โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประเทศกรีซและเพลลา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ประเทศกรีซและเพลลา

ประเทศกรีซ vs. เพลลา

กรีซ (Greece; Ελλάδα, Elládha เอลาฑา หรือ Ελλάς, Ellás) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเฮลเลนิก (Hellenic Republic; Ελληνική Δημοκρατία, Ellinikí Dhimokratía) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ตอนใต้สุดของคาบสมุทรบอลข่าน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศบัลแกเรีย มาซิโดเนีย และแอลเบเนีย มีพรมแดนทางตะวันออกติดกับประเทศตุรกี อยู่ติดทะเลอีเจียนทางด้านตะวันออก ติดทะเลไอโอเนียนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านตะวันตกและใต้ กรีซนับว่าเป็นแหล่งอารยธรรมตะวันตกอันยิ่งใหญ่ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งกรีซได้แผ่อิทธิพลไปยัง 3 ทวีป ชาวกรีกเรียกประเทศตัวเองว่า Hellas ซึ่งภาษากรีกในปัจจุบันออกเสียง ว่า Ellas โดยในการพูดทั่วไปจะใช้คำว่า Ellada และมักจะเรียกตัวเองว่า Hellenes แม้กระทั่งในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำภาษาอังกฤษ "Greece" มาจากชื่อละตินว่า Graecia หมายถึงพื้นที่ทางเหนือของกรีซในปัจจุบัน ซึ่งมีกลุ่มคนที่เรียกว่า Graikos อาศัยอยู. ลลา (Πέλλα) เป็นเมืองโบราณตั้งอยู่ทางตอนกลางของมาเซโดเนีย ประเทศกรีซ รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นเมืองหลวงในประวัติศาสตร์ของราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ในสมัยกรีซโบราณ และเป็นสถานที่ประสูติของทั้งพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช และพระเจ้าพีลิปโปสที่ 2 พระราชบิดาของพระองค์ ชื่อ เพลลา ในภาษากรีกโบราณ หมายถึง "ก้อนหิน" เพลลาถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรก โดยเฮรอโดตัสแห่งฮาลิคาร์นาสซัส (ล.VII, 123) ในความเกี่ยวเนื่องกับการสงครามของพระเจ้าเซิร์กซีส และ โดยนักประวัติศาสตร์ ธูซีดิดีส (Thucydides) ซึ่งบรรยายถึงการขยายตัวของมาเกโดนีอา และสงครามกับชาวเทรเชียน เพลลาถูกสร้างขึ้นให้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรโดยพระเจ้าอาร์คิเลอัสที่ 1 แห่งมาเกโดนีอา (Ἀρχέλαος) เพื่อแทนที่พระราชวัง-นคร ไอไก (Aigai) ซึ่งเป็นพระราชวังเก่า (ปัจจุบันตั้งอยู่ที่เมืองเวรกีน่า (Vergina) ในตอนเหนือของกรีซ) โดยอาร์คิเลอัสเชิญ ซีวซิส (Zeuxis) ช่างวาดภาพและทาสีที่เก่งที่สุดในสมัยนั้นมาตกแต่งพระราชวังให้ และยังเชิญศิลปินเรืองนามอื่นๆมาพำนักด้วย รวมถึงนาฏศิลปินเอกยูริพิดีสจากเอเธนส์ ละครของยูริพิดีสเรื่อง แบคไค (Bacchae) ก็ได้ออกแสดงบนเวทีเป็นครั้งแรกที่วังนี้ ราวปีที่ 408 ก่อนค.ศ.ฯ เซโนฟอนบันทึกไว้ (เมื่อปีที่ 382 ก่อน..) ว่า เพลลาเป็นเมืองที่ใหญ่ และรำ่รวยที่สุดในมาเกโดนีอา เมืองเพลลาเข้าสู่ยุคที่มีขีดความมั่งคั่งสูงสุดหลังจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์สิ้นพระชนม์ โดยเฉพาะภายใต้การปกครองของราชวงศ์แอนติปาทริด - ราชวงศ์อายุสั้นที่ก่อตั้งโดยแอนติปาเตอร์ และมีคาสซานเดอร์เป็นปฐมกษัตริย์ - และราชวงศ์แอนติโกนีด สิ่งก่อสร้างใหญ่โตที่หลงเหลือให้เห็นในแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีส่วนใหญ่สร้างในรัชสมัยของแอนติโกนัสที่ 2 หลังจากที่พันธมิตรกรีกและมาเกโดนีอา ถูกกองทัพสาธารณรัฐโรมันกำหราบลงในสงครามมาเกโดนีอาครั้งที่สาม นครเพลลาถูกเข้าปล้นชิงโดยกองทัพของโรม ในปีที่ 168 ก่อนค.ศ. ทรัพย์สินของมีค่าถูกขนไปโรมเกือบทั้งหมด และราชอาณาจักรมาเกโดนีอาก็ถูกลดสถานะลงเป็นแค่จังหวัดหนึ่งของโรมนับแต่นั้นม.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ประเทศกรีซและเพลลา

ประเทศกรีซและเพลลา มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): อเล็กซานเดอร์มหาราช

อเล็กซานเดอร์มหาราช

อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, Μέγας Ἀλέξανδρος) เป็นกษัตริย์กรีกจากราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของราชวงศ์อาร์กีด เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เกิดที่เมืองเพลลา ตอนเหนือของมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล ได้รับการศึกษาตามแบบกรีกดั้งเดิมภายใต้การกำกับดูแลของอริสโตเติล นักปรัชญากรีกผู้มีชื่อเสียง สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจาก พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 336 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่พระบิดาถูกลอบสังหาร สวรรคตในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อพระชนมายุเพียง 32 พรรษา แม้ว่าราชบัลลังก์และจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์จะอยู่เพียงชั่วครู่ยาม แต่ผลกระทบจากการพิชิตดินแดนของพระองค์ส่งผลสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อเล็กซานเดอร์ถือเป็นหนึ่งในบุรุษผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกยุคโบราณ มีชื่อเสียงเลื่องลือในความสามารถทางการรบ ยุทธวิธี และการเผยแพร่อารยธรรมกรีกไปในดินแดนตะวันออก พระเจ้าพีลิปโปสทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาเกโดนีอา โดยใช้ทั้งกลวิธีทางการทูตและทางทหาร เมื่อพีลิปโปสสวรรคต อเล็กซานเดอร์จึงได้สืบทอดราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและกองทัพที่เปี่ยมประสบการณ์ พระองค์เป็นที่ยอมรับในด้านการรบจากแว่นแคว้นกรีซ และได้เริ่มแผนการขยายอำนาจแผ่อาณาจักรตามที่บิดาเคยริเริ่มไว้ พระองค์ยกทัพรุกรานดินแดนเอเชียไมเนอร์ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย และกระทำการรณยุทธ์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาร่วมสิบปี อเล็กซานเดอร์เอาชนะชาวเปอร์เซียครั้งแล้วครั้งเล่า นำทัพข้ามซีเรีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และแบคเทรีย ทรงโค่นล้มกษัตริย์พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย และพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุกอินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายการสงคราม การสูญเสียเฮฟีสเทียนทำให้อเล็กซานเดอร์ตรอมใจจนสวรรคตที่เมืองบาบิโลน ในปี 323 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผนการรบต่อเนื่องในการรุกรานคาบสมุทรอาระเบีย ในปีถัดจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ เกิดสงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาเกโดนีอา แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออกทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมเฮเลนนิสติก ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาในจักรวรรดิไบแซนไทน์กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อเล็กซานเดอร์เป็นบุคคลในตำนานในฐานะวีรบุรุษผู้ตามอย่างอคิลลีส มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปรัมปราทั้งของฝ่ายกรีกและที่ไม่ใช่กรีก เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งบรรดานายพลทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับตนเองแม้จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนการทหารทั่วโลกยังคงใช้ยุทธวิธีการรบของพระองค์เป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน.

ประเทศกรีซและอเล็กซานเดอร์มหาราช · อเล็กซานเดอร์มหาราชและเพลลา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ประเทศกรีซและเพลลา

ประเทศกรีซ มี 111 ความสัมพันธ์ขณะที่ เพลลา มี 10 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 0.83% = 1 / (111 + 10)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศกรีซและเพลลา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »