โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประเทศซีเรียและสงครามไบแซนไทน์-อาหรับ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ประเทศซีเรียและสงครามไบแซนไทน์-อาหรับ

ประเทศซีเรีย vs. สงครามไบแซนไทน์-อาหรับ

ประเทศซีเรีย (Syria; سورية ซูริยา) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย (Syrian Arab Republic; الجمهورية العربية السورية) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศตะวันตกจดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทิศตะวันออกจดประเทศอิรัก ทิศใต้จดประเทศจอร์แดน และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศอิสราเอล กรุงดามัสกัส เมืองหลวง เป็นนครที่มีผู้อยู่อาศัยต่อเนื่องที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประเทศซีเรียเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ภูเขาสูงและทะเลทราย มีประชากรกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาหลากหลาย ส่วนมากเป็นชาวอาหรับ ซึ่งรวมอลาวียะห์ ดรูซ มุสลิมซุนนีย์และคริสต์ศาสนิกชน กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ได้แก่ ชาวอาร์มีเนีย อัสซีเรีย เคิร์ดและเติร์ก ชาวอาหรับซุนนีย์เป็นกลุ่มประชากรใหญ่ที่สุดในประเทศซีเรีย ในภาษาอังกฤษ เดิมชื่อ "ซีเรีย" สมนัยกับเลแวนต์ (ภาษาอาหรับว่า al-Sham) ขณะที่รัฐสมัยใหม่ครอบคลุมที่ตั้งของราชอาณาจักรและจักรวรรดิโบราณหลายแห่ง รวมถึงอารยธรรมเอบลา (Ebla) ในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ในสมัยอิสลาม ดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ และเมืองเอกในรัฐสุลต่านมัมลุกในอียิปต์ รัฐซีเรียสมัยใหม่สถาปนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยเป็นอาณาเขตในอาณัติของฝรั่งเศส และเป็นรัฐอาหรับใหญ่ที่สุดที่กำเนิดขึ้นจากเลแวนต์อาหรับที่เดิมออตโตมันปกครอง ประเทศซีเรียได้รับเอกราชในเดือนเมษายน 2489 เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา สมัยหลังได้รับเอกราชมีความวุ่นวาย และกลุ่มรัฐประหารและความพยายามรัฐประหารสะเทือนประเทศในสมัยปี 2492–2514 ระหว่างปี 2501 ถึง 2504 ประเทศซีเรียเข้าร่วมสหภาพช่วงสั้น ๆ กับอียิปต์ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยรัฐประหาร ประเทศซีเรียอยู่ภายใต้กฎหมายฉุกเฉินระหว่างปี 2506 ถึง 2554 ระงับการคุ้มครองพลเมืองส่วนใหญ่ของรัฐธรรมนูญอย่างชะงัด และระบบรัฐบาลถูกพิจารณาว่าไม่เป็นประชาธิปไตย บัชชาร อัลอะซัดเป็นประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2543 สืบทอดจากฮาเฟซ อัลอะซัด บิดา ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2513 ถึง 2543 ประเทศซีเรียเป็นสมาชิกสหประชาชาติและขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ปัจจุบันถูกระงับสมาชิกภาพจากสันนิบาตอาหรับและองค์การความร่วมมืออิสลาม และระงับตนเองจากสหภาพเพื่อเมดิเตอร์เรเนียน นับแต่เดือนมีนาคม 2554 ประเทศซีเรียเกิดสงครามกลางเมืองในห้วงการก่อการกำเริบ (ถือว่าเป็นผลขยายของอาหรับสปริง) ต่ออะซัดและรัฐบาลพรรคบะอัธ กลุ่มต่อต้านตั้งรัฐบาลทางเลือกขึ้น คือ แนวร่วมแห่งชาติซีเรีย (Syrian National Coalition) ในเดือนมีนาคม 2555 ต่อมา ผู้แทนรัฐบาลนี้ได้รับเชิญให้แทนที่ประเทศซีเรียในสันนิบาตอาหรั. งครามไบแซนไทน์-อาหรับ (Byzantine–Arab Wars) เป็นสงครามที่ต่อเนื่องกันระหว่างจักรวรรดิกาหลิป และจักรวรรดิไบแซนไทน์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 12 ที่เริ่มตั้งแต่การพิชิตดินแดนของมุสลิมภายใต้จักรวรรดิกาหลิปรอชิดีนและจักรวรรดิกาหลิปอุมัยยะห์ และต่อสู้ต่อเนื่องกันมาด้วยสาเหตุความขัดแย้งของพรมแดนจนถึงสงครามครูเสดเริ่มต้นขึ้น ผลของสงครามคือการเสียดินแดนของจักรวรรดิไบแซนไทน์ หรือชาวอาหรับเรียกว่า “รุม” ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ ความขัดแย้งครั้งแรกยืนยาวตั้งแต่ ค.ศ. 634 จนถึง ค.ศ. 718 ที่จบลงด้วยการการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่สองที่หยุดยั้งการขยายตัวของจักรวรรดิอาหรับเข้ามายังอนาโตเลีย ความขัดแย้งครั้งเกิดขึ้นระหว่างราว ค.ศ. 800 จนถึง ค.ศ. 1169 เมื่อฝ่ายอิสลามยึดดินแดนทางตอนใต้ของอิตาลีโดยกองกำลังของอับบาซียะห์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 10 แตไม่ประสบกับความสำเร็จเท่าใดนักในซิซิลี เมื่อมาถึงสมัยการปกครองของราชวงศ์มาซีโดเนียไบแซนไทน์ก็ยึดบริเวณลว้านคืนมาได้ และบุกต่อไปเพื่อที่จะยึดเยรูซาเลมทางตอนใต้ อาณาจักรอีเมียร์แห่งอเล็พโพและอาณาจักรเพื่อนบ้านกลายเป็นอาณาจักรบริวารของไบแซนไทน์ทางตะวันออก ที่อันตรายส่วนใหญ่มาจากจักรวรรดิกาหลิปฟาติมียะห์ในอียิปต์ สถานะการณ์มาเปลี่ยนแปลงเมื่อราชวงศ์เซลจุครุ่งเรืองขึ้นและทำให้อับบาซียะห์ได้ดินแดนลึกเข้าไปในอนาโตเลีย ซึ่งเป็นผลให้จักรพรรดิไบแซนไทน์อเล็กซิออสที่ 1 โคมเนนอสต้องเขียนพระราชสาส์นไปขอความช่วยเหลือจากสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2ที่การประชุมสภาสงฆ์แห่งปิอาเชนซา ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเริ่มสงครามครูเสดครั้งที่ 1.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ประเทศซีเรียและสงครามไบแซนไทน์-อาหรับ

ประเทศซีเรียและสงครามไบแซนไทน์-อาหรับ มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ลิแวนต์อาหรับ

รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์

รัฐอุมัยยะห์ (بنو أمية‎) เป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งแรกที่ถูกสถาปนาโดยมุอาวียะห์ อิบนุ อบี สุฟยาน (Muahwiya Ibn Abi Sufyan I, ค.ศ. 661 - ค.ศ. 680) หลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของอะลีย์ บุตรเขยของมุฮัมหมัด ราชวงศ์นี้แผ่ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางในช่วงต้น อีกทั้งราชวงศ์ยังรักษาธรรมเนียมปฏิบัติของศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด แต่พอถึงปลายยุคเคาะลีฟะฮ์กลับเสวยแต่น้ำจัณฑ์ ล่าสัตว์ ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยไม่ปฏิบัติตามหลักศาสนา จึงถูกลูกหลานของน้าของศาสนทูตมุฮัมหมัดโค่นล้มราชวงศ์ลงในสมัยมัรวานที่ 2 ในปี ค.ศ. 750 (พ.ศ. 1293) อุมัยยะห์เป็นหนึ่งในสี่รัฐเคาะลีฟะฮ์ของอิสลามที่ก่อตั้งหลังจากการเสียชีวิตของมุฮัมหมัด ศาสนทูตของศาสนาอิสลามที่ปกครองโดยราชวงศ์อุมัยยะห์ ที่ได้รับชื่อจาก Umayya ibn Abd Shams ผู้เป็นทวดของคอลีฟะฮ์อุมัยยะห์คนแรก แม้ว่าตระกูลอุมัยยะห์เดิมจะมาจากมักกะฮ์ แต่ดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของรัฐ หลังจากอุมัยยะห์ถูกโค่นโดยรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะห์ก็ย้ายไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่อัล-อันดะลุส (Al-Andalus) และก่อตั้งเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบา ภายหลังจากที่ท่านอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ เคาะลีฟะฮ์รอชิดีนคนที่ 4 เสียชีวิต ท่านหะสัน อิบนุ อะลี บุตรของท่านอาลีได้รับเลือกตั้งเป็นเคาะลีฟะฮ์คนต่อไป แต่ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ได้ไม่กี่เดือนก็ยอมสละตำแหน่งให้แก่ท่านมุอาวียะฮ์ อิบนุ อบี สุฟยาน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในรัฐอิสลาม พร้อมกับหลีกเลี่ยงความแตกแยกและการสูญเสียเลือดระหว่างชาวมุสลิมด้วยกันมากกว่านี้ มุอาวิยะฮ์เป็นเคาะลีฟะฮ์ท่านแรกในราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ท่านสืบเชื้อสายจากตระกูลอุมัยยะห์ บุตรของอับดุซซัม ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "ราชวงศ์อุมัยยะฮ์" ในสมัยการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ท่านมุอาวียะฮ์ได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากสาธารณรัฐเป็นราชอาณาจักร ท่านทำให้ตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์กลายเป็นตำแหน่งกษัตริย์โดยการสืบสันติวงศ์ ท่านได้ทรงแต่งตั้งยะซิด โอรสของท่านให้เป็นกษัตริย์ ต่อมาการแต่งตั้งแบบนี้ได้กลายเป็นตัวอย่างการแต่งตั้งเคาะลีฟะฮ์มาตลอดราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ทั้งรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และอื่น ๆ อีกด้วย ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าท่านเป็นผู้สร้างตำแหน่งกษัตริย์โดยการสืบสันติวงศ์ขึ้นในประวัติศาสตร์ของศาสนาอิสลาม การปกครองแบบประชาธิปไตยระหว่างเผ่าของเคาะลีฟะฮ์ท่านก่อน ๆ ก็หมดสิ้นไป กลายเป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิร.

ประเทศซีเรียและรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ · รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์และสงครามไบแซนไทน์-อาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ลิแวนต์

ริเวณที่เรียกว่าลิแวนต์ บริเวณที่เรียกว่าลิแวนต์ปัจจุบันที่ประกอบด้วยจอร์แดน เลบานอน อิสราเอล ดินแดนปาเลสไตน์ และซีเรีย ลิแวนต์ (Levant; بلاد الشام, Bilad ash-Shām) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อัชชาม (الشام, ash-Shām) ตามความหมายดั้งเดิมหมายถึงบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก แต่ในความหมายทางภูมิศาสตร์หมายถึงบริเวณอันกว้างใหญ่ในเอเชียตะวันตกทางฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยมีเทือกเขาทอรัสเป็นเขตแดนทางตอนเหนือ ทะเลทรายอาหรับทางใต้ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันตก ขณะที่ทางตะวันออกเป็นเทือกเขาแซกรอส ลิแวนต์เดิมมีความหมายอย่างหลวม ๆ หมายถึง "ดินแดนเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันออกของอิตาลี" มาจากภาษาฝรั่งเศสกลางที่แปลว่า "ตะวันออก" ในประวัติศาสตร์ การค้าขายระหว่างยุโรปตะวันตกกับจักรวรรดิออตโตมันเป็นเศรษฐกิจอันสำคัญของบริเวณนี้ คำว่าลิแวนต์โดยทั่วไปมีความหมายทางวัฒนธรรมมากกว่าที่จะเป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ใดที่หนึ่งที่เฉพาะเจาะจง และความหมายของคำก็เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ตลอดมาในประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และทัศนคติในการอ้างอิง.

ประเทศซีเรียและลิแวนต์ · ลิแวนต์และสงครามไบแซนไทน์-อาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

อาหรับ

กลุ่มประเทศอาหรับ อาหรับ (عربي, ʿarabi พหูพจน์ العرب al-ʿarab, Arab) คือบุคคลกลุ่มบุคคลที่มีชาติพันธุ์ พูดภาษา หรือมีวัฒนธรรมที่เรียกว่า “อาหรับ”เป็นชนชาติหนึ่งที่อาศัยในบริเวณคาบสมุทรอาหรับที่เป็นทะเลทราย รวมทั้งชนชาติที่พูดภาษาอาหรับในเอเชียตะวันตก และแอฟริกาเหนือ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม คำว่าอาหรับในตระกูลภาษาเซมิติกแปลว่าทะเลทรายหรือผู้อาศัยอยู่ในทะเลทราย ส่วนใหญ่ดำรงชีพแบบเร่ร่อน จึงแปลคำว่าอาหรับว่าเร่ร่อนได้ด้วย ชาวอาหรับเป็นชาวเซมิติกเช่นเดียวกับชาวยิว จัดอยู่ในพวกคอเคเซอยด์ ในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเก่ากล่าวว่าอับราฮัมมีลูกชาย 2 คน คนโตชื่ออิสไมส์หรืออิสมาอีลเป็นต้นตระกูลของชาวอาหรับ คนที่ 2 ชื่อไอแซกเป็นต้นตระกูลของชาวยิว ก่อนที่มุฮัมมัดจะประกาศศาสนาอิสลามชาวอาหรับจะอยู่กันเป็นเผ่า จงรักภักดีต่อเผ่าของตนมาก วิถีชีวิตของชาวอาหรับมีสองแบบ คือแบบอยู่เป็นหมู่บ้าน มีอาชีพค้าขายและทำการเกษตร อีกกลุ่มหนึ่งใช้ชีวิตแบบเร่ร่อนเรียกว่าเบดูอิน อาศัยอยู่ในกระโจมเพื่อเคลื่อนย้ายได้สะดวก ชาวเบดูอินกับชาวอาหรับที่ตั้งถิ่นฐานมักดูถูกกัน ไม่ลงรอยกัน หลังจากมุฮัมมัดประกาศศาสนาอิสลาม จึงเกิดความสามัคคีในหมูชาวอาหรับ ผู้นับถือศาสนาอิสลามในยุคแรกๆมักถูกกลั่นแกล้งและปราบปรามจึงเกิดการทำญิฮาดหรือการต่อสู้เพื่อศาสนาขึ้น ปัจจุบันประเทศที่จัดว่าเป็นประเทศอาหรับเป็นสมาชิกของสันนิบาตอาหรับ ในปัจจุบันมีสมาชิก 21 ประเทศ ได้แก่ แอลจีเรีย จิบูตี บาห์เรน อิรัก จอร์แดน คูเวต เลบานอน ลิเบีย มอริตาเนีย โมร็อกโก โอมาน ปาเลสไตน์ กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย โซมาเลีย ซูดาน ซีเรีย ตูนีเซีย อียิปต์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ เยเมน ในปัจจุบันยังมีความขัดแย้งในหมู่ชาวอาหรับอยู่ เช่น ปัญหาปาเลสไตน์ ความขัดแย้งทางศาสนา เช่น ความขัดแย้งระหว่างชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ในเลบานอน ความขัดแย้งระหว่างชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่และชีอะห์ เป็นต้น ภาษาอาหรับเป็นภาษาที่เก่ากว่าวัฒนธรรมอาหรับที่เริ่มเผยแพร่ในตะวันออกกลางตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 2 เมื่ออาหรับคริสเตียนเช่นกาสนาวิยะห์ ลักห์มิยะห์ และ Banu Judham เริ่มโยกย้ายเข้าไปตั้งถิ่นฐานในทะเลทรายซีเรียและในบริเวณลว้าน ภาษาอาหรับเพิ่มความสำคัญมากขึ้นพร้อมกับการรุ่งเรืองของศาสนาอิสลามในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในการเป็นภาษาของอัลกุรอาน และวัฒนธรรมอาหรับก็เริ่มเผยแพร่ออกไปพร้อมกับการขยายดินแดนของอิสลาม.

ประเทศซีเรียและอาหรับ · สงครามไบแซนไทน์-อาหรับและอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ประเทศซีเรียและสงครามไบแซนไทน์-อาหรับ

ประเทศซีเรีย มี 43 ความสัมพันธ์ขณะที่ สงครามไบแซนไทน์-อาหรับ มี 40 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 3.61% = 3 / (43 + 40)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศซีเรียและสงครามไบแซนไทน์-อาหรับ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »