โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประวัติศาสตร์คริสตจักรของชาวอังกฤษและอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ประวัติศาสตร์คริสตจักรของชาวอังกฤษและอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน

ประวัติศาสตร์คริสตจักรของชาวอังกฤษ vs. อังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน

ประวัติศาสตร์คริสตจักรของชนอังกฤษ (Historia ecclesiastica gentis Anglorum; Ecclesiastical History of the English People) เป็นวรรณกรรมที่เขียนในภาษาละตินโดยนักบุญบีดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์คริสตจักรในอังกฤษและประวัติศาสตร์อังกฤษโดยทั่วไป หนังสือเน้นความขัดแย้งระหว่างคริสตจักรโรมันคาทอลิก และศาสนาคริสต์แบบเคลต์ (Celtic Christianity) หนังสือเล่มนี้ถือกันว่าเป็นหนังสือที่สำคัญที่สุดที่กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของแองโกล-แซ็กซอน ที่เชื่อกันว่าเขียนเสร็จในปี ค.ศ. 731 เมื่อนักบุญบีดมีอายุราว 60 ปี. อังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน (History of Anglo-Saxon England) (ค.ศ. 410 - ค.ศ. 1066) อังกฤษสมัยแองโกล-แซกซันเป็นประวัติศาตร์ของต้นยุคกลางของอังกฤษkjhccgkoohhhhggjgfที่เริ่มตั้งแต่ปลายสมัยโรมันบริเตนจนมาถีงการก่อตั้งราชอาณาจักรต่าง ๆ ของแองโกล-แซกซัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 และมาสิ้นสุดลงเมื่อชาวนอร์มันได้รับชัยชนะต่ออังกฤษ ในปี ค.ศ. 1066 ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 6 เป็นสมัยที่รู้จักกันทางโบราณคดีว่าบริเตนสมัยหลังโรมัน (Sub-Roman Britain) หรือที่รู้จักกันตามความนิยมว่า "ยุคมืด" (Dark Ages) ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 เป็นต้นมาก็เริ่มมีการก่อตั้งอาณาจักรที่ใหญ่ขึ้นที่เรียกกันรวม ๆ กันว่า "เจ็ดอาณาจักร" ในช่วงนี้อังกฤษแบ่งเขตการปกครองระหว่างอาณาจักรต่าง ๆ ของแองโกล-แซกซันและบริเตน การรุกรานของไวกิงในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 8 นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงหลายประการในบริเตน ผู้รุกรานชาวเดนมาร์กโจมตีที่ตั้งถิ่นฐานต่าง ๆ ไปทั่วบริเตน แต่การตั้งถิ่นฐานของชาวเดนมาร์กต่อมาจำกัดอยู่แต่เพียงในบริเวณทางด้านตะวันออกของเกาะอังกฤษ ขณะที่ผู้รุกรานจากนอร์เวย์ที่เข้ามาทางไอร์แลนด์โจมตีทางฝั่งตะวันตกของทั้งอังกฤษและเวลส์ แต่ในที่สุดแองโกล-แซกซันก็มีอำนาจในการปกครองไปทั่วทั้งเกาะอังกฤษสลับกับเดนมาร์กในบางช่วงในบางครั้ง ทางด้านความสัมพันธ์กับแผ่นดินใหญ่ยุโรปก็ความสำคัญมาจนกระทั่งปลายสมัยแองโกล-แซกซัน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ประวัติศาสตร์คริสตจักรของชาวอังกฤษและอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน

ประวัติศาสตร์คริสตจักรของชาวอังกฤษและอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชาวแองโกล-แซกซันราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรียราชอาณาจักรเมอร์เซียนักบุญบีดโรมันคาทอลิก

ชาวแองโกล-แซกซัน

ราชอาณาจักรแองโกล-แซกซัน ราว ค.ศ. 600 หมวกนักรบที่พบในซัตตันฮูที่อาจจะเป็นของเรดวอลดแห่งอีสแองเกลีย (Raedwald of East Anglia) (ราว ค.ศ. 625) ออกแบบตามแบบหมวกนักรบของโรมันและตกแต่งแบบหมวกนักรบของสวีเด็นที่ทำในสมัยเดียวกันที่โอลด์อุพพ์ซาลา แองโกล-แซกซัน (Anglo-Saxons) เป็นคำที่ใช้เรียกชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางใต้และตะวันออกของสหราชอาณาจักรระหว่างต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5 จนกระทั่งถึงการรุกรานของนอร์มัน ในปี..

ชาวแองโกล-แซกซันและประวัติศาสตร์คริสตจักรของชาวอังกฤษ · ชาวแองโกล-แซกซันและอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรีย

ราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย (ภาษาอังกฤษ: Northumbria หรือ Northhumbria) เป็นชื่อของอาณาจักรยุคกลางของชาวแองเกิลที่ปัจจุบันตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ และทางใต้ของสกอตแลนด์ และเป็นอาณาจักรเอิร์ล (Earldom) ที่เมื่อรวมกับอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนกลายเป็นอังกฤษ ชื่อ “นอร์ทธัมเบรีย” เป็นนัยยะว่าเขตแดนทางใต้ของอาณาจักรปากแม่น้ำฮัมเบอร์ นอร์ทธัมเบรียก่อตั้งกลางบริเตนใหญ่ในสมัยแองโกล-แซ็กซอน เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 อาณาจักรเบอร์นิเซีย และอาณาจักรไดรารวมตัวกันเป็นอาณาจักรเดียว (ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 เฮนรี ฮันทิงดัน (Henry of Huntingdon) บรรยายว่านอร์ทธัมเบรียเป็นอาณาจักรหนึ่งในเจ็ดอาณาจักรของอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอน) ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดเขตแดนของราชอาณาจักรทางใต้จรดปากแม่น้ำฮัมเบอร์, ไปถึงแม่น้ำเมอร์ซีย์ และเฟิร์ธออฟฟอร์ธ (Firth of Forth) (โดยประมาณ จากเชฟฟิลด์ ไปรังคอร์ ไปเอดินบะระ) - และมีหลักฐานว่าเคยมีดินแดนมากกว่านั้น ต่อมานอร์ทธัมเบรียเสียดินแดนทางใต้แก่บริเวณเดนลอว์(Danelaw) ทางด้านเหนือเดิมเป็นอาณาจักรแต่ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเดนมาร์กที่มีฐานะเท่าเทียมกับเป็นอาณาจักรเอิร์ลและมีฐานะเช่นนั้นเมื่ออังกฤษรวมตัวกันโดยการนำของเวสเซ็กซ์ อาณาจักรเอิร์ลมีเขตแดนติดกับแม่น้ำทีส์ทางด้านใต้และแม่น้ำทวีดทางด้านเหนือ (โดยทั่วไปคล้ายคลึงกับตะวันออกเฉียงเหนืออังกฤษ (North East England) ปัจจุบัน) ดินแดนบริเวณเป็นบริเวณที่พิพาตระหว่างอังกฤษและสกอตแลนด์ แต่อาณาจักรเอิร์ลแห่งนอร์ทธัมเบรียก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของของอังกฤษในสนธิสัญญายอร์คระหว่างอังกฤษกับสกอตแลนด์ในปี..

ประวัติศาสตร์คริสตจักรของชาวอังกฤษและราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรีย · ราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรียและอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเมอร์เซีย

ราชอาณาจักรเมอร์เซีย (Mercia) เป็นหนึ่งในอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนเจ็ดอาณาจักรที่มีศูนย์กลางอยู่ในลุ่มแม่น้ำแม่น้ำเทร้นท์และในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นอังกฤษมิดแลนด์ส (English Midlands) ชื่อเมอร์เซียเป็นภาษาอังกฤษเก่า “Mierce” ที่แผลงเป็นแบบละติน (Latinization) แปลว่า “ชนชายแดน” ราชอาณาจักรเมอร์เซียมีอาณาเขตติดต่อกับราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย, เพาวิส, ราชอาณาจักรต่างๆ ทางตอนใต้ของเวลส์, เวสเซ็กซ์, ซัสเซ็กซ์, เอสเซ็กซ์ และ อีสต์แองเกลีย ทุกวันนี้ชื่อ “เมอร์เซีย” ยังใช้กันทั่วไปในชื่อองค์การต่างๆ ได้แก่ หน่วยทหาร หรือองค์การทั้งของรัฐและของเอกชน.

ประวัติศาสตร์คริสตจักรของชาวอังกฤษและราชอาณาจักรเมอร์เซีย · ราชอาณาจักรเมอร์เซียและอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญบีด

นักบุญบีดผู้น่าเคารพ (Saint Bede; Venerable Bede; หรือเบดา (Beda; ค.ศ. 672/ค.ศ. 673–26 พฤษภาคม ค.ศ. 735) เป็น เป็นบาทหลวงและนักพรตโรมันคาทอลิกประจำอารามมังค์แวร์มัท-แจร์โรว์ ในราชอาณาจักรนอร์ธัมเบรีย นักบุญบีดมีชื่อเสียงจากการเป็นนักบันทึกเหตุการณ์และนักวิชาการ งานชิ้นสำคัญของท่านคือ “ประวัติศาสตร์คริสตจักรของชนอังกฤษ” ที่ทำให้ได้รับชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งประวัติศาสตร์อังกฤษ” นอกจากนั้นก็ยังเป็นหนึ่งในนักปราชญ์แห่งคริสตจักร นักบุญบีดเป็นนักบุญจากบริเตนใหญ่ผู้เดียวที่ได้รับตำแหน่งนี้ (นักบุญแอนเซล์มแห่งแคนเทอร์เบอรี ได้รับตำแหน่งนี้แต่มาจากอิตาลี).

นักบุญบีดและประวัติศาสตร์คริสตจักรของชาวอังกฤษ · นักบุญบีดและอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ประวัติศาสตร์คริสตจักรของชาวอังกฤษและโรมันคาทอลิก · อังกฤษสมัยแองโกล-แซกซันและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ประวัติศาสตร์คริสตจักรของชาวอังกฤษและอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน

ประวัติศาสตร์คริสตจักรของชาวอังกฤษ มี 16 ความสัมพันธ์ขณะที่ อังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน มี 50 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 7.58% = 5 / (16 + 50)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ประวัติศาสตร์คริสตจักรของชาวอังกฤษและอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »