ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ประวัติศาสตร์อังกฤษและราชอาณาจักรเคนต์
ประวัติศาสตร์อังกฤษและราชอาณาจักรเคนต์ มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชาวแองโกล-แซกซันชาวเคลต์จูเลียส ซีซาร์ประเทศอังกฤษเจ็ดอาณาจักร
ชาวแองโกล-แซกซัน
ราชอาณาจักรแองโกล-แซกซัน ราว ค.ศ. 600 หมวกนักรบที่พบในซัตตันฮูที่อาจจะเป็นของเรดวอลดแห่งอีสแองเกลีย (Raedwald of East Anglia) (ราว ค.ศ. 625) ออกแบบตามแบบหมวกนักรบของโรมันและตกแต่งแบบหมวกนักรบของสวีเด็นที่ทำในสมัยเดียวกันที่โอลด์อุพพ์ซาลา แองโกล-แซกซัน (Anglo-Saxons) เป็นคำที่ใช้เรียกชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางใต้และตะวันออกของสหราชอาณาจักรระหว่างต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5 จนกระทั่งถึงการรุกรานของนอร์มัน ในปี..
ชาวแองโกล-แซกซันและประวัติศาสตร์อังกฤษ · ชาวแองโกล-แซกซันและราชอาณาจักรเคนต์ ·
ชาวเคลต์
ริเวณที่ยังมีการใช้ภาษากลุ่มเคลต์อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เคลต์ หรือ เซลต์ (Celts; หรือ) เป็นคำที่ใช้เรียกชนยุโรปที่เดิมพูดหรือยังพูดภาษากลุ่มเคลต์ (Celtic languages) นอกจากนั้นก็ยังเป็นคำที่ใช้ในความหมายกว้าง ๆ ในการบรรยายผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากชาวเคลต์ที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมเคลต์อยู่ เคลต์ในประวัติศาสตร์เป็นกลุ่มชนหลายกลุ่มในยุคเหล็กยุโรป อารยธรรมเคลต์ดั้งเดิมเริ่มก่อตั้งในสมัยต้นยุคเหล็กในตอนกลางของทวีปยุโรป (สมัยวัฒนธรรมฮัลล์ชตัทท์ที่ตั้งชื่อตามบริเวณที่เป็นออสเตรียปัจจุบัน) พอมาถึงปลายยุคเหล็ก (สมัยลาแตน) เคลต์ก็ขยายตัวไปในดินแดนต่าง ๆ ที่รวมทั้งทางตะวันตกที่ไปถึงไอร์แลนด์และคาบสมุทรไอบีเรีย ทางตะวันออกไปสุดที่กาเลเชีย (Galatia) (กลางอานาโตเลีย) และทางเหนือสุดที่สกอตแลนด์ หลักฐานแรกที่บ่งถึงภาษาเคลต์อยู่ในคำจารึกในภาษาเลพอนติค (Lepontic language) จากคริสต์ศตวรรษที่ 6 กลุ่มภาษาเคลต์ภาคพื้นยุโรปมีหลักฐานเฉพาะชื่อสถานที่ กลุ่มภาษาเคลต์เกาะ (Insular Celtic) ปรากฏในหลักฐานจากคริสต์ศตวรรษที่ 4 ในคำจารึกออกัม (Ogham inscription) อารยธรรมทางวรรณกรรมเริ่มด้วยการใช้ภาษาไอริชเก่าตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 วรรณกรรมไอริชสมัยต้น เช่น "Táin Bó Cúailnge" มีหลักฐานมาจนถึงฉบับแก้ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่อมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่หนึ่งหลังการขยายดินแดนของจักรวรรดิโรมันและสมัยการย้ายถิ่นฐาน (Migration Period) ของกลุ่มชนเจอร์แมนิกแล้ว อารยธรรมเคลต์ก็จำกัดอยู่แต่เพียงหมู่เกาะบริติช (ภาษาเคลต์เกาะ) และภาษาเคลต์ยุโรปก็หยุดใช้กันไปในคริสต์ศตวรรษที่ 6 เคลต์เกาะที่ว่าหมายถึงดินแดนรอบทะเลไอริช รวมทั้งคอร์นวอลล์และบริตตานีบนสองฝั่งของช่องแคบอังกฤษ.
ชาวเคลต์และประวัติศาสตร์อังกฤษ · ชาวเคลต์และราชอาณาจักรเคนต์ ·
จูเลียส ซีซาร์
กาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์ (Caivs/Gaivs Ivlivs Caesar) หรือ จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar; กรกฎาคม 100 ปีก่อน ค.ศ. – 15 มีนาคม 44 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นรัฐบุรุษ แม่ทัพ และผู้ประพันธ์ร้อยแก้วอันเลื่องชื่อชาวโรมัน เขามีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์อันนำไปสู่การสิ้นสุดสาธารณรัฐโรมันและความเจริญของจักรวรรดิโรมัน ใน 60 ปีก่อน..
จูเลียส ซีซาร์และประวัติศาสตร์อังกฤษ · จูเลียส ซีซาร์และราชอาณาจักรเคนต์ ·
ประเทศอังกฤษ
อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..
ประวัติศาสตร์อังกฤษและประเทศอังกฤษ · ประเทศอังกฤษและราชอาณาจักรเคนต์ ·
เจ็ดอาณาจักร
อังกฤษแสดงที่ตั้งของแองโกล-แซ็กซอนราวปี ค.ศ. 600 อังกฤษราวปี ค.ศ. 800 แสดงให้เห็นบริเวณเวสเซ็กซ์ทางตะวันตกเฉียงใต้; เมอร์เซียตอนกลาง; นอร์ทธัมเบรียทางตะวันออกเฉียงเหนือ; และ อีสแองเกลีย เอสเซ็กซ์ เค้นท์ และ ซัสเซ็กซ์ทางตะวันออกเฉียงใต้ เจ็ดอาณาจักร หรือ เครือจักรภพแองโกล-แซ็กซอน (ภาษาอังกฤษ: Heptarchy) Heptarchy (ภาษากรีก: ἑπτά + ἀρχή หรือ “เจ็ด” + “อาณาจักร”) เป็นชื่อที่ใช้เรียกรวมอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนต่างๆ ในบริเวณทางใต้ ตะวันออก และตอนกลางของสหราชอาณาจักรในปลายสมัยโบราณและต้นสมัยยุคกลาง ซึ่งต่อมารวมตัวกันเป็นดินแดนแองเกิล (อังกฤษ) (ในขณะนั้นดินแดนที่รู้จักกันในนาม สกอตแลนด์ และ เวลส์ ยังแยกตัวเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย) หลักฐานแรกที่กล่าวถึง เครือจักรภพแองโกล-แซ็กซอนเป็นหลักฐานจากคริสต์ศตวรรษที่ 12 ที่บันทึกโดยนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ เฮนรี ฮันทิงดัน (Henry of Huntingdon) และเป็นคำที่ใช้กันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เครือจักรภพแองโกล-แซ็กซอนครอบคลุมระยะเวลาระหว่าง ค.ศ. 500 ถึง ค.ศ. 850 ซึ่งเป็นระยะเวลาตั้งแต่ทหารโรมันถอนตัวจากอังกฤษไปจนกระทั่งถึงรัชสมัยของการรวมอาณาจักรต่างๆ เข้าด้วยกันโดยพระเจ้าเอ็กเบิร์ตแห่งเวสเซ็กซ์ คำว่า “เจ็ดอาณาจักร” หมายถึงราชอาณาจักรเจ็ดราชอาณาจักรซึ่งต่อมารวมตัวกันเป็นราชอาณาจักรอังกฤษ ซึ่งประกอบด้วยราชอาณาจักร: นอร์ทธัมเบรีย, เมอร์เซีย, อีสต์แองเกลีย, เอสเซ็กซ์, เค้นท์, ซัสเซ็กซ์ และ เวสเซ็กซ์ ในช่วงเวลานี้แต่ละอาณาจักรก็รวบรวมแคว้นเล็กแคว้นน้อยให้เป็นอาณาจักรที่มั่นคงขึ้นแต่เหตุการณ์สำคัญที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงนั้นยังเป็นที่ถกเถึยงกันอยู่ นอกจากนั้นแต่ละอาณาจักรประมุขบางคนเช่นประมุขของนอร์ทธัมเบรีย เมอร์เซีย และ เวสเซ็กซ์ก็พยายามอ้างสิทธิในดินแดนอื่นของอังกฤษ แม้ว่าจะรวมตัวกันแล้วแต่ในภาษาพูดในหมู่ประชาชนก็ยังมีการกล่าวถึงอาณาจักรต่างๆ เหล่านี้อย่างอิสระต่อกันมาจนถึงรัชสมัยของ พระเจ้าเอ็ดวี และ พระเจ้าเอ็ดการ์ ราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 10 ตามความเป็นจริงแล้วการรวมเจ็ดอาณาจักรเป็นกระบวนการต่อเนื่อง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ไวกิงเข้ามารุกรานปล้นสดมภ์อังกฤษและตั้งถิ่นฐานบริเวณยอร์คซึ่งกลายมาเป็นบริเวณเดนลอว์ซึ่งมีความแข็งแกร่งพอที่จะเป็นอันตรายต่ออาณาจักร์ทางใต้ที่มักจะมีความขัดแย้งกัน อาณาจักรจึงจำเป็นต้องพยายามรวมตัวกันเพื่อต่อต้านศัตรูร่วมกัน ฉะนั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราชทรงต่อต้านชนเดนมาร์กเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 ก็ทรงทำในฐานะผู้นำของแองโกล-แซ็กซอน พระเจ้าแผ่นดินแห่งเวสเซ็กซ์องค์ต่อๆ มาโดยเฉพาะสมเด็จพระเจ้าเอเธลสตันแห่งอังกฤษทรงเน้นความสำคัญของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจนกระทั่งการแยกเป็นอาณาจักรเล็กอาณาจักรน้อยอย่างที่เป็นมาก่อนหมดความหมายลง เมื่อไม่นานมานี้จากหลักฐานการค้นคว้าพบว่าบางอาณาจักรในเครือจักรภพแองโกล-แซ็กซอนโดยเฉพาะเอสเซ็กซ์ และ ซัสเซ็กซ์ ไม่มีฐานะเท่าเทียมกับอาณาจักรอื่นๆ นอกไปจากนั้นในบรรดาสมาชิกของเครือจักรภพก็มิได้มีเพียงเจ็ดแต่ยังมีอาณาจักรย่อยอีกหลายอาณาจักรที่มีบทบาทสำคัญมากกว่าที่เคยคาดไว้ เช่นอนุอาณาจักรเบอร์นิเซีย (Bernicia) และ อนุอาณาจักรไดรา (Deira) ภายในราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย หรือ อาณาจักรลินด์ซีย์ (Lindsey) ในลิงคอล์นเชอร์ และอื่นๆ อีกมาก ฉะนั้นคำว่า “เจ็ดอาณาจักร” จึงเป็นคำที่ไม่เหมาะสมที่จะใช้เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 และนักประวัติศาสตร์บางคนก็ไม่ใช้คำนี้กันแล้วเนื่องด้วยเห็นว่าความหมายของคำไม่ตรงกับความเป็นจริง แต่ก็ยังมีการใช้เพื่อความสะดวกในการบรรยายการก่อตั้งราชอาณาจักรอังกฤษในสมัยนั้น.
ประวัติศาสตร์อังกฤษและเจ็ดอาณาจักร · ราชอาณาจักรเคนต์และเจ็ดอาณาจักร ·
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ประวัติศาสตร์อังกฤษและราชอาณาจักรเคนต์ มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ประวัติศาสตร์อังกฤษและราชอาณาจักรเคนต์
การเปรียบเทียบระหว่าง ประวัติศาสตร์อังกฤษและราชอาณาจักรเคนต์
ประวัติศาสตร์อังกฤษ มี 285 ความสัมพันธ์ขณะที่ ราชอาณาจักรเคนต์ มี 8 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 1.71% = 5 / (285 + 8)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ประวัติศาสตร์อังกฤษและราชอาณาจักรเคนต์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: