โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประชาธิปไตยสังคมนิยมและระบบเศรษฐกิจ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ประชาธิปไตยสังคมนิยมและระบบเศรษฐกิจ

ประชาธิปไตยสังคมนิยม vs. ระบบเศรษฐกิจ

ประชาธิปไตยสังคมนิยม (Social democracy) เป็นอุดมการณ์ทางการเมือง ทางสังคม และทางเศรษฐกิจ ที่สนับสนุนการแทรกแซงของรัฐทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อความยุติธรรมทางสังคมภายในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ตลอดจนนโยบายการปกครองอันผูกมัดกับระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน การกระจายรายได้ และการควบคุมเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์ส่วนรวมและที่เป็นไปตามเงื่อนไขของรัฐสวัสดิการ ดังนั้น จึงเป็นระบอบที่มุ่งสร้างเงื่อนไขให้กับระบอบทุนนิยมเพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นประชาธิปไตย ที่เท่าเทียมกัน และที่เป็นปึกแผ่นมากกว่า โดยบ่อยครั้งสัมพันธ์กับนโยบายทางสังคมเศรษฐกิจที่กลายเป็นเรื่องสำคัญในประเทศยุโรปตะวันตกและยุโรปเหนือ โดยเฉพาะรูปแบบที่มีในกลุ่มประเทศนอร์ดิก (คือ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน) ในช่วงครึ่งหลังคริสต์ทศวรรษที่ 20 ระบบนี้มาจากอุดมการณ์ทางการเมืองที่สนับสนุนการปฏิรูปแบบสันติ เพื่อเปลี่ยนจากระบบทุนนิยมเป็นสังคมนิยมผ่านกระบวนการทางเมืองที่มีอยู่แล้ว เทียบกับการเปลี่ยนแปลงแบบปฏิวัติของลัทธิมากซ์ดั้งเดิม ในยุโรปตะวันตกช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมได้ปฏิเสธรูปแบบทางการเมืองและเศรษฐกิจของลัทธิสตาลินที่ตอนนั้นปฏิบัติอยู่ในสหภาพโซเวียต โดยใช้ทางเลือกเพื่อดำเนินสู่สังคมนิยมอีกแบบหนึ่ง หรือใช้ระบบอะลุ้มอล่วยระหว่างทุนนิยมและสังคมนิยม ในช่วงเวลานี้ นักประชาธิปไตยสังคมนิยมได้นำเศรษฐกิจแบบผสมมาใช้ อิงอาศัยทรัพย์สินส่วนบุคคลที่มีมากกว่า บวกกับสาธารณูปโภคที่จำเป็นและบริการสาธารณะซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีน้อยกว่า ดังนั้น ระบอบนี้จึงสัมพันธ์กับเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ การแทรกแซงของรัฐ และรัฐสวัสดิการ โดยได้ละทิ้งเป้าหมายสังคมนิยมดั้งเดิมที่จะแทนที่ระบบทุนนิยม (รวมทั้งตลาดการผลิต ทรัพย์สินส่วนบุคคล และแรงงานแลกกับค่าจ้าง) ด้วยระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมที่ต่างกัน ประชาธิปไตยสังคมนิยมในปัจจุบันมีลักษณะเฉพาะคือ การผูกมัดกับนโยบายที่เล็งระงับความไม่เท่าเทียมกัน ระงับการกดขี่กลุ่มคนที่ไร้อภิสิทธิ์ และระงับความยากจน รวมทั้งการสนับสนุนบริการสาธารณะที่เข้าถึงได้ทั่วกัน เช่น การดูแลผู้สูงอายุ การดูแลเด็ก การศึกษา การดูแลสุขภาพ และค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ใช้แรงงาน ขบวนการประชาธิปไตยสังคมนิยมยังมีความสัมพันธ์ที่แข็งแรงกับขบวนการแรงงานและสหภาพแรงงาน สนับสนุนสิทธิการร่วมเจรจาต่อรองสำหรับแรงงาน ตลอดจนนโยบายที่ขยายการตัดสินใจแบบประชาธิปไตยนอกเหนือจากเรื่องการเมืองเข้าไปในประเด็นทางเศรษฐกิจ ในรูปแบบสิทธิเพื่อการเลือกผู้แทนในคณะกรรมการของบริษัท (co-determination) สำหรับทั้งลูกจ้างและผู้ได้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ขบวนการ "ทางที่สาม" (Third Way) ซึ่งหวังเชื่อมเศรษฐกิจฝ่ายขวาเข้ากับนโยบายสวัสดิการแบบประชาธิปไตยสังคมนิยม เป็นอุดมการณ์ที่พัฒนาขึ้นต่อมาในคริสต์ทศวรรษ 1990 และบางครั้งนำมาใช้โดยพรรคการเมืองประชาธิปไตยสังคมนิยม แต่ก็มีนักวิเคราะห์ที่จัดทางที่สามว่า เท่ากับขบวนการเสรีนิยมใหม. ระบบเศรษฐกิจ คือ ระบบการผลิตและกระจายสินค้าและบริการ ตลอดจนการจัดสรรทรัพยากรในสังคมหนึ่ง ระบบเศรษฐกิจประกอบด้วยการรวมสถาบัน หน่วยงานและผู้บริโภคซึ่งประกอบเป็นโครงสร้างทางเศรษฐกิจของชุมชนหนึ่ง มโนทัศน์ที่เกี่ยวข้อง คือ วิถีการผลิต การศึกษาระบบเศรษฐกิจ เช่น หน่วยงานและสถาบันต่าง ๆ เหล่านี้เกี่ยวโยงกันอย่างไร การไหลของสารสนเทศระหว่างหน่วยงานและสถาบันต่าง ๆ เป็นอย่างไร และความสัมพันธ์ทางสังคมในระบบเศรษฐกิจ (รวมทั้งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและโครงสร้างการจัดการ) ในบรรดาระบบเศรษฐกิจที่มีอยู่ มีการพัฒนาวิธีการวิเคราะห์แตกต่างกันไป เช่น เศรษฐศาสตร์สังคมนิยมและธรรมศาสตร์เศรษฐกิจอิสลาม (Islamic economic jurisprudence) ปัจจุบัน การจัดระเบียบทางเศรษฐกิจรูปแบบที่พบมากที่สุดในระดับโลกอาศัยเศรษฐกิจแบบผสมที่เน้นตลาดทุนนิยม.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ประชาธิปไตยสังคมนิยมและระบบเศรษฐกิจ

ประชาธิปไตยสังคมนิยมและระบบเศรษฐกิจ มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): เศรษฐกิจแบบผสม

เศรษฐกิจแบบผสม

รษฐกิจแบบผสม เป็นระบบเศรษฐกิจซึ่งทั้งภาคเอกชนและรัฐชี้นำเศรษฐกิจ ซึ่งสะท้อนลักษณะของทั้งเศรษฐกิจแบบตลาดและเศรษฐกิจที่มีการวางแผน เศรษฐกิจแบบผสมส่วนมากอาจอธิบายได้ว่าเป็นเศรษฐกิจแบบตลาดที่มีการควบคุมดูแลอย่างเข้มแข็งและการจัดหาสินค้าสาธารณะของรัฐบาล เศรษฐกิจแบบผสมบางแห่งยังมีลักษณะรัฐวิสาหกิจ โดยทั่วไป เศรษฐกิจแบบผสมมีลักษณะคือ เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ความเด่นของตลาดสำหรับการประสานงานเศรษฐกิจ และวิสาหกิจแสวงผลกำไรและการสะสมทุนที่เหลือเป็นปัจจัยขับหลักมูลเบื้องหลังกิจกรรมเศรษฐกิจ ทว่า รัฐบาลจะถืออิทธิพลเศรษฐกิจมหภาคโดยอ้อมเหนือเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลังและการเงินซึ่งออกแบบมาเพื่อรับมือภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและแนวโน้มของทุนนิยมต่อวิกฤตการณ์การเงินและการว่างงาน ร่วมกับมีบทบาทในการแทรกแซงซึ่งสนับสนุนสวัสดิการสังคม ซึ่งไม่เหมือนกับเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี ต่อมา เศรษฐกิจแบบผสมบางประเทศได้ขยายขอบเขตให้รวมบทบาทสำหรับการวางแผนเศรษฐกิจชี้นำและ/หรือภาควิสาหกิจสาธารณะขนาดใหญ่ด้วย ไม่มีนิยามระบบเศรษฐกิจแบบผสมอย่างเดียว โดยนิยามหลากหลายว่าเป็นการผสมตลาดเสรีกับการแทรกแซงของรัฐ หรือการผสมวิสาหกิจสาธารณะและเอกชน หรือเป็นการผสมระหว่างตลาดและการวางแผนเศรษฐกิจ จุดแข็งหรือจุดอ่อนเปรียบเทียบของแต่ละส่วนในเศรษฐกิจของชาติอาจต่างกันได้มากแล้วแต่ประเทศ เศรษฐกิจตั้งแต่ของสหรัฐอเมริกาจนถึงคิวบาเรียก เศรษฐกิจแบบผสม คำนี้ยังใช้อธิบายเศรษฐกิจของประเทศที่เรียก รัฐสวัสดิการ เช่น ประเทศนอร์ดิก รัฐบาลในเศรษฐกิจแบบผสมมักจัดการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การรักษามาตรฐานการจ้างงาน ระบบสวัสดิการปรับมาตรฐานและการรักษาการแข่งขัน.

ประชาธิปไตยสังคมนิยมและเศรษฐกิจแบบผสม · ระบบเศรษฐกิจและเศรษฐกิจแบบผสม · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ประชาธิปไตยสังคมนิยมและระบบเศรษฐกิจ

ประชาธิปไตยสังคมนิยม มี 36 ความสัมพันธ์ขณะที่ ระบบเศรษฐกิจ มี 2 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 2.63% = 1 / (36 + 2)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ประชาธิปไตยสังคมนิยมและระบบเศรษฐกิจ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »