โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประเทศชาดและเต่าซูลคาต้า

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ประเทศชาดและเต่าซูลคาต้า

ประเทศชาด vs. เต่าซูลคาต้า

(Tchad; تشاد, Tshād) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในแอฟริกากลาง มีอาณาเขตทางเหนือจดประเทศลิเบีย ทางตะวันออกจดประเทศซูดาน ทางใต้จดสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ทางตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศแคเมอรูนและประเทศไนจีเรีย และทางตะวันตกจดประเทศไนเจอร์ เนื่องจากมีระยะไกลจากทะเลและมีภูมิอากาศเป็นแบบทะเลทรายเป็นส่วนใหญ่ ประเทศจึงได้ชื่อว่าเป็น "หัวใจตายของแอฟริกา" (dead heart of Africa) ทางเหนือมีทิวเขาทิเบสตี (Tibesti Mountains) ซึ่งเป็นเทือกเขาที่ใหญ่ที่สุดในทะเลทรายสะฮารา เดิมเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐเฟรนช์อิเควทอเรียลแอฟริกา (Federation of French Equatorial Africa) มีชื่อตามทะเลสาบชาด (Lake Chad). ต่าซูลคาต้า หรือ เต่าเดือยแอฟริกัน (Sulcata tortoise, African spurred tortoise) เป็นเต่าบกชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Geochelone sulcata จัดเป็นเต่าบกที่มีความใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกรองมาจาก เต่ายักษ์กาลาปากอส (G. nigra) และเต่าอัลดาบร้า (Aldabrachelys gigantea) จัดเป็นเต่าที่มีลักษณะกระดองที่แบนราบ เมื่อยังอยู่ในวัยเล็กลำตัวมีสีขาวไปจนถึงสีน้ำตาลเหลือง เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นและวัยเต็มวัยสีของกระดองจะพัฒนาเป็นสีน้ำตาลและสีเหลือง ขาทั้งสี่ข้างแข็งแรง โดยเฉพาะขาคู่หน้ามีเกล็ดขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจน กระจายพันธุ์บริเวณพื้นที่แห้งแล้ง บริเวณขอบทะเลทรายซาฮาร่าตั้งแต่ประเทศมาลี, เซเนกัล ในแอฟริกาตะวันตกไปจนถึงเอธิโอเปีย ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้มากกว่า 36 นิ้ว น้ำหนักกว่า 100 กิโลกรัม มีอายุยาวกว่า 100 ปี เป็นเต่าที่กินอาหารหลักได้หลากหลาย โดยมากเป็นหญ้า รวมถึงวัชพืชและผลไม้ชนิดต่าง ๆ รวมถึงพืชในทะเลทราย เช่น กระบองเพชร มีพฤติกรรมที่แตกต่างไปกวาเต่าบกชนิดอื่น ๆ คือ เดินเก่งและเดินได้เร็ว สามารถเดินหาอาหารกินได้วันละหลายชั่วโมง เต่าตัวผู้เมื่อสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ราว 5 ปี หรือมีความยาวประมาณ 15 นิ้ว ในส่วนตัวเมียจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 7 ปี หรือมีความยาวประมาณ 17 นิ้ว ตัวผู้มีโคนหางที่ยาวกว่าตัวเมีย และมีกระดองบริเวณก้นเป็นรูปตัววี อีกทั้งกระดองใต้ท้องมีลักษณะโค้งเว้าเข้าไปด้านใน การสังเกตเพศเห็นได้เมื่อมีอายุได้ 3-4 ปี หรือมีความยาวประมาณ 1 ฟุต มีฤดูผสมพันธุ์ในช่วงต้นฤดูร้อนจนถึงปลายฤดูฝน โดยใช้เวลาผสมพันธุ์นานราว 1 ชั่วโมง เต่าตัวเมียจะวางไข่หลังผสมพันธุ์แล้ว 1 เดือน โดยใช้ขาหลังขุดหลุม ซึ่งอาจมีหลายหลุมเพื่อหลอกสัตว์กินเนื้อชนิดอื่นที่จะมาขโมยไข่ วางไข่ครั้งละ 20-30 ฟอง โดยในแต่ละปีอาจวางไข่ได้ถึงครั้งละ 4-5 ครั้ง และมักจะวางไข่ในช่วงเวลาบ่ายไปจนถึงตอนเย็น ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 90 วัน โดบใช้อุณหภูมิประมาณ 29-31 องศาเซลเซียส ความชื้นอยู่ที่ร้อยละ 75-85 ลูกเต่าเมื่อแรกฟักจะมีความยาวประมาณ 2 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 20-30 กรัม และจะมีถุงไข่แดงติดตัวมาด้วย ซึ่งถุงไข่แดงนั้นจะให้พลังงานแทนอาหาร ใช้เวลานานประมาณหนึ่งสัปดาห์ ถุงไข่แดงนี้จึงจะยุบไป ปัจจุบัน เต่าซูลคาค้าเป็นเต่าบกอีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง และสามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว รวมถึงในประเทศไทยด้ว.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ประเทศชาดและเต่าซูลคาต้า

ประเทศชาดและเต่าซูลคาต้า มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ทะเลทรายสะฮารา

ทะเลทรายสะฮารา

ทะเลทรายสะฮารา หรือ ซาฮารา หรือ สาฮารา (Sahara) เป็นทะเลทรายขนาดใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นบริเวณแห้งแล้งใหญ่สุดเป็นอันดับสามรองจากทวีปแอนตาร์กติกาและอาร์กติก มีเนื้อที่มากกว่า 9,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,500,000 ตารางไมล์ คำว่า สะฮารา ในภาษาอาหรับ (صحراء) หมายถึง ทะเลทราย อาณาเขตของทะเลทรายสะฮารา ด้านทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศเหนือคือเทือกเขาแอตลาสและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันออกจรดทะเลแดงและประเทศอียิปต์ ทิศใต้จรดประเทศซูดานและหุบเขาของแม่น้ำไนเจอร์ วิดีโอที่ถ่ายในมุมมองจากอวกาศ ของ ทะเลทรายสะฮารา และ แถวตะวันออกกลาง โดยสมาชิกนักบินอวกาศในการสำรวจที่ 29.

ทะเลทรายสะฮาราและประเทศชาด · ทะเลทรายสะฮาราและเต่าซูลคาต้า · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ประเทศชาดและเต่าซูลคาต้า

ประเทศชาด มี 23 ความสัมพันธ์ขณะที่ เต่าซูลคาต้า มี 43 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 1.52% = 1 / (23 + 43)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศชาดและเต่าซูลคาต้า หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »