โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา

ดัชนี ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา

วีนัสเดอมิโลที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา (Art history) ตามที่เข้าใจกันในประวัติศาสตร์หมายถึงสาขาวิชาทางด้านงานศิลปะที่เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และบริบทของลักษณะ (stylistic contexts) เช่น ประเภทของศิลปะ (genre), ลักษณะการออกแบบ (design), รูปทรง (format) และ การออกมาเป็นรูปร่าง (look) ซึ่งรวมทั้งศิลปะสาขาหลักที่ได้แก่จิตรกรรม ประติมากรรม และ สถาปัตยกรรม และรวมทั้งสาขาย่อยเช่นเซรามิค เฟอร์นิเจอร์ และศิลปะการตกแต่งอื่นๆ หลักของสาขาวิชานี้มาจากงานชิ้นสำคัญๆ ที่สร้างโดยศิลปินตะวันตก และกฎว่าด้วยศิลปะตะวันตกก็ยังเป็นแกนสำคัญในการเลือกสรรงานที่ได้รับการบรรยายในตำราประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยามาจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อมีการพยายามที่จะวางความหมายของสาขาวิชานี้ใหม่ให้กว้างขึ้น เพื่อรวมศิลปะที่ไม่ใช่ศิลปะตะวันตก, ศิลปะที่สร้างโดยศิลปินสตรี และศิลปะพื้นบ้านเข้าด้วย คำว่า “ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา” (หรือบางครั้งก็เรียกว่า “ประวัติศาสตร์ศิลป์”) ครอบคลุมวิธีการศึกษาจักษุศิลป์หลายวิธี ที่โดยทั่วไปหมายถึงงานศิลปะ และ งานสถาปัตยกรรม สาขาของการศึกษาต่างๆ บางครั้งก็คาบกันเช่นที่นักประวัติศาสตร์ศิลป์เอิร์นสท กอมบริค ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า “สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ก็คล้ายกับบริเวณกอลของจูเลียส ซีซาร์ที่แบ่งออกเป็นสามส่วน อาศัยอยู่โดยชนสามเผ่าพันธุ์ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน: (1) ผู้ที่เป็นคอศิลป์ (connoisseurs), (2) ผู้ที่เป็นนักวิพากษ์ศิลป์ และ (3) ผู้ที่เป็นนักวิชาการจากสถาบันผู้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์” ในฐานะที่เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งประวัติศาสตร์ศิลป์ต่างจากการวิพากษ์ศิลปะที่จะเน้นการสร้างพื้นฐานของคุณค่าของศิลปะโดยการเปรียบเทียบกับงานชิ้นอื่นที่เปรียบเทียบกันได้ทางด้านลักษณะ หรือการหันหลังให้แก่ลักษณะ หรือขบวนการศิลปะทั้งหมดที่พิจารณา และต่างจาก “ทฤษฎีศิลป์” (art theory) หรือ “ปรัชญาศิลป์” (philosophy of art) ที่คำนึงถึงธรรมชาติพื้นฐานของศิลปะ สาขาย่อยสาขาหนึ่งของการศึกษาประวัติศาสตร์ศิลป์คือวิชาสุนทรียศาสตร์ (aesthetics) ซึ่งเป็นการศึกษาถึงสุนทรียปรัชญา (Sublime) และการระบุหัวใจของสิ่งที่ได้ชื่อว่าเป็นสิ่งที่มีความเป็นสุนทรีย์ แต่ตามทฤษฎีแล้วประวัติศาสตร์ศิลป์ไม่ใช่สิ่งที่กล่าวมาเพราะนักประวัติศาสตร์ศิลป์ใช้การวิจัยโดยวิธีประวัติศาสตร์ (historical method) ในการตอบคำถาม “ศิลปินสร้างงานขึ้นมาได้อย่างไร”, “ใครเป็นผู้อุปถัมภ์”, “ใครเป็นครู”, “ใครคือผู้ชมงาน”, “ใครเป็นผู้ได้รับอิทธิพลจากลักษณะงาน”, “ประวัติศาสตร์ตอนใดที่มีอิทธิพลต่องาน” และ “งานที่สร้างมีผลทางเหตุการณ์ทางศิลปะ การเมือง และ สังคมอย่างใด” แต่กระนั้นประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยาก็มิได้หมายความว่าเป็นการศึกษาที่เกี่ยวกับการติดตามประวัติของงานเท่านั้น อันที่จริงแล้วนักประวัติศาสตร์ศิลป์มักจะวางพื้นฐานมาตรการการศึกษาโดยการวิเคราะห์งานแต่ละชิ้น และพยายามตอบปัญหาต่างๆ เช่น “อะไรคือสิ่งสำคัญของลักษณะของสิ่งที่ศึกษา”, “ความหมายใดที่งานชิ้นนี้พยายามสื่อ”, “งานชิ้นนี้มีผลต่อการดูอย่างใด”, “ศิลปินบรรลุจุดประสงค์ที่ต้องการหรือไม่”, “งานที่ศึกษาประกอบด้วยสัญลักษณ์อะไรบ้าง” และ “งานที่ศึกษาเป็นงานที่ออกนอกประเด็นหรือไม่”.

12 ความสัมพันธ์: ชีวประวัติพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์กอลสุนทรียศาสตร์สถาปัตยกรรมจิตรกรรมจูเลียส ซีซาร์ประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยาประวัติศาสตร์ของศิลปะประติมากรรมประติมานวิทยา

ชีวประวัติ

ีวประวัติ (biography) คืองานเขียนชนิดหนึ่งที่เป็นการกล่าวถึงเรื่องราวของบุคคลในช่วงชีวิต ชีวประวัติของบุคคลหนึ่งๆ ไม่เพียงแต่กล่าวถึง วันเกิด อาชีพ การศึกษา แต่จะมีการถึงเรื่องราวของแต่ละช่วงชีวิต และเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในชีวิต ทั้งนี้หากเป็นประวัติของผู้เขียนเอง จะนิยมเรียกว่า อัตชีวประวัติ ชีวประวัติ เป็นคำนาม มาจากคำว่า ชีว และ ประวัติ หมายถึง ประวัติชีวิตบุคคล ส่วนคำว่า biography มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือคำว่า bíos (βίος) ที่หมายถึง ชีวิต (life) และ gráphein (γράφειν) ที่มีความหมายว่าการเขียน (to write) ชีวประวัติ เป็นงานเขียนประเภทหนึ่งที่เป็นการนำเสนอข้อมูลและเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล โดยปกติจะนำเสนอในรูปแบบของหนังสือหรือบทความ บางครั้งอาจนำเสนอในรูปแบบของภาพยนตร์ก็ได้ ซึ่งองค์ประกอบของชีวประวัตินั้น อาจนอกเหนือไปจากข้อมูลส่วนบุคคล อาทิ การศึกษา การทำงาน ความสัมพันธ์ หรือ การเสียชีวิต ก็ได้ โดยลักษณะของชีวประวัติจะไม่เหมือนกับประวัติโดยย่อ (Profile) หรือประวัติส่วนตัวโดยสังเขป (Resume) ทั้งนี้อาจเป็นการนำเสนอเรื่องราวประสบการณ์ มุมมองของบุคคล รวมทั้ง เกร็ดต่างๆ ในชีวิต และการวิเคราะห์บุคลิกลักษณะของบุคคล ส่วน อัตชีวประวัติ นั้น เป็นคำนาม มาจากคำว่า อัต ชีว และ ประวัติ หมายถึง ประวัติชีวิตที่เจ้าของเขียนหรือเล่าด้วยตนเอง ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Autobiography มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือคำว่า auto ที่หมายถึง ตนเอง ดังนั้น autobiography จึงหมายถึง การบอกเล่าชีวประวัติของตนเอง การทำงานก็เป็นชีวประวัติได้หากครอบคลุมช่วงชีวิตของบุคคลนั้น เช่น ชีวประวัติการทำงาน โดยปกติจะเป็นงานเขียนที่ได้จากเรื่องจริง แต่บางครั้งก็สามารถใช้บันเทิงคดีในการนำเสนอชีวิตของบุคคลได้ หนึ่งในรูปแบบการเขียนจะชีวประวัติจะครอบคลุมไปถึงการเขียนที่สืบทอดมาจากคนรุ่นก่อน รวมทั้งชีวประวัติในวรรณกรรม ภาพยนตร์ และสื่อรูปแบบอื่น.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยาและชีวประวัติ · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์

ัณฑ์ลูฟวร์ (Musée du Louvre) หรือในชื่อทางการว่า the Grand Louvre เป็นพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะตั้งอยู่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงที่สุด เก่าแก่ที่สุด และใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งได้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้เมื่อปี พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1793) มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยราชวงศ์กาเปเซียง ตัวอาคารเดิมเคยเป็นพระราชวังหลวง ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานที่ที่จัดแสดงและเก็บรักษาผลงานทางศิลปะที่ทรงคุณค่าระดับโลกเป็นจำนวนมากกว่า 35,000 ชิ้น จากตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงศตวรรษที่ 19 อย่างเช่น ภาพเขียนโมนาลิซา, The Virgin and Child with St.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยาและพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ · ดูเพิ่มเติม »

กอล

แผนที่ของ กอล ราว 100 ปีก่อนคริสตกาล แสดงให้เห็นตำแหน่งสัมพันธ์กับเผ่าเคลติก กอล (Gaul) เป็นชื่อเก่าแก่ในประวัติศาสตร์ ใช้ในยุคโรมันเพื่อเรียกขานดินแดนทางยุโรปตะวันตก ซึ่งปัจจุบันเทียบได้ประมาณบริเวณประเทศฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม และอาจรวมไปถึงหุบเขาโพ ในสวิตเซอร์แลนด์ตะวันตก บางส่วนของเนเธอร์แลนด์และเยอรมนีทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์ ในภาษาอังกฤษ คำว่า กอล อาจหมายถึงผู้คนที่อาศัยอยู่ในย่านนั้น (ภาษาฝรั่งเศสเรียก Gaulois) พลเมืองในอดีตสามารถพูดภาษากอล (Gaulish) ได้อย่างกว้างขวาง (เป็นภาษาที่พัฒนามาจากเคลติกยุคต้น) โดยแพร่หลายในดินแดนบริเตน ไอบีเรีย ไอร์แลนด์ ไปจนกระทั่งถึงอนาโทเลียกลางในยุคโรมัน คำในภาษาละตินของ กอล ยังคงมีใช้อยู่ในคำภาษากรีกยุคใหม่สำหรับใช้เรียกประเทศฝรั่งเศส คือ กัลเลีย (Gallia) กอลภายใต้การนำของ Brennus บุกยึดโรมันได้ในราวทศวรรษ 390 ก่อนคริสตกาล ในแดนอีเจี้ยน มีการอพยพครั้งใหญ่ของชาวกอลตะวันออก จากดินแดนเทรซ ทางตอนเหนือของกรีซ ในราวปี 281 ก่อนคริสตกาล ผู้นำของชาวกอลอีกคนหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า Brennus เหมือนกัน เป็นผู้นำของกองทัพขนาดใหญ่ ได้หวนกลับจากการทำลายล้างวิหารอพอลโลในเมืองเดลฟีในกรีซในวินาทีสุดท้าย เล่ากันว่าเขาได้รับเตือนโดยเสียงฟ้าร้องและสายฟ้า ในเวลาเดียวกับที่ชาวเคลต์กำลังอพยพ นักรบกว่า 10,000 นาย พร้อมด้วยบรรดาผู้หญิง เด็ก และทาส ได้เดินทางผ่านดินแดนเทรซพอดี ชาวกอลสามกลุ่มใหญ่ได้เดินทางข้ามดินแดนเทรซไปยังเอเชียไมเนอร์ตามคำเชิญของ Nicomedes ที่ 1 กษัตริย์แห่ง Bithynia พระองค์ได้ส่งคำร้องขอความช่วยเหลือเพื่อสู้กับน้องชายของพระองค์เอง ในเวลาต่อมาชาวกอลก็ตั้งถิ่นฐานลงทางตะวันออกของ Phrygia และ Cappadocia ในแคว้นอนาโทเลียกลาง ดินแดนซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ กาลาเทีย (Galatia).

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยาและกอล · ดูเพิ่มเติม »

สุนทรียศาสตร์

นทรียศาสตร์ เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา ว่าด้วยเรื่องของความงามและศิลปะ นับเป็นแนวคิดที่ดำเนินสืบเนื่องมาช้านานนับพัน ๆ ปี.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยาและสุนทรียศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรม

ปัตยกรรม (architecture) หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกสิ่งก่อสร้าง รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่มาจากการออกแบบของมนุษย์ ด้วยศาสตร์ทางด้านศิลปะ การจัดวางที่ว่าง ทัศนศิลป์ และวิศวกรรมการก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ใช้สอย สถาปัตยกรรมยังเป็นสื่อความคิด และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสังคมในยุคนั้นๆด้ว.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยาและสถาปัตยกรรม · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรม

มนาลิซา เป็นหนึ่งในภาพจิตรกรรมที่เป็นที่จดจำได้มากที่สุดในโลกตะวันตก โดย นายชัยยะนุช จิตรกรรม (painting) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น เพื่อให้เกิดภาพ 2 มิติ ไม่มีความลึกหรือนูนหนา จิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกร จอห์น แคนาเดย์ (John Canaday) ได้ให้ความหมายของจิตรกรรมไว้ว่า จิตรกรรม คือ การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ เป็นการจัดรวมกันของรูปทรง และ สีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการของศิลปินแต่ละคนในการเขียนภาพนั้น พจนานุกรมศัพท์ อธิบายว่า เป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ ด้วยการ ลาก ป้าย ขีด ขูด วัสดุ จิตรกรรมลงบนพื้นระนาบรองรับ ภาพจิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่เป็นที่รู้จักอยู่ที่ถ้ำ Chauvet ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปีเป็นภาพที่สลักและระบายสีด้วยโคลนแดงและสีย้อมดำ แสดงรูปม้า แรด สิงโต ควาย แมมมอธ หรือมนุษย์ ซึ่งมักจะกำลังล่าสัตว.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยาและจิตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

จูเลียส ซีซาร์

กาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์ (Caivs/Gaivs Ivlivs Caesar) หรือ จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar; กรกฎาคม 100 ปีก่อน ค.ศ. – 15 มีนาคม 44 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นรัฐบุรุษ แม่ทัพ และผู้ประพันธ์ร้อยแก้วอันเลื่องชื่อชาวโรมัน เขามีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์อันนำไปสู่การสิ้นสุดสาธารณรัฐโรมันและความเจริญของจักรวรรดิโรมัน ใน 60 ปีก่อน..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยาและจูเลียส ซีซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ (history; รากศัพท์ภาษากรีก ἱστορία หมายถึง "การสอบถามหาความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกนักประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์ และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบันp 52 เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับธูซิดดิดีส0 นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับอุดมศึกษ.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยาและประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา

วีนัสเดอมิโลที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา (Art history) ตามที่เข้าใจกันในประวัติศาสตร์หมายถึงสาขาวิชาทางด้านงานศิลปะที่เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และบริบทของลักษณะ (stylistic contexts) เช่น ประเภทของศิลปะ (genre), ลักษณะการออกแบบ (design), รูปทรง (format) และ การออกมาเป็นรูปร่าง (look) ซึ่งรวมทั้งศิลปะสาขาหลักที่ได้แก่จิตรกรรม ประติมากรรม และ สถาปัตยกรรม และรวมทั้งสาขาย่อยเช่นเซรามิค เฟอร์นิเจอร์ และศิลปะการตกแต่งอื่นๆ หลักของสาขาวิชานี้มาจากงานชิ้นสำคัญๆ ที่สร้างโดยศิลปินตะวันตก และกฎว่าด้วยศิลปะตะวันตกก็ยังเป็นแกนสำคัญในการเลือกสรรงานที่ได้รับการบรรยายในตำราประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยามาจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อมีการพยายามที่จะวางความหมายของสาขาวิชานี้ใหม่ให้กว้างขึ้น เพื่อรวมศิลปะที่ไม่ใช่ศิลปะตะวันตก, ศิลปะที่สร้างโดยศิลปินสตรี และศิลปะพื้นบ้านเข้าด้วย คำว่า “ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา” (หรือบางครั้งก็เรียกว่า “ประวัติศาสตร์ศิลป์”) ครอบคลุมวิธีการศึกษาจักษุศิลป์หลายวิธี ที่โดยทั่วไปหมายถึงงานศิลปะ และ งานสถาปัตยกรรม สาขาของการศึกษาต่างๆ บางครั้งก็คาบกันเช่นที่นักประวัติศาสตร์ศิลป์เอิร์นสท กอมบริค ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า “สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ก็คล้ายกับบริเวณกอลของจูเลียส ซีซาร์ที่แบ่งออกเป็นสามส่วน อาศัยอยู่โดยชนสามเผ่าพันธุ์ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน: (1) ผู้ที่เป็นคอศิลป์ (connoisseurs), (2) ผู้ที่เป็นนักวิพากษ์ศิลป์ และ (3) ผู้ที่เป็นนักวิชาการจากสถาบันผู้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์” ในฐานะที่เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งประวัติศาสตร์ศิลป์ต่างจากการวิพากษ์ศิลปะที่จะเน้นการสร้างพื้นฐานของคุณค่าของศิลปะโดยการเปรียบเทียบกับงานชิ้นอื่นที่เปรียบเทียบกันได้ทางด้านลักษณะ หรือการหันหลังให้แก่ลักษณะ หรือขบวนการศิลปะทั้งหมดที่พิจารณา และต่างจาก “ทฤษฎีศิลป์” (art theory) หรือ “ปรัชญาศิลป์” (philosophy of art) ที่คำนึงถึงธรรมชาติพื้นฐานของศิลปะ สาขาย่อยสาขาหนึ่งของการศึกษาประวัติศาสตร์ศิลป์คือวิชาสุนทรียศาสตร์ (aesthetics) ซึ่งเป็นการศึกษาถึงสุนทรียปรัชญา (Sublime) และการระบุหัวใจของสิ่งที่ได้ชื่อว่าเป็นสิ่งที่มีความเป็นสุนทรีย์ แต่ตามทฤษฎีแล้วประวัติศาสตร์ศิลป์ไม่ใช่สิ่งที่กล่าวมาเพราะนักประวัติศาสตร์ศิลป์ใช้การวิจัยโดยวิธีประวัติศาสตร์ (historical method) ในการตอบคำถาม “ศิลปินสร้างงานขึ้นมาได้อย่างไร”, “ใครเป็นผู้อุปถัมภ์”, “ใครเป็นครู”, “ใครคือผู้ชมงาน”, “ใครเป็นผู้ได้รับอิทธิพลจากลักษณะงาน”, “ประวัติศาสตร์ตอนใดที่มีอิทธิพลต่องาน” และ “งานที่สร้างมีผลทางเหตุการณ์ทางศิลปะ การเมือง และ สังคมอย่างใด” แต่กระนั้นประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยาก็มิได้หมายความว่าเป็นการศึกษาที่เกี่ยวกับการติดตามประวัติของงานเท่านั้น อันที่จริงแล้วนักประวัติศาสตร์ศิลป์มักจะวางพื้นฐานมาตรการการศึกษาโดยการวิเคราะห์งานแต่ละชิ้น และพยายามตอบปัญหาต่างๆ เช่น “อะไรคือสิ่งสำคัญของลักษณะของสิ่งที่ศึกษา”, “ความหมายใดที่งานชิ้นนี้พยายามสื่อ”, “งานชิ้นนี้มีผลต่อการดูอย่างใด”, “ศิลปินบรรลุจุดประสงค์ที่ต้องการหรือไม่”, “งานที่ศึกษาประกอบด้วยสัญลักษณ์อะไรบ้าง” และ “งานที่ศึกษาเป็นงานที่ออกนอกประเด็นหรือไม่”.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยาและประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ของศิลปะ

บทความนี้ว่าด้วยประวัติศาสตร์โดยทั่วไปของทัศนศิลป์ทั่วโลก สำหรับสาขาวิชาการที่ศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์ของศิลปะ ดู ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา ประวัติศาสตร์ของศิลปะ หมายถึงประวัติศาสตร์ของกิจกรรมหรือผลผลิตใดๆ ที่สร้างโดยมนุษย์ในรูปแบบสำหรับการมองเพื่อความสุนทรีย์หรือเพื่อประโยชน์ทางการสื่อสาร การแสดงออกถึงแนวคิด อารมณ์ หรือโลกทัศน์ ในช่วงเวลาที่ผ่านไป ทัศนศิลป์ได้ถูกจัดประเภทในแบบต่างๆ ที่หลากหลาย จากการแบ่งในยุคกลางที่แบ่งระหว่างศิลปศาสตร์ (liberal arts) กับศาสตร์เชิงกลไก (mechanical arts) มาสู่การแบ่งแบบสมัยใหม่ระหว่างวิจิตรศิลป์และศิลปะประยุกต์ หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ศิลปะ.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยาและประวัติศาสตร์ของศิลปะ · ดูเพิ่มเติม »

ประติมากรรม

ผลงานประติมากรรมนูนต่ำ(ภาพแกะสลัก)ที่ปราสาทนครวัด โรแด็ง ประติมากรชาวฝรั่งเศส ผลงานประติมากรรมลอยตัว ของโรแด็ง ประติมากรชาวฝรั่งเศส ประติมากรรม (Sculpture) เป็นงานศิลปะแสดงออกด้วยการปั้น แกะสลัก หล่อ และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น ลงบนสื่อต่างๆ เช่น ไม้ หิน โลหะ สัมฤทธิ์ ฯลฯ เพื่อให้เกิดรูปทรง 3 มิติ มีความลึกหรือนูนหนา สามารถสื่อถึงสิ่งต่างๆ สภาพสังคม วัฒนธรรม รวมถึงจิตใจของมนุษย์โดยชิ้นงาน ผ่านการสร้างของประติมากร ประติมากรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานประติมากรรม มักเรียกว่า ประติมากร งานประติมากรรมที่เกี่ยวกับศาสนามักสะกดให้แตกต่างออกไปว่า ปฏิมากรรม ผู้ที่สร้างงานปฏิมากรรม เรียกว่า ปฏิมากร.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยาและประติมากรรม · ดูเพิ่มเติม »

ประติมานวิทยา

ประติมานวิทยา (Iconography) เป็นสาขาหนึ่งของประวัติศาสตร์ศิลป์ที่เป็นการศึกษาประวัติ, คำบรรยาย และ การตีความหมายของเนื้อหาของภาพ คำว่า “Iconography” แปลตรงตัวว่า “การเขียนรูปลักษณ์” (image writing) ที่มีรากมาจากภาษากรีกโบราณ “εἰκών” ที่แปลว่า “รูปลักษณ์” และคำว่า “γράφειν” ที่แปลว่า “เขียน” ความหมายรองลงมาคืองานประติมา (Icon) ในไบแซนไทน์และออร์โธด็อกซ์ของประเพณีนิยมคริสเตียน ในด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ประติมานวิทยาก็ยังอาจจะหมายถึงกรรมวิธีการแสดงหัวเรื่องในรูปแบบของการใช้รูปสัญลักษณ์ต่างๆ ในเนื้อหาของภาพที่ออกมาให้ผู้ชมได้เห็น นอกจากนั้นประติมานวิทยาก็ยังใช้ในด้านสาขาวิชาอื่นนอกไปจากประวัติศาสตร์ศิลป์เช่นในวิชาสัญญาณศาสตร์ และ media studies, และในการใช้โดยทั่วไปที่หมายถึงลักษณะรูปลักษณ์ที่ใช้กันเป็นสามัญของหัวเรื่องหรือความหมายในทำนองเดียวกัน.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยาและประติมานวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Art historianArt historiansArt historyนักประวัติศาสตร์ศิลปะนักประวัติศาสตร์ศิลป์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »