โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประธานาธิบดีสิงคโปร์

ดัชนี ประธานาธิบดีสิงคโปร์

ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ ของประเทศสิงคโปร์ ตามระบบเวสต์มินสเตอร์ ในแบบฉบับของสิงคโปร์ โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประมุขฝ่ายบริหารและหัวหน้ารัฐบาล ก่อนปี พ.ศ. 2536 ตำแหน่งประธานาธิบดีสิงคโปร์จะได้รับเลือกจากรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร..

22 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2536การเลือกตั้งภาษามลายูยูซอฟ บิน อิสฮะก์ระบบเวสต์มินสเตอร์รัฐสภาลี กวนยูวี ชอง จินวี คิม วีออง เท็ง เชียงฮาลีมะฮ์ ยากบประมุขแห่งรัฐประเทศมาเลเซียประเทศสิงคโปร์ประเทศไทยนายกรัฐมนตรีโยห์ กิม เส็งโทนี ตัน เค็ง ยัมเบนจามิน เชียส์เจ. วาย. ปิลไลเทวัน นายัรเซลลัปปัน รามนาทัน

พ.ศ. 2536

ทธศักราช 2536 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1993 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ประธานาธิบดีสิงคโปร์และพ.ศ. 2536 · ดูเพิ่มเติม »

การเลือกตั้ง

การเลือกตั้งโดยการหย่อนบัตร การเลือกตั้ง (election) เป็นกระบวนการวินิจฉัยสั่งการอย่างเป็นทางการซึ่งประชาชนเลือกปัจเจกบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมือง การเลือกตั้งเป็นกลไกปกติที่ใช้ในระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 Encyclpoedia Britanica Online.

ใหม่!!: ประธานาธิบดีสิงคโปร์และการเลือกตั้ง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามลายู

ษามลายู (Bahasa Melayu) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีสถานะเป็นภาษาราชการในบรูไน, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย มีผู้พูดประมาณ 200–250 ล้านคน (ณ ปี พ.ศ. 2552) โดยเป็นภาษาแม่ของผู้คนตลอดสองฟากช่องแคบมะละกา ซึ่งได้แก่ ชายฝั่งคาบสมุทรมลายูของมาเลเซียและชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และได้รับการยอมรับเป็นภาษาแม่ในชายฝั่งตะวันตกของซาราวะก์และกาลีมันตันตะวันตกในเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้ยังใช้เป็นภาษาการค้าในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของคาบสมุทรซัมบวงกา, กลุ่มเกาะซูลู และเมืองบาตาราซาและบาลาบัก (ซึ่งมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะปาลาวัน ในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ (Bahasa Kebangsaan หรือ Bahasa Nasional) ของรัฐเอกราชหลายรัฐ ภาษามลายูมาตรฐานมีชื่อทางการแตกต่างกันไป ในบรูไนและสิงคโปร์เรียกว่า "ภาษามลายู" (Bahasa Melayu) ในมาเลเซียเรียกว่า "ภาษามาเลเซีย" (Bahasa Malaysia) และในอินโดนีเซียเรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย" (Bahasa Indonesia) อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะสุมาตราที่ซึ่งภาษามลายูเป็นภาษาพื้นเมือง ชาวอินโดนีเซียจะเรียกภาษานี้ว่า "ภาษามลายู" และมองว่าเป็นภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาประจำภูมิภาคของตน ภาษามลายูมาตรฐาน (หรือที่เรียกว่าภาษามลายูราชสำนัก) เคยเป็นวิธภาษามาตรฐานในวรรณกรรมของรัฐสุลต่านมะละกาและยะโฮร์สมัยก่อนอาณานิคม ดังนั้น บางครั้งจึงเรียกว่าภาษานี้ว่าภาษามลายูมะละกา, ภาษามลายูยะโฮร์ หรือภาษามลายูเรียว (หรือชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชื่อเหล่านี้ประกอบกัน) เพื่อแยกให้แตกต่างกับภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาในกลุ่มภาษามลายู จากข้อมูลของเอ็ทนอล็อก (Ethnologue) วิธภาษามลายูต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีรายชื่อเป็นภาษาแยกต่างหาก (รวมถึงวิธภาษาโอรังอัซลีในมาเลเซียตะวันตก) มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษามลายูมาตรฐานมากจนอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีภาษามลายูการค้าและภาษาครีโอล (creole) จากภาษามลายูอีกจำนวนมากซึ่งมีพื้นฐานจากภาษากลางที่พัฒนามาจากภาษามลายูตามแบบแผนดั้งเดิม เช่นเดียวกับภาษามลายูมากัสซาร์ซึ่งปรากฏว่าเป็นภาษาผสม.

ใหม่!!: ประธานาธิบดีสิงคโปร์และภาษามลายู · ดูเพิ่มเติม »

ยูซอฟ บิน อิสฮะก์

ูซอฟ บิน อิสฮะก์ (ยาวี: يوسف بن اسحاق;; 12 สิงหาคม พ.ศ. 2453 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513) เป็นนักการเมืองชาวสิงคโปร์ และเป็นประธานาธิบดีสิงคโปร์คนแรก ดำรงตำแหน่งระหว่าง 9 สิงหาคม..

ใหม่!!: ประธานาธิบดีสิงคโปร์และยูซอฟ บิน อิสฮะก์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบเวสต์มินสเตอร์

ระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ระบบเวสมินสเตอร์ เป็นระบอบการปกครองประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา ซึ่งยึดตามการเมืองสหราชอาณาจักร คำนี้มาจากพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ อันเป็นที่ประชุมรัฐสภาสหราชอาณาจักร ระบบเวสมินสเตอร์ คือ ชุดวิธีดำเนินการสำหรับการดำเนินสภานิติบัญญัต.

ใหม่!!: ประธานาธิบดีสิงคโปร์และระบบเวสต์มินสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภา

ผู้แทนราษฎรของออสเตรเลีย รัฐสภา เป็นสภานิติบัญญัติชนิดหนึ่ง รัฐสภาจะทำหน้าที่ออกกฎหมาย อภิปราย หารือกันระหว่างสมาชิกรัฐสภา ถกเถียงประเด็นทางการเมืองหรือกิจกรรมทางการเมืองอื่นๆ โดยรัฐสภาจะมีเฉพาะประเทศที่ใช้ใช้ระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งสหราชอาณาจักรเป็นประเทศแรกในโลกที่มีระบบรัฐสภาและเป็นต้นแบบระบอบประชาธิปไตยในสมัยปัจจุบันด้วย เช่น ฝรั่งเศส สเปน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เป็นต้น.

ใหม่!!: ประธานาธิบดีสิงคโปร์และรัฐสภา · ดูเพิ่มเติม »

ลี กวนยู

ลี กวนยู (李光耀; พินอิน: Lǐ Guāngyào, หลี่ กวงเย่า; 16 กันยายน พ.ศ. 2466 — 23 มีนาคม พ.ศ. 2558) เป็นนักการเมืองชาวสิงคโปร์อีกทั้งยังเป็นนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนแรกซึ่งปกครองประเทศเป็นเวลาสามทศวรรษ เขาได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้งประเทศสิงคโปร์สมัยใหม่ เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและเลขาธิการพรรคกิจประชาชน (People's Action Party) คนแรก และนำพรรคชนะการเลือกตั้งแปดครั้งตั้งแต่ปี 2502 ถึง 2533 และควบคุมการแยกสิงคโปร์จากประเทศมาเลเซียในปี 2508 และการแปลงจากด่านอาณานิคมค่อนข้างด้อยพัฒนาซึ่งไม่มีทรัพยากรธรรมชาติเป็นเสือเอเชีย "โลกที่หนึ่ง" ในกาลต่อมา เขาเป็นบุคคลการเมืองที่ทรงอิทธิพลที่สุดในทวีปเอเชียคนหนึ่ง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนที่สอง โก๊ะ จ๊กตง แต่งตั้งเขาเป็นรัฐมนตรีอาวุโสในปี 2533 เขาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีที่ปรึกษา ตั้งโดยบุตรของเขา ลี เซียนลุง เมื่อลี เซียนลุงเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สามของประเทศในเดือนสิงหาคม 2547 ด้วยตำแหน่งรัฐมนตรีติดต่อกันเป็นเวลากว่า 50 ปีของเขา ลียังเป็นรัฐมนตรีที่รับราชการนานที่สุดในประวัติศาสตร์คนหนึ่ง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2554 ลีและโก๊ะประกาศเกษียณจากคณะรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้งทั่วไปปี 2554 แต่ลียังเป็นสมาชิกรัฐสภา ลีถูกรับเข้าโรงพยาบาลด้วยโรคปอดบวมที่โรงพยาบาลสิงคโปร์ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2558 ขณะติดเครื่องช่วยหายใจกล อาการของเขาเมื่อวันที่ 21 มีนาคมทรุดลงหลังป่วยอย่างหนักและเขาถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 23 มีนาคม.

ใหม่!!: ประธานาธิบดีสิงคโปร์และลี กวนยู · ดูเพิ่มเติม »

วี ชอง จิน

วี ชอง จิน (28 กันยายน พ.ศ. 24605 มิถุนายน พ.ศ. 2548) เป็นผู้พิพากษาชาวสิงคโปร์และเป็นประธานศาลสูงสุดคนแรกของประเทศ นอกจากนี้ยังเคยเป็นรักษาการประธานาธิบดีสิงคโปร์ตั้งแต่ 11 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ประธานาธิบดีสิงคโปร์และวี ชอง จิน · ดูเพิ่มเติม »

วี คิม วี

วี คิม วี (4 พฤศจิกายน พ.ศ. 24582 พฤษภาคม พ.ศ. 2548) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 4 ของสิงคโปร์ เขาดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 2 กันยายน..

ใหม่!!: ประธานาธิบดีสิงคโปร์และวี คิม วี · ดูเพิ่มเติม »

ออง เท็ง เชียง

ออง เท็ง เชียง (22 มกราคม พ.ศ. 2479 – 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545) เป็นนักการเมืองชาวสิงคโปร์ นักธุรกิจ และสมาชิกพรรคกิจประชาชน เป็นประธานาธิบดีคนที่ 5 แห่งประเทศสิงคโปร์และมาจากการเลือกตั้งครั้งแรก เขาดำรงตำแหน่งเป็นระยะเวลา 6 ปีตั้งแต่ 1 กันยายน..

ใหม่!!: ประธานาธิบดีสิงคโปร์และออง เท็ง เชียง · ดูเพิ่มเติม »

ฮาลีมะฮ์ ยากบ

ลีมะฮ์ ยากบ (Halimah Yacob; ยาวี: حاليمه بنت ياچوب, เกิด 23 สิงหาคม พ.ศ. 2497) เป็นประธานาธิบดีคนที่แปดและคนปัจจุบันของสิงคโปร์มีเชื้อสายมาเลย์ และ อินเดีย  แต่งงานกับ โมฮัมเหม็ดอับดุลลาห์ (Alhabshee) ซึ่งมีเชื้อสายอาหรับ มีบุตร 5 คน “มาดามฮาลิมะฮ์” จบการศึกษาจาก โรงเรียน Tanjong Katong Girls ‘School และสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสิงคโปร์ ระดับ LLB (Hons) จบปริญญา LLM ที่ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จาก NUS ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่กฎหมายที่ สภาสหภาพแห่งชาติสหภาพการค้า และเป็นผู้อำนวยการแผนกบริการทางกฎหมายในได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการสถาบันแรงงานแห่งประเทศสิงคโปร์ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้ง ของสถาบันแรงงานศึกษา ทงจง) “มาดามฮาลิมะฮ์” เข้าสู่เส้นทางการเมืองเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของ พรรค PAP และเคยดำรงตำแหน่ง ประธานรัฐสภา โดยเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม..

ใหม่!!: ประธานาธิบดีสิงคโปร์และฮาลีมะฮ์ ยากบ · ดูเพิ่มเติม »

ประมุขแห่งรัฐ

ประมุขแห่งรัฐ (head of state) เป็นคำที่ใช้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายระหว่างประเทศ รัฐศาสตร์และพิธีการทูตเมื่อหมายถึงข้าราชการ (official) ที่ดำรงตำแหน่งสูงสุดในรัฐเอกราชหนึ่ง ๆ และมีอำนาจเด็ดขาดหรือจำกัดที่จะปฏิบัติเป็นผู้แทนสาธารณะสูงสุด (chief public representative) ของรัฐ ประมุขแห่งรัฐในประเทศส่วนใหญ่เป็นบุคคลธรรมดาที่ดำรงตำแหน่ง หากในบางประเทศ คณะบุคคลอยู่ในตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ เช่น สภาสหพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ ประธานาธิบดีบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และผู้ครองนครร่วม (Captains Regent) ซานมารีโน คำว่า "ประมุขแห่งรัฐ" มักใช้เพื่อแยกความแตกต่างจากคำว่า "หัวหน้ารัฐบาล" ยกตัวอย่าง ในอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ข้อ 7 และอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษอาชญากรรมที่กระทำต่อบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองระหว่างประเทศ รวมทั้งตัวแทนทางทูต ข้อ 1 เช่น ระบบรัฐสภาอย่างสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี พระมหากษัตริย์และประธานาธิบดีได้รับการยอมรับเป็นประมุขแห่งรัฐในสองประเทศนี้ตามลำดับ ขณะที่นายกรัฐมนตรีได้รับการยอมรับเป็นหัวหน้ารัฐบาล อย่างไรก็ดี ในสาธารณรัฐที่มีระบบประธานาธิบดี เช่น สหรัฐอเมริกาและสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ประธานาธิบดีได้รับการยอมรับเป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งบุคคลที่เป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลยังอาจเกิดได้ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชและบางครั้งเช่นเดียวกับระบอบเผด็จการอื่น ๆ บทบาทของประมุขแห่งรัฐโดยทั่วไป รวมทั้งการใช้อำนาจทางการเมือง และหน้าที่ ถูกกำหนดในรัฐธรรมนูญและกฎหมายของประเทศนั้น ๆ อนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูตปฏิบัติภายใต้ข้อสันนิษฐานว่า หัวหน้าคณะทูต (คือ เอกอัครราชทูตหรือเอกอัครสมณทูต) ของประเทศผู้ส่งถูกถือว่าเป็นของประมุขแห่งรัฐรัฐผู้รับ มักคิดกันว่าประมุขแห่งรัฐเป็น "ผู้นำ" อย่างเป็นทางการของรัฐชาติหนึ่ง ๆ ปัจจุบัน หลายประเทศคาดหวังให้ประมุขแห่งรัฐของตนรวมค่านิยมของชาติในแบบนิยมที่คล้ายกัน.

ใหม่!!: ประธานาธิบดีสิงคโปร์และประมุขแห่งรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

ใหม่!!: ประธานาธิบดีสิงคโปร์และประเทศมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสิงคโปร์

ประเทศสิงคโปร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นนครรัฐสมัยใหม่และประเทศเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายูและอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 137 กิโลเมตร ดินแดนของประเทศประกอบด้วยเกาะหลักรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมักเรียกว่าเกาะสิงคโปร์ในภาษาอังกฤษ และเกาะอูจง (Pulau Ujong) ในภาษามลายู และเกาะที่เล็กกว่ามากอีกกว่า 60 เกาะ ประเทศสิงคโปร์แยกจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะฮอร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะเรียวของประเทศอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์ทางทิศใต้ ประเทศมีลักษณะแบบเมืองอย่างสูง และคงเหลือพืชพรรณดั้งเดิมเล็กน้อย ดินแดนของประเทศขยายอย่างต่อเนื่องโดยการแปรสภาพที่ดิน หมู่เกาะมีการตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และต่อมาเป็นของจักรวรรดิท้องถิ่นต่าง ๆ สิงคโปร์สมัยใหม่ก่อตั้งใน..

ใหม่!!: ประธานาธิบดีสิงคโปร์และประเทศสิงคโปร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ประธานาธิบดีสิงคโปร์และประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

นายกรัฐมนตรี

นายกรัฐมนตรี เป็นตำแหน่งผู้นำของรัฐบาล เป็นตำแหน่งสูงสุด โดยมีพระมหากษัตริย์หรือประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ บางประเทศยังต้องเลือกประธานาธิบดีแล้วแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีหรือบางประเทศอาจจะให้กษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งก็ได้ แต่ในระบบสาธารณรัฐแบบประธานาธิบดีจะไม่มีนายกรัฐมนตรี เช่น สหรัฐอเมริกา บราซิล เป็นต้น รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ที่จะปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ในขณะที่นายกรัฐมนตรีมีเหตุทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือมีหน้าที่อื่นให้ปฏิบัติ เช่น เดินทางไปประชุมที่ต่างประเทศ ลาราชการ พ้นจากตำแหน่ง เป็นต้น.

ใหม่!!: ประธานาธิบดีสิงคโปร์และนายกรัฐมนตรี · ดูเพิ่มเติม »

โยห์ กิม เส็ง

ห์ กิม เส็ง (22 มิถุนายน พ.ศ. 2461 - 3 มิถุนายน พ.ศ. 2536) เป็นประธานรัฐสภาของสิงคโปร์จาก..

ใหม่!!: ประธานาธิบดีสิงคโปร์และโยห์ กิม เส็ง · ดูเพิ่มเติม »

โทนี ตัน เค็ง ยัม

ทนี ตัน เค็ง ยัม (Tony Tan Keng Yam;, เกิด 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2483) เป็นประธานาธิบดีคนที่เจ็ดของประเทศสิงคโปร์ กระทั่งวันที่ 1 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ประธานาธิบดีสิงคโปร์และโทนี ตัน เค็ง ยัม · ดูเพิ่มเติม »

เบนจามิน เชียส์

นจามิน เฮนรี เชียส์ (12 สิงหาคม พ.ศ. 2450 – 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2524) เป็นประธานาธิบดีสิงคโปร์คนที่ 2 สะพานเบนจามิน เชียส์ ได้ชื่อตามเขา เบนจามิน เชียส์ เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสิงคโปร์เมื่อวันที่ 2 มกราคม..

ใหม่!!: ประธานาธิบดีสิงคโปร์และเบนจามิน เชียส์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ. วาย. ปิลไล

ซฟ ยุวาราช ปิลไล (Joseph Yuvaraj Pillay, เกิด 30 มีนาคม พ.ศ. 2477) หรือที่รู้จักกันในชื่อ.

ใหม่!!: ประธานาธิบดีสิงคโปร์และเจ. วาย. ปิลไล · ดูเพิ่มเติม »

เทวัน นายัร

นคารา วีฏิล เทวัน นายัร (Chengara Veetil Devan Nair) หรือในชื่อย่อว่า ซี.

ใหม่!!: ประธานาธิบดีสิงคโปร์และเทวัน นายัร · ดูเพิ่มเติม »

เซลลัปปัน รามนาทัน

ซลลัปปัน รามนาทัน (Sellapan Ramanathan; செல்லப்பன் ராமநாதன்; 3 กรกฎาคม 2467 – 22 สิงหาคม 2559) หรือชื่อย่อว่า เอ.

ใหม่!!: ประธานาธิบดีสิงคโปร์และเซลลัปปัน รามนาทัน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

รายนามประธานาธิบดีสิงคโปร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »