โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประวัติศาสตร์ไทยและอาณาจักรล้านนา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ประวัติศาสตร์ไทยและอาณาจักรล้านนา

ประวัติศาสตร์ไทย vs. อาณาจักรล้านนา

การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยมักเริ่มนับตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัยเป็นต้นมา หากแต่ในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบัน พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี ตลอดจนหลักฐานของอารยธรรมและรัฐโบราณเป็นจำนวนมาก ภูมิภาคสุวรรณภูมิเคยถูกชาวมอญ เขมร และมลายูปกครองมาก่อน ต่อมา คนไทยได้สถาปนาอาณาจักรของตนเอง เช่น อาณาจักรสุโขทัย ไล่เลี่ยกันกับอาณาจักรล้านนา อาณาจักรเชียงแสน และอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองในช่วงเวลาค่อนข้างสั้นประมาณ 200 ปี ก็ถูกผนวกรวมกับอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมั่งคั่ง เป็นศูนย์กลางการค้าระดับนานาชาติ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปการปกครอง ซึ่งบางส่วนใช้สืบมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และยังทรงตราพระราชกำหนดศักดินา ทำให้อยุธยาเป็นสังคมศักดินา อยุธยาเริ่มติดต่อกับชาติตะวันตกเมื่อ.. อาณาจักรล้านนา (95px) คือ ราชอาณาจักรของชาวไทยวนในอดีตที่ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ตลอดจนสิบสองปันนา เช่น เมืองเชียงรุ่ง (จิ่งหง) มณฑลยูนนาน ภาคตะวันออกของพม่า ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ซึ่งมีเมืองเชียงตุงเป็นเมืองเอก ฝั่งตะวันตกแม่นำสาละวิน มีเมืองนายเป็นเมืองเอก และ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอนสรัสวดี อ๋องสกุล.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ประวัติศาสตร์ไทยและอาณาจักรล้านนา

ประวัติศาสตร์ไทยและอาณาจักรล้านนา มี 14 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พญามังรายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพ่อขุนรามคำแหงมหาราชการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่งราชวงศ์ตองอูสมบูรณาญาสิทธิราชย์สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถอาณาจักรหริภุญชัยอาณาจักรอยุธยาจังหวัดแม่ฮ่องสอนประเทศจีนน้ำแม่กกแม่น้ำปิงแคว้นล้านนา

พญามังราย

ญามังรายประเสริฐ ณ นคร; 2549, กุมภาพันธ์: 267.

ประวัติศาสตร์ไทยและพญามังราย · พญามังรายและอาณาจักรล้านนา · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ประวัติศาสตร์ไทยและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและอาณาจักรล้านนา · ดูเพิ่มเติม »

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

อขุนรามคำแหงมหาราช หรือ พญาร่วง หรือ พระบาทกมรเตงอัญศรีรามราช เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 ในราชวงศ์พระร่วงแห่งราชอาณาจักรสุโขทัย เสวยราชย์ประมาณ พ.ศ. 1822 ถึงประมาณ พ.ศ. 1841 พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของไทยที่ได้รับการยกย่องเป็น "มหาราช" ด้วยทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันทรงคุณประโยชน์แก่แผ่นดิน ทรงรวบรวมอาณาจักรไทยจนเป็นปึกแผ่นกว้างขวาง ทั้งยังได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้น ทำให้ชาติไทยได้สะสมความรู้ทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ สืบทอดกันมากว่าเจ็ดร้อยปี:3.

ประวัติศาสตร์ไทยและพ่อขุนรามคำแหงมหาราช · พ่อขุนรามคำแหงมหาราชและอาณาจักรล้านนา · ดูเพิ่มเติม »

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างอาณาจักรตองอูและอาณาจักรอยุธยา อันเป็นผลมาจากความต้องการของพระเจ้าบุเรงนองซึ่งต้องการได้กรุงศรีอยุธยาเป็นประเทศราชดนั.

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่งและประวัติศาสตร์ไทย · การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่งและอาณาจักรล้านนา · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ตองอู

ราชวงศ์ตองอู (Toungoo Dynasty; တောင်ငူခေတ်) ราชวงศ์ที่ 2 ในประวัติศาสตร์พม่า ภายหลังจากราชวงศ์พุกาม ราชวงศ์แรกล่มสลายลงจากการรุกรานของชาวมองโกลโดยกุบไลข่าน พระเจ้าเมงจีโย ได้รวบรวมชาวพม่าที่หลงเหลืออยู่อย่างกระจัดกระจาย โดยสถาปนาเมืองตองอูขึ้นเป็นราชธานี เพราะเป็นเมืองที่อยู่ในขุนเขาซึ่งเป็นปราการที่เข้มแข็ง ตองอูเข้มแข็งขึ้นมารัชสมัยของ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ พระโอรสของพระองค์ที่ขึ้นครองราชย์ต่อมา โดยได้แผ่อาณาเขตของอาณาจักรขยายไปรอบด้าน เช่น แปร, พะสิม อังวะ, ยะไข่ และที่สำคัญที่สุดคือ หงสาวดี อันเป็นอาณาจักรเดิมของมอญ ซึ่งเป็นศัตรูที่สำคัญของพม่า ยุคสมัยของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ได้ครอบคลุมอาณาจักรพม่าทั้งตอนบนและตอนล่างลุ่มน้ำอิระวดี อีกทั้งได้บุคลากรที่สำคัญ เช่น มหาอุปราชาบุเรงนอง, เมงเยสีหตู ร่วมกันสร้างอาณาจักรให้ยิ่งใหญ่ เข้มแข็ง และได้ย้ายเมืองหลวงจากตองอูมายังหงสาวดี ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ เมืองต่าง ๆ ที่เคยขึ้นต่ออาณาจักร ก็แข็งเมืองไม่ยอมขึ้นตรงต่อไป มีกบฏเกิดขึ้นมากมาย มหาอุปราชาบุเรงนองต้องใช้เวลาปราบปรามอยู่ราวอีก 2-3 ปี จึงจะได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ ในรัชสมัยของพระเจ้าบุเรงนอง ได้แผ่อาณาเขตของอาณาจักรตองอู ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นโดยครอบคลุมตั้งแต่ลุ่มน้ำอิระวดี ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ไปจรดถึงลุ่มน้ำโขงในลาว มีเมืองเป็นประเทศราชต่าง ๆ มากมาย เช่น เชียงใหม่, ฉาน, อยุธยา, ล้านช้าง, กัมพุช เป็นต้น จนได้การขนานพระนามว่าเป็น "พระเจ้าชนะสิบทิศ" แต่ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าบุเรงนอง ศูนย์กลางอำนาจของอาณาจักรถูกสั่นคลอน เนื่องจากการปกครองอย่างแข็งกร้าว ไร้ไมตรีของพระเจ้านันทบุเรง พระราชโอรสของพระองค์ เมืองที่เคยขึ้นเป็นประเทศราชต่าง ๆ ต่างแข็งเมืองและได้ประกาศอิสรภาพ ทำสงครามรบพุ่งกันตลอดมา เช่น แปร, อังวะ, อยุธยา เป็นต้น ในที่สุดเมืองทั้งหลายเหล่านี้ก็แตกแยกกระจัดกระจายออกไป และภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้านันทบุเรง ราชวงศ์ตองอูก็ยังได้สืบราชสมบัติต่อมา แต่ไม่มีกษัตริย์พระองค์ใดที่เข้มแข็งพอที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำกอบกู้อาณาจักรขึ้นมา แม้นจะมีความพยายามจากพระเจ้าอโนเพตลุน ราชนัดดาของพระเจ้าบุเรงนอง ซึ่งเรียกกันว่า "ยุคนยองยาน" (Nyaungyan Dynasty) แต่ก็สำเร็จเพียงชั่วระยะเวลาสั้น ๆ หลังจากยุคนี้แล้ว มอญสามารถตั้งตัวได้และขึ้นมาเป็นใหญ่แทน ก่อนที่ทางพม่าจะสถาปนาศูนย์กลางอำนาจขึ้นมาอีกครั้งในสมัยพระเจ้าอลองพญา ในทางวิชาการ นักประวัติศาสตร์ได้แบ่งราชวงศ์ตองอูไว้เป็น 2 ยุค คือ ราชวงศ์ตองอูตอนต้น กินระยะเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2029 - พ.ศ. 2142 คือตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าเมงจีโยจนถึงพระเจ้านันทบุเรง และราชวงศ์ตองอูตอนปลายหรือยุคหลัง ตั้งแต่ พ.ศ. 2140 - พ.ศ. 2295 ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้านยองยานจนถึงการสถาปนาอำนาจขึ้นมาของพระเจ้าอลองพญ.

ประวัติศาสตร์ไทยและราชวงศ์ตองอู · ราชวงศ์ตองอูและอาณาจักรล้านนา · ดูเพิ่มเติม »

สมบูรณาญาสิทธิราชย์

มบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) คือ ระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองและมีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ ในระบอบการปกครองนี้ กษัตริย์ก็คือกฎหมาย กล่าวคือ ที่มาของกฎหมายทั้งปวงอยู่ที่กษัตริย์ คำสั่ง ความต้องการต่าง ๆ ล้วนมีผลเป็นกฎหมายอมร รักษาสัตย์, กษัตริย์มีอำนาจในการปกครองแผ่นดินและพลเมืองโดยอิสระ โดยไม่มีกฎหมายหรือองค์กรตามกฎหมายใด ๆ จะห้ามปรามได้ แม้องค์กรทางศาสนาอาจทัดทานกษัตริย์จากการกระทำบางอย่างและองค์รัฏฐาธิปัตย์ (กษัตริย์) นั้นจะถูกคาดหวังว่าจะปฏิบัติตามธรรมเนียม แต่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ไม่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใด ๆ ที่จะอยู่เหนือกว่าคำชี้ขาดของรัฏฐาธิปัตย์ ตามทฤษฎีพลเมืองนั้น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มอบความไว้วางใจทั้งหมดให้กับพระเจ้าแผ่นดินที่ดีพร้อมทางสายเลือดและได้รับการเลี้ยงดูฝึกฝนมาอย่างดีตั้งแต่เกิด ในทางทฤษฎี กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะมีอำนาจทั้งหมดเหนือประชาชนและแผ่นดิน รวมทั้งเหนืออภิชนและบางครั้งก็เหนือคณะสงฆ์ด้วย ส่วนในทางปฏิบัติ กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มักจะถูกจำกัดอำนาจ โดยทั่วไปโดยกลุ่มที่กล่าวมาหรือกลุ่มอื่น กษัตริย์บางพระองค์ (เช่นจักรวรรดิเยอรมนี ค.ศ. 1871–1918) มีรัฐสภาที่ไม่มีอำนาจหรือเป็นเพียงสัญลักษณ์ และมีองค์กรบริหารอื่น ๆ ที่กษัตริย์สามารถเปลี่ยนแปลงหรือยุบเลิกได้ตามต้องการ แม้จะมีผลเท่ากับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่โดยทางเทคนิคที่เป็นไปได้แล้ว นี่คือราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) เนื่องจากการมีอยู่ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายพื้นฐานของประเทศ ประเทศที่ใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบันคือ ซาอุดีอาระเบีย บรูไน โอมาน สวาซิแลนด์ กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมทั้ง นครรัฐวาติกัน ด้ว.

ประวัติศาสตร์ไทยและสมบูรณาญาสิทธิราชย์ · สมบูรณาญาสิทธิราชย์และอาณาจักรล้านนา · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

มเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 8 แห่งอาณาจักรอยุธยาสมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ สวรรคต..

ประวัติศาสตร์ไทยและสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ · สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและอาณาจักรล้านนา · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรหริภุญชัย

แผนที่อาณาจักรหริภุญชัยประมาณ พ.ศ. 1543-1643 (สีเขียว) อาณาจักรหริภุญชัย หรือ หริภุญไชย เป็นอาณาจักรมอญที่ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทยปัจจุบัน ตำนานจามเทวีวงศ์โบราณได้บันทึกไว้ว่า ฤๅษีวาสุเทพเป็นผู้สร้างเมืองหริภุญชัยขึ้นในปี พ.ศ. 1310 แล้วทูลเชิญพระนางจามเทวี ซึ่งเป็นเจ้าหญิงจากอาณาจักรละโว้ ขึ้นมาครองเมืองหริภุญชัย ในครั้งนั้นพระนางจามเทวีได้นำพระภิกษุ นักปราชญ์ และช่างศิลปะต่าง ๆ จากละโว้ขึ้นไปด้วยเป็นจำนวนมากราวหมื่นคน พระนางได้ทำนุบำรุงและก่อสร้างบ้านเมือง ทำให้เมืองหริภุญชัย (ลำพูน) นั้นเป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ต่อมาพระนางได้สร้างเขลางค์นคร (ลำปาง) ขึ้นอีกเมืองหนึ่งให้เป็นเมืองสำคัญ สมัยนั้นปรากฏมีการใช้ภาษามอญโบราณในศิลาจารึกของหริภุญชัย มีหนังสือหมานซูของจีนสมัยราชวงศ์ถัง กล่าวถึงนครหริภุญชัยไว้ว่าเป็น “อาณาจักรของสมเด็จพระราชินีนาถ” (女王國 หนี่ว์ หวัง กว๋อ) ต่อมา พ.ศ. 1824 พญามังรายมหาราชผู้สถาปนาอาณาจักรล้านนา ได้ยกกองทัพเข้ายึดเอาเมืองหริภุญชัยจากพญายีบาได้ ต่อจากนั้นอาณาจักรหริภุญชัยจึงสิ้นสุดลงหลังจากรุ่งเรืองมา 618 ปี มีพระมหากษัตริย์ครองเมือง 49 พระองค์ ปัจจุบัน โบราณสถานสำคัญของอาณาจักรหริภุญชัยคือพระธาตุหริภุญไชย ที่จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นบริเวณที่สันนิษฐานว่าเป็นราชธานีในสมัยนั้น และยังมีเมืองโบราณเวียงมโน ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โบราณสถานที่เวียงเกาะ บ้านสองแคว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และเวียงท่ากาน ที่ตำบลบ้านกลาง ต.สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการพบจารึกอักษรมอญโบราณ สมัยหริภุญไชย ราวพุทธศตวรรษที่ 17 จำนวน 7 หลัก ที่ลำพูน ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติหริภุญไชย จังหวัดลำพูน บางหมู่บ้านของจังหวัดลำพูนนั้นพบว่า ยังมีคนพูดภาษามอญและอนุรักษ์วัฒนธรรมมอญอยู.

ประวัติศาสตร์ไทยและอาณาจักรหริภุญชัย · อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรหริภุญชัย · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรอยุธยา

ำหรับความหมายอื่น ดูที่ อยุธยา ระวังสับสนกับ อโยธยา อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วง พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310 มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางอำนาจหรือราชธานี ทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน เนเธอร์แลนด์ (ฮอลันดา) อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งเคยสามารถขยายอาณาเขตประเทศราชถึงรัฐฉานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนาน อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรขอม และคาบสมุทรมลายูในปัจจุบัน.

ประวัติศาสตร์ไทยและอาณาจักรอยุธยา · อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ังหวัดแม่ฮ่องสอน (60px; 80px) เป็นจังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย มีความโดดเด่นหลายลักษณะ โดยเฉพาะสภาพภูมิประเทศ ความหลากหลายด้านวัฒนธรรม และความหลากหลายของประชากรจากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ นับเป็นจังหวัดที่สถิติน่าสนใจหลายอย่าง เช่น มีประชากรเบาบางที่สุดในประเทศ และมีประชากรน้อยมากเป็นอันดับ 5 ในขณะที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับ 8 ของประเทศ แม่ฮ่องสอนได้ชื่อว่าเป็น เมืองสามหมอก เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศเต็มไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน สภาพอากาศมีหมอกปกคลุมตลอดเวลาส่วนใหญ่ของปี นอกจากนี้แม่ฮ่องสอนยังนับเป็นพื้นที่ปลายสุดด้านตะวันตกของประเทศ คือที่เส้นแวง 97.5 องศาตะวันออกในเขตอำเภอแม่สะเรียง (ตะวันออกสุดของประเทศ อยู่ที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ที่ 105.5 องศาตะวันออก) แม่ฮ่องสอนได้รบการสถาปนาขึ้นเป็นเมือง เมื่อปี..

จังหวัดแม่ฮ่องสอนและประวัติศาสตร์ไทย · จังหวัดแม่ฮ่องสอนและอาณาจักรล้านนา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ประวัติศาสตร์ไทยและประเทศจีน · ประเทศจีนและอาณาจักรล้านนา · ดูเพิ่มเติม »

น้ำแม่กก

น้ำแม่กก (45px) เป็นแม่น้ำสายสำคัญสายหนึ่งในภาคเหนือของประเทศไทย มีต้นกำเนิดจากทิวเขาแดนลาวและทิวเขาผีปันน้ำตอนเหนือของเมืองกก จังหวัดเชียงตุงภายในอาณาเขตของรัฐชานในประเทศพม่า ไหลเข้าสู่ประเทศไทยที่ช่องน้ำแม่กก อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ไหลมาเรื่อย ๆ จนผ่านตัวอำเภอเมืองเชียงราย หลังจากนั้นก็ไหลลงแม่น้ำโขงที่บริเวณสบกก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย มีความยาว 285 กิโลเมตร (ในประเทศไทยยาว 130 กิโลเมตร) ลำน้ำสาขาที่สำคัญได้แก่ น้ำแม่ฝาง น้ำแม่ลาว และน้ำแม่สรว.

น้ำแม่กกและประวัติศาสตร์ไทย · น้ำแม่กกและอาณาจักรล้านนา · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำปิง

แม่น้ำปิง (50px) เป็นแม่น้ำสายสำคัญของประเทศไทย และเป็นหนึ่งในสองของแม่น้ำที่บรรจบมาเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำปิงไหลอยู่ในหุบเขาระหว่างทิวเขาถนนธงชัยกลางกับทิวเขาผีปันน้ำตะวันตก มีต้นน้ำอยู่ที่ดอยเชียงดาวในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ไหลลงทางใต้ผ่านจังหวัดลำพูน รวมกับแม่น้ำวังที่อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ไหลลงใต้ผ่านจังหวัดกำแพงเพชร แล้วบรรจบกับแม่น้ำน่านที่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ และจากจุดนี้ไปเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำปิงมีความยาวทั้งสิ้น 658 กิโลเมตร แม่น้ำปิงมีแม่น้ำสาขาที่สำคัญอยู่ 6 สาย ได้แก่ น้ำแม่งัด น้ำแม่แตง น้ำแม่กวง น้ำแม่ลี้ น้ำแม่กลาง และน้ำแม่แจ่ม ในบริเวณแม่น้ำปิงตอนบนเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติแม่ปิง มีเนื้อที่ 627,346 ไร่ (1,003.75 ตร.กม.).

ประวัติศาสตร์ไทยและแม่น้ำปิง · อาณาจักรล้านนาและแม่น้ำปิง · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นล้านนา

แคว้นล้านนา เป็นอาณาจักรอันเป็นประเทศราชของราชวงศ์ตองอู และ อยุธยา ช่วงระหว่างปี..

ประวัติศาสตร์ไทยและแคว้นล้านนา · อาณาจักรล้านนาและแคว้นล้านนา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ประวัติศาสตร์ไทยและอาณาจักรล้านนา

ประวัติศาสตร์ไทย มี 116 ความสัมพันธ์ขณะที่ อาณาจักรล้านนา มี 69 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 14, ดัชนี Jaccard คือ 7.57% = 14 / (116 + 69)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ประวัติศาสตร์ไทยและอาณาจักรล้านนา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »