ เป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น มีระบบการปกครองแบบพิเศษซึ่งรวมการปกครองในรูปแบบจังหวัดและเมืองไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ เขตอภิมหานครโตเกียวจัดว่าเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยรวมเขตปริมณฑลแล้วมีประชากรอาศัยอยู่ราว 35,237,000 คน) เฉพาะในตัวเมืองโตเกียว 23 แขวงการปกครองพิเศษ มีประชากรในเขตเมืองประมาณ 12 ล้านคน ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง ประชากรทั้งหมดของโตเกียวมีทั้งหมดกว่า 35 ล้านคน โตเกียวตั้งอยู่บริเวณภูมิภาคคันโตของญี่ปุ่น คำว่า "โตเกียว" หมายถึง "นครหลวงตะวันออก" ในโตเกียวยังเป็นที่ตั้งของพระราชวังหลวงของสมเด็จพระจักรพรรดิ กรุงโตเกียวเคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 1964 และจะเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 2 ในปี 2020 ระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ประเทศญี่ปุ่นและโตเกียว

ประเทศญี่ปุ่นและโตเกียว มี 33 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชิโยดะ (โตเกียว)การฟื้นฟูเมจิภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อภูมิภาคของญี่ปุ่นมหาวิทยาลัยโตเกียวมหาวิทยาลัยเคโอมหาสมุทรแปซิฟิกยุคเมจิยุคเอะโดะรัฐบาลเอโดะรถยนต์สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ญี่ปุ่น)สงครามโลกครั้งที่สองหมู่เกาะโอะงะซะวะระจักรพรรดิญี่ปุ่นจังหวัดชิบะจังหวัดยามานาชิจังหวัดของประเทศญี่ปุ่นจังหวัดคานางาวะจังหวัดไซตามะทวีปเอเชียท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียวคันโตตลาดหลักทรัพย์โตเกียวโชกุนโอซากะโทกูงาวะ อิเอยาซุโตเกียวเกาะฮนชู...เวลามาตรฐานญี่ปุ่นเฮอังเกียว9 สิงหาคม ขยายดัชนี (3 มากกว่า) »

ชิโยดะ (โตเกียว)

แขวงชิโยดะ เป็น 1 ใน 23 แขวงการปกครองพิเศษของมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นเขตการปกครองอันเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางการปกครองของประเทศ แขวงชิโยดะมีพื้นที่ 11.64 ตารางกิโลเมตร ในพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ของพระราชวังหลวง ราว 12% ของพื้นที่ทั้งหมด ใน..

ชิโยดะ (โตเกียว)และประเทศญี่ปุ่น · ชิโยดะ (โตเกียว)และโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

การฟื้นฟูเมจิ

การฟื้นฟูพระราชอำนาจสมัยเมจิ (Meiji Restoration) หรือ การปฏิวัติเมจิ (Meiji Revolution) การปฏิรูปเมจิ (Meiji Reform) หรือ การปรับปรุงเมจิ (Meiji Renewal) เป็นเหตุการณ์การปฏิรูปประเทศญี่ปุ่นในปี..

การฟื้นฟูเมจิและประเทศญี่ปุ่น · การฟื้นฟูเมจิและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ

ีดีพีต่อหัว (พีพีพี) ในปี ค.ศ. 2014 ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ (purchasing power parity, PPP) หรือ ประสิทธิผลของเงิน เป็นค่าค่าหนึ่งที่เกิดจากการประมาณทางเทคนิคโดยใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เพื่อคำนวณหาระดับการบริโภคสินค้าและบริการในแต่ละประเทศ โดยใช้ราคาสินค้าและบริการในสหรัฐอเมริกาเป็นฐานในการคำนวณ และแสดงผลในสกุลเงินดอลลาร์สหรั.

ประเทศญี่ปุ่นและภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ · ภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิภาคของญี่ปุ่น

ูมิภาคในประเทศญี่ปุ่น มิได้มีสถานะเป็นหน่วยการปกครองอย่างเป็นทางการ แต่มีการใช้สืบเนื่องกันมาเป็นแผนกหนึ่งในการจำแนกพื้นที่ของประเทศญี่ปุ่นไปตามแต่บริบท ยกตัวอย่างเช่น แผนที่และตำราภูมิศาสตร์ในญี่ปุ่นจะแบ่งเป็นแปดภูมิภาค, การรายงานสภาพอากาศมักจะรายงานตามภูมิภาค ตลอดจน หน่วยธุรกิจและสถาบันการศึกษาจำนวนมากก็ใช้ชื่อภูมิภาคของเขาเป็นส่วนหนึ่งของชื่อองค์กร จากเหนือจรดใต้ ภูมิภาคตามจารีตของญี่ปุ่นประกอบด้ว.

ประเทศญี่ปุ่นและภูมิภาคของญี่ปุ่น · ภูมิภาคของญี่ปุ่นและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยโตเกียว

หอประชุมยาสุดะในมหาวิทยาลัยโตเกียว มหาวิทยาลัยโตเกียว หรือย่อว่า โทได เป็นมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่นในลักษณะของมหาวิทยาลัยวิจัย ตั้งอยู่ที่เมืองโตเกียว มีพื้นที่แยกออกเป็น 5 วิทยาเขต ใน ฮงโง โคมะบะ คะชิวะ ชิโระงะเนะ และ นะกะโนะ และได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีเกียรติมากที่สุดในญี่ปุ่น และยังจัดเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก มหาวิทยาลัยโตเกียวประกอบด้วย 10 คณะซึ่งมีนักศึกษารวมทั้งสิ้นประมาณ 30,000 คน ในจำนวนนี้มีนักศึกษาต่างชาติประมาณ 2,100 คนเป็นนักศึกษาไทยประมาณ 150 คน (ซึ่งเป็นสัดส่วนสูงทีสุดในบรรดามหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น) ปัจจุบันมีหลักสูตรครอบคลุมสาขาวิทยาการเกือบทั้งหมด แต่ที่มีชื่อเสียงมากเป็นพิเศษคือ กฎหมาย รัฐศาสตร์ วรรณกรรม เศรษฐศาสตร์ แพทยศาสตร์และ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ผลิตนักการเมืองและข้าราชการระดับสูงของญี่ปุ่นจำนวนมาก นับแต่อดีตจนปัจจุบันแม้ว่าสัดส่วนจะลดลงก็ตาม อัตราส่วนของรัฐมนตรีที่เป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยโตเกียวยังคงสูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น โดยแต่ละช่วงคริสต์ศตวรรษจะอยู่ที่ประมาณ 2/3 1/2 1/4 1/5 และ1/6 ในช่วงคริสศตวรรษที่ 1950 60 70 80 และ 90 ตามลำดับ มหาวิทยาลัยโตเกียวมีการเรียนการสอนที่เป็นที่ยอมรับว่า เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นสูงในหลากหลายสาขาวิชา และมีอัตราการแข่งขันในการเข้าศึกษาสูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยโตเกียวมีมหาวิทยาลัยคู่แข่งอยู่หกมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยเคโอซึ่งก่อตั้งก่อนช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มหาวิทยาลัยฮิโตะสึบาชิซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมากในหมู่คนญี่ปุ่นและเปิดสอนเฉพาะวิชาด้านสังคมศาสตร์ หรือมหาวิทยาลัยเกียวโตซึ่งผลิตนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลเป็นจำนวนมาก หนึ่งในศิษย์เก่าเจ้าของรางวัลโนเบลของมหาวิทยาลัยโตเกียวคืออธิการบดีมหาวิทยาลัยโตเกียวอิมพิเรียลชื่อ ศาสตราจารย์ คิคุจิ ไดโรกุ ในด้านกีฬา ทีมเบสบอลมหาวิทยาลัยโตเกียว ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในระดับมหาวิทยาลัยของกรุงโตเกียว ศูนย์ฮงโหงะเป็นศูนย์หลักของมหาวิทยาลัยซึ่งเดิมเป็นที่พำนักของตระกูล "มาเอดะ" ช่วงสมัยเอโดะผู้เป็นเจ้าเมืองเคหงะ สัญลักษณ์หนึ่งที่เป็นที่รู้จักและอยู่จนปัจจุบันของมหาวิทยาลัยคือ "อะกามง" (ประตูแดง) ส่วนตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเป็นรูปใบแปะก๊วย ซึ่งปลูกอยู่เรียงรายทั่วทั้งบริเวณของมหาวิทยาลั.

ประเทศญี่ปุ่นและมหาวิทยาลัยโตเกียว · มหาวิทยาลัยโตเกียวและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเคโอ

มหาวิทยาลัยเคโอ มุมมองจากหอคอยโตเกียว มหาวิทยาลัยเคโอ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2401 เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่อันดับที่ 1 ของประเทศญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ที่ใจกลางของกรุงโตเกียว มีอายุครบ 150 ปีใน..

ประเทศญี่ปุ่นและมหาวิทยาลัยเคโอ · มหาวิทยาลัยเคโอและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ประเทศญี่ปุ่นและมหาสมุทรแปซิฟิก · มหาสมุทรแปซิฟิกและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเมจิ

มจิ เป็นยุคสมัยของญี่ปุ่นระหว่าง ค.ศ. 1868 - ค.ศ. 1912 ซึ่งถือว่าเป็นการเข้าสู่ ยุคใหม่ (Modern Era) ของญี่ปุ่น ยุคเมจิเริ่มต้นหลังจากที่กลุ่มหัวก้าวหน้าในแคว้นโชชูและแคว้นซะสึมะ ผนึกกำลังกันล้มล้างระบอบโชกุนและระบบซะมุไร หลังจากล้มระบอบโชกุนได้แล้ว ก็สถาปนารัฐธรรมนูญและรัฐบาลใหม่ที่มีองค์จักรพรรดิเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจ จักรพรรดิทรงย้ายเมืองหลวงจากเคียวโตะไปยังเอโดะ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นโตเกียว คณะรัฐบาลในสมเด็จพระจักรพรรดิได้ร่วมมือกันปฏิรูปญี่ปุ่นในทุกๆด้าน มีการทำสงครามกับจักรวรรดิรัสเซียและมีชัยเหนือรัสเซียซึ่งเป็นหนึ่งในมหาอำนาจในขณะนั้น รัฐบาลใหม่ได้ยกเลิกระบอบศักดินาสวามิภักดิ์และมีการรวมศูนย์อำนาจไว้ในกรุงโตเกียว มีการสถาปนาสภานิติบัญญัติในสมเด็จพระจักรพรรดิขึ้นมาตามแบบอย่างของรัฐสภาอังกฤษ อันประกอบด้วยสภาขุนนาง (สภาสูง) และสภาผู้แทนราษฎร (สภาล่าง) อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเลือกตั้ง แต่ก็ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยได้ เนื่องจากอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองส่วนใหญ่อยู่ที่เหล่าขุนนางในสภาสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะเก็นโรเป็นกลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลที่สุดในระบบการเมือง มีการประกาศยกเลิกการครอบครองที่ดินในระบบศักดินานำที่ดินแจกจ่ายให้ชาวไร่ชาวนาทรงสร้างระบบการคมนาคมทั้งถนน ทางรถไฟ ระบบขนส่งทางทะเล เพื่อเสริมสร้างการค้าภายในและภายนอก ปรับปรุงระบบไปรษณีย์ การเงินและธนาคาร และวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม โดยรัฐบาลเข้ามาลงทุนอุตสาหกรรมหลัก เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมเหล็กกล้า และสนับสนุนเอกชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรม ใน..

ประเทศญี่ปุ่นและยุคเมจิ · ยุคเมจิและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเอะโดะ

อะโดะ หรือยุคที่เรียกว่า ยุคโทะกุงะวะ (徳川時代 Tokugawa-jidai) ค.ศ. 1603 - ค.ศ. 1868 คือยุคที่มีไดเมียวตระกูลโทะกุงะวะเป็นโชกุน เริ่มเมื่อโทะกุงะวะ อิเอะยะซุ ได้รวบอำนาจและตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นที่เอโดะ (ปัจจุบันคือโตเกียว) ใน..

ประเทศญี่ปุ่นและยุคเอะโดะ · ยุคเอะโดะและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลเอโดะ

รัฐบาลเอโดะ หรือ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ เป็นฝ่ายบริหารของประเทศญี่ปุ่นซึ่งใช้ระบอบศักดินา สถาปนาโดยโทกูงาวะ อิเอะยะสุ (徳川家康 Tokugawa Ieyasu) มีผู้ปกครองสูงสุดเป็นโชกุน (将軍 shōgun) ซึ่งต้องมาจากตระกูลโทกูงาวะ (徳川氏 Tokugawa-shi) เท่านั้น ในสมัยที่ประเทศญี่ปุ่นถูกปกครองโดยรัฐบาลโชกุนนั้น จะเรียกว่ายุคเอโดะ (江戸時代 edo-jidai) ตามชื่อเมืองเอโดะ ซึ่งรัฐบาลโชกุนสถาปนาให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ ปัจจุบัน คือกรุงโตเกียว (東京 Tōkyō) มีปราสาทเอโดะ (江戸城 Edo-jō) เป็นศูนย์กลางการปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 1603 - 1868 จนกระทั่งถูกสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ (明治天皇 Meiji-tennō) ล้มล้างไปในการปฏิรูปสมัยเมจิ (明治維新 Meiji Ishin) หลังจากยุคเซงโงะกุ (戦国時代 Sengoku-jidai) หรือยุคไฟสงคราม โอดะ โนะบุนะงะ (織田 信長 Oda Nobunaga) และโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ (豊臣 秀吉 Toyotomi Hideyoshi) ได้ร่วมกันรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง และตั้งเป็นรัฐบาลกลางขึ้นอีกครั้งในยุคอะซึจิ-โมะโมะยะมะ (あづちももやまじだい Azuchi momoyama jidai) ซึ่งเป็นยุคสั้นๆ ก่อนยุคเอโดะ ต่อมา หลังจากยุทธการเซะกิงะฮะระ (関ヶ原の戦い Sekigahara no Tatakai) ซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ในค.ศ. 1600 การปกครองและอำนาจทั้งหมด ได้ตกอยู่ในมือของโทกูงาวะ อิเอะยะสุโดยเบ็ดเสร็จ และสถาปนาตนเองเป็นโชกุนในปี ค.ศ. 1603 ซึ่งเป็นไปตามประเพณีโบราณ ที่ผู้เป็นโชกุนจะต้องสืบเชื้อสายจากต้นตระกูลมินะโมะโตะ (源 Minamoto) ในยุคของโทกูงาวะ ต่างจากยุคโชกุนก่อนๆ คือมีการนำระบบชนชั้นที่เริ่มใช้โดยโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ มาใช้อีกครั้งอย่างเข้มงวด โดยชนชั้นนักรบ หรือซามูไร (侍 Samurai) อยู่บนสุด ตามด้วยชาวนา ช่างฝีมือ และพ่อค้า การใช้ระบบชนชั้นอย่างเข้มงวดและไม่ยืดหยุ่นได้ทำให้เกิดจลาจลมาตลอดสมัย ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นชาวนานั้น อยู่ในอัตราคงที่โดยไม่คำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อหรือการเปลี่ยนแปลงอื่นๆของค่าเงิน ส่งผลให้รายได้ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นซามูไร ผู้เป็นเจ้าของที่ดินมีมูลค่าลดลงเรื่อยๆตลอดยุค ซึ่งสาเหตุนี้ ก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างซามูไรผู้ทรงเกียรติแต่ฐานะทางการเงินต่ำลงเรื่อยๆจากการจ่ายภาษี กับชาวนาผู้มีอันจะกิน เกิดเป็นการปะทะกันหลายต่อหลายครั้งที่เริ่มจากเหตุการณ์เล็กๆรุกลามเป็นเหตุการณ์วุ่นวาย อย่างไรก็ตาม ไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงระบบสังคมยุคเอโดะได้ ตราบจนการเข้ามาของชาวตะวันตก เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กลุ่มไดเมียวผู้มีอำนาจ เช่น ตระกูลชิมะสึ (島津氏 Shimazu-shi) ได้ร่วมมือกับสมเด็จพระจักรพรรดิและพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งในสมัยเอโดะเคยทรงเพียงศักดิ์แต่ไร้อำนาจ เพื่อโค่นล้มระบอบโชกุนในโดยสงครามโบะชิน (戊辰戦争 Boshin Sensō) ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปเมจิโดยจักรพรรดิเมจิ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะถูกล้มล้างโดยสมบูรณ์ในค.ศ. 1868 โดยมีโทกูงาวะ โยชิโนบุ (徳川 慶喜 Tokugawa Yoshinobu) เป็นโชกุนคนที่ 15 และเป็นโชกุนคนสุดท้ายของญี่ปุ่น จากนั้น ญี่ปุ่นก็เข้าสู่ยุคเมจิ (明治時代 Meiji-jidai)อันมีการฟื้นฟูราชวงศ์มายังเมืองเอโดะ และเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงโตเกียวดังเช่นปัจจุบัน.

ประเทศญี่ปุ่นและรัฐบาลเอโดะ · รัฐบาลเอโดะและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

รถยนต์

องรถยนต์และรถบรรทุกยุคใหม่กำลังขับอยู่บนทางด่วนสายหนึ่ง รถสปอร์ตยุคใหม่ รถยนต์หมายถึง ยานพาหนะทางบกที่ขับเคลื่อนที่ด้วยพลังงานอย่างใดอย่างหนึ่งและถ่ายทอดลงสู่ล้อ เพื่อพาผู้ขับ ผู้โดยสาร หรือสิ่งของ ไปยังจุดหมายปลายทาง ปัจจุบัน รถยนต์โดยส่วนมากได้รับการออกแบบอย่างซับซ้อนในทางวิศวกรรม และหลากหลายประเภท ตามความเหมาะสมของการใช้งาน หรือใช้สำหรับงานเฉพาะกิจ ทั้งนี้เว้นแต่รถไฟ.

ประเทศญี่ปุ่นและรถยนต์ · รถยนต์และโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ญี่ปุ่น)

นิติบัญญัติแห่งชาติ (National Diet) หรือ รัฐสภา ของประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วยสองสภานิติบัญญัติคือ สภาล่างเรียกว่า สภาผู้แทนราษฎร และสภาสูงเรียกว่า ราชมนตรีสภา สมาชิกของสภาทั้งสองมาจากระบบการเลือกตั้งแบบคู่ขนาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีวาระ 4 ปี ส่วนสมาชิกราชมนตรีสภามีวาระ 6 ปี และนอกเหนือไปจากการพิจารณากฎหมายต่าง ๆ แล้ว สภานิติบัญญัติยังมีหน้าที่เลือกนายกรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติของญี่ปุ่นประชุมครั้งแรกในชื่อ สภานิติบัญญัติแห่งสมเด็จพระจักรพรรดิ เมื่อ..

ประเทศญี่ปุ่นและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ญี่ปุ่น) · สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ญี่ปุ่น)และโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ประเทศญี่ปุ่นและสงครามโลกครั้งที่สอง · สงครามโลกครั้งที่สองและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะโอะงะซะวะระ

หมู่เกาะโอะงะซะวะระ หรือ หมู่เกาะโบนิน เป็นกลุ่มเกาะที่ประกอบด้วยเกาะในเขตร้อนและเกาะใกล้เขตร้อนกว่า 30 เกาะ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของกรุงโตเกียวราวๆ 1,000 กิโลเมตร มีสถานะเป็นกิ่งจังหวัดของมหานครโตเกียว มีประชากรอาศัยอยู่ราว 2,440 คน โดยกว่า 2,000 คน อาศัยอยู่บนเกาะชิชิจิมะ ซึ่งบนเกาะชิชิจิมะนี้ ยังมีกล้องโทรทรรศน์วิทยุ ขนาด 25 เมตร ของหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์แห่งชาติญี่ปุ่น (NAOJ) ตั้งอยู่อีกด้วย เนื่องจากหมู่เกาะโอะงะซะวะระแทบไม่ค่อยได้ติดต่อกับทวีปภายนอก พืชพันธุ์และสัตว์ในแถบนี้จึงมีลักษณะเฉพาะตัวและความแตกต่างในด้านกระบวนการวิวัฒนาการ หมู่เกาะโอะงะซะวะระมีฉายาว่า "กาลาปาโกสแห่งตะวันออก" และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโก ในวันที่ 11 กรกฎาคม..

ประเทศญี่ปุ่นและหมู่เกาะโอะงะซะวะระ · หมู่เกาะโอะงะซะวะระและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิญี่ปุ่น

ักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น เป็น "สัญลักษณ์แห่งรัฐและเอกภาพของประชาชน" ตามรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น..

จักรพรรดิญี่ปุ่นและประเทศญี่ปุ่น · จักรพรรดิญี่ปุ่นและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดชิบะ

ังหวัดชิบะ เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น อยู่ในเขตคันโต บนเกาะฮนชู มีเมืองเอกชื่อเดียวกันคือ ชิบะ จังหวัดชิบะเป็นที่ตั้งของสนามบินนะริตะซึ่งอยู่ในเมืองนะริตะ และโตเกียวดิสนีย์รีสอร์ต (ประกอบด้วยโตเกียวดิสนีย์แลนด์และโตเกียวดิสนีย์ซี) ซึ่งอยู่ในเมืองอุระยะซ.

จังหวัดชิบะและประเทศญี่ปุ่น · จังหวัดชิบะและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดยามานาชิ

ังหวัดยามานาชิ เป็นจังหวัดในประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่บริเวณภาคชูบุของประเทศญี่ปุ่นมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองโคฟุ ยามานาชิเป็นจังหวัดที่มีภูเขาปิดล้อม โดยเฉพาะภูเขาไฟฟูจิซึ่งเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวกันมาก มีสินค้าขึ้นชื่อคือไวน์ ที่เมืองโคฟุมีชื่อเสียงมากในอุตสาหกรรมอัญมณี และมีทิวทัศน์ธรรมชาติอันงดงาม.

จังหวัดยามานาชิและประเทศญี่ปุ่น · จังหวัดยามานาชิและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดของประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น แบ่งเขตการปกครองเป็น 47 เขตการปกครองระดับ "จังหวัด" หรือเรียกว่า "โทโดฟูเก็ง" (อังกฤษ: Prefectures) ได้แก.

จังหวัดของประเทศญี่ปุ่นและประเทศญี่ปุ่น · จังหวัดของประเทศญี่ปุ่นและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดคานางาวะ

ังหวัดคานางาวะ ตั้งอยู่บริเวณภาคคันโต บนเกาะฮนชูของญี่ปุ่น มีโยโกฮามะเป็นเมืองหลวงและเป็นเมืองท่าที่สำคัญ เมืองโยโกฮามะนั้นเป็นสถานที่จัดศึกฟุตบอลโลกในปี 2002 รอบชิงชนะเลิศ และเป็นเมืองที่มีย่านที่คนจีนอาศัยอยู่มากที่สุดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น มีวัดวาอารามตั้งอยู่หลายวัดในเมืองคามากูระ ปัจจุบันเมืองโยโกฮามะเป็นส่วนหนึ่งของกรุงโตเกียว และเป็นเมืองศูนย์กลางที่สำคัญเนื่องจากมีท่าเรือพาณิชย์นานาชาติใหญ่ที่สุดในภูมิภาคตะวันออกไกล เมืองโยโกฮามะเป็นเมืองใหญ่อันดับสองรองจากโตเกียว โดยมีประชากรกว่า 3 ล้านคน.

จังหวัดคานางาวะและประเทศญี่ปุ่น · จังหวัดคานางาวะและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดไซตามะ

มืองไซตามะ จังหวัดไซตามะ เป็นเขตการปกครองระดับจังหวัดของประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่บริเวณภาคคันโต มีเมืองหลักชื่อเดียวกันคือ ไซตามะ จังหวัดไซตามะเป็นที่ตั้งของสนามกีฬาไซตามะ 2002 เป็นสนามกีฬาฟุตบอลที่ใช้แข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายปี 2002 ศูนย์กีฬาในร่มไฮเทคไซตามะซูเปอร์อารีนา จังหวัดไซตามะเป็นจังหวัดที่มีความเจริญมากเพราะอยู่ติดกับกรุงโตเกียว ซึ่งเขตชิชิบุในจังหวัดนี้มีเทือกเขา ทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงาม จึงเป็นจุดที่มีนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมา ส่วนสถานที่น่าสนใจอีกที่หนึ่งก็คือ หมู่บ้านบอนไซ โอม.

จังหวัดไซตามะและประเทศญี่ปุ่น · จังหวัดไซตามะและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ทวีปเอเชียและประเทศญี่ปุ่น · ทวีปเอเชียและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ

ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ เป็นสนามบินนานาชาติ ตั้งอยู่ที่เมืองนาริตะ จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น ดำเนินการโดย บริษัทท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ ซึ่งแปรสภาพมาจาก องค์การบริหารงานท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียวแห่งใหม่ ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะเป็นสนามบินหลักที่ให้บริการผู้โดยสารระหว่างประเทศที่เดินทางเข้าและออกจากประเทศญี่ปุ่น และเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างทวีปเอเชียและอเมริกา เป็นสนามบินที่รองรับเที่ยวบินสำหรับผู้โดยสารมากอันดับ 2 ของญี่ปุ่น (รองจากสนามบินฮะเนะดะ) เป็นสนามบินที่รองรับการขนส่งทางอากาศเป็นอันดับ 1 ของญี่ปุ่นและอันดับ 3 ของโลก ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะเป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินเจแปนแอร์ไลน์ สายการบินออล นิปปอน แอร์เวย์ และสายการบินนอร์ธเวสต์แอร์ไลน์ และยังเป็นท่าอากาศยานรองของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ อีกด้วย ท่าอากาศยานานาชาตินาริตะ เคยใช้ชื่อว่า New Tokyo International Airport (新東京国際空港 Shin-Tōkyō Kokusai Kūkō) จนกระทั่งปี..

ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะและประเทศญี่ปุ่น · ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว

อาคาร 1 อาคาร 2 อาคารระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว หรือรู้จักกันโดยทั่วไปว่า ท่าอากาศยานฮะเนะดะ ตั้งอยู่ที่เมืองโอตะ กรุงโตเกียว ญี่ปุ่น รองรับการบริการกรุงโตเกียว ในปี..

ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียวและประเทศญี่ปุ่น · ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียวและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

คันโต

ันโต เป็นภูมิภาคของประเทศญี่ปุ่นบนเกาะฮนชู ในภาคคันโตประกอบด้วย 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกุมมะ, คะนะงะวะ, ชิบะ, ไซตะมะ, โตเกียว, โทะชิงิ และ อิบะระกิ คันโตมีขนาดประมาณ 32,423.85 ตารางกิโลเมตร ลักษณะเป็นที่ราบลุ่มประมาณร้อยละ 40 และที่เหลือมีลักษณะเป็นภูเขา ภาคคันโตมีประชากรประมาณ 41,487,171 คน (วันที่ 1 ตุลาคม..

คันโตและประเทศญี่ปุ่น · คันโตและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว

ห้องค้าหลักของตลาดหลักทรัพย์โตเกียว ซึ่งปัจจุบันดำเนินการโดยคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว (Tokyo Stock Exchange (TSE), /โตเกียวโชเก็นโทริฮิกิโจะ/) เป็นตลาดหลักทรัพย์ ตั้งอยู่ในกรุง โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เปิดดำเนินการเมื่อ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1878, และเริ่มซื้อขายหลักทรัพย์เมื่อ1 มิถุนายน ของปีเดียวกัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ตลาดปิดไประยะหนึ่ง หลังจัดรูปองค์กรใหม่ตลาดก็เปิดดำเนินอีกครั้งในวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1949.

ตลาดหลักทรัพย์โตเกียวและประเทศญี่ปุ่น · ตลาดหลักทรัพย์โตเกียวและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

โชกุน

กุน เป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการทหารแห่งญี่ปุ่นระหว่าง..

ประเทศญี่ปุ่นและโชกุน · โชกุนและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

โอซากะ

อซากะ เป็นเมืองที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 และมีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศญี่ปุ่น และยังเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในสามนครเคฮันชิง ตั้งอยู่ในภาคคันไซบนเกาะฮนชู ในเขตจังหวัดโอซากะ เป็นหนึ่งในไม่กี่เมืองที่มีสถานะเป็นนครโดยข้อบัญญัติรัฐบาลญี่ปุ่น นครโอซากะมีประชากรทั้งหมดประมาณ 2.7 ล้านคน แต่ในช่วงเวลาทำงานจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.7 ล้านคน ซึ่งเป็นรองเพียงแต่โตเกียวเท่านั้น อัตราส่วนประชากรกลางวันต่อกลางคืนเท่ากับ 141 เปอร์เซ็นต์ นครตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำโยะโดะ อ่าวโอซากะ และทะเลเซะโตะ โอซากะเป็นเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ ทั้งการค้าและวัฒนธรรมเมืองหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น มีสมญาว่า ครัวของชาติ เพราะเป็นศูนย์กลางการค้าข้าวของญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยเอะโดะ และปัจจุบันเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น.

ประเทศญี่ปุ่นและโอซากะ · โตเกียวและโอซากะ · ดูเพิ่มเติม »

โทกูงาวะ อิเอยาซุ

ทกูงาวะ อิเอยาซุ คือผู้สถาปนาบะกุฟุ (รัฐบาลทหาร) ที่เมืองเอะโดะ (โตเกียวในปัจจุบัน) และเป็นโชกุนคนแรกจากตระกูลโทกูงาวะที่ปกครองประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่สิ้นสุด ศึกเซะกิงะฮะระและเริ่มต้นยุคเอะโดะ เมื่อปี..

ประเทศญี่ปุ่นและโทกูงาวะ อิเอยาซุ · โตเกียวและโทกูงาวะ อิเอยาซุ · ดูเพิ่มเติม »

โตเกียว

ตเกียว หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่ามหานครโตเกียว (Tokyo Metropolis) หรือเรียกเอะโดะหรือเอโดะ เป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น มีระบบการปกครองแบบพิเศษซึ่งรวมการปกครองในรูปแบบจังหวัดและเมืองไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ เขตอภิมหานครโตเกียวจัดว่าเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยรวมเขตปริมณฑลแล้วมีประชากรอาศัยอยู่ราว 35,237,000 คน) เฉพาะในตัวเมืองโตเกียว 23 แขวงการปกครองพิเศษ มีประชากรในเขตเมืองประมาณ 12 ล้านคน ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง ประชากรทั้งหมดของโตเกียวมีทั้งหมดกว่า 35 ล้านคน โตเกียวตั้งอยู่บริเวณภูมิภาคคันโตของญี่ปุ่น คำว่า "โตเกียว" หมายถึง "นครหลวงตะวันออก" ในโตเกียวยังเป็นที่ตั้งของพระราชวังหลวงของสมเด็จพระจักรพรรดิ กรุงโตเกียวเคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 1964 และจะเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 2 ในปี 2020 ระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563.

ประเทศญี่ปุ่นและโตเกียว · โตเกียวและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

เกาะฮนชู

นชู (สำเนียงญี่ปุ่นอ่านว่า) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่น คิดเป็นพื้นที่กว่าร้อยละ 60 ของประเทศญี่ปุ่น มีพื้นที่ 227,962.59 ตารางกิโลเมตร ใหญ่กว่าเกาะอังกฤษเล็กน้อย มีความยาวประมาณ 1,300 กิโลเมตร ความกว้างตั้งแต่ 50-250 กิโลเมตร มีชายฝั่งติดทะเลยาวกว่า 5,450 กิโลเมตรรอบเกาะGeography of the World. Dorling kindersley: London, 2003.

ประเทศญี่ปุ่นและเกาะฮนชู · เกาะฮนชูและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

เวลามาตรฐานญี่ปุ่น

วลามาตรฐานญี่ปุ่น (JST; 日本標準時 หรือ 中央標準時) เป็นเขตเวลามาตรฐานของประเทศญี่ปุ่น และเร็วกว่า UTC 9 ชั่วโมง ยกตัวอย่างเช่น หาก UTC เป็นเวลาเที่ยงคืน (00:00) ประเทศญี่ปุ่นจะเป็นเวลา 09:00 ประเทศญี่ปุ่นไม่มีการใช้เวลาออมแสง ถึงแม้ว่าระหว่างปี..

ประเทศญี่ปุ่นและเวลามาตรฐานญี่ปุ่น · เวลามาตรฐานญี่ปุ่นและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

เฮอังเกียว

''Heian-kyō'' เฮอังเคียว หรือ เฮอังเกียว คืออดีตเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 1337(ค.ศ. 794) โดยสมเด็จพระจักรพรรดิคังมุ ในจังหวัดเคียวโตะ หรือ เกียวโต ประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน มีฐานะเป็นเมืองหลวงของประเทศนานถึง 1074 ปี ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นโตเกียว ในปี พ.ศ. 2411.

ประเทศญี่ปุ่นและเฮอังเกียว · เฮอังเกียวและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

9 สิงหาคม

วันที่ 9 สิงหาคม เป็นวันที่ 221 ของปี (วันที่ 222 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 144 วันในปีนั้น.

9 สิงหาคมและประเทศญี่ปุ่น · 9 สิงหาคมและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ประเทศญี่ปุ่นและโตเกียว

ประเทศญี่ปุ่น มี 366 ความสัมพันธ์ขณะที่ โตเกียว มี 153 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 33, ดัชนี Jaccard คือ 6.36% = 33 / (366 + 153)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศญี่ปุ่นและโตเกียว หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »